สวัสดีค่ะ วันนี้จะมารีวิวประสบการณ์ การขอ Permanent Residence ของประเทศแคนาดานะคะ
ถือเป็นกระทู้แก้บน 5555 เพราะก็ขอในใจว่าถ้าได้ PR แล้วจะเขียนกระทู้ขั้นตอน และ qualification ต่างๆ ในการขอค่ะ เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับใครก็ตามที่สนใจนะคะ
การขอ PR แคนาดามีหลายแบบนะคะ สำหรับใครที่สนใจศึกษาได้จาก
เว็บไซต์นี้ค่ะ
การสมัคร PR สิ่งแรกที่ควรรู้จักเลยคือ Express Entry ซึ่งจะมื category ย่อยตามลิงก์ข้างบนนะคะ อันที่เราสมัคร เรียกว่า Canadian Experience Class (CEC is for skilled workers who have Canadian work experience and want to become permanent residents.) เราก็จะขอพูดถึงแค่วิธีของ CEC กลุ่มอื่นเราไม่สามารถให้คำตอบหรือคำปรึกษาได้ เพราะไม่ได้ศึกษา และไม่มีประสบการณ์ค่ะ
เราไม่ได้แต่งงาน เพราะฉะนั้นคะแนนที่ส่งเข้า Express Entry หลักๆก็คือมาจากอายุ การเรียนในไทย และแคนาดา การทำงานในแคนาดา และ คะแนนสอบไอเอล ประมาณนั้น
ขอออกตัวก่อนนะคะว่า ไทม์ไลน์และขั้นตอนต่างๆ เป็นของเราเอง เราไม่ได้ปรึกษา lawyer ใดๆ เพราะไม่มีตังจ้าง 55555 อาศัย research เอาค่ะ เพราะฉะนั้นวิธีการหรือความเข้าใจอาจจะไม่เหมือนกันนะคะ ใช้เป็นแนวทางได้ แต่อย่ายึดว่ามันต้องเป็นแบบนี้ และต้องได้ 100% มีปัจจัยอื่นอีกมากมายในแต่ละเคส สุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ IRCC (Immigration, Refugees and Citizenship Canada) ล้วนๆค่ะ
เราเองเริ่มมาจากการมาเป็น Intermational Student ที่แคนาดานะคะ เรียนด้านการสอนภาษาอังกฤษและ event รวม 2 ปี การมาเรียนหลักสูตรและคอลเลจที่รัฐรับรอง ทำให้เรามีสิทธิ์ขอวีซ่าทำงานต่อได้หลังเรียนจบ ตามจำนวนปีการศึกษา เช่น ถ้าเรียนหลักสูตร 1 ปี ก็มีสิทธิ์ได้วีซ่าทำงาน 1 ปี (อันนี้การพิจารณาสุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับ IRCC นะคะ เราไม่คอนเฟิร์มว่ามันเป็น 100% ที่จะได้ แต่เพื่อนเราเท่าที่รู้ก็ได้ต่อกันนะ)
พอเรียนจบ ก็ทำเรื่องขอวีซ่า Post-Graduate Work Permit (PGWP) เป็นวีซ่าแบบ open คือ เราสามารถทำงานกับนายจ้างคนไหนก็ได้ ไม่ได้จำกัด ตราบเท่าที่เราหางานได้ หลังจากได้เพอร์มิท เราก็สามารถหางานและทำงานได้เลยค่ะ
เอาละ เข้ามาในพาร์ทการเตรียมตัวเพื่อให้ตัวเองผ่านเกณฑ์เพื่อที่จะสามารถเข้าไปอยู่ใน Pool ของ Express Entry ได้นะคะ
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการที่จะสมัครพีอาร์ในกลุ่ม CEC คือ ประสบการณ์ในการทำงานที่แคนาดา Full-time หรือ Part-time ก็ได้นะ ในความหมายที่เขากำหนด คือ ต้องอยู่ระบบ Payroll และใน Paycheque ที่ได้ จะมีการหัก Income Tax, Emploment Insurance และ Canada Pension Plan มาให้ในเช็กเลย และนายจ้างก็จะมีต้องจ่ายยอดของ IE กับ CPP เดียวกันนี้ทางฝั่งเขาให้กับรัฐด้วย (อันนี้ตามที่เราเข้าใจนะ)
พอทำแบบนี้ สิ้นปีเวลาต้องทำเรื่องจ่ายภาษีประจำปี เราก็จะได้ T4 มา เป็นเอกสารจากนายจ้างว่าปีนี้เราเสียภาษีแต่ละเดือนไปเท่าไหร่บ้าง แล้วถ้ามันยังน้อยไป ก็ต้องจ่ายเพิ่ม หรือ ถ้ามีอะไรมาลดหย่อนก็จะได้เงินคืน ถ้าไม่อยู่ใน Payroll เราก็จะไม่ได้ T4 จากนายจ้าง (ก็คือต้องคำนวณเอง)
หลังจากนั้น พอมีงาน เราต้องเก็บชั่วโมงให้ครบ 1560 ชั่วโมง เท่ากับ วีคละ 30 ชั่วโมง 52 สัปดาห์ ถ้าเราทำชั่วโมงเกิน เขาจะไม่นับนะคะ เช่น เราทำ 40 ชั่วโมงต่อวีค เขาก็จะนับแค่ 30 ชั่วโมงอยู่ดี เพราะฉะนั้นเวลาขั้นต่ำกว่าจะขอพีอาร์ได้ คือต้องทำงานฟูลไทม์ 52 สัปดาห์เต็มๆ
เคสของเราคือ เราสอนกีฬา เพราะฉะนั้น ชั่วโมงทำงานแต่ละวีคของเราไม่เท่ากัน range ตั้งแต่ 23 - 32 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับเด็กที่มาเรียน เราเลยใช้เวลาเก็บไอ่ 1560 ชั่วโมงทำงานเนี่ย ประมาณปีครึ่งเลย
จริงๆแล้วคุณสามารถทำงานมากกว่า 1 งานได้ เช่นทำพาร์ทไทม์สองงาน แต่สำคัญมากว่า งานที่ทำต้องเป็นงานประเภทเดียวกัน คุณถึงจะสามารถรวมชั่วโมงได้
งานประเภทเดียวกันคืออะไร >>
NOC ในลิ้งค์ มันจะมีตำแหน่งหลายประเภทมาก พอเรากดเข้าไปในตำแหน่งงานที่เราทำ มันจะมี Main Duties มาให้ ถ้าเราจะรวมชั่วโมงของสองพาร์ทไทม์ งานทั้งสองต้องมี Main Duties เดียวกัน
ยกตัวอย่างของเราเลยนะคะ
ตอนนั้นเราทำทั้งหมด สามงานค่ะ ซึ่งทั้งสามงานเราได้เป็น Payroll หมดเลยนะคะ แต่สุดท้ายแล้วเราใช้ชั่วโมงยื่นได้จากแค่งานเดียวค่ะ จะอธิบายให้ฟังนะคะ (NOC ที่เราใช้ยื่นคือ Coach)
งานที่ 1 สอนกีฬา - สอนให้สโมสร อันนี้เป็นงานหลักค่ะ ทำที่สนามกีฬา Main Duties ตาม NOC เลยค่ะ แต่อย่างที่บอกไปว่าชั่วโมงทำงานมันไม่แน่นอน
งานที่ 2 จัดการการแข่งขันสมาคมกีฬาจังหวัด - เป็นพาร์ทไทม์ ออฟฟิศเบส
งานที่ 3 สอนกีฬา - สอนให้กับทีมวิทยาลัยค่ะ ซึ่งเขาจะมี Season แข่งของเขาอยู่
ที่นี่มาดูกันว่าทำไมเราถึงยื่นชั่วโมงได้แค่ งานที่ 1
ข้อแรก งานที่ 1 กับ งานที่ 2 ถึงจะเกี่ยวกับกีฬาชนิดเดียวกัน แต่ Main Duities คนละแบบเลยค่ะ เพราะฉะนั้นเอามารวมกันไม่ได้
ข้อสอง งานที่ 1 กับ งานที่ 3 ดูเผินๆ มันคืองานชนิดเดียวกัน ใช่ค่ะ มัน NOC ชนิดเดียวกันจริงๆ แต่ประเด็นที่เอามารวมไม่ได้ เพราะงานที่ 3 เรา consider เป็นงานประเภท Seasonal เพราะเราทำแค่ช่วงเวลาที่กำจัด พอหลังจบซีซั่น ชั่วโมงทำงานก็เป็น 0 ถ้าเอาไปรวม เรารู้สึกว่ามันเสี่ยงเกินไป ทาง IRCC อาจจะไม่นับให้อยู่ดี
เพราะฉะนั้นเราจึงใข้ชั่วโมงได้แค่งานที่ 1 เท่านั้นค่ะ ระหว่างเก็บชั่วโมงก็ไม่ต้องทำไรมาก ตั้งหน้าตั้งตาเก็บชั่วโมงไปเรื่อยๆ 555555 พอชั่วโมงใกล้ครบแล้ว เราก็ต้องทำเรื่องรับรองวุฒิการศึกษา(ของไทย) และสอบไอเอลค่ะ เพราะต้องใช้ในการสมัครขั้นแรก
ขอวาร์ปมาตอนชั่วโมงทำงานครบเลยนะคะ
อธิบายก่อนว่า การสมัครพีอาร์เนี่ย เราต้องกรอกใบสมัครของเราเข้าไปใน pool ที่มีชื่อว่า Express Entry ก่อนนะคะ กรอกข้อมูลส่วนตัว ไอเอล ใบรับรองวุฒิการศึกษา NOCที่จะใช้ + work exp. จากนั้น ระบบก็จะคำนวณ CRS มาให้เราค่ะ
ตารางแจกแจงคะแนนค่ะ
แล้วก็รอให้เขาจับ draw ของเราค่ะ แต่ละรอบมันก็จะมี CRS cut-off อยู่ อันนี้เราไม่รู้จริงๆว่าเขาใช้เกณฑ์อะไรในการตัดคะแนนแต่ละรอบนะคะ ถ้ายิ่งได้คะแนนเยอะ ยิ่งมีโอกาสได้เร็ว (เขาว่ากันว่า)
หมายเหตุ: สมัครเข้า Express Entry ยังไม่ได้หมายความว่าเราได้ PR แล้วนะคะ คิดซะว่าอันนี้คือการสกรีนของ IRCC รอบแรก
เราโชคดีที่ คะแนนผ่าน cut-off ของเราไม่นานมาก หลังจากนั้น เราก็ได้รับการเชิญให้สมัคร PR ค่ะ เรียกขั้นตอนนี้ว่า Invitation to Apply (ITA) อันนี้แหละค่ะ คือเราเข้าสู่ Process ของการสมัคร PR ที่แท้ทรูแล้ว ก็คือทาง IRCC ได้สร้างไฟล์ application ของเรา เราต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมไปตามด้านล่างนี้ พอเอกสารครบก็เข้าไปในระบบเขาก็จะให้เรากรอกข้อมูลลงไปอีกรอบ ต้องกรอกเยอะและละเอียดด้วย ถึงแบบไปเที่ยวไหนมาบ้าง กี่วัน ไปไทยกลับมาที่นี่เมื่อไหร่ ทำงานที่ไหนมาบ้าง ประมาณนั้นค่ะ
เอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมด
1. Passport ทุกหน้าที่มีสแตมป์
2. Proof of Upfront Medical Exam
: ก็โทรจองเวลาได้เลยค่ะ คลีนิกที่ IRCC รับรองมีเยอะมาก ค่าตรวจรู้สึกจะอยู่ที่ C$240 จำได้ว่ามีเอกซเรย์ปอด เจาะเลือด แล้วก็มีอีกสองอย่าง แต่จำไม่ได้ว่าอะไร
: เราก็จะได้ใบยืนยันมา เอาเลขในใบยืนยันกรอกเข้าไปค่ะ
3. Proof of Education
: เริ่มแรก ถ้าเราเรียนจบจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่แคนาดา เราต้องทำใบรับรอง Credentials ป.ตรีของเรา ประมาณว่า ที่เราเรียนจบจากไทยเนี่ย มันสี่ปีนะ หลักสูตรอะไร มหาวิทยาลัยอะไร ประมาณนั้น สนนราคาที่ C$220 เราใช้ของ WES รอเกือบสองเดือนอ่ะ สุดมาก 55555 เอกสารที่ใช้คือทรานสคริปต์ ใบรับรองปริญญาไรงี้ ที่ขอได้ที่สำนักทะเบียนค่ะ เอกสารตัวจริงต้องอยู่ในจดหมายที่ซีลและเซ็นกันการเปิด
: พอได้ใบรับรอง credentials การศึกษาของไทย เราก็เอาไปรวมกับ transcripts, ใบรับรองปริญญา, ใบปริญญาของป.ตรี
: เราเรียนจบคอลเลจที่นี่ด้วย เราก็ใส่ transcripts กับ ใบ certificate ที่เรียนจบลงไป
: สุดท้าย ผล IELTS ต้องสอบแบบ General นะคะ ก็สมัครไป computer-based ค่ะ เอาจริงแนะนำ computer-based ไม่ปวดมือดี เปเปอร์เบสพาร์ทไรท์ติ้ง ทำมือพังได้เลยนะ 55555 อันนี้ยิ่งเราได้แต่ละพาร์ทเยอะ ก็จะไปช่วย CRS ให้เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
4. ใบรับรองความประพฤติ
: ด้วยความที่เราอยากทำทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง เราเลยหมายมั่นตั้งใจว่าจะเดินเรื่องทำใบนี้ด้วยตัวเองเช่นกัน ประเด็นคือ ถ้าทำเอง เราต้องไปพิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานีตำรวจที่นี่ แล้วก็ต้องส่งเอกสารกลับไปไทยอีก แต่พอลองโทรไปสถานีตำรวจที่นี่ บอกว่าไม่มีบริการนี้จ่ะ ต้องไปทำกับเอกชน แต่ สนง ตำรวจของเรายืนยันว่าต้องพิมพ์ลายนิ้วมือกับสถานีที่เป็นของรัฐเท่านั้น งงไปจ้า สุดท้ายมืดแปดด้าน เลยตัดสินใจใช้เอเจนซี่ เพราะเทียบไปเทียบมา ค่าส่งเอกสาร ค่าเดินทาง ค่าพิมพ์ลายนิ้วมือ ก็พอๆกันเลยค่ะ 55555 จ่ายไปอีก C$180
5. Employment Records
: อันนี้ก็ขอให้นายจ้างช่วยเขียน Employment Reference ยืนยันให้ว่าแบบ เอ้อ เราทำงานที่นี่จริงๆนะ เป็น Full-time, permanent ทำ ชม. average เท่านี้เท่านั้น แล้วก็เขียน duties ของงานให้คล้อยๆกับตัว NOC แล้วก็แบบแนะนำเราว่า เอ้อ เนี่ยเราทำงานโอเคนั่นนี่ บวกกับ Pay Stub (ไม่รู้ภาษาไทยเรียกว่าอะไร 5555)
6. Proof of Means of Financial Support
: จริงๆ กลุ่ม CEC ไม่จำเป็นต้องยื่น แต่เราก็ยื่นไปเพื่อให้เขามั่นใจ ขอจากแบงค์ที่นี่ที่เรามีบัญชีอยู่ค่ะ
7. รูปถ่าย
8. Letter of Explanation
: ก็คือจดหมายที่เราอยากอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมให้ทาง IRCC เช่น ของเราเราใส่ชั่วโมงทำงานแต่ละเดือนลงไป แล้วก็อธิบายลักษณะงานของอีกสองงานที่ทำ แล้วก็แนบเอกสารจ่ายภาษีค่ะ
สุดท้ายก็คือ จ่ายเงินค่าสมัครค่ะ รู้สึกจะเสียไปเกือบ C$ 1400 หน่อยๆ จ่ายผ่านบัตรเลยค่ะ
ระหว่างนั้นก็รออีกค่ะ จน กรกฎา เราได้เอกสารให้เข้าไปทำ Biometrics คือการพิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูปกับทาง Service Canada ซึ่ง biometrics เป็นเอกสารสุดท้ายที่ต้องทำ ขั้นตอนนี้ของเราติดปัญหาตรงที่มี Covid การพิมพ์ลายนิ้วมือของทางการปิดให้บริการ เราก็เลยต้องรอให้ทางการโทรมานัดเราให้เข้าไปเอง ในที่สุด เราได้รับติดต่อให้เข้าไปพิมพ์วันที่ 21 เดือนตุลา (รอ 3 เดือนจ้า จะร้อง) เข้าไปพิมพ์ลายนิ้วมือ ใช้เวลาแค่ห้านาทีเอง ไวมาก 55555 พิมพ์เสร็จก็ไม่ต้องทำอะไรค่ะ ระบบเขาลิงก์กัน
แล้วก็….. รอต่อไป
หลังจากนั้นสามอาทิตย์เราก็ได้รับข่าวดี ว่าใบสมัครเราได้ approved ค่ะ แต่แต่ ขั้นตอนยังไม่จบค่ะ 55555 เราต้องทำ PR Card ซึ่งต้องใช้รูปถ่าย รูปถ่ายต้องไปถ่ายกับ ร้านถ่ายรูปที่ IRCC รับรองด้วยค่ะ เพราะต้องมีตราปั๊มของร้านถ่ายรูป แพงไปนิด แต่สะดวกมาก รอแค่ห้านาทีก็ได้แล้ว สนนราคา 2 รูป 15 ดอล รอ PR Card อีกประมาณ 8 - 10 สัปดาห์ค่ะ
หมายเหตุ เพราะ Covid เขาเลยใช้วิธีให้ส่งรูป เพราะเคยข้าไปอ่านกระทู้เก่าๆ
เท่าที่เราเข้าใจ เขาบอกว่า จริงๆต้องออกนอกประเทศ แล้วบินเข้ามา หรือ ไปไนแองการาฝั่งเมกา แล้วเข้ามาใหม่ เพื่อที่จะได้มีสถานะเหมือน “Landed” แล้วทาง customs เขาก็จะทำ PR Card ให้ค่ะ
นั่นคือขั้นตอนทั้งหมดที่เราประสบมาในการทำ PR ของกลุ่ม CEC ด้วยตัวเองนะคะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ และขออภัยหากแท็กผิด พิมพ์ผิดหรือเขียนงงๆไปบ้างนะคะ กระทู้แรกในชีวิต >.<
ถ้ามีอะไรสงสัย หรือมีคำถาม จะพยายามเข้ามาตอบค่ะ แต่ตอบแค่ในสิ่งที่เรารู้และแน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์นะคะ
ปล. ไทม์ไลน์แต่ละคนไม่เท่ากันนะคะ
*แก้ไข 26/01/64 เพราะเพิ่งเห็นว่าข้อมูลสลับพาร์ทกันนิดหน่อยค่ะ ขออภัยด้วยนะคะ*
[รีวิวประสบการณ์] ขอ Permanent Residence ณ ประเทศแคนาดา
ถือเป็นกระทู้แก้บน 5555 เพราะก็ขอในใจว่าถ้าได้ PR แล้วจะเขียนกระทู้ขั้นตอน และ qualification ต่างๆ ในการขอค่ะ เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับใครก็ตามที่สนใจนะคะ
การขอ PR แคนาดามีหลายแบบนะคะ สำหรับใครที่สนใจศึกษาได้จาก เว็บไซต์นี้ค่ะ
การสมัคร PR สิ่งแรกที่ควรรู้จักเลยคือ Express Entry ซึ่งจะมื category ย่อยตามลิงก์ข้างบนนะคะ อันที่เราสมัคร เรียกว่า Canadian Experience Class (CEC is for skilled workers who have Canadian work experience and want to become permanent residents.) เราก็จะขอพูดถึงแค่วิธีของ CEC กลุ่มอื่นเราไม่สามารถให้คำตอบหรือคำปรึกษาได้ เพราะไม่ได้ศึกษา และไม่มีประสบการณ์ค่ะ
เราไม่ได้แต่งงาน เพราะฉะนั้นคะแนนที่ส่งเข้า Express Entry หลักๆก็คือมาจากอายุ การเรียนในไทย และแคนาดา การทำงานในแคนาดา และ คะแนนสอบไอเอล ประมาณนั้น
ขอออกตัวก่อนนะคะว่า ไทม์ไลน์และขั้นตอนต่างๆ เป็นของเราเอง เราไม่ได้ปรึกษา lawyer ใดๆ เพราะไม่มีตังจ้าง 55555 อาศัย research เอาค่ะ เพราะฉะนั้นวิธีการหรือความเข้าใจอาจจะไม่เหมือนกันนะคะ ใช้เป็นแนวทางได้ แต่อย่ายึดว่ามันต้องเป็นแบบนี้ และต้องได้ 100% มีปัจจัยอื่นอีกมากมายในแต่ละเคส สุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ IRCC (Immigration, Refugees and Citizenship Canada) ล้วนๆค่ะ
เราเองเริ่มมาจากการมาเป็น Intermational Student ที่แคนาดานะคะ เรียนด้านการสอนภาษาอังกฤษและ event รวม 2 ปี การมาเรียนหลักสูตรและคอลเลจที่รัฐรับรอง ทำให้เรามีสิทธิ์ขอวีซ่าทำงานต่อได้หลังเรียนจบ ตามจำนวนปีการศึกษา เช่น ถ้าเรียนหลักสูตร 1 ปี ก็มีสิทธิ์ได้วีซ่าทำงาน 1 ปี (อันนี้การพิจารณาสุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับ IRCC นะคะ เราไม่คอนเฟิร์มว่ามันเป็น 100% ที่จะได้ แต่เพื่อนเราเท่าที่รู้ก็ได้ต่อกันนะ)
พอเรียนจบ ก็ทำเรื่องขอวีซ่า Post-Graduate Work Permit (PGWP) เป็นวีซ่าแบบ open คือ เราสามารถทำงานกับนายจ้างคนไหนก็ได้ ไม่ได้จำกัด ตราบเท่าที่เราหางานได้ หลังจากได้เพอร์มิท เราก็สามารถหางานและทำงานได้เลยค่ะ
เอาละ เข้ามาในพาร์ทการเตรียมตัวเพื่อให้ตัวเองผ่านเกณฑ์เพื่อที่จะสามารถเข้าไปอยู่ใน Pool ของ Express Entry ได้นะคะ
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการที่จะสมัครพีอาร์ในกลุ่ม CEC คือ ประสบการณ์ในการทำงานที่แคนาดา Full-time หรือ Part-time ก็ได้นะ ในความหมายที่เขากำหนด คือ ต้องอยู่ระบบ Payroll และใน Paycheque ที่ได้ จะมีการหัก Income Tax, Emploment Insurance และ Canada Pension Plan มาให้ในเช็กเลย และนายจ้างก็จะมีต้องจ่ายยอดของ IE กับ CPP เดียวกันนี้ทางฝั่งเขาให้กับรัฐด้วย (อันนี้ตามที่เราเข้าใจนะ)
พอทำแบบนี้ สิ้นปีเวลาต้องทำเรื่องจ่ายภาษีประจำปี เราก็จะได้ T4 มา เป็นเอกสารจากนายจ้างว่าปีนี้เราเสียภาษีแต่ละเดือนไปเท่าไหร่บ้าง แล้วถ้ามันยังน้อยไป ก็ต้องจ่ายเพิ่ม หรือ ถ้ามีอะไรมาลดหย่อนก็จะได้เงินคืน ถ้าไม่อยู่ใน Payroll เราก็จะไม่ได้ T4 จากนายจ้าง (ก็คือต้องคำนวณเอง)
หลังจากนั้น พอมีงาน เราต้องเก็บชั่วโมงให้ครบ 1560 ชั่วโมง เท่ากับ วีคละ 30 ชั่วโมง 52 สัปดาห์ ถ้าเราทำชั่วโมงเกิน เขาจะไม่นับนะคะ เช่น เราทำ 40 ชั่วโมงต่อวีค เขาก็จะนับแค่ 30 ชั่วโมงอยู่ดี เพราะฉะนั้นเวลาขั้นต่ำกว่าจะขอพีอาร์ได้ คือต้องทำงานฟูลไทม์ 52 สัปดาห์เต็มๆ
เคสของเราคือ เราสอนกีฬา เพราะฉะนั้น ชั่วโมงทำงานแต่ละวีคของเราไม่เท่ากัน range ตั้งแต่ 23 - 32 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับเด็กที่มาเรียน เราเลยใช้เวลาเก็บไอ่ 1560 ชั่วโมงทำงานเนี่ย ประมาณปีครึ่งเลย
จริงๆแล้วคุณสามารถทำงานมากกว่า 1 งานได้ เช่นทำพาร์ทไทม์สองงาน แต่สำคัญมากว่า งานที่ทำต้องเป็นงานประเภทเดียวกัน คุณถึงจะสามารถรวมชั่วโมงได้
งานประเภทเดียวกันคืออะไร >> NOC ในลิ้งค์ มันจะมีตำแหน่งหลายประเภทมาก พอเรากดเข้าไปในตำแหน่งงานที่เราทำ มันจะมี Main Duties มาให้ ถ้าเราจะรวมชั่วโมงของสองพาร์ทไทม์ งานทั้งสองต้องมี Main Duties เดียวกัน
ยกตัวอย่างของเราเลยนะคะ
ตอนนั้นเราทำทั้งหมด สามงานค่ะ ซึ่งทั้งสามงานเราได้เป็น Payroll หมดเลยนะคะ แต่สุดท้ายแล้วเราใช้ชั่วโมงยื่นได้จากแค่งานเดียวค่ะ จะอธิบายให้ฟังนะคะ (NOC ที่เราใช้ยื่นคือ Coach)
งานที่ 1 สอนกีฬา - สอนให้สโมสร อันนี้เป็นงานหลักค่ะ ทำที่สนามกีฬา Main Duties ตาม NOC เลยค่ะ แต่อย่างที่บอกไปว่าชั่วโมงทำงานมันไม่แน่นอน
งานที่ 2 จัดการการแข่งขันสมาคมกีฬาจังหวัด - เป็นพาร์ทไทม์ ออฟฟิศเบส
งานที่ 3 สอนกีฬา - สอนให้กับทีมวิทยาลัยค่ะ ซึ่งเขาจะมี Season แข่งของเขาอยู่
ที่นี่มาดูกันว่าทำไมเราถึงยื่นชั่วโมงได้แค่ งานที่ 1
ข้อแรก งานที่ 1 กับ งานที่ 2 ถึงจะเกี่ยวกับกีฬาชนิดเดียวกัน แต่ Main Duities คนละแบบเลยค่ะ เพราะฉะนั้นเอามารวมกันไม่ได้
ข้อสอง งานที่ 1 กับ งานที่ 3 ดูเผินๆ มันคืองานชนิดเดียวกัน ใช่ค่ะ มัน NOC ชนิดเดียวกันจริงๆ แต่ประเด็นที่เอามารวมไม่ได้ เพราะงานที่ 3 เรา consider เป็นงานประเภท Seasonal เพราะเราทำแค่ช่วงเวลาที่กำจัด พอหลังจบซีซั่น ชั่วโมงทำงานก็เป็น 0 ถ้าเอาไปรวม เรารู้สึกว่ามันเสี่ยงเกินไป ทาง IRCC อาจจะไม่นับให้อยู่ดี
เพราะฉะนั้นเราจึงใข้ชั่วโมงได้แค่งานที่ 1 เท่านั้นค่ะ ระหว่างเก็บชั่วโมงก็ไม่ต้องทำไรมาก ตั้งหน้าตั้งตาเก็บชั่วโมงไปเรื่อยๆ 555555 พอชั่วโมงใกล้ครบแล้ว เราก็ต้องทำเรื่องรับรองวุฒิการศึกษา(ของไทย) และสอบไอเอลค่ะ เพราะต้องใช้ในการสมัครขั้นแรก
ขอวาร์ปมาตอนชั่วโมงทำงานครบเลยนะคะ
อธิบายก่อนว่า การสมัครพีอาร์เนี่ย เราต้องกรอกใบสมัครของเราเข้าไปใน pool ที่มีชื่อว่า Express Entry ก่อนนะคะ กรอกข้อมูลส่วนตัว ไอเอล ใบรับรองวุฒิการศึกษา NOCที่จะใช้ + work exp. จากนั้น ระบบก็จะคำนวณ CRS มาให้เราค่ะ ตารางแจกแจงคะแนนค่ะ
แล้วก็รอให้เขาจับ draw ของเราค่ะ แต่ละรอบมันก็จะมี CRS cut-off อยู่ อันนี้เราไม่รู้จริงๆว่าเขาใช้เกณฑ์อะไรในการตัดคะแนนแต่ละรอบนะคะ ถ้ายิ่งได้คะแนนเยอะ ยิ่งมีโอกาสได้เร็ว (เขาว่ากันว่า)
หมายเหตุ: สมัครเข้า Express Entry ยังไม่ได้หมายความว่าเราได้ PR แล้วนะคะ คิดซะว่าอันนี้คือการสกรีนของ IRCC รอบแรก
เราโชคดีที่ คะแนนผ่าน cut-off ของเราไม่นานมาก หลังจากนั้น เราก็ได้รับการเชิญให้สมัคร PR ค่ะ เรียกขั้นตอนนี้ว่า Invitation to Apply (ITA) อันนี้แหละค่ะ คือเราเข้าสู่ Process ของการสมัคร PR ที่แท้ทรูแล้ว ก็คือทาง IRCC ได้สร้างไฟล์ application ของเรา เราต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมไปตามด้านล่างนี้ พอเอกสารครบก็เข้าไปในระบบเขาก็จะให้เรากรอกข้อมูลลงไปอีกรอบ ต้องกรอกเยอะและละเอียดด้วย ถึงแบบไปเที่ยวไหนมาบ้าง กี่วัน ไปไทยกลับมาที่นี่เมื่อไหร่ ทำงานที่ไหนมาบ้าง ประมาณนั้นค่ะ
เอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมด
1. Passport ทุกหน้าที่มีสแตมป์
2. Proof of Upfront Medical Exam
: ก็โทรจองเวลาได้เลยค่ะ คลีนิกที่ IRCC รับรองมีเยอะมาก ค่าตรวจรู้สึกจะอยู่ที่ C$240 จำได้ว่ามีเอกซเรย์ปอด เจาะเลือด แล้วก็มีอีกสองอย่าง แต่จำไม่ได้ว่าอะไร
: เราก็จะได้ใบยืนยันมา เอาเลขในใบยืนยันกรอกเข้าไปค่ะ
3. Proof of Education
: เริ่มแรก ถ้าเราเรียนจบจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่แคนาดา เราต้องทำใบรับรอง Credentials ป.ตรีของเรา ประมาณว่า ที่เราเรียนจบจากไทยเนี่ย มันสี่ปีนะ หลักสูตรอะไร มหาวิทยาลัยอะไร ประมาณนั้น สนนราคาที่ C$220 เราใช้ของ WES รอเกือบสองเดือนอ่ะ สุดมาก 55555 เอกสารที่ใช้คือทรานสคริปต์ ใบรับรองปริญญาไรงี้ ที่ขอได้ที่สำนักทะเบียนค่ะ เอกสารตัวจริงต้องอยู่ในจดหมายที่ซีลและเซ็นกันการเปิด
: พอได้ใบรับรอง credentials การศึกษาของไทย เราก็เอาไปรวมกับ transcripts, ใบรับรองปริญญา, ใบปริญญาของป.ตรี
: เราเรียนจบคอลเลจที่นี่ด้วย เราก็ใส่ transcripts กับ ใบ certificate ที่เรียนจบลงไป
: สุดท้าย ผล IELTS ต้องสอบแบบ General นะคะ ก็สมัครไป computer-based ค่ะ เอาจริงแนะนำ computer-based ไม่ปวดมือดี เปเปอร์เบสพาร์ทไรท์ติ้ง ทำมือพังได้เลยนะ 55555 อันนี้ยิ่งเราได้แต่ละพาร์ทเยอะ ก็จะไปช่วย CRS ให้เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
4. ใบรับรองความประพฤติ
: ด้วยความที่เราอยากทำทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง เราเลยหมายมั่นตั้งใจว่าจะเดินเรื่องทำใบนี้ด้วยตัวเองเช่นกัน ประเด็นคือ ถ้าทำเอง เราต้องไปพิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานีตำรวจที่นี่ แล้วก็ต้องส่งเอกสารกลับไปไทยอีก แต่พอลองโทรไปสถานีตำรวจที่นี่ บอกว่าไม่มีบริการนี้จ่ะ ต้องไปทำกับเอกชน แต่ สนง ตำรวจของเรายืนยันว่าต้องพิมพ์ลายนิ้วมือกับสถานีที่เป็นของรัฐเท่านั้น งงไปจ้า สุดท้ายมืดแปดด้าน เลยตัดสินใจใช้เอเจนซี่ เพราะเทียบไปเทียบมา ค่าส่งเอกสาร ค่าเดินทาง ค่าพิมพ์ลายนิ้วมือ ก็พอๆกันเลยค่ะ 55555 จ่ายไปอีก C$180
5. Employment Records
: อันนี้ก็ขอให้นายจ้างช่วยเขียน Employment Reference ยืนยันให้ว่าแบบ เอ้อ เราทำงานที่นี่จริงๆนะ เป็น Full-time, permanent ทำ ชม. average เท่านี้เท่านั้น แล้วก็เขียน duties ของงานให้คล้อยๆกับตัว NOC แล้วก็แบบแนะนำเราว่า เอ้อ เนี่ยเราทำงานโอเคนั่นนี่ บวกกับ Pay Stub (ไม่รู้ภาษาไทยเรียกว่าอะไร 5555)
6. Proof of Means of Financial Support
: จริงๆ กลุ่ม CEC ไม่จำเป็นต้องยื่น แต่เราก็ยื่นไปเพื่อให้เขามั่นใจ ขอจากแบงค์ที่นี่ที่เรามีบัญชีอยู่ค่ะ
7. รูปถ่าย
8. Letter of Explanation
: ก็คือจดหมายที่เราอยากอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมให้ทาง IRCC เช่น ของเราเราใส่ชั่วโมงทำงานแต่ละเดือนลงไป แล้วก็อธิบายลักษณะงานของอีกสองงานที่ทำ แล้วก็แนบเอกสารจ่ายภาษีค่ะ
สุดท้ายก็คือ จ่ายเงินค่าสมัครค่ะ รู้สึกจะเสียไปเกือบ C$ 1400 หน่อยๆ จ่ายผ่านบัตรเลยค่ะ
ระหว่างนั้นก็รออีกค่ะ จน กรกฎา เราได้เอกสารให้เข้าไปทำ Biometrics คือการพิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูปกับทาง Service Canada ซึ่ง biometrics เป็นเอกสารสุดท้ายที่ต้องทำ ขั้นตอนนี้ของเราติดปัญหาตรงที่มี Covid การพิมพ์ลายนิ้วมือของทางการปิดให้บริการ เราก็เลยต้องรอให้ทางการโทรมานัดเราให้เข้าไปเอง ในที่สุด เราได้รับติดต่อให้เข้าไปพิมพ์วันที่ 21 เดือนตุลา (รอ 3 เดือนจ้า จะร้อง) เข้าไปพิมพ์ลายนิ้วมือ ใช้เวลาแค่ห้านาทีเอง ไวมาก 55555 พิมพ์เสร็จก็ไม่ต้องทำอะไรค่ะ ระบบเขาลิงก์กัน
แล้วก็….. รอต่อไป
หลังจากนั้นสามอาทิตย์เราก็ได้รับข่าวดี ว่าใบสมัครเราได้ approved ค่ะ แต่แต่ ขั้นตอนยังไม่จบค่ะ 55555 เราต้องทำ PR Card ซึ่งต้องใช้รูปถ่าย รูปถ่ายต้องไปถ่ายกับ ร้านถ่ายรูปที่ IRCC รับรองด้วยค่ะ เพราะต้องมีตราปั๊มของร้านถ่ายรูป แพงไปนิด แต่สะดวกมาก รอแค่ห้านาทีก็ได้แล้ว สนนราคา 2 รูป 15 ดอล รอ PR Card อีกประมาณ 8 - 10 สัปดาห์ค่ะ
หมายเหตุ เพราะ Covid เขาเลยใช้วิธีให้ส่งรูป เพราะเคยข้าไปอ่านกระทู้เก่าๆ เท่าที่เราเข้าใจ เขาบอกว่า จริงๆต้องออกนอกประเทศ แล้วบินเข้ามา หรือ ไปไนแองการาฝั่งเมกา แล้วเข้ามาใหม่ เพื่อที่จะได้มีสถานะเหมือน “Landed” แล้วทาง customs เขาก็จะทำ PR Card ให้ค่ะ
นั่นคือขั้นตอนทั้งหมดที่เราประสบมาในการทำ PR ของกลุ่ม CEC ด้วยตัวเองนะคะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ และขออภัยหากแท็กผิด พิมพ์ผิดหรือเขียนงงๆไปบ้างนะคะ กระทู้แรกในชีวิต >.<
ถ้ามีอะไรสงสัย หรือมีคำถาม จะพยายามเข้ามาตอบค่ะ แต่ตอบแค่ในสิ่งที่เรารู้และแน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์นะคะ
ปล. ไทม์ไลน์แต่ละคนไม่เท่ากันนะคะ
*แก้ไข 26/01/64 เพราะเพิ่งเห็นว่าข้อมูลสลับพาร์ทกันนิดหน่อยค่ะ ขออภัยด้วยนะคะ*