พริกขี้หนูและพริกต่างๆที่เราใส่ในอาหารไทยทำให้มีรสชาติเผ็ดจนเป็นเอกลักษณ์ของชาติ จริงๆแล้วพริกไม่ใช่พืชพื้นเมืองของไทย ?

พริกขี้หนู พริกกะเหรี่ยง และพริกต่างๆที่ทำให้อาหารไทยมีรสชาติเผ็ดร้อน (ยกเว้น พริกไทย ที่เป็นพืชพื้นเมือง) จนเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยมาจนปัจจุบัน จริงๆ พริกพวกนี้ไม่ได้เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในไทยเอง แต่มาไกลมากกกกก จากทวีปที่ห่างไกลกับไทยสุดๆ (ถ้านั่งเครื่องบินยังมี 20 ชั่วโมงขึ้นไป แล้วสมัยไม่มีเครื่องบินจะนานขนาดไหน ?) อย่างทวีปอเมริกากลางในเม็กซิโก ลากยาวลงไปถึงอเมริกาใต้ของเวเนซูเอล่า เปรู และชิลี ใช่มั้ยครับ (ชิลี คือ Chilli ที่แปลว่า พริกรึเปล่าครับ สงสัยมานาน 5555) เพราะ อากาศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้คล้ายๆกับอากาศบ้านเรา คือ ร้อนชื้น เลยสามารถปลูกพริกในไทยได้สบายๆ



มีคนบอกว่าพริกพึ่งเข้าไทยมาในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เอง แล้วในละครบุพเพสันนิวาสที่เป็นสมัยอยุธยา ในช่วงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีฉากการทำน้ำจิ้มซีฟู้ดกินกับกุ้งเผา ก็ผิดน่ะซิ่ครับ เพราะ สมัยอยุธยา พริกขี้หนู พริกกระเหรี่ยง ที่ใช้ทำน้ำจิ้มซีฟู้ด ยังไม่ถูก import จากเม็กซิโกและอเมริกาใต้ นำเข้ามาในไทย หรือในอยุธยาเลย

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
จากข้อมูลของดร.สุรีย์ ช่วงเวลาที่ปีเตอร์ มาร์ทิล นำพริกมาปลูกที่สเปน คือเมื่อ พ.ศ. 2096 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อชาวสเปนและโปรตุเกสนำพริกเข้ามาในเอเชีย โดยเริ่มปลูกในอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2128 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งราชวงศ์สุโขทัยของกรุงศรีอยุธยา

เป็นที่รู้กันว่าอินเดียเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมการกิน พวกเขาขึ้นชื่อเรื่องอาหารรสจัด และเครื่องแกง ดร.สุรีย์ บรรยายว่า อินเดียเผยแพร่วัฒนธรรมการกินไปยังกลุ่มคนละแวกใกล้เคียง พริกจากอินเดียเริ่มเผยแพร่เข้าในจีนและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อ พ.ศ. 2143 จึงเชื่อว่า คนไทยน่าจะเริ่มลิ้มรสเผ็ดของพริกหลังจากผ่านช่วงต้นสมัยอยุธยาไปแล้ว

อ้างอิง https://www.silpa-mag.com/history/article_25402
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่