“รอบคัดเลือก Shortlist” รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2564


ในปีพุทธศักราช 2564 การประกวดรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) เป็นการประกวดวรรณกรรมประเภทนวนิยาย มีหนังสือส่งเข้าประกวดทั้งหมด 60 เรื่อง จัดพิมพ์ครั้งแรกในปีนี้ถึง 34 เรื่อง และก่อนหน้านั้นอีก 26 เรื่อง นับเป็นความคึกคักของวงการหนังสือท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ยังคงวิกฤตต่อเนื่องจากปีที่แล้ว
 
 
หนังสือนวนิยายที่ส่งเข้าประกวดในปี 2564 นี้ สะท้อนถึงความสนใจของนักเขียนต่อเรื่องราวที่หลากหลาย ปรากฏการณ์เด่นชัดประการหนึ่งคือการแสดงสํานึกในความเป็่นเรื่องแต่งอย่างสลับซับซ้อน  แสดงความตระหนักรู้ถึงอํานาจของผู้แต่งที่สอดแทรกในกระบวนการแต่งเรื่อง  บางเรื่องสร้างตัวละครเป็นนักเขียน บางเรื่องวิพากษ์ความเป็นนักเขียนของตนเอง บางเรื่องนําเสนอเรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่า แต่ในด้านที่กลับกันความตระหนักรู้นั้นแสดงออกด้วยการหวนกลับมาเล่นกบกลวิธีการ "เล่าเรื่อง” อย่างแนบเนียน  นวนิยายหลายเรื่องที่ดูเหมือนจะธรรมดาสามัญกลับซ่อนลีลาและกลวิธีการประพันธ์ที่ละเอียดประณีตไว้อยางแยบคาย
 
 
ปรากฏการณ์เด่นอีกประการหนึ่งคือการเขียนเกี่ยวกับความทรงจําและการบันทึกอดีต นวนิยายจํานวนมากเล่าถึงการรื้อฟื้นเรื่องราวที่หายไป  ตั้งคําถามต่อการจํา การลืม กระทั่งถึงการไม่จํา  หลายเรื่องบอกเล่าอดีตในฐานะประวัติศาสตร์ระดับชาติ ระดับสังคมไปจนถึงระดับปัจเจกบุคคล เพื่อเยียวยาค้นหาตัวตนผ่านการขุดลึกถึงรากแห่งอดีตด้วยการขับเน้นผัสสะและประสบการณ์ทางอารณ์  หรือเยียวยาบาดแผลที่ประวัติศาสตร์ฝากรอยไว้
 
 
ที่น่าสนใจคือการนําเสนอเรื่องราวในฉากต่างแดนรอบรั้วประเทศไทย ไม่เพียงสร้างการรับรู้สถานะ ของประเทศไทยในฐานะสวนหนึ่งของภูมิภาคและของโลก หากยังสร้างความคลุมเครือชวนฉงนระหวางความ่เป็นจริงทางประวัติศาสตร์ กับการเป็นเพียงแค่ฉากในไพรัชนิยายของนักเขียน

สุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือปรากฏการณ์การเขียนเรื่องชีวิต ครอบครัว ความรัก และนวนิยายแนววิจารณ์สังคมการเมือง ซึ่งได้รับความนิยมเสมอมาในเส้นทางการเติบโตของนวนิยายไทย
 
 
นวนิยายชีวิต ครอบครัว ความรักยังคงเสนอเรื่องราวอุปสรรคที่นําไปสู่ความผิดหวังและความสมหวัง ทว่าสิงที่เพิ่มมาคือการตกอยู่ในภาวะ ‘ระหว่างกลาง’ (in-betweenness) และการปรับศูนย์กลางในการเล่าเรื่อง จากมิติความเป็นชายเป็นหญิงไปสู่การนําเสนออารมณ์ความคิดความปรารถนาในมิติทางศาสนาและเพศวิถี
 
 
สุดท้ายคือนวนิยายแนวสังคมการเมืองซึ่งนําเสนอภาพและวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เห็นว่าเป็นปัญหา นวนิยายที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้จับแง่มุมทางสังคมวัฒนธรรมมาบอกเล่าอย่างหลากหลาย ครอบคลุมมิติทาง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และสิ่งท้องถิ่งแวดล้อม โดยถ่ายทอดผ่านฉากสังคมร่วมสมัย หรือโลกอนาคตและดินแดนจินตนิมิต ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในบริบทสังคมการเมืองปัจจุบัน
 
 
กล่าวได้ว่าจุดร่วมของนวนิยายทั้ง 60 เรื่องคือการส่งสารทางความคิดผ่านรูปแบบและกลวิธีต่างๆ กัน สอดรับกับกลุ่มผู้อ่านที่ขยายวงออกไป ความหลากหลายของเรื่องราวและแนวประพันธ์ จึงสะท้อนความหลากหลายของกลุ่มนักเขียนและกลุ่มนักอjานที่เติบโตต่อเนื่องกันมา และจะเป็นกำลังสําคัญในอันที่จะผลักดันให้วงการนวนิยายไทยก้าวหน้าต่อไป
 


อาจารย์เสาวณิต จุลวงศ์ ประธานกรรมการรอบคัดเลือกฯ แนะนำคณะกรรมการรอบคัดเลือกฯ และประกาศผลนวนิยายที่ผ่านเข้ารอบรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2564 จำนวน 10 เรื่อง
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ




ภาพรวมของการประกวดรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2564 ประเภทนวนิยาย
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


พาพันขยันพาพันไฟท์ติ้งพาพันเคลิ้ม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่