คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ในฉลากข้อมูลโภชนาการ ระบุเป็นหน่วยบริโภค ซึ่งน้ำหนักต่อหน่วยคือ 16 กรัม
ดังนั้นจะมีปริมาณน้ำตาลต่อ 1 หน่วยบริโภค เป็นจำนวน 5%x16 กรัม = 0.8 กรัม
น้ำตาลทราย 1 กรัม ให้พลังงาน 3.86 kcal
ดังนั้น น้ำตาลทราย 0.8 กรัม จะให้พลังงาน = 0.8 กรัม x 3.86 kcal/กรัม = 3.09 kcal
*ทีนี้ ไฮไลท์มันอยู่ตรงนี้ครับ*

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182/2541 เรื่องฉลากโภชนาการ
ในตารางแนบท้ายที่ 1 ระบุว่ากรณีที่ค่าพลังงานน้อยกว่า 5 kcal ให้ระบุว่าเป็น 0 ได้
ดังนั้นจะมีปริมาณน้ำตาลต่อ 1 หน่วยบริโภค เป็นจำนวน 5%x16 กรัม = 0.8 กรัม
น้ำตาลทราย 1 กรัม ให้พลังงาน 3.86 kcal
ดังนั้น น้ำตาลทราย 0.8 กรัม จะให้พลังงาน = 0.8 กรัม x 3.86 kcal/กรัม = 3.09 kcal
*ทีนี้ ไฮไลท์มันอยู่ตรงนี้ครับ*

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182/2541 เรื่องฉลากโภชนาการ
ในตารางแนบท้ายที่ 1 ระบุว่ากรณีที่ค่าพลังงานน้อยกว่า 5 kcal ให้ระบุว่าเป็น 0 ได้
ความคิดเห็นที่ 20
ยกกฏหมายมาเลยละกันเรื่อง 1 หน่วยบริโภคจะได้เห็นว่าเค้าเขียนตามกฎหมายหรือเขียนกำกวม
หนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึง ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคที่ระบุในฉลากโภชนาการเป็นปริมาณอาหารที่ผู้ผลิตแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในแต่ละครั้ง หรือเรียกว่า "กินครั้งละ" นั่นเอง
ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคนี้กำหนดได้จากปริมาณ "หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง" ซึ่งเป็นค่าปริมาณอาหารโดยน้ำหนักหรือปริมาตรของการรับประทานแต่ละครั้งที่ประมวลได้จากการสำรวจ พฤติกรรมการบริโภคและข้อมูลจากผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคดังกล่าวอาจไม่ เท่ากับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงก็ได้ แต่จะต้องเป็นค่าที่ใกล้เคียงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในหนึ่งหน่วยภาชนะบรรจุ
กลุ่มของอาหาร
ในการแสดง "หนึ่งหน่วยบริโภค" ในฉลากโภชนาการ จึงกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของ ผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ โดยจัดเป็น 7 กลุ่ม ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือลักษณะการบริโภคผลิตภัณฑ์ได้แก่
1 กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์ (Dairy product s)
2 กลุ่มเครื่องดื่ม (พร้อมดื่ม) (Beverages)
3 กลุ่มอาหารขบเคี้ยวและขนมหวาน (Snack food and desserts)
4 กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป (Semi- processed foods)
5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Bakery products)
6 กลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์ (Cereal grain products)
7 กลุ่มอื่น ๆ (Miscellaneous)
ในกรณีนี้น่าจะอยู่ในกลุ่มที่ 3 งั้นเรามาดูรายละเอียดของกลุ่มที่ 3 กัน
3 กลุ่มอาหารขบเคี้ยวและขนมหวาน (Snack food and desserts)
1. ข้าวเกรียบ ข้าวโพดคั่ว มันฝรั่งทอด ขนมกรอบ กล้วยฉาบ และ extruded snack ต่าง ๆ 30 ก.
2. ถั่วและนัต (เช่น ถั่วอบเกลือ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือ) 30 ก.
3. ช็อกโกแลตและขนมโกโก้ 40 ก.
4. คัสตาร์ด พุดดิ้ง 140 ก.
5. ขนมหวานไทย เช่น สังขยา วุ้น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด 80 ก.
6. วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี่ 20 ก.
7. ไอศกรีมนม ไอศกรีมดัดแปลง ไอศกรีมผสม รวมทั้งส่วนเคลือบและกรวย 80 ก.
8. ไอศกรีมหวานเย็น น้ำผลไม้แช่แข็ง 80 ก.
9. ไอศกรีมซันเดย์ 80 ก.
10. ลูกอม ลูกกวาด ทอฟฟี่ อมยิ้ม มาร์ชแมลโลว์ 6 ก.
11. หมากฝรั่ง 3 ก.
12. ขนมที่ทำจากธัญพืช ถั่ว นัต และน้ำตาลเป็นหลัก (Grain-based bars) ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้หรือเคลือบ เช่น Granola bars, rice cereal bars กระยาสารท ถั่วตัด ข้าวพอง ข้าวแตน นางเล็ด 40 ก.
ในเคสนี้น่าจะอยู่ในข้อ 6 วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี่ 20 ก. นั่นคือปริมาณ 1 หน่วยบริโภคอ้างอิงคือ 20 ก. และขนมชิ้นนี้ 1 ชิ้นมี 16 ก. จึงสามารถบอกได้ว่า 1 ชิ้นคือ 1 หน่วยบริโภค
เรามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันอีก
4.1 วิธีการกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค
(4) อาหารที่แยกเป็นชิ้นแต่บรรจุรวมกันในภาชนะบรรจุใหญ่ เช่น ขนมปังแผ่นหรือลูกอม
โดยแต่ละชิ้นจะมีภาชนะบรรจุแยกจากกันหรือไม่ก็ตาม ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลากของ
ภาชนะบรรจุใหญ่ให้กำหนดดังนี้
- ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักน้อยกว่า 50% ของปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง
ให้ระบุจำนวนหน่วยที่รวมแล้วได้น้ำหนักใกล้เคียงกับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่สุด
- ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักมากกว่า 50% แต่น้อยกว่า 200% ของปริมาณ
หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงแต่สามารถรับประทานได้ใน 1 ครั้ง ให้ถือว่า 1 ชิ้นเป็น 1 หน่วยบริโภคได้
ขนมที่อ้างถึง 1 ชิ้นมีน้ำหนัก 16 กรัม มากกว่า 50% ของปริมาณอ้างอิงจึงถือว่า 1 ชิ้นเป็น 1 หน่วยบริโภคได้
อ้างอิงจากศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร http://www.foodnetworksolution.com/news_and_articles/article/0068/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84
หนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึง ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคที่ระบุในฉลากโภชนาการเป็นปริมาณอาหารที่ผู้ผลิตแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในแต่ละครั้ง หรือเรียกว่า "กินครั้งละ" นั่นเอง
ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคนี้กำหนดได้จากปริมาณ "หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง" ซึ่งเป็นค่าปริมาณอาหารโดยน้ำหนักหรือปริมาตรของการรับประทานแต่ละครั้งที่ประมวลได้จากการสำรวจ พฤติกรรมการบริโภคและข้อมูลจากผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคดังกล่าวอาจไม่ เท่ากับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงก็ได้ แต่จะต้องเป็นค่าที่ใกล้เคียงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในหนึ่งหน่วยภาชนะบรรจุ
กลุ่มของอาหาร
ในการแสดง "หนึ่งหน่วยบริโภค" ในฉลากโภชนาการ จึงกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของ ผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ โดยจัดเป็น 7 กลุ่ม ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือลักษณะการบริโภคผลิตภัณฑ์ได้แก่
1 กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์ (Dairy product s)
2 กลุ่มเครื่องดื่ม (พร้อมดื่ม) (Beverages)
3 กลุ่มอาหารขบเคี้ยวและขนมหวาน (Snack food and desserts)
4 กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป (Semi- processed foods)
5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Bakery products)
6 กลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์ (Cereal grain products)
7 กลุ่มอื่น ๆ (Miscellaneous)
ในกรณีนี้น่าจะอยู่ในกลุ่มที่ 3 งั้นเรามาดูรายละเอียดของกลุ่มที่ 3 กัน
3 กลุ่มอาหารขบเคี้ยวและขนมหวาน (Snack food and desserts)
1. ข้าวเกรียบ ข้าวโพดคั่ว มันฝรั่งทอด ขนมกรอบ กล้วยฉาบ และ extruded snack ต่าง ๆ 30 ก.
2. ถั่วและนัต (เช่น ถั่วอบเกลือ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือ) 30 ก.
3. ช็อกโกแลตและขนมโกโก้ 40 ก.
4. คัสตาร์ด พุดดิ้ง 140 ก.
5. ขนมหวานไทย เช่น สังขยา วุ้น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด 80 ก.
6. วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี่ 20 ก.
7. ไอศกรีมนม ไอศกรีมดัดแปลง ไอศกรีมผสม รวมทั้งส่วนเคลือบและกรวย 80 ก.
8. ไอศกรีมหวานเย็น น้ำผลไม้แช่แข็ง 80 ก.
9. ไอศกรีมซันเดย์ 80 ก.
10. ลูกอม ลูกกวาด ทอฟฟี่ อมยิ้ม มาร์ชแมลโลว์ 6 ก.
11. หมากฝรั่ง 3 ก.
12. ขนมที่ทำจากธัญพืช ถั่ว นัต และน้ำตาลเป็นหลัก (Grain-based bars) ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้หรือเคลือบ เช่น Granola bars, rice cereal bars กระยาสารท ถั่วตัด ข้าวพอง ข้าวแตน นางเล็ด 40 ก.
ในเคสนี้น่าจะอยู่ในข้อ 6 วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี่ 20 ก. นั่นคือปริมาณ 1 หน่วยบริโภคอ้างอิงคือ 20 ก. และขนมชิ้นนี้ 1 ชิ้นมี 16 ก. จึงสามารถบอกได้ว่า 1 ชิ้นคือ 1 หน่วยบริโภค
เรามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันอีก
4.1 วิธีการกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค
(4) อาหารที่แยกเป็นชิ้นแต่บรรจุรวมกันในภาชนะบรรจุใหญ่ เช่น ขนมปังแผ่นหรือลูกอม
โดยแต่ละชิ้นจะมีภาชนะบรรจุแยกจากกันหรือไม่ก็ตาม ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลากของ
ภาชนะบรรจุใหญ่ให้กำหนดดังนี้
- ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักน้อยกว่า 50% ของปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง
ให้ระบุจำนวนหน่วยที่รวมแล้วได้น้ำหนักใกล้เคียงกับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่สุด
- ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักมากกว่า 50% แต่น้อยกว่า 200% ของปริมาณ
หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงแต่สามารถรับประทานได้ใน 1 ครั้ง ให้ถือว่า 1 ชิ้นเป็น 1 หน่วยบริโภคได้
ขนมที่อ้างถึง 1 ชิ้นมีน้ำหนัก 16 กรัม มากกว่า 50% ของปริมาณอ้างอิงจึงถือว่า 1 ชิ้นเป็น 1 หน่วยบริโภคได้
อ้างอิงจากศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร http://www.foodnetworksolution.com/news_and_articles/article/0068/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84
แสดงความคิดเห็น
ทำไม เยลลี่ ที่วางขายใน 7-11 มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ แต่ที่ถุงบอกว่า 0 cal?