Digestible Dhamma: ภาวนา ≠ สวดมนต์

ในทำนองเดียวกันกับคำว่าอธิษฐานที่ไม่ได้แปลว่าการขอ

ถ้าใครเข้าใจว่า "ภาวนา" แปลว่าการท่องบททำปากมุบมิบๆ หรือการสวดมนต์ ท่องคาถา

Digestible Dharma ก็ต้องบอกว่าเป็นความเข้าใจที่...... (ชี้นิ้วแบบคุณปัญญารายการแฟนพันธุ์แท้ อีกรอบ).....

ผิดครับ!!!



จริงๆแล้วคำว่า "ภาวนา" เป็นคำบาลี มีความหมายว่า การทำให้เกิด, การทำให้พัฒนา, การปลูกฝังด้วยจิตใจ

ในภาษาไทยเราอาจแปลกันว่า "เจริญ" ก็ได้

ยกตัวอย่างเช่น

1) เจริญสมาธิ เรียกว่า สมาธิภาวนา คือการทำให้เกิดสมาธิ เช่น การนั่งสมาธิ การสวดมนต์ การนับลูกประคำ เป็นต้น สังเกตว่าจะเป็นการเน้นให้เกิดสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ถ้าใครทำสมาธิภาวนามากก็จะมีผลเป็น"ฌาน" คือมีความตั้งมั่นของจิต(สมาธิ)​ระดับต่างๆ เป็นต้น

2) เจริญวิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา คือการทำให้เกิดวิปัสสนา(ความเห็นแจ้ง)​ เกิดปัญญาดับทุกข์ได้ เช่น สติปัฏฐาน การฝึกพิจารณาขันธ์5 เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าเป็นการเน้นให้เกิดวิปัสสนา(การรู้แจ้ง)​หรือก็คือเกิดปัญญา ที่นำไปสู่การดับทุกข์ได้ ถ้าใครทำวิปัสสนาภาวนามากๆก็จะมีผลเป็น"ญาน" คือมีความรู้แจ้ง(ปัญญา)​ระดับต่างๆ นั่นเอง

_______________________________

เข้าใจคำว่าภาวนาอย่างนี้แล้ว เวลามีใครชวนไปเข้าวัดไปภาวนา
Digestive Dharma ก็อยากชวนให้ลองสังเกตหรือลองถามดูว่าเขาชวนไปภาวนาอะไร???

_______________________________

อ้างอิง:
: ภู + ยุ > อน = ภูน > โภน > ภาวน + อา = ภาวนา แปลตามศัพท์ว่า “คุณชาตที่ยังกุศลให้มีขึ้น” หมายถึง การทำให้เกิด, การอาศัยบางสิ่ง, การพร่ำคิดถึง (อะไรบางอย่าง), การเอาใจใส่, การทำให้พัฒนาโดยความคิดหรือวิปัสสนา, การปลูกฝังด้วยจิตใจ, การเพาะใจ (producing, dwelling on something, putting one’s thoughts to, application, developing by means of thought or meditation, cultivation by mind, culture)

หนังสือปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตฺโต)​
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่