การแปลว่า นั่นไม่เป็นเรา กับ เราไม่เป็นนั่น และ นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา กับ นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา มีความหมายต่างกันไหม?

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ (ฉบับหลวง)
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา

***********************
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

เพิ่มเติมอีกนิดหนี่ง
      นั่นไม่ใช่เรา  กับ นั่นไม่เป็นเรา   มีความหมายต่างกันไหม?
      นั่นไม่ใช่เรา  กับ เราไม่เป็นนั้น   มีความหมายต่างกันไหม?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 97
ให้เครดิต คุณเมฆน้อยคอยดาว  ยกเเป็นความเห็นถูกใจ

ความคิดเห็นที่ 95-5

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=25

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๕. อรหันตสูตร ว่าด้วยพระอรหันต์
             [๒๕] เทวดากล่าวว่า
                          ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว
                          สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
                          ภิกษุนั้นกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
                          กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว
                          สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
                          ภิกษุนั้นกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
                          กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง

                          ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาด ทราบคำพูดที่รู้กันในโลก
                          เธอกล่าวตามสมมติที่เขาพูดกัน
             เทวดานั้นทูลถามว่า
                          ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว
                          สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
                          ภิกษุนั้นยังติดมานะอยู่หรือหนอ
                          จึงกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
                          กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          กิเลสเครื่องผูกทั้งหลายไม่มีแก่ภิกษุผู้ละมานะได้แล้ว
                          มานะและกิเลสเครื่องผูกทั้งปวงอันภิกษุนั้นกำจัดได้แล้ว
                          ภิกษุผู้มีปัญญาดีล่วงพ้นความถือตัวได้แล้ว
                          ภิกษุนั้นกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
                          กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง
                          ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาด ทราบคำพูดที่รู้กันในโลก
                          เธอกล่าวตามสมมติที่เขาพูดกัน
                                   อรหันตสูตรที่ ๕ จบ

เมฆน้อยคอยดาว  
28 นาทีที่แล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่