JJNY : เทียบนโยบาย!ประกันรายได้ ‘จำนำข้าว’│ผลสำรวจชี้อยากเที่ยวแต่ทำไม่ได้│รพ.เจริญกรุงฯเสีย‘พญ.’│สิงคโปร์เตรียมเปิดปท.

เทียบนโยบาย! ย่างเข้าปีที่ 3 ประกันรายได้ชาวนา งบบาน-อุดหนุนน้อยกว่า ‘จำนำข้าว’
https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/101413-gov-rice-Income-insurance-farmer-pawn-paddy-3-year-report-new.html
 
“…เท่ากับว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในช่วง 2 ปีการผลิต (ปี 2562/63 และปี 2563/64) 
ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้วงเงินสนับสนุนโครงการฯทั้งสิ้น 253,255 ล้านบาท 
เป็นเงินงบประมาณจ่ายขาด 194,471 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อ 58,784 ล้านบาท…”
 
.........................
กำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 3 ของโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
 
ล่าสุดเมื่อต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาด ที่มี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นประธาน มีมติเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 โดยมีหลักเกณฑ์การชดเชย ‘ส่วนต่างราคา’ เช่นเดียวกับโครงการปีที่ 2
 
พร้อมทั้งเห็นชอบ ‘มาตรการคู่ขนาน’ เพื่อพยุงราคาข้าวเปลือก เช่น การสนับสนุนให้เกษตรกรชะลอขายข้าวเปลือก โดยสนับสนุนค่าเก็บข้าวเปลือก 1,500  บาท/ตัน การสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้นต่ำ 3% ให้โรงสีและสถาบันเกษตรกรซื้อข้าวเปลือกมาเก็บสต็อก และมาตรการสนับสนุนการส่งออกข้าว เป็นต้น
 
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะเสนอโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและมาตรการคู่ขนาน ปี 2564/65 ให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป
 
แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีการระบุถึง ‘วงเงิน’ ที่ชัดเจน สำหรับใช้ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและมาตรการคู่ขนาน แต่เป็นที่คาดหมายกันว่าวงเงินที่ใช้ในการดูแลชาวนาในปีนี้ (ปี 2564/65) น่าจะอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท เช่นเดียวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562/63 และปี 2563/64)
  
@ประกันรายได้ชาวนาปีแรก รัฐเทงบ-สินเชื่อ 1.06 แสนล้าน
 
ย้อนกลับเมื่อวันที่ 27 ส.ค.2562 ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีที่ 1 หรือปี 2562/63 วงเงิน 21,495 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นวงเงินชดเชย ‘ส่วนต่างราคา’ จำนวน 20,940 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 555 ล้านบาท เป็นค่าบริหารจัดการ
 
พร้อมทั้งอนุมัติงบประมาณเพื่อช่วยเหลือค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63 ประกอบด้วย การช่วยเหลือต้นทุนการผลิต และการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว เป็นเงินทั้งสิ้น 55,606 ล้านบาท โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับเงินช่วยเหลือกว่า 4.5 ล้านครัวเรือน
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2562/63 อีก 3 โครงการ ได้แก่
 
1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ปีการผลิต 2562/63 วงเงิน 10,000 ล้านบาท เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก พร้อมเงินจ่ายขาดเพื่อเป็นค่าเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในยุ้งฉาง 1,500 ล้านบาท โดยมีค่าบริหารจัดการ เช่น ชดเชยดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายในการระบายข้าว ค่าขนย้าย และส่วนต่างภาระขาดทุนจากการระบายข้าวอีก 1,370 ล้านบาท
 
2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2562/63 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
 
การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 15,000 ล้านบาท เป้าหมาย 1.5 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ย 562 ล้านบาท
 
3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2562/2563 โดยกรมการค้าภายใน เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้โรงสีที่เข้าร่วมโครงการ วงเงินทั้งสิ้น ล้านบาท
 
เท่ากับว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 มีวงเงินจ่ายขาดและวงเงินสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 106,043 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินงบประมาณจ่ายขาด 81,043 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท
 
@ประกันรายได้ชาวนาปีที่ 2 รัฐอัดฉีดงบ-สินเชื่อเพิ่มเป็น 1.47 แสนล.
 
ขณะที่การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรปีที่ 2 นั้น ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2563 มีมติเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 การช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้เกษตรผู้ปลูกข้าว พร้อมทั้งเห็นชอบมาตรการคู่ขนาน หรือมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก
เป็นวงเงินจ่ายขาดและวงเงินสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 147,212 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินจ่ายขาด 113,428 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อ 33,784 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 โครงการ ได้แก่
 
1. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 วงเงินจ่ายขาด 23,495.71 ล้านบาท เป็นวงเงินชดเชยส่วนต่างราคา 22,957.37 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ธ.ก.ส. วงเงิน 538.34 ล้านบาท
 
ต่อมา ครม.มีมติอนุมัติเพิ่มวงเงินจ่ายขาดเพื่อชดเชยส่วนต่างราคาข้าวเปลือก 2 ครั้ง เนื่องจากราคาข้าวเปลือกในตลาดมีราคาตกต่ำ ส่งผลให้วงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 เพิ่มเป็น 50,646 ล้านบาท
 
2. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ปีการผลิต 2563/64 วงเงิน 19,826.76 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อ 15,284 ล้านบาท (เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน) และวงเงินจ่ายขาด 4,542.76 ล้านบาท โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวตันละ 1,500 บาท
 
ต่อมา ครม.เห็นชอบขยายเป้าหมายโครงการฯ เป็น 1.82 ล้านตัน ส่งผลให้วงเงินในโครงการเพิ่มเป็น 24,331 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อ 18,784 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด (ค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าว ชดเชยดอกเบี้ย ค่าบริหารโครงการ ค่าขนย้ายและส่วนต่างภาระขาดทุนจากการระบายข้าว) 5,546 ล้านบาท

3. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 วงเงิน 15,562.50 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท (เป้าหมาย 1 ล้านตัน) และวงเงินจ่ายขาด 562.50 ล้านบาท
 
4. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก ปีการผลิต 2563/64 วงเงินจ่ายขาด 610 ล้านบาท ตั้งเป้าดูดซับข้าวเปลือก 4 ล้านตัน เก็บไว้ในสต๊อก 2-6 เดือน
 
5. โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 วงเงินจ่ายขาด 56,063.63 ล้านบาท แบ่งเป็นงบจ่ายขาดให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4.56 ล้านครัวเรือน ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ วงเงิน 54,828.08 ล้านบาท และการชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. วงเงิน 1,233.63 ล้านบาท
 
หรือเท่ากับว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในช่วง 2 ปีการผลิต (ปี 2562/63 และปี 2563/64) ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้วงเงินสนับสนุนโครงการฯทั้งสิ้น 253,255 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณจ่ายขาด 194,471 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อ 58,784 ล้านบาท
 
ดังนั้น หากโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีที่ 3 หรือปี 2564/65 รัฐบาลอนุมัติจัดสรรงบประมาณจ่ายขาด ซึ่งไม่รวมวงเงินสินเชื่อในโครงการต่างๆ ใกล้เคียงกับปี 2563/64 หรือประมาณ 1.13 แสนล้านบาท คาดว่าจะทำให้การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรในช่วง 3 ปีการผลิต จะใช้งบประมาณจ่ายขาดรวมทั้งสิ้นประมาณ 3 แสนล้านบาท
 
อย่างไรก็ตาม หากเทียบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กับ 'โครงการรับจำนำข้าวเปลือก' ในสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ดำเนินการในช่วง 3 ปีการผลิต รวม 4 โครงการ
 
ได้แก่ โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2554/55 ,โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ,โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2555/56 และโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2556/57 ซึ่งใช้วงเงินสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 881,262 ล้านบาท และมีรายรับจากการระบายผลผลิต 357,393.46 ล้านบาท ส่งผลให้โครงการรับจำนำข้าวเปลือก มีผลขาดทุนรวมทั้งสิ้น 523,868.54 ล้านบาท
 
จึงสรุปได้ว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนชาวนา ‘น้อยกว่า’ โครงการรับจำนำข้าวเปลือกในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท ในห้วงเวลาในดำเนินการโครงการที่เท่ากัน คือ ในช่วง 3 ปีการผลิต
 
เพียงแต่ว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่ย่างเข้าสู่ปีที่ 3 นั้น กำลังเจอปัญหาสำคัญ นั่นก็คือรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนต่างราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะหากเทียบงบชดเชยส่วนต่างราคา ในปี 2562/63 และปี 2563/64
 
พบว่า งบจ่ายขาดเพื่อชดเชย ‘ส่วนต่างราคา’ เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 เท่าตัวเลยทีเดียว!
 

  
ผลสำรวจชี้ คนไทยอยากเที่ยวคลายเครียดแต่ทำไม่ได้ แถมข่าวรัฐบาล-ยอดติดเชื้อ ซ้ำเติมสุขภาพจิต
https://brandinside.asia/survey-from-online-travel-startup/
 
“มาคาเลียส” (Makalius) สตาร์ทอัพธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทย ได้จัดทำโพลสำรวจความพึ่งพอใจผู้บริโภค พบว่าความ “เครียด” คือ เหตุผลหลักที่ทำให้คนอยากออกไปท่องเที่ยว 
 
นางสาวณีรนุช ไตรจักร์วนิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาคาเลียส ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คนไทยส่วนใหญ่มักจะเลือก “การเที่ยว” มาช่วยผ่อนคลายความเครียด แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวปกติทำไม่ได้ 

ล่าสุดทางบริษัทฯ จึงได้จัดทำแบบสอบถามประเมินความพึ่งพอใจกลุ่มลูกค้า และได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในเพจเฟสบุ๊ค รวมถึงการพูดคุยกับลูกค้าผ่าน Call Center ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้อยากออกไปท่องเที่ยวในช่วงเวลานี้มากที่สุด พบว่า สาเหตุหลักมาจากความ “เครียด”  
 
ทางบริษัท Makalius ได้จำแนกความเครียดออกมาเป็น 7 อย่างด้วยกัน
 
ความเครียดจากข่าวโควิด คนติดเชื้อพุ่ง คนตกงานอีกเพียบ
 
เริ่มต้นที่ “ข่าวโควิด-19” ถือเป็นความเครียดอันดับแรกๆ ของใครหลายคน เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ โควิด-19 เป็นเรื่องใกล้ตัวเข้าไปทุกที อีกทั้งการนำเสนอข่าวที่ทำให้เห็นภาพของจำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวันที่พุ่งสูงขึ้นเกินกว่าหมื่นคน 
  
อีกทั้งภาพความลำบากของคนตกงาน ภาพความลำบากของการเข้ารับการรักษา จึงส่งผลให้ผู้เสพสื่อเกิดความเครียดและความหดหู่เป็นจำนวนมาก 
  
รัฐบาลจัดการแย่ทำคนเครียดซ้ำ
  
เหตุผลต่อมาคือ “การบริหารงานของรัฐบาล” ที่ถูกประชาชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการบริหารจัดการโควิด-19 ทั้งการตรวจเชิงรุก การรักษา การจัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับประชาชน การใช้งบประมาณแผ่นดินที่ผิดพลาด รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นโดยไม่มีเหตุผลสอดคล้องกับการแก้ไขสถานการณ์ในปัจจุบัน 
  
Work from home สาเหตุความเครียดของชาวออฟฟิศ
  
ส่วนความเครียดของหนุ่มสาวออฟฟิศจะเป็นเรื่อง “Work From Home” เสียงส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการทำงานที่บ้านนั้นมีความเครียดมากกว่าการทำงานที่ออฟฟิศ และเหมือนจะทำงานหนักกว่าอยู่ที่ออฟฟิศ อีกทั้งยังขาดปฏิสัมพันธ์ในสังคม ขาดการพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่