กลายเป็นว่าพวกสัตว์นักล่าอาจจะไม่ชอบที่ถูกจ้องกลับโดยเป้าหมายของพวกมันก็เป็นได้ 🧐
ปัญหาการที่เหล่าปศุสัตว์ถูกล่ากินโดยสัตว์นักล่าอย่างเช่น ฝูงสิงโต นั้นสร้างความปวดหัวให้กับเหล่าเกษตรชาวแอฟริกันเป็นอย่างมาก
แม้ว่าจะมีความพยายามต้อนสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบริเวณกั้นรั้วแล้วก็ตาม แต่รั้วก็ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันฝูงสัตว์นักล่าได้อย่างมีประสิทธิภาพนัก แถมพอเช้ามาฝูงสัตว์ที่เลี้ยงไว้ก็อยากจะเร่รอนออกเล็มกินหญ้าไปทั่วทุ่งสะวันนาอีก
แต่ล่าสุดมีงานวิจัยซึ่งใช้เวลาในการทดลองและเก็บข้อมูลที่ทุ่งหญ้าของ บอสสวานา ประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกาใต้เป็นเวลากว่า 4 ปี ได้เปิดเผยถึงวิธีการการป้องกันเหล่าฝูงปศุสัตว์ไม่ให้ถูกโจมตีจากเหล่านักล่าที่ได้ผลจนน่าทึ่ง

ผ่ามมมม !! ใส่ตาหลังให้ฝูงวัวจ้าาาา . . .
วิธีการที่ว่าก็คือการติด "ตาหลัง" ให้กับฝูงวัว โดยการเพ้นท์ลายเป็นรูปลูกตาที่บริเวณสะโพกเยื้องไปด้านหลังจนดูเหมือนกับว่ามีดวงตาจ้องมองกลับมาเมื่อมองมาจากด้านหลังของวัว โดยทีมวิจัยได้ทำการทดลองกับฝูงปศุสัตว์ 14 ฝูง ด้วยจำนวนตัวอย่างรวมกว่า 2,061 ตัว ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ เพ้นท์ลายลูกตา เพ้นท์กากะบาท และไม่เพ้นท์อะไรเลย

รูปแบบอีก 2 กลุ่มตัวอย่าง

หลังจากนั้นทีมวิจัยก็จะทำการปล่อยฝูงปศุสัตว์ให้ดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน เพื่อให้เผชิญกับเหล่าสัตว์ผู้ล่าเหมือน ๆ กัน โดยระยะเวลาการเก็บผลอยู่ที่รอบละ 24 วันในแต่ละการทดสอบ
ซึ่งผลที่ได้นั้นน่าทึ่งมาก เพราะว่ากลุ่มที่เพ้นท์ลายลูกตานั้นแทบไม่โดนโจมตีจากสัตว์ผู้ล่าเลย ส่วนพวกที่ทำเครื่องหมายกากะบาทนั้นถูกโจมตีน้อยลงมาและกลุ่มที่ไม่ได้เพ้นท์ลายเลยจะโดนโจมตีมากที่สุด

24 วันผ่านไปกลุ่มที่มีตาหลังไม่โดนไล่งับเลยจ้า 😲
นั่นพอจะทำให้สรุปได้ว่า ถ้าหากถูกจ้องกลับโดยเป้าหมายแล้วเหล่าสัตว์ผู้ล่าก็จะล้มเลิกความตั้งใจและเปลี่ยนเป้าหมายไปยังเป้าหมายอื่นแทน
ดังนั้นวิธีเพ้นท์ลายลูกตานี้ดูจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายไม่สูงด้วย น่าจะช่วยแก้ปัญหาให้เหล่าเกษตรได้ดีทีเดียว
แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่แน่ว่าถ้าหากว่าฝูงแมวยักษ์นักล่าเหล่านี้เริ่มคุ้นชินกับดวงตาเทียมเพ้นท์ลายเหล่านี้แล้วจะกลับมาโจมตีฝูงวัวอีกหรือเปล่า อาจจะต้องมีการเปลี่ยนลายใหม่อยู่เรื่อย ๆ ก็เป็นได้ 🤔
Source:
https://interestingengineering.com/painted-eyes-on-cattle-butts-protect-them-from-lions-per-study
https://www.nature.com/articles/s42003-020-01156-0#Fig2
ไม่น่าเชื่อว่าการเพ้นท์ลายลูกตาที่ก้นวัวช่วยป้องกันไม่ให้ถูกสิงโตจู่โจมได้
ปัญหาการที่เหล่าปศุสัตว์ถูกล่ากินโดยสัตว์นักล่าอย่างเช่น ฝูงสิงโต นั้นสร้างความปวดหัวให้กับเหล่าเกษตรชาวแอฟริกันเป็นอย่างมาก
แม้ว่าจะมีความพยายามต้อนสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบริเวณกั้นรั้วแล้วก็ตาม แต่รั้วก็ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันฝูงสัตว์นักล่าได้อย่างมีประสิทธิภาพนัก แถมพอเช้ามาฝูงสัตว์ที่เลี้ยงไว้ก็อยากจะเร่รอนออกเล็มกินหญ้าไปทั่วทุ่งสะวันนาอีก
แต่ล่าสุดมีงานวิจัยซึ่งใช้เวลาในการทดลองและเก็บข้อมูลที่ทุ่งหญ้าของ บอสสวานา ประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกาใต้เป็นเวลากว่า 4 ปี ได้เปิดเผยถึงวิธีการการป้องกันเหล่าฝูงปศุสัตว์ไม่ให้ถูกโจมตีจากเหล่านักล่าที่ได้ผลจนน่าทึ่ง
ผ่ามมมม !! ใส่ตาหลังให้ฝูงวัวจ้าาาา . . .
วิธีการที่ว่าก็คือการติด "ตาหลัง" ให้กับฝูงวัว โดยการเพ้นท์ลายเป็นรูปลูกตาที่บริเวณสะโพกเยื้องไปด้านหลังจนดูเหมือนกับว่ามีดวงตาจ้องมองกลับมาเมื่อมองมาจากด้านหลังของวัว โดยทีมวิจัยได้ทำการทดลองกับฝูงปศุสัตว์ 14 ฝูง ด้วยจำนวนตัวอย่างรวมกว่า 2,061 ตัว ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ เพ้นท์ลายลูกตา เพ้นท์กากะบาท และไม่เพ้นท์อะไรเลย
รูปแบบอีก 2 กลุ่มตัวอย่าง
หลังจากนั้นทีมวิจัยก็จะทำการปล่อยฝูงปศุสัตว์ให้ดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน เพื่อให้เผชิญกับเหล่าสัตว์ผู้ล่าเหมือน ๆ กัน โดยระยะเวลาการเก็บผลอยู่ที่รอบละ 24 วันในแต่ละการทดสอบ
ซึ่งผลที่ได้นั้นน่าทึ่งมาก เพราะว่ากลุ่มที่เพ้นท์ลายลูกตานั้นแทบไม่โดนโจมตีจากสัตว์ผู้ล่าเลย ส่วนพวกที่ทำเครื่องหมายกากะบาทนั้นถูกโจมตีน้อยลงมาและกลุ่มที่ไม่ได้เพ้นท์ลายเลยจะโดนโจมตีมากที่สุด
24 วันผ่านไปกลุ่มที่มีตาหลังไม่โดนไล่งับเลยจ้า 😲
นั่นพอจะทำให้สรุปได้ว่า ถ้าหากถูกจ้องกลับโดยเป้าหมายแล้วเหล่าสัตว์ผู้ล่าก็จะล้มเลิกความตั้งใจและเปลี่ยนเป้าหมายไปยังเป้าหมายอื่นแทน
ดังนั้นวิธีเพ้นท์ลายลูกตานี้ดูจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายไม่สูงด้วย น่าจะช่วยแก้ปัญหาให้เหล่าเกษตรได้ดีทีเดียว
แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่แน่ว่าถ้าหากว่าฝูงแมวยักษ์นักล่าเหล่านี้เริ่มคุ้นชินกับดวงตาเทียมเพ้นท์ลายเหล่านี้แล้วจะกลับมาโจมตีฝูงวัวอีกหรือเปล่า อาจจะต้องมีการเปลี่ยนลายใหม่อยู่เรื่อย ๆ ก็เป็นได้ 🤔
Source:
https://interestingengineering.com/painted-eyes-on-cattle-butts-protect-them-from-lions-per-study
https://www.nature.com/articles/s42003-020-01156-0#Fig2