2 ล้านครัวเรือนเสี่ยง "หนี้หนัก" เกิน 10 ปี กว่าจะหลุดพ้น
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/184068
ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ยังสูง ส่งผลทำให้ครัวเรือนไทยจำนวนมากยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สูง และยากที่จะหลุดพ้นในระยะอันใกล้นี้
ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ยังสูง ส่งผลทำให้ครัวเรือนไทยจำนวนมากยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สูง ซึ่งพบว่า ครัวเรือนเปราะบาง หรือ ครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้สูง เมื่อเทียบรายได้และทรัพย์สิน มีถึง 2.1 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นจก 1.7 ล้านครัวเรือนในช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ปี 2019 โดยเพิ่มขึ้นถึง 24%
และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง คือมีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่กลับมีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ
จากการศึกษา EIC พบว่า การเป็นครัวเรือนเปราะบางทำให้มีโอกาสประสบปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% และครัวเรือนเปราะบางส่วนใหญ่ถึง 61.4% อยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางถึงสูงที่มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยที่ราว 3-6 หมื่นบาทต่อเดือน
สำหรับที่มาของรายได้ ครัวเรือนกลุ่มเปราะบางจะมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีรายได้หลักมาจากการทำธุรกิจและการทำการเกษตรสูงกว่ากลุ่มครัวเรือนอื่น ๆ ซึ่งมักมีความไม่แน่นอนของรายได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับครัวเรือนที่มีรายได้หลักจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือข้าราชการ ถือเป็นความท้าทายเพิ่มเติมในการบริหารจัดการหนี้
ขณะที่เชิงแหล่งที่อยู่ ครัวเรือนเปราะบางมีสัดส่วนอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่า ขระเดียวกัน “ครัวเรือนเปราะบาง” ของไทยมีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังวิกฤตโควิด-19 และรายได้ลดลง
กลุ่มเปราะบางที่กล่าวมามีโอกาสอย่างน้อย 30% ที่รายได้ไม่พอรายจ่าย
สาเหตุหลักมาจากการที่กลุ่มเปราะบางมีหนี้สูงเมื่อเทียบกับรายได้ รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้จึงสูงตามไปด้วย รวมถึงการขาดวินัยทางการเงิน ที่ส่งผลให้เกิดทั้งความเปราะบางและปัญหาเงินไม่พอใช้
นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ที่อาศัยในเขตเมือง กรุงเทพมหานคร อาจมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายไม่จำเป็นซึ่งอาจมีผลทำให้เกิดปัญหาการใช้จ่าย รวมถึงการอาศัยอยู่ในเมืองหรือกรุงเทพฯ ซึ่งมีค่าครองชีพสูง
โดยกลุ่มที่ส่งผลให้แนวโน้มการมีปัญหาสูงขึ้น ได้แก่ การมีแหล่งรายได้ของครัวเรือนที่ผันผวนจากการที่ไม่ได้มีคนทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนในครัวเรือนหรือมีคนทำงานในภาคเกษตร และการที่มีสัดส่วนการพึ่งพาในครัวเรือน (Dependency ratio) ที่สูง คือ มีจำนวนคนที่ไม่ได้ทำงาน (เช่น เด็ก คนชรา) สูง เมื่อเทียบกับจำนวนคนทำงานในครัวเรือนเดียวกัน
เมื่อถามว่าเมื่อไหร่ที่ครัวเรือนเปราะบางเหล่านี้จะหลุดพ้นจาก "วงจรหนี้"
ซึ่ง EIC ประเมินว่าอาจต้องใช้เวลาถึง 13 ปี โดยเฉลี่ย เพื่อแก้ปัยหาความเปราะบางนี้ เพราะบางครัวเรือนำเสี่ยงที่จะหลุดพ้นจากกว่าปกติ ด้วย 3 ข้อจำกัดคือ ไม่มีเงินเหลือเก็บ ขอสินเชื่อใหม่ยาก และครัวเรือนสูงอายุที่อาจมีข้อจำกัดด้านเวลาและความสามารถในการหารายได้
และท่ามกลางดอกเบี้ยขาขึ้นจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความเปราะบางสูงขึ้น แนวโน้มที่จะก่อหนี้เพิ่ม และทำให้ความเสี่ยงด้านหนี้เสียน่ากังวล
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเพิ่มขึ้นจาก 52.4% ในปี 2008 เป็น 90.1% ณ สิ้นปี 2021 หากเทียบกับสัดส่วนของต่างประเทศจะพบว่า ไทยมีแนวโน้มการเติบโตของหนี้ต่อรายได้ที่รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงปี 2008-2014
และปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยช่วงครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 88.2% โดยคาดว่าสัดส่วนจะปรับลดลงอย่างช้า ๆ โดยจะอยู่ในช่วง 86-87% ต่อ GDP ณ สิ้นปี 2022 ซึ่งยังถือเป็นระดับที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน
สิ่งที่น่ากังวลสำหรับสถานการณ์ความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนไทยในภาพรวม คือ ไม่ใช่ทุกครัวเรือนเปราะบางจะสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยง่าย เพราะยังมีหลายข้อจำกัดที่สำคัญ ได้แก่ การไม่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งเป็นปัญหาของครัวเรือนสัดส่วนถึงประมาณ 61.2% ของกลุ่มเปราะบาง คนกลุ่มนี้จะไม่มีเงินเหลือไปใช้หนี้เดิม หรืออาจต้องก่อหนี้ก้อนใหม่มาเพื่อใช้หนี้เก่า เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มเติม ซึ่งสุดท้ายอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้เสีย
ลุ้นผลสอบ ส.ต.ท.หญิงโหด ปลายปี อดีตทหารเชื่อจะได้ความเป็นธรรม กมธ.ต้องการหาคนผิดจริง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3659922
‘กัน จอมพลัง’ พาอดีตทหารรับใช้ถูก ส.ต.ท.หญิงโหดทำร้ายร่างกาย เข้าแจง กมธ.จริยธรรม วุฒิสภา เชื่อจะได้รับความเป็นธรรม เผยรอลุ้นผลสอบปลายปีนี้ หวังจะไม่หายเงียบ
เมื่อเวลา 13.35 น. วันที่ 7 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นาย
กัณฐัศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือ
กัน จอมพลัง พร้อม ส.ต.หญิง
ปัทมา (สงวนนามสกุล) อดีตทหารหญิงรับใช้ เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) จริยธรรม วุฒิสภา ที่มี พล.อ.
สิงห์ศึก สิงห์ไพร ส.ว. เป็นประธาน กมธ. เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการกล่าวหาสมาชิกวุฒิสภากระทำการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม กรณีเหตุการณ์ ส.ต.ท.หญิง
กรศศิร์ บัวแย้ม บังคับใช้แรงงานและทำร้ายร่างกายอดีตทหารหญิงยศสิบตรี
นาย
กัณฐัศว์กล่าวว่า หลังจากเข้าชี้แจงและดูจากคำถามของ กมธ.ก็เชื่อใจว่าจะได้รับความเป็นธรรมจาก กมธ. เพราะก่อนหน้านี้เคยคิดว่า กมธ.จะเข้าข้างกันหรือไม่ หลังจากนี้ต้องรอว่าผลการสอบสวนจะออกมาอย่างไร เบื้องต้นคณะกรรมาธิการแจ้งว่าจะสรุปผลการสอบสวนและแจ้งให้ทราบในวันที่ 30 ธันวาคมนี้
“
ผมมั่นใจว่าหลักฐานและให้ข้อมูลครอบคลุมหมดแล้ว เชื่อว่าคดีนี้สังคมเฝ้าติดตาม เพราะเป็นเรื่องเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว อดีตทหารคนนี้ควรได้รับความยุติธรรม ถ้าไม่มีคนถูกลงโทษกฎหมายคงไม่ศักดิ์สิทธิ์” นาย
กัณฐัศว์กล่าว
ด้าน ส.ต.หญิง
ปัทมากล่าวว่า ขอบคุณที่ให้ความเป็นธรรม จากคำถามของ กมธ.สะท้อนว่าต้องการหาคนผิดจริงๆ จึงเชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่เกิดเรื่องจนถึงขณะนี้ยังกลัวเรื่องความปลอดภัยจากอิทธิพล ตอนนี้แผลตามร่างกายเริ่มดีขึ้น แต่จมูกแตกยังไม่หาย เพราะรักษายาก
“ชัชชาติ” เตือน 2 วันนี้ฝุ่นพีค รุดตรวจเข้มมาตรการ PM2.5 ในโรงเรียน
https://siamrath.co.th/n/397260
วันที่ 7 พ.ย.2565 นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่โรงเรียนวิชูทิศ สังกัดกทม.ภายหลังการประชุมผู้บริหารกทม.พร้อม พล.อ.
นิพัทธ์ ทองเล็ก ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยเปิดเผยว่า กทม.ได้มีมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 437 แห่ง โดยให้นักเรียนได้ตรวจคุณภาพอากาศประจำวันผ่านแอพพลิเคชั่น Air BKK และชักธงคุณภาพอากาศ เพื่อได้รู้ว่าต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร มีธง 5 สี ฟ้า(ดีมาก) เขียว(ดี) เหลือง(ปานกลาง) ส้ม(เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) แดง(มีผลกระทบต่อสุขภาพ) ตามความรุนแรงของค่าฝุ่น PM2.5 ถ้ามีฝุ่นเยอะก็จะแจกหน้ากากอนามัยให้นักเรียน ใส่ 2 ชั้นก็สามารถกองฝุ่นได้เกือบ 90% ช่วยบรรเทาได้ ไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากาก N95 ซึ่งมีราคาสูง ในส่วนของโรงเรียนวิชูทิศมีห้องปลอดภัย 3 ห้อง เป็นห้องปิดมีตัวกรองอากาศ สำหรับกลุ่มเปราะบาง เด็กที่มีโรคหอบหืด โรคประจำตัว หรือเด็กเล็ก หากถึงช่วงวิกฤตอาจพิจารณาว่าต้องให้หยุดเรียน หรือเข้าห้องปลอดภัย โดยมาตรการนี้ได้ทำทุกโรงเรียนทั้ง 437 แห่ง
ด้านพล.อ.
นิพัทธ์ ทองเล็ก ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวว่า นอกจากเรื่องฝุ่นแล้ว ตามนโยบายการศึกษาดีของ กทม. ยังเน้นเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ผู้ปกครองและครู โรงเรียนวิชูทิศคือโรงเรียนต้นแบบในทุกมิติ เช่น ดำเนินการเรื่องทางข้ามถนนโดยติดตั้งปุ่มสัญญาณไฟในการข้าม และกำลังจะมีการขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการป้องปรามสิ่งเสพติดในโรงเรียน รวมถึงเรื่องอาหาร และเรื่องอื่นๆ ที่มีการแจ้งผ่านทราฟฟี่ ฟองดูว์ ทั้งนี้ จะมีการแก้ไขในทุกเรื่องที่มีการร้องเรียนเข้ามา โดยเฉพาะผู้อำนวยการศึกษาต้องสอดส่องดูแลความปลอดภัยในมิติต่างๆ รอบโรงเรียน เพราะ กทม.มีนักเรียนในสังกัดกว่า 250,000 คน ครู 14,000 คน ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาเพื่อดูแลนักเรียนในสังกัด กทม.ให้ดีที่สุด โดยเฉพาะจากนี้เป็นต้นไป นักเรียนและบุคลากรรวมถึงผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องเรียนรู้วิธีการทำ CPR เพื่อช่วยชีวิตเบื้องต้น โดยจะบรรจุหลักสูตรเข้าไปในระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน นอกจากนี้ กทม.ได้ติดตั้งระบบ Thai School Lunch for BMA โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรงเรียน สามารถกำหนดรายการอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและมีคุณภาพครบถ้วน สะอาด ปลอดภัย รสชาติอร่อย ภายใต้โครงการอาหารนักเรียนกรุงเทพมหานครอีกด้วย
JJNY : 2 ล้านครัวเรือนเสี่ยง"หนี้หนัก"|ลุ้นผลสอบ ส.ต.ท.หญิงโหด|“ชัชชาติ” เตือน 2 วันนี้ฝุ่นพีค|ปธน.เกาหลีใต้ขอโทษประชาชน
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/184068
ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ยังสูง ส่งผลทำให้ครัวเรือนไทยจำนวนมากยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สูง ซึ่งพบว่า ครัวเรือนเปราะบาง หรือ ครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้สูง เมื่อเทียบรายได้และทรัพย์สิน มีถึง 2.1 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นจก 1.7 ล้านครัวเรือนในช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ปี 2019 โดยเพิ่มขึ้นถึง 24%
และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง คือมีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่กลับมีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ
จากการศึกษา EIC พบว่า การเป็นครัวเรือนเปราะบางทำให้มีโอกาสประสบปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% และครัวเรือนเปราะบางส่วนใหญ่ถึง 61.4% อยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางถึงสูงที่มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยที่ราว 3-6 หมื่นบาทต่อเดือน
สำหรับที่มาของรายได้ ครัวเรือนกลุ่มเปราะบางจะมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีรายได้หลักมาจากการทำธุรกิจและการทำการเกษตรสูงกว่ากลุ่มครัวเรือนอื่น ๆ ซึ่งมักมีความไม่แน่นอนของรายได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับครัวเรือนที่มีรายได้หลักจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือข้าราชการ ถือเป็นความท้าทายเพิ่มเติมในการบริหารจัดการหนี้
ขณะที่เชิงแหล่งที่อยู่ ครัวเรือนเปราะบางมีสัดส่วนอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่า ขระเดียวกัน “ครัวเรือนเปราะบาง” ของไทยมีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังวิกฤตโควิด-19 และรายได้ลดลง
กลุ่มเปราะบางที่กล่าวมามีโอกาสอย่างน้อย 30% ที่รายได้ไม่พอรายจ่าย
สาเหตุหลักมาจากการที่กลุ่มเปราะบางมีหนี้สูงเมื่อเทียบกับรายได้ รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้จึงสูงตามไปด้วย รวมถึงการขาดวินัยทางการเงิน ที่ส่งผลให้เกิดทั้งความเปราะบางและปัญหาเงินไม่พอใช้
นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ที่อาศัยในเขตเมือง กรุงเทพมหานคร อาจมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายไม่จำเป็นซึ่งอาจมีผลทำให้เกิดปัญหาการใช้จ่าย รวมถึงการอาศัยอยู่ในเมืองหรือกรุงเทพฯ ซึ่งมีค่าครองชีพสูง
โดยกลุ่มที่ส่งผลให้แนวโน้มการมีปัญหาสูงขึ้น ได้แก่ การมีแหล่งรายได้ของครัวเรือนที่ผันผวนจากการที่ไม่ได้มีคนทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนในครัวเรือนหรือมีคนทำงานในภาคเกษตร และการที่มีสัดส่วนการพึ่งพาในครัวเรือน (Dependency ratio) ที่สูง คือ มีจำนวนคนที่ไม่ได้ทำงาน (เช่น เด็ก คนชรา) สูง เมื่อเทียบกับจำนวนคนทำงานในครัวเรือนเดียวกัน
เมื่อถามว่าเมื่อไหร่ที่ครัวเรือนเปราะบางเหล่านี้จะหลุดพ้นจาก "วงจรหนี้"
ซึ่ง EIC ประเมินว่าอาจต้องใช้เวลาถึง 13 ปี โดยเฉลี่ย เพื่อแก้ปัยหาความเปราะบางนี้ เพราะบางครัวเรือนำเสี่ยงที่จะหลุดพ้นจากกว่าปกติ ด้วย 3 ข้อจำกัดคือ ไม่มีเงินเหลือเก็บ ขอสินเชื่อใหม่ยาก และครัวเรือนสูงอายุที่อาจมีข้อจำกัดด้านเวลาและความสามารถในการหารายได้
และท่ามกลางดอกเบี้ยขาขึ้นจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความเปราะบางสูงขึ้น แนวโน้มที่จะก่อหนี้เพิ่ม และทำให้ความเสี่ยงด้านหนี้เสียน่ากังวล
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเพิ่มขึ้นจาก 52.4% ในปี 2008 เป็น 90.1% ณ สิ้นปี 2021 หากเทียบกับสัดส่วนของต่างประเทศจะพบว่า ไทยมีแนวโน้มการเติบโตของหนี้ต่อรายได้ที่รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงปี 2008-2014
และปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยช่วงครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 88.2% โดยคาดว่าสัดส่วนจะปรับลดลงอย่างช้า ๆ โดยจะอยู่ในช่วง 86-87% ต่อ GDP ณ สิ้นปี 2022 ซึ่งยังถือเป็นระดับที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน
สิ่งที่น่ากังวลสำหรับสถานการณ์ความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนไทยในภาพรวม คือ ไม่ใช่ทุกครัวเรือนเปราะบางจะสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยง่าย เพราะยังมีหลายข้อจำกัดที่สำคัญ ได้แก่ การไม่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งเป็นปัญหาของครัวเรือนสัดส่วนถึงประมาณ 61.2% ของกลุ่มเปราะบาง คนกลุ่มนี้จะไม่มีเงินเหลือไปใช้หนี้เดิม หรืออาจต้องก่อหนี้ก้อนใหม่มาเพื่อใช้หนี้เก่า เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มเติม ซึ่งสุดท้ายอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้เสีย
ลุ้นผลสอบ ส.ต.ท.หญิงโหด ปลายปี อดีตทหารเชื่อจะได้ความเป็นธรรม กมธ.ต้องการหาคนผิดจริง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3659922
‘กัน จอมพลัง’ พาอดีตทหารรับใช้ถูก ส.ต.ท.หญิงโหดทำร้ายร่างกาย เข้าแจง กมธ.จริยธรรม วุฒิสภา เชื่อจะได้รับความเป็นธรรม เผยรอลุ้นผลสอบปลายปีนี้ หวังจะไม่หายเงียบ
เมื่อเวลา 13.35 น. วันที่ 7 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นายกัณฐัศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือ กัน จอมพลัง พร้อม ส.ต.หญิง ปัทมา (สงวนนามสกุล) อดีตทหารหญิงรับใช้ เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) จริยธรรม วุฒิสภา ที่มี พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ส.ว. เป็นประธาน กมธ. เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการกล่าวหาสมาชิกวุฒิสภากระทำการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม กรณีเหตุการณ์ ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม บังคับใช้แรงงานและทำร้ายร่างกายอดีตทหารหญิงยศสิบตรี
นายกัณฐัศว์กล่าวว่า หลังจากเข้าชี้แจงและดูจากคำถามของ กมธ.ก็เชื่อใจว่าจะได้รับความเป็นธรรมจาก กมธ. เพราะก่อนหน้านี้เคยคิดว่า กมธ.จะเข้าข้างกันหรือไม่ หลังจากนี้ต้องรอว่าผลการสอบสวนจะออกมาอย่างไร เบื้องต้นคณะกรรมาธิการแจ้งว่าจะสรุปผลการสอบสวนและแจ้งให้ทราบในวันที่ 30 ธันวาคมนี้
“ผมมั่นใจว่าหลักฐานและให้ข้อมูลครอบคลุมหมดแล้ว เชื่อว่าคดีนี้สังคมเฝ้าติดตาม เพราะเป็นเรื่องเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว อดีตทหารคนนี้ควรได้รับความยุติธรรม ถ้าไม่มีคนถูกลงโทษกฎหมายคงไม่ศักดิ์สิทธิ์” นายกัณฐัศว์กล่าว
ด้าน ส.ต.หญิงปัทมากล่าวว่า ขอบคุณที่ให้ความเป็นธรรม จากคำถามของ กมธ.สะท้อนว่าต้องการหาคนผิดจริงๆ จึงเชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่เกิดเรื่องจนถึงขณะนี้ยังกลัวเรื่องความปลอดภัยจากอิทธิพล ตอนนี้แผลตามร่างกายเริ่มดีขึ้น แต่จมูกแตกยังไม่หาย เพราะรักษายาก
“ชัชชาติ” เตือน 2 วันนี้ฝุ่นพีค รุดตรวจเข้มมาตรการ PM2.5 ในโรงเรียน
https://siamrath.co.th/n/397260
วันที่ 7 พ.ย.2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่โรงเรียนวิชูทิศ สังกัดกทม.ภายหลังการประชุมผู้บริหารกทม.พร้อม พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยเปิดเผยว่า กทม.ได้มีมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 437 แห่ง โดยให้นักเรียนได้ตรวจคุณภาพอากาศประจำวันผ่านแอพพลิเคชั่น Air BKK และชักธงคุณภาพอากาศ เพื่อได้รู้ว่าต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร มีธง 5 สี ฟ้า(ดีมาก) เขียว(ดี) เหลือง(ปานกลาง) ส้ม(เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) แดง(มีผลกระทบต่อสุขภาพ) ตามความรุนแรงของค่าฝุ่น PM2.5 ถ้ามีฝุ่นเยอะก็จะแจกหน้ากากอนามัยให้นักเรียน ใส่ 2 ชั้นก็สามารถกองฝุ่นได้เกือบ 90% ช่วยบรรเทาได้ ไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากาก N95 ซึ่งมีราคาสูง ในส่วนของโรงเรียนวิชูทิศมีห้องปลอดภัย 3 ห้อง เป็นห้องปิดมีตัวกรองอากาศ สำหรับกลุ่มเปราะบาง เด็กที่มีโรคหอบหืด โรคประจำตัว หรือเด็กเล็ก หากถึงช่วงวิกฤตอาจพิจารณาว่าต้องให้หยุดเรียน หรือเข้าห้องปลอดภัย โดยมาตรการนี้ได้ทำทุกโรงเรียนทั้ง 437 แห่ง
ด้านพล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวว่า นอกจากเรื่องฝุ่นแล้ว ตามนโยบายการศึกษาดีของ กทม. ยังเน้นเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ผู้ปกครองและครู โรงเรียนวิชูทิศคือโรงเรียนต้นแบบในทุกมิติ เช่น ดำเนินการเรื่องทางข้ามถนนโดยติดตั้งปุ่มสัญญาณไฟในการข้าม และกำลังจะมีการขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการป้องปรามสิ่งเสพติดในโรงเรียน รวมถึงเรื่องอาหาร และเรื่องอื่นๆ ที่มีการแจ้งผ่านทราฟฟี่ ฟองดูว์ ทั้งนี้ จะมีการแก้ไขในทุกเรื่องที่มีการร้องเรียนเข้ามา โดยเฉพาะผู้อำนวยการศึกษาต้องสอดส่องดูแลความปลอดภัยในมิติต่างๆ รอบโรงเรียน เพราะ กทม.มีนักเรียนในสังกัดกว่า 250,000 คน ครู 14,000 คน ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาเพื่อดูแลนักเรียนในสังกัด กทม.ให้ดีที่สุด โดยเฉพาะจากนี้เป็นต้นไป นักเรียนและบุคลากรรวมถึงผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องเรียนรู้วิธีการทำ CPR เพื่อช่วยชีวิตเบื้องต้น โดยจะบรรจุหลักสูตรเข้าไปในระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน นอกจากนี้ กทม.ได้ติดตั้งระบบ Thai School Lunch for BMA โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรงเรียน สามารถกำหนดรายการอาหารเช้าและอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและมีคุณภาพครบถ้วน สะอาด ปลอดภัย รสชาติอร่อย ภายใต้โครงการอาหารนักเรียนกรุงเทพมหานครอีกด้วย