สติ กับ สัมปชัญญะ ต่างกันอย่างไร
สติ กับสัมปชัญญะ ถือว่า เป็นบันไดขั้นแรก ของนักปฏิบัติ วิปัสสนา
ดังนั้น จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่หลายท่านคงคิดว่าง่ายเกินไป ไม่น่าสนใจ ก็ผ่านไปก่อนก็ได้ วันนี้ขอคุยกับกัลยาณมิตร มือใหม่เหมือนผมนี้แหละ มาช่วยกันแสดงความคิดเห็นเยอะๆนะครับ ถูกบ้างผิดบ้างไม่เป็นไร วันนี้อาจยาวไปสักหน่อยไม่รู้จะมีคนอ่านหรือเปล่า
ผมศึกษาพระพุทธศาสนาก็เพราะ อยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร พอศึกษาแล้วรู้สึกชอบก็เลยไปต่อ ยิ่งมาคุยกับหลายๆท่านยิ่งทำให้รู้ว่า มีเรื่องที่เราไม่รู้อีกมากมาย
ครับเข้าเรื่อง
สติ หมายถึง ความระลึกได้
สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัว
- สติ เป็นสิ่งที่มาจาก จิตซึ่งถือว่าเป็นธาตุรู้ สติเป็นชื่อเจตสิก จิตที่มีสติ ก็หมายถึง จิตระลึกได้ ระลึกถือสิ่งที่เกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เคยเกิดมาแล้วก่อนหน้านั้น
- สัมปชัญญะ เป็นสิ่งที่เกิดจาก นิพพานธาตุ ซึ่งถือว่าเป็นธาตุรู้อีกอันหนึ่ง สัมปชัญญะ หมายถึงความรู้สึกตัว เช่นรู้ว่า ขณะนี้กำลังเกิดอะไรขึ้น เช่น กำลังหายใจเข้าออก กำลังโกรธ กำลังยกขาก้าวย่าง ยกไม้ยกมือเป็นต้น
มีคนแยกกับผมอย่างมากที่ผมบอกว่า ในร่างกายเรามีธาตุรู้อยู่สองตัว
ถ้าท่านปล่อยวางก่อน แล้วลองมาฟังผมพูด
ในตัวเรามี อยู่สี่สิ่ง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิต ถือว่านามธาตุที่เป็นธาตุรู้ ซึ่ง เป็นสังขตะธาตุ สามารถ ปรุงแต่ง ได้ เป็นส่วนหนึ่งในขันธ์ห้า จิต เจตสิก รูป สามอย่างนี้ก็คือขันธ์ห้านั้นเอง
นิพพาน เป็นนามธาตุที่ เป็นอสังขตะธาตุ เป็นธาตุที่ไม่สามรถปรุงแต่งได้
อันนี้เคยโต้แยงกับหลายๆท่านในเวบ บางท่านบอกว่า ถ้านิพพานอยู่ในตัวเราจริง เราก็บรรลุธรรมละสิ บางท่านบอกว่า นิพพานเป็นสภาวะเท่านั้น มิได้เป็นธาตุแต่อย่างได
ถ้าเราพิจารณา นิพพานเป็นเพียงชื่อ นามธาตุอันหนึ่ง ยกตัวอย่าง ทองในธรรมชาติ ทองมิได้อยู่อย่างบริสุทธิ จะอยู่ปนก้อนกรวดหรือแร่อื่น เราต้องเอามาล้างมาหลอมเพื่อให้ได้ธาตุทองที่บริสุทธิ์ ถึงจะอยู่ในธรรมชาติเช่นนั้น ธาตุนี้ก็เรียกว่าทอง
เช่นเดียวกับนิพพาน ซึ่งอยู่ในตัวเรา เพียงแต่ธาตุนี้ยังไม่เป็นอิสระ ถูกร้อยรัดด้วยกิเลสสังโยชน์ และต่อเมื่อ ปฏิบัติธรรมจนกระทั่งได้บรรลุธรรม แล้วสามารถตัดกิเลสสังโยชน์ได้ จนหมด นิพพานธาตุนี้ เมื่อปราศจาก กิเลสสังโยชน์ เราเรียกว่า นิโรธ เช่นพระอรหันต์ จะมีนิพานธาตุที่ปราศจากกิเลสสังโยชน์ร้อยรัด
ดังนั้นจะเห็นว่า จะมีคนเห็น ว่ามีนิพพานธาตุในตัวเราส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่ว่า ไม่มี นิพพานเป็นเพียงสภาวะที่จิตไปรับรู้ และจิตที่จะรับรู้สภาวะนี้ต้องละกิเลส หรือขัดเกลากิเลสจนหมดแล้วจะเข้าไปพบสภาพที่เป็นนิพพาน
มีคนแย้งว่า สัมปชัญญะ ก็คือเจตสิก ที่ชื่อว่าปัญญาเจตสิก เป็นปัญญาของจิต
เช่นเดียวกับญาณ เขาเหล่านั้นกล่าวว่า ญาณก็คือปัญญาเจตสิก
ผมเคยพูดว่า ในพระสูตร กล่าวว่า ขณะที่ตรัสรู้ธรรมนั้นต้องมีจิต และญาณ เกิดร่วมกัน ขาดสิ่งไดสิ่งหนึ่งไม่ได้
" [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
อย่างไร ฯ
ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ
เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค
อย่างนี้ ฯ"
ในพระสูตรกล่าวว่า จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และ ญาณเป็นใหญ่ในการเห็น
ถ้าญาณเป็นเจตสิกของจิต ทำไมพระพุทธเจ้าถึงบอกว่า ถ้าขาดจิต หรือญาณ อย่างไดอย่างหนึ่งก็ตรัสรู้ธรรมไม่ได้ มีคนแย้งผมว่า จิตเกิดดับเร็วมา ดูเหมือนกับว่า จิตแปลงร่างมาเป็นญาณแล้วกลับไปเป็นจิตเร็วมาก
ผมว่านะคนจะไม่เชื่อยังไงก็ไม่เชื่อ ไม่เชื่อยังมาด้อยค่าผมอีก งง
ทำไมผมถึงเอาเรื่องญาณมาพูด ก็เพราะตัวสัมปชัญญะ เมื่อ มีอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายไปเป็นญาณ
จิตที่มีสติอย่างต่อเนื่องในสิ่งไดสิ่งหนึ่งก็จะเป็นจิตที่มีสมาธิ มีจิตเป็นหนึ่งหรือที่เรียกว่า เอกคตาจิต สัมปชัญญะต่อเนื่องก็จะกลายไปเป็นญาณ
เอาเป็นว่า ถ้าท่านเปิดใจกว้างลองฟังผมพูดต่อ ไม่เชื่อไม่เป็นไรครับ
การสร้างสติ
- สติ หมายถึงจิตระลึกได้ ผมจะยกตัวอย่างการสร้างสติ ด้วยวิธีการดูจิต เพื่อให้เข้าใจหลักการ แล้วต่อด้วยอานาปานสติ แล้ว ต่อด้วยการเพ่งกสิณ
การสร้างสติด้วยการดูจิต ผมว่าตามสำนักดูจิตที่เขาสอนๆกันถ้าผิดก็มาแนะนำได้ การสร้างสติ ของการดูจิต ท่านให้จำสภาวธรรม ที่เกิดขึ้น เช่น การเกิดความโกรธ ความโลภ ความหลง
สมมุติ เราโกรธ ระดับมากหรือน้อย พอโกรธปุบเข้าให้รีบจำทันที และทุกครั้งที่เกิดก็พยายามจำ จำซ้ำๆ จนกระทั้งจิตมันจำได้ เมื่อเกิดความโกรธครั้งหลังๆ จิตจะระลึกได้ อันนี้ตนฝึกใหม่ๆ มันจะกระตุกแรงพอสมควร อันนี้คือสติ คือจิตระลึกได้ถึงสภาวธรรมนั้น
อันนี้ ให้ฝึกทั้ง ความโลภ ความหลง คือใจลอย จนเกิดสติขึ้นอย่างอัตโนมัติ
การฝึกใหม่ๆ ท่านให้เอาจิตจับที่ลมหายใจเบาๆก่อนเพราะเมื่อสติเกิดขึ้นถี่ขึ้นก็เลิกจับลมหายใจ
- การสร้างสติ จากการดูจิต ถ้าใครเคยฝึก จะทำให้เข้าใจว่า จิตระลึกได้หมายถึงอย่างไร ความวิเศษของการดูจิต ขณะเกิดสติ ตัวสัมปชัญญะจะเกิดตามอย่างอัตโนมัติ ดังนั้น เวลาเราไปเรียนการดูจิต ท่านจะไม่ค่อยพูดถึงสัมปชัญญะ คือให้รู้เลยว่า ถ้าบอกว่ามีสติก็คือมีสัมปชัญญะด้วยนั้นเอง
จะมีคำสอนในกลุ่มดูจิต เช่น เป็นผู้รู้ ดูอยู่ห่าง ไม่ลงเข้าไปร่วม เหมือนดูคนเล่นฟุตบอล เราแค่คนดูมิใช่เป็นคนเล่น ใช่เลยครับ ถ้าเราดูจิตจนชำนาญ จนสติเกิดอย่างต่อเนื่อง ตัวสัมปชัญญะก็จะต่อเนื่องเช่นกัน สัมปชัญญะนี้เป็นตัวผู้รู้ผู้ดู แยกออกต่างหากนั้นเอง
การสร้างสติด้วยอานาปานสติ ในพระสูตร นั้นการสร้างสติมีบทท่อนสั้นๆเท่านั้น จะยกมาให้ดู
“......นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น......”
จะเห็นได้ว่า ท่อนที่ว่า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ในภาษาบาลี มักจะแปลหลังไปหน้าถ้าจะแปลใหม่ ก็จะมีความว่า หายใจออกมีสติ หายใจเข้ามีสติ
สติมีหลักการเหมือนกันหมด คือจิตระลึกได้ หายใจเข้า ก็เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งจิตระลึกได้ว่า นี้คือหายใจเข้า เรียกว่าจิตมีสติ หายใจออกก็เหมือนกัน
สติจากลมหายใจเข้าออก เกิดจากผัสสะ ลมกระทบกายที่ปลายจมูก ประกอบกับกายวิญญาณ ก็กลายเป็นผัสสะ จิตระลึกได้
การสร้างสติจากลมหายใจค่อนข้างยากและเข้าใจยากเพราะ ผัสสะนี้เบาบางมาก ท่านจึงกล่าวว่า อานาปานสติเป็นพวกมหาบุรุษทำกัน เพราะทำยากนั้นเองแต่กระนั้นประโยชน์ก็คือ เมื่อทำแล้วถ้าทำได้จะมีจิตที่เป็นเอกคตาจิต คือมีจิตหนึ่งเดียว คือจิตที่เพ่งที่ลมกระทบปลายจมูก ไม่เหมือน การดูจิต เพราะการดูจิต จิตจะส่ายไปมา ยิ่งดูใจลอย ใจมันจะฟุ้งไปสาระทิศ
การเกิดสติจากอานาปานสติ จะไม่เกิดสัมปชัญญะเลยถ้าไม่ฝึก การฝึกสัมปชัญญะ ก็ตามพระสูตร ในท่อนต่อมา ก็คือเช่น ....เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น... นั้นเอง
สัมปชัญญะคือการรู้ เท่านั้น รู้ว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้นกับลมหายใจ
อีกอันหนึ่งเพื่อให้เห็นชัดๆเรื่องสติ
การสร้างสติด้วย การเพ่งกสิณ การเพ่งกสิณ มีหลักการคือ เช่นกสิณสี เราตัดกระดาษสี ตัวอย่างเช่นวงกรมกระดาษสีแดง แล้วเพ่ง สักสิบวินาทีหลับตา แล้วนึกถึงภาพวงกลมสีแดงนั้น
ภาพจะปรากฏในใจเราสีเขียวอ่อนเรื่องๆ สักแปบหนึ่ง ทำไปเรื่อยๆ จนภาพนั้นอยู่ได้นานๆ
เอาพอเห็นหลักการถ้าต้องการฝึกตามลิ้งค์นี้เลยครับ”.... (
https://www.youtube.com/watch?v=JUT57dB0_W8&t=9s)
จะเห็นว่าภาพที่ปรากฏในใจเรานั้น เกิดจากความที่จิตระลึกได้นั้นเอง สิ่งนี้ก็เรียกว่าสติ เพียงแต่พระพุทธองค์ไม่ได้กำหนดอยู่ในสติปัฏฐานสี่ เพราะการเพ่งกสิณ ไม่สามารถ สร้างสัมปชัญญะตามได้ เป็นสติล้วนๆนั้นเอง
แต่ประโยชน์ของการเพ่งกสิณก็มีคือทำให้การทำสมาธิได้เร็วและง่าย ท่านลองคิดดูถ้าเราได้ฌานอะไรจะเกิดขึ้น ปิติ สุข เอกคตาจิต ความสุขจากปิติ ท่านกล่าวว่า ความสุขที่ว่าสุดยอดของการเพรียบพร้อมไปด้วยกามคุณยังเป็นแค่ เศษหนึ่งส่วนสิบหกของความสุขจากการได้ปฐมฌาน
และการได้ฌานโอกาสตรัสรู้ธรรม ก็ง่ายที่จะเอื้อมถึง
มีผู้กล่าวว่า การเพ่งกสิณ ก็ควรทำควบคู่กับการทำอานาปานสติก็ดี เหมือนการเข้าถ้ำ ถ้าทำแต่เพ่งกสิณก็เหมือนการเข้ถ้ำไม่มีไฟส่อง อาจเจอสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ได้ การทำอานาปานสติ จะมีสัมปชัญญะเป็นตัวส่องไฟ ไม่ให้เกิดอันตรายจากสิ่งที่พบนั้นเอง
การสร้างสัมปชัญญะ ถ้าการดูจิต สัมปชัญญะจะเกิดเอง ตามสติที่เกิด ส่วนการทำอานาปานสติ สัมปชัญญะต้องฝึก รู้สึกตัว รู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากเกิดสติ เช่น หายใจออกมีสติ ก็ตามด้วยว่า รู้ว่าหายใจออก รู้ว่าหายใจออกนั้นสั้นหรือยาว อันนี้หามคิดตามเพราะถ้าคิดก็กลายเป็นจิต เพราะสัมปชัญญะจะไม่คิด รู้ เพียงรู้แปบเดียวผ่าน สร้างสติต่อไป
ผมจะยกตัวอย่างความแตกต่าง การรับรู้ของจิต กับการรับรู้ของตัวนิพพานธาตุ
จะขอเรียกการรับรู้ของนิพพานธาตุว่า ตัวสัมปชัญญะเพื่อให้ดูง่าย ถึงจะไม่ใช่แต่เอาเจตนารมณ์ในการอธิบายนะครับ
การที่จิต ทำงายเดี่ยวๆ เราจะเห็นในชีวิตเราอย่างเช่น การฝัน เวลาเราฝัน ท่านลองคิดดูในฝันจิตมันคิดของมันได้ จิตมันปรุงแต่ง จิตมันดึงหน่วยความจำต่างๆมาปรุงแต่ง ในฝันบางครั้งเราอาจจะมีสัตว์ร้ายมาวิ่งไล่งับ เราทำอะไรไม่ได้เลยที่แท้บางครั้งเรานอนทับแขนของเราเอง พอสะดุ้งตื่น เราก็โล่งใจว่าที่แท้ก็ฝันไปนั้นเอง พอตื่น จิตมันยังทำงานต่อ มันคิดของมันตะเลิดเปิดเปิง ถ้าท่านเป็นนักดูจิต พอตื่นท่านอย่างพึ่งลุกจากที่นอน ท่านจะเห็นในสิ่งที่ผมพูด
จิตทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ พอตื่น คราวนี้จะมาทำควบคู่กันระหว่างจิตกับสัมปชัญญะ เราจะเห็นว่า ตัวสัมปชัญญะมีอิทธิพลต่อจิตอย่างมากเลย จิตเป็นตัวคิด เป็นตัวกระทำต่างๆ ตัวสัมปชัญญะเป็นตัวตัดสินว่าจะเห็นด้วยหรือไม่
ผมจะอุปมาเหมือนรถยนต์ที่สามารถขับแบบ ออโต้ กับแบบแมนนวล บางครั้งมันก็ขับแบบออโต้ บางครั้งก็แบบแมนนวล แล้วแต่เหตุการณ์ ตัวคนเราก็เหมือนกัน บางครั้งจิตทำงานล้วนๆ ตอนโกรธจัดๆ เขาเรียกว่าลืมตัว แต่ถ้ายังมีสติก็จะยับยั้งการกระทำ
การภาวนา สร้างสติ ควบคู่กับการสร้างสัมปชัญญะนั้น นักปฏิบัติต้องแยกให้ออกว่า อันไหนสติ อันไหนสัมปชัญญะ ท่านไดมีประสบการณ์ก็มาเล่าให้ฟังว่า ท่านเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างไร เหมือนกับที่ผมอธิบายไหม เพื่อร่วมเสวนาธรรมะกันครับ
สติปัฏฐานสี่ มีหลักการใหญ่ๆ ก็คือ ตัวอย่างพระสูตร
“พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้”
ก็พิจารณาทุกฐานยกตัวอย่างมาฐานเดียว อย่างที่ผมพูดว่า บาลีเขามีความหมายจากหลังไปหน้า คือ มีสติ แล้วตามด้วยมีสัมปชัญญะ แล้วละความยินดียินร้ายในโลกเสียได้
นั้นก็คือถ้าเป็นรถก็ขับแบบแมนนวล บังคับว่าขับให้ตรงไปตามเส้นทางนี้
อีกอย่างหนึ่ง การมีสติที่ต่อเนื่องจะทำให้จิตเป็นสมาธิ ระดับอ่อนๆขึ้นไป สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องก็จะกลายเป็นญาณ เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ การเกิดวิปัสสนาญาณต้องมีจิตเป็นตัวน้อมข้อมูล เพื่อป้อนให้กับญาณ เพราะญาณเป็นใหญ่ในการเห็น
การทำสมาธิจนเป็นฌาน ถ้าไม่มีสัมปชัญญะก็เป็นสิ่งอันตรายท่านอาจจะพบวิปัสสนูปกิเลสทำให้จิตฟั้นเฟือนก็เหมือนเราฟันนั้นแหละ เพราะสิ่งเหล่านี้ไร้สาระเป็นแค่จิตสังขาร เมื่อมีสัมปชัญญะ ก็จะทำให้ปัดสิ่งต่างๆนี้ทิ้งไป เหมือนเราสะดุ้งตื่นจากฝัน เราะก็ไม่กลัวความฝันนั้น
สติ กับ สัมปชัญญะ ต่างกันอย่างไร
สติ กับสัมปชัญญะ ถือว่า เป็นบันไดขั้นแรก ของนักปฏิบัติ วิปัสสนา
ดังนั้น จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่หลายท่านคงคิดว่าง่ายเกินไป ไม่น่าสนใจ ก็ผ่านไปก่อนก็ได้ วันนี้ขอคุยกับกัลยาณมิตร มือใหม่เหมือนผมนี้แหละ มาช่วยกันแสดงความคิดเห็นเยอะๆนะครับ ถูกบ้างผิดบ้างไม่เป็นไร วันนี้อาจยาวไปสักหน่อยไม่รู้จะมีคนอ่านหรือเปล่า
ผมศึกษาพระพุทธศาสนาก็เพราะ อยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร พอศึกษาแล้วรู้สึกชอบก็เลยไปต่อ ยิ่งมาคุยกับหลายๆท่านยิ่งทำให้รู้ว่า มีเรื่องที่เราไม่รู้อีกมากมาย
ครับเข้าเรื่อง
สติ หมายถึง ความระลึกได้
สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัว
- สติ เป็นสิ่งที่มาจาก จิตซึ่งถือว่าเป็นธาตุรู้ สติเป็นชื่อเจตสิก จิตที่มีสติ ก็หมายถึง จิตระลึกได้ ระลึกถือสิ่งที่เกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เคยเกิดมาแล้วก่อนหน้านั้น
- สัมปชัญญะ เป็นสิ่งที่เกิดจาก นิพพานธาตุ ซึ่งถือว่าเป็นธาตุรู้อีกอันหนึ่ง สัมปชัญญะ หมายถึงความรู้สึกตัว เช่นรู้ว่า ขณะนี้กำลังเกิดอะไรขึ้น เช่น กำลังหายใจเข้าออก กำลังโกรธ กำลังยกขาก้าวย่าง ยกไม้ยกมือเป็นต้น
มีคนแยกกับผมอย่างมากที่ผมบอกว่า ในร่างกายเรามีธาตุรู้อยู่สองตัว
ถ้าท่านปล่อยวางก่อน แล้วลองมาฟังผมพูด
ในตัวเรามี อยู่สี่สิ่ง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิต ถือว่านามธาตุที่เป็นธาตุรู้ ซึ่ง เป็นสังขตะธาตุ สามารถ ปรุงแต่ง ได้ เป็นส่วนหนึ่งในขันธ์ห้า จิต เจตสิก รูป สามอย่างนี้ก็คือขันธ์ห้านั้นเอง
นิพพาน เป็นนามธาตุที่ เป็นอสังขตะธาตุ เป็นธาตุที่ไม่สามรถปรุงแต่งได้
อันนี้เคยโต้แยงกับหลายๆท่านในเวบ บางท่านบอกว่า ถ้านิพพานอยู่ในตัวเราจริง เราก็บรรลุธรรมละสิ บางท่านบอกว่า นิพพานเป็นสภาวะเท่านั้น มิได้เป็นธาตุแต่อย่างได
ถ้าเราพิจารณา นิพพานเป็นเพียงชื่อ นามธาตุอันหนึ่ง ยกตัวอย่าง ทองในธรรมชาติ ทองมิได้อยู่อย่างบริสุทธิ จะอยู่ปนก้อนกรวดหรือแร่อื่น เราต้องเอามาล้างมาหลอมเพื่อให้ได้ธาตุทองที่บริสุทธิ์ ถึงจะอยู่ในธรรมชาติเช่นนั้น ธาตุนี้ก็เรียกว่าทอง
เช่นเดียวกับนิพพาน ซึ่งอยู่ในตัวเรา เพียงแต่ธาตุนี้ยังไม่เป็นอิสระ ถูกร้อยรัดด้วยกิเลสสังโยชน์ และต่อเมื่อ ปฏิบัติธรรมจนกระทั่งได้บรรลุธรรม แล้วสามารถตัดกิเลสสังโยชน์ได้ จนหมด นิพพานธาตุนี้ เมื่อปราศจาก กิเลสสังโยชน์ เราเรียกว่า นิโรธ เช่นพระอรหันต์ จะมีนิพานธาตุที่ปราศจากกิเลสสังโยชน์ร้อยรัด
ดังนั้นจะเห็นว่า จะมีคนเห็น ว่ามีนิพพานธาตุในตัวเราส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่ว่า ไม่มี นิพพานเป็นเพียงสภาวะที่จิตไปรับรู้ และจิตที่จะรับรู้สภาวะนี้ต้องละกิเลส หรือขัดเกลากิเลสจนหมดแล้วจะเข้าไปพบสภาพที่เป็นนิพพาน
มีคนแย้งว่า สัมปชัญญะ ก็คือเจตสิก ที่ชื่อว่าปัญญาเจตสิก เป็นปัญญาของจิต
เช่นเดียวกับญาณ เขาเหล่านั้นกล่าวว่า ญาณก็คือปัญญาเจตสิก
ผมเคยพูดว่า ในพระสูตร กล่าวว่า ขณะที่ตรัสรู้ธรรมนั้นต้องมีจิต และญาณ เกิดร่วมกัน ขาดสิ่งไดสิ่งหนึ่งไม่ได้
" [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
อย่างไร ฯ
ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ
เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค
อย่างนี้ ฯ"
ในพระสูตรกล่าวว่า จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และ ญาณเป็นใหญ่ในการเห็น
ถ้าญาณเป็นเจตสิกของจิต ทำไมพระพุทธเจ้าถึงบอกว่า ถ้าขาดจิต หรือญาณ อย่างไดอย่างหนึ่งก็ตรัสรู้ธรรมไม่ได้ มีคนแย้งผมว่า จิตเกิดดับเร็วมา ดูเหมือนกับว่า จิตแปลงร่างมาเป็นญาณแล้วกลับไปเป็นจิตเร็วมาก
ผมว่านะคนจะไม่เชื่อยังไงก็ไม่เชื่อ ไม่เชื่อยังมาด้อยค่าผมอีก งง
ทำไมผมถึงเอาเรื่องญาณมาพูด ก็เพราะตัวสัมปชัญญะ เมื่อ มีอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายไปเป็นญาณ
จิตที่มีสติอย่างต่อเนื่องในสิ่งไดสิ่งหนึ่งก็จะเป็นจิตที่มีสมาธิ มีจิตเป็นหนึ่งหรือที่เรียกว่า เอกคตาจิต สัมปชัญญะต่อเนื่องก็จะกลายไปเป็นญาณ
เอาเป็นว่า ถ้าท่านเปิดใจกว้างลองฟังผมพูดต่อ ไม่เชื่อไม่เป็นไรครับ
การสร้างสติ
- สติ หมายถึงจิตระลึกได้ ผมจะยกตัวอย่างการสร้างสติ ด้วยวิธีการดูจิต เพื่อให้เข้าใจหลักการ แล้วต่อด้วยอานาปานสติ แล้ว ต่อด้วยการเพ่งกสิณ
การสร้างสติด้วยการดูจิต ผมว่าตามสำนักดูจิตที่เขาสอนๆกันถ้าผิดก็มาแนะนำได้ การสร้างสติ ของการดูจิต ท่านให้จำสภาวธรรม ที่เกิดขึ้น เช่น การเกิดความโกรธ ความโลภ ความหลง
สมมุติ เราโกรธ ระดับมากหรือน้อย พอโกรธปุบเข้าให้รีบจำทันที และทุกครั้งที่เกิดก็พยายามจำ จำซ้ำๆ จนกระทั้งจิตมันจำได้ เมื่อเกิดความโกรธครั้งหลังๆ จิตจะระลึกได้ อันนี้ตนฝึกใหม่ๆ มันจะกระตุกแรงพอสมควร อันนี้คือสติ คือจิตระลึกได้ถึงสภาวธรรมนั้น
อันนี้ ให้ฝึกทั้ง ความโลภ ความหลง คือใจลอย จนเกิดสติขึ้นอย่างอัตโนมัติ
การฝึกใหม่ๆ ท่านให้เอาจิตจับที่ลมหายใจเบาๆก่อนเพราะเมื่อสติเกิดขึ้นถี่ขึ้นก็เลิกจับลมหายใจ
- การสร้างสติ จากการดูจิต ถ้าใครเคยฝึก จะทำให้เข้าใจว่า จิตระลึกได้หมายถึงอย่างไร ความวิเศษของการดูจิต ขณะเกิดสติ ตัวสัมปชัญญะจะเกิดตามอย่างอัตโนมัติ ดังนั้น เวลาเราไปเรียนการดูจิต ท่านจะไม่ค่อยพูดถึงสัมปชัญญะ คือให้รู้เลยว่า ถ้าบอกว่ามีสติก็คือมีสัมปชัญญะด้วยนั้นเอง
จะมีคำสอนในกลุ่มดูจิต เช่น เป็นผู้รู้ ดูอยู่ห่าง ไม่ลงเข้าไปร่วม เหมือนดูคนเล่นฟุตบอล เราแค่คนดูมิใช่เป็นคนเล่น ใช่เลยครับ ถ้าเราดูจิตจนชำนาญ จนสติเกิดอย่างต่อเนื่อง ตัวสัมปชัญญะก็จะต่อเนื่องเช่นกัน สัมปชัญญะนี้เป็นตัวผู้รู้ผู้ดู แยกออกต่างหากนั้นเอง
การสร้างสติด้วยอานาปานสติ ในพระสูตร นั้นการสร้างสติมีบทท่อนสั้นๆเท่านั้น จะยกมาให้ดู
“......นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น......”
จะเห็นได้ว่า ท่อนที่ว่า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ในภาษาบาลี มักจะแปลหลังไปหน้าถ้าจะแปลใหม่ ก็จะมีความว่า หายใจออกมีสติ หายใจเข้ามีสติ
สติมีหลักการเหมือนกันหมด คือจิตระลึกได้ หายใจเข้า ก็เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งจิตระลึกได้ว่า นี้คือหายใจเข้า เรียกว่าจิตมีสติ หายใจออกก็เหมือนกัน
สติจากลมหายใจเข้าออก เกิดจากผัสสะ ลมกระทบกายที่ปลายจมูก ประกอบกับกายวิญญาณ ก็กลายเป็นผัสสะ จิตระลึกได้
การสร้างสติจากลมหายใจค่อนข้างยากและเข้าใจยากเพราะ ผัสสะนี้เบาบางมาก ท่านจึงกล่าวว่า อานาปานสติเป็นพวกมหาบุรุษทำกัน เพราะทำยากนั้นเองแต่กระนั้นประโยชน์ก็คือ เมื่อทำแล้วถ้าทำได้จะมีจิตที่เป็นเอกคตาจิต คือมีจิตหนึ่งเดียว คือจิตที่เพ่งที่ลมกระทบปลายจมูก ไม่เหมือน การดูจิต เพราะการดูจิต จิตจะส่ายไปมา ยิ่งดูใจลอย ใจมันจะฟุ้งไปสาระทิศ
การเกิดสติจากอานาปานสติ จะไม่เกิดสัมปชัญญะเลยถ้าไม่ฝึก การฝึกสัมปชัญญะ ก็ตามพระสูตร ในท่อนต่อมา ก็คือเช่น ....เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น... นั้นเอง
สัมปชัญญะคือการรู้ เท่านั้น รู้ว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้นกับลมหายใจ
อีกอันหนึ่งเพื่อให้เห็นชัดๆเรื่องสติ
การสร้างสติด้วย การเพ่งกสิณ การเพ่งกสิณ มีหลักการคือ เช่นกสิณสี เราตัดกระดาษสี ตัวอย่างเช่นวงกรมกระดาษสีแดง แล้วเพ่ง สักสิบวินาทีหลับตา แล้วนึกถึงภาพวงกลมสีแดงนั้น
ภาพจะปรากฏในใจเราสีเขียวอ่อนเรื่องๆ สักแปบหนึ่ง ทำไปเรื่อยๆ จนภาพนั้นอยู่ได้นานๆ
เอาพอเห็นหลักการถ้าต้องการฝึกตามลิ้งค์นี้เลยครับ”.... (https://www.youtube.com/watch?v=JUT57dB0_W8&t=9s)
จะเห็นว่าภาพที่ปรากฏในใจเรานั้น เกิดจากความที่จิตระลึกได้นั้นเอง สิ่งนี้ก็เรียกว่าสติ เพียงแต่พระพุทธองค์ไม่ได้กำหนดอยู่ในสติปัฏฐานสี่ เพราะการเพ่งกสิณ ไม่สามารถ สร้างสัมปชัญญะตามได้ เป็นสติล้วนๆนั้นเอง
แต่ประโยชน์ของการเพ่งกสิณก็มีคือทำให้การทำสมาธิได้เร็วและง่าย ท่านลองคิดดูถ้าเราได้ฌานอะไรจะเกิดขึ้น ปิติ สุข เอกคตาจิต ความสุขจากปิติ ท่านกล่าวว่า ความสุขที่ว่าสุดยอดของการเพรียบพร้อมไปด้วยกามคุณยังเป็นแค่ เศษหนึ่งส่วนสิบหกของความสุขจากการได้ปฐมฌาน
และการได้ฌานโอกาสตรัสรู้ธรรม ก็ง่ายที่จะเอื้อมถึง
มีผู้กล่าวว่า การเพ่งกสิณ ก็ควรทำควบคู่กับการทำอานาปานสติก็ดี เหมือนการเข้าถ้ำ ถ้าทำแต่เพ่งกสิณก็เหมือนการเข้ถ้ำไม่มีไฟส่อง อาจเจอสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ได้ การทำอานาปานสติ จะมีสัมปชัญญะเป็นตัวส่องไฟ ไม่ให้เกิดอันตรายจากสิ่งที่พบนั้นเอง
การสร้างสัมปชัญญะ ถ้าการดูจิต สัมปชัญญะจะเกิดเอง ตามสติที่เกิด ส่วนการทำอานาปานสติ สัมปชัญญะต้องฝึก รู้สึกตัว รู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากเกิดสติ เช่น หายใจออกมีสติ ก็ตามด้วยว่า รู้ว่าหายใจออก รู้ว่าหายใจออกนั้นสั้นหรือยาว อันนี้หามคิดตามเพราะถ้าคิดก็กลายเป็นจิต เพราะสัมปชัญญะจะไม่คิด รู้ เพียงรู้แปบเดียวผ่าน สร้างสติต่อไป
ผมจะยกตัวอย่างความแตกต่าง การรับรู้ของจิต กับการรับรู้ของตัวนิพพานธาตุ
จะขอเรียกการรับรู้ของนิพพานธาตุว่า ตัวสัมปชัญญะเพื่อให้ดูง่าย ถึงจะไม่ใช่แต่เอาเจตนารมณ์ในการอธิบายนะครับ
การที่จิต ทำงายเดี่ยวๆ เราจะเห็นในชีวิตเราอย่างเช่น การฝัน เวลาเราฝัน ท่านลองคิดดูในฝันจิตมันคิดของมันได้ จิตมันปรุงแต่ง จิตมันดึงหน่วยความจำต่างๆมาปรุงแต่ง ในฝันบางครั้งเราอาจจะมีสัตว์ร้ายมาวิ่งไล่งับ เราทำอะไรไม่ได้เลยที่แท้บางครั้งเรานอนทับแขนของเราเอง พอสะดุ้งตื่น เราก็โล่งใจว่าที่แท้ก็ฝันไปนั้นเอง พอตื่น จิตมันยังทำงานต่อ มันคิดของมันตะเลิดเปิดเปิง ถ้าท่านเป็นนักดูจิต พอตื่นท่านอย่างพึ่งลุกจากที่นอน ท่านจะเห็นในสิ่งที่ผมพูด
จิตทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ พอตื่น คราวนี้จะมาทำควบคู่กันระหว่างจิตกับสัมปชัญญะ เราจะเห็นว่า ตัวสัมปชัญญะมีอิทธิพลต่อจิตอย่างมากเลย จิตเป็นตัวคิด เป็นตัวกระทำต่างๆ ตัวสัมปชัญญะเป็นตัวตัดสินว่าจะเห็นด้วยหรือไม่
ผมจะอุปมาเหมือนรถยนต์ที่สามารถขับแบบ ออโต้ กับแบบแมนนวล บางครั้งมันก็ขับแบบออโต้ บางครั้งก็แบบแมนนวล แล้วแต่เหตุการณ์ ตัวคนเราก็เหมือนกัน บางครั้งจิตทำงานล้วนๆ ตอนโกรธจัดๆ เขาเรียกว่าลืมตัว แต่ถ้ายังมีสติก็จะยับยั้งการกระทำ
การภาวนา สร้างสติ ควบคู่กับการสร้างสัมปชัญญะนั้น นักปฏิบัติต้องแยกให้ออกว่า อันไหนสติ อันไหนสัมปชัญญะ ท่านไดมีประสบการณ์ก็มาเล่าให้ฟังว่า ท่านเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างไร เหมือนกับที่ผมอธิบายไหม เพื่อร่วมเสวนาธรรมะกันครับ
สติปัฏฐานสี่ มีหลักการใหญ่ๆ ก็คือ ตัวอย่างพระสูตร
“พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้”
ก็พิจารณาทุกฐานยกตัวอย่างมาฐานเดียว อย่างที่ผมพูดว่า บาลีเขามีความหมายจากหลังไปหน้า คือ มีสติ แล้วตามด้วยมีสัมปชัญญะ แล้วละความยินดียินร้ายในโลกเสียได้
นั้นก็คือถ้าเป็นรถก็ขับแบบแมนนวล บังคับว่าขับให้ตรงไปตามเส้นทางนี้
อีกอย่างหนึ่ง การมีสติที่ต่อเนื่องจะทำให้จิตเป็นสมาธิ ระดับอ่อนๆขึ้นไป สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องก็จะกลายเป็นญาณ เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ การเกิดวิปัสสนาญาณต้องมีจิตเป็นตัวน้อมข้อมูล เพื่อป้อนให้กับญาณ เพราะญาณเป็นใหญ่ในการเห็น
การทำสมาธิจนเป็นฌาน ถ้าไม่มีสัมปชัญญะก็เป็นสิ่งอันตรายท่านอาจจะพบวิปัสสนูปกิเลสทำให้จิตฟั้นเฟือนก็เหมือนเราฟันนั้นแหละ เพราะสิ่งเหล่านี้ไร้สาระเป็นแค่จิตสังขาร เมื่อมีสัมปชัญญะ ก็จะทำให้ปัดสิ่งต่างๆนี้ทิ้งไป เหมือนเราสะดุ้งตื่นจากฝัน เราะก็ไม่กลัวความฝันนั้น