Update 3 Oct 2021 16:00
ในภาพ เป็นโมเดลคาดการณ์ช่วงค่ำวันที่ 12 ตุลาคม
เรียบร้อยครับ พายุในโมเดลโดนความกดอากาศสูง, H จากดินแดนทางตอนเหนือเข้าไป (อากาศที่เย็นและแห้ง)
ขึ้นฝั่งปุ๊บ ก็ชะงัก และสลาย มาได้ถึงแค่ที่เวียดนาม เป็นอย่างที่ คห.#1 คุณต้นโพธิ์ต้นไทร บอกไว้เลย
ภาคเหนือปลายฝน คงยากจะหวังให้มีพายุผ่านเข้ามาเติมน้ำให้แล้ว T__T
เขื่อนภูมิพล ปีนี้มีน้ำเติมมากกว่าช่วงสองปีก่อนหน่อย
แต่เขื่อนสิริกิติ์ ยังมีน้ำน้อยน่าใจหาย
ปีหน้า (2565) ช่วงหน้าแล้งคงจะมีปัญหาขาดแคลนน้ำบ้าง
เขื่อนก็ต้องทยอยปล่อยน้ำที่เก็บไว้ ออกไปใช้ตลอดช่วงหน้าแล้ง จนน้ำที่มีน้อยอยู่แล้วหมด,เกือบหมด
แล้วหน้าฝนปีหน้าก็ไปลุ้นระทึกแบบที่สุด ว่าพื้นที่เหนือเขื่อนภาคเหนือจะฝนแล้งต่อเนื่องอย่างที่เป็นมาช่วงสามปีนี้อีกไหม
เพราะถ้าพื้นที่ต้นน้ำของไทยกลายเป็นพื้นที่ฝนแล้งยาวนานจากวิกฤตสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง นี่หายนะของจริงของประเทศนี้เลย
========== ข้างล่างนี้ข้อความเก่า ==========
ในภาพเป็นโมเดลคาดการณ์ 00:00 น. วันที่ 12 ตุลาคม 2564
โมเดลพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้า ECMWF (European Centre for Medium-Range Weather Forecasts) จาก Windy.com
คาดการณ์ว่าราวๆวันที่ 11-14 ตุลาคม 2546 มีแนวโน้มจะเกิดพายุใหญ่ และพัดตรงเข้ามาในไทย
แนวโน้มพื้นที่พายุผ่าน : ภาคอีสานตอนบน และ ภาคเหนือ??
ขอให้ผู้อยู่ในแนวเส้นทางพายุ ผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมถึง ติดตามข่าวสารสภาพอากาศในระยะนี้อย่างใกล้ชิด เพราะหากพายุก่อตัวและเคลื่อนเข้ามาตามคาดการณ์ จะได้เตรียมตัวรับมือกับพายุลูกนี้ได้ทันแต่เนิ่นๆ เช่นขนย้ายข้าวของขึ้นที่สูง และเตรียมการอพยพชั่วคราวออกจากพื้นที่น้ำท่วมถึงไปอยู่ในจุดอื่นที่ปลอดภัย
วันที่ 3 ต.ค. 64 พายุลูกนี้ยังไม่ก่อตัว จึงยังไม่มีประกาศเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
----------
นั่งดูโมเดลพายุลูกนี้มาหลายวัน เริ่มจากเห็นเป็นลมหมุนม้วนๆ อยู่ในทะเลแถวเวียดนาม แล้วยึกยักๆ ร่ำๆเหมือนจะพัดปลิวขึ้นไปทางตอนเหนือ แต่เมื่อวานโมเดลพยากรณ์ลากให้มันมาทางตะวันตก ขึ้นฝั่งเวียดนาม ผ่านลาว แล้วจะเคลื่อนเข้ามาหาภาคเหนือของไทย?
ซึ่งถ้าได้พายุเข้ามาถึงภาคเหนือจังๆ ดังคาด จะเป็นผลดีในระยะต่อไป
เพราะน้ำเกือบทั้งหมดจะถูกกักไว้ในเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสองของภาคเหนือ (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์) ที่ขณะนี้กำลังมีระดับน้ำร่อยหรอ เขื่อนยังว่าง พร้อมรองรับน้ำปริมาณมหาศาลได้อย่างสบายๆ (ยกเว้นแม่น้ำยม ที่ยังไม่มีเขื่อนอะไรเลย กับ เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง ที่ตอนนี้ระดับน้ำล้นแล้ว)
หากปีนี้เขื่อนทางภาคเหนือได้น้ำเข้ามาเติมอย่างเพียงพอ ปัญหาภัยแล้งของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตลอดสายในปีหน้า(2565) ก็จะไม่มี
.
เตือนภัย ภาคอีสาน ภาคเหนือ จะมีพายุพัดเข้ามาช่วงวันที่ 11-14 ตุลาคม 2564 (โมเดล ECMWF)
ในภาพ เป็นโมเดลคาดการณ์ช่วงค่ำวันที่ 12 ตุลาคม
เรียบร้อยครับ พายุในโมเดลโดนความกดอากาศสูง, H จากดินแดนทางตอนเหนือเข้าไป (อากาศที่เย็นและแห้ง)
ขึ้นฝั่งปุ๊บ ก็ชะงัก และสลาย มาได้ถึงแค่ที่เวียดนาม เป็นอย่างที่ คห.#1 คุณต้นโพธิ์ต้นไทร บอกไว้เลย
ภาคเหนือปลายฝน คงยากจะหวังให้มีพายุผ่านเข้ามาเติมน้ำให้แล้ว T__T
เขื่อนภูมิพล ปีนี้มีน้ำเติมมากกว่าช่วงสองปีก่อนหน่อย
แต่เขื่อนสิริกิติ์ ยังมีน้ำน้อยน่าใจหาย
ปีหน้า (2565) ช่วงหน้าแล้งคงจะมีปัญหาขาดแคลนน้ำบ้าง
เขื่อนก็ต้องทยอยปล่อยน้ำที่เก็บไว้ ออกไปใช้ตลอดช่วงหน้าแล้ง จนน้ำที่มีน้อยอยู่แล้วหมด,เกือบหมด
แล้วหน้าฝนปีหน้าก็ไปลุ้นระทึกแบบที่สุด ว่าพื้นที่เหนือเขื่อนภาคเหนือจะฝนแล้งต่อเนื่องอย่างที่เป็นมาช่วงสามปีนี้อีกไหม
เพราะถ้าพื้นที่ต้นน้ำของไทยกลายเป็นพื้นที่ฝนแล้งยาวนานจากวิกฤตสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง นี่หายนะของจริงของประเทศนี้เลย
========== ข้างล่างนี้ข้อความเก่า ==========
ในภาพเป็นโมเดลคาดการณ์ 00:00 น. วันที่ 12 ตุลาคม 2564
โมเดลพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้า ECMWF (European Centre for Medium-Range Weather Forecasts) จาก Windy.com
คาดการณ์ว่าราวๆวันที่ 11-14 ตุลาคม 2546 มีแนวโน้มจะเกิดพายุใหญ่ และพัดตรงเข้ามาในไทย
แนวโน้มพื้นที่พายุผ่าน : ภาคอีสานตอนบน และ ภาคเหนือ??
ขอให้ผู้อยู่ในแนวเส้นทางพายุ ผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมถึง ติดตามข่าวสารสภาพอากาศในระยะนี้อย่างใกล้ชิด เพราะหากพายุก่อตัวและเคลื่อนเข้ามาตามคาดการณ์ จะได้เตรียมตัวรับมือกับพายุลูกนี้ได้ทันแต่เนิ่นๆ เช่นขนย้ายข้าวของขึ้นที่สูง และเตรียมการอพยพชั่วคราวออกจากพื้นที่น้ำท่วมถึงไปอยู่ในจุดอื่นที่ปลอดภัย
วันที่ 3 ต.ค. 64 พายุลูกนี้ยังไม่ก่อตัว จึงยังไม่มีประกาศเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
----------
นั่งดูโมเดลพายุลูกนี้มาหลายวัน เริ่มจากเห็นเป็นลมหมุนม้วนๆ อยู่ในทะเลแถวเวียดนาม แล้วยึกยักๆ ร่ำๆเหมือนจะพัดปลิวขึ้นไปทางตอนเหนือ แต่เมื่อวานโมเดลพยากรณ์ลากให้มันมาทางตะวันตก ขึ้นฝั่งเวียดนาม ผ่านลาว แล้วจะเคลื่อนเข้ามาหาภาคเหนือของไทย?
ซึ่งถ้าได้พายุเข้ามาถึงภาคเหนือจังๆ ดังคาด จะเป็นผลดีในระยะต่อไป
เพราะน้ำเกือบทั้งหมดจะถูกกักไว้ในเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสองของภาคเหนือ (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์) ที่ขณะนี้กำลังมีระดับน้ำร่อยหรอ เขื่อนยังว่าง พร้อมรองรับน้ำปริมาณมหาศาลได้อย่างสบายๆ (ยกเว้นแม่น้ำยม ที่ยังไม่มีเขื่อนอะไรเลย กับ เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง ที่ตอนนี้ระดับน้ำล้นแล้ว)
หากปีนี้เขื่อนทางภาคเหนือได้น้ำเข้ามาเติมอย่างเพียงพอ ปัญหาภัยแล้งของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตลอดสายในปีหน้า(2565) ก็จะไม่มี
.