ฉันเป็นออแพร์ยุคโควิด | ออแพร์เยอรมัน

ฉันเป็นออแพร์ยุคโควิด หลายๆคนน่าจะรู้กระบวนการคร่าวๆอยู่แล้วเพราะฉะนั้นจะเจาะจงใน ประสบการณ์ เน้นๆเลยนะคะ
        สวัสดีค่ะอมยิ้ม01 แนะนำตัวกันนิดนึง ขอเป็นชื่อเล่นละกันนะคะ ชื่อนินจา ค่ะ ชื่อนินจาจริงๆ ไม่ต้อง ห๊ะ อาจจะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูแต่ก็อาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้ว ตอนเด็กๆชื่อเด่นมากไม่เคยเจอคนชื่อซ้ำเลย แต่เดี๋ยวนี้ก็มีรุ่นใหม่ที่ชื่อเดียวกันบ้างแล้ว ปัจจุบันอายุ 22 เพิ่งเรียนจบหมาดๆไปเมื่อปี 62 ตอนนี้ทำงานเป็นออแพร์อยู่ที่ประเทศเยอรมัน 
ออแพร์คืออะไร หลายๆคนน่าจะทราบอยู่แล้วถ้าสนใจเข้ามาอ่านกระทู้ของเรา แต่จะสรุปตามความเข้าใจให้อีกรอบนึง ออแพร์คือ ผู้หญิงหรือผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 18 – 26 ปี ยังไม่ครบ 27 ปี (ตัวเลขตรงนี้ขึ้นอยู่กับประเทศปลายทางที่อยากจะไปนะคะ ศึกษากันให้ดี ตัวเลขที่กล่าวมาเป็นของประเทศเยอรมันนะคะ) ที่สนใจอยากแลกเปลื่ยนภาษาและวัฒนธรรม และ ......รักเด็ก ค่ะ ตามนั้น เพราะเป็นออแพร์ก็เป็นการทำงานด้วย หน้าที่หลักๆก็คือดูแลเด็ก ส่วนเรื่องงานบ้านเป็นการตกลงระหว่างตัวออแพร์และครอบครัวโฮสเลยค่ะ มันต่างกับพี่เลี้ยงเด็กปกตินิดนึงตรงที่เราอยู่กันเป็นครอบครัว เรามาเพื่อเก็บประสบการณ์เค้าก็อยากมีคนมาช่วยเรื่องในครอบครัวเค้าให้ค่าตอบแทนเราเป็นเงิน เราอยู่กันแบบวินๆ พึ่งพาอาศัยกัน

เหตุผลที่เลือกออแพร์เยอรมัน เรามีความฝันตั้งแต่เด็กว่าอยากจะไปอยู่ต่างประเทศ อยากจะไปเรียนต่างประเทศ ตอนเด็กๆก็ได้แค่ฝันเฟื่องอะเนอะ ไม่มีตังไปไม่ได้ ฮ่าๆ นั่นแหละค่ะ จริงๆครั้งแรกที่ได้รู้จักสิ่งที่เรียกว่าออแพร์คือตอนอายุ 16 ปี ซึ่งรู้จักผ่านเพื่อนที่มีความฝันเดียวกันแต่ว่า ตอนนั้นอายุยังไม่ถึงเลยต้องพับเรื่องออแพร์เก็บไว้ก่อน นานจนลืมไปเลยแหละ แต่ก็มานึกขึ้นได้ตอนมหาลัยเพราะมีรุ่นพี่ที่เรียนวิชาโทวิชาเดียวกันเค้าไปทำออแพร์ที่เยอรมัน แล้วก็นึกได้ว่าโอ้ววววววว มัน มี วิ ธิ นี้ นี่ นา จากนั้นก็ทำการศึกษาทำความเข้าใจเรื่องออแพร์มากขึ้น แล้วก็ตัดสินใจออแพร์นี่แหละคือก้าวต่อไป อย่างแรกค่าใช้จ่ายในการเป็นออแพร์เยอรมันถูกกว่า ค่าวีซ่าและค่าเครื่องบินก็พอแล้ว รวมๆสักสามหมื่นห้าหรือหก ขึ้นอยู่กับตั๋วเครื่องบินนะคะ อย่างที่สองเราคิดว่าการไปครั้งนี้จะทำให้เราได้เรียนภาษามากกว่าอยู่ที่ไทย ไหนๆเราก็เรียนมาแล้วก็ใช้ให้เป็นประโยชน์สักหน่อย อย่างที่สามเป็นออแพร์ที่นี่ไม่จำเป็นต้องจ้างเอเจนท์ใดๆ เอกสารวีซ่าก็ไม่ซับซ้อนทำเองได้แถมรวดเร็ว อย่างที่สี่การเป็นออแพร์เรากินอยู่ในบ้านเดียวกับโฮส ตัดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะแถมเค้ายังส่งเราเรียนภาษาและได้เงินรายเดือนอีกด้วย(จำนวนขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ) จากเหตุผลทั้งหมดก็เลยคิดว่า เอาหละ หาโฮส !!!!! เพี้ยนจริงจัง
 
ขั้นตอนก็ไม่ยาก 
1.    หาโฮส อย่างแรกเราต้องหาโฮสก่อนโดยเข้าไปสร้างโปรไฟล์ที่เว็บ Aupair world นะคะอาจจะเป็นเว็บอื่นก็ได้แต่ตัวเราก็หาโฮสจากเว็บนี้ ในเว็บก็จะมีข้อมูลของทั้งฝั่งโฮสและออแพร์ ราเลือเค้าเค้าก็เลือกเราแฟร์ๆ ถ้าเจอโปรไฟล์ที่สนใจก็ส่งข้อความไปหาเค้า ในทางกลับกันโฮสที่สนใจเราก็อาจจะส่งข้อความหาเราเช่นกัน ขั้นตอนนี้สำคัญมากและใช้เวลานานแนะนำให้เริ่มหาก่อนเวลาจะบินสักสามสี่เดือนนะคะ เราจะได้มีเวลาคุยเวลาคิดด้วยว่าเราจะแมชกันไหม (แมช match หมายถึงโฮสกับออแพร์ที่ตกลงเลือกจับคู่กันและจะเซ็นสัญญาว่าจ้างกัน) 
 
การเลือกโฮสแนะนำให้เลือกดีๆนะคะใจเย็นๆ ว่ากันให้เห็นภาพมากขึ้นก็คือ เค้าจะเป็นครอบครัวที่เราต้องอาศัยอยู่ด้วย เราอยู่กับครอบครัวเราเอง หรือบางทีอยู่หอกับเพื่อนก็มีสิ่งที่เราชอบและไม่ชอบใช่ไหมคะ นี่ก็เหมือนกัน เช่น เราไม่ชอบสัตว์ เราก็เลือกบ้านที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง เค้ากินอยู่ยังไงเป็นต้น หาบ้านที่ทำให้เราสบายใจมากที่สุด คุยกันให้เคลียร์ว่าขอบเขตการทำงานการใช้ชีวิตเรามันเป็นยังไง รวมถึงวันหยุด วันลา สิ่งที่ห้ามทำ เค้า open กับวัฒนธรรมมากแค่ไหน แนะนำให้ใช้เวลาคุยกับเขาเยอะๆค่ะคุยให้รู้ว่าเป็นคนยังไง และเค้ามี way ในการสอนลูกเขายังไง สำคัญมากนะคะ เพราะถ้าเราจะไปอยู่กับเด็ก คนที่เด็กเชื่อฟัง รัก และเคารพที่สุดคือพ่อแม่ การที่เราจะใช้ชีวิตอยู่กับเด็กโดยที่เราจะไม่รู้สึกแย่ คือพ่อแม่เค้าต้องให้ความร่วมมือค่ะ เช่น น้องพูดจาไม่ดีใส่เรา ถ้าพ่อแม่นึ่ง เด็กก็ไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ห้ามทำ เค้าก็จะทำแบบนั้นต่อ 

ถ้าเราได้เจอกับครอบครัวที่ถูกใจแล้วสักสองสามครอบครัวก็จะต้องนัดคุยกันผ่าน Skype หรือ Whatsapp ถือเป็นการทำความรู้จักและและนำตัวด้วย ส่วนใหญ่เค้าก็จะพยายามให้เด็กมาคุยด้วยนะคะเพื่อจะได้ปฏิกิริยาของกันและกัน แล้วแต่เลยค่ะตอนนี้แหละจะเป็นโอกาสให้เราได้ถามคำถามที่ข้องใจเกี่ยวกับการทำงานกับไลฟสไตล์ เกี่ยวกับเด็กๆ สิ่งนี่จะช่วยให้เราตัดสินใจง่ายขึ้น บอกเลยว่าโฮสดีชีวิตดีจริงๆนะ 
2.    ถ้าตกลงเซ็นสัญญากันแล้วก็เตรียมเอกสารทำวีซ่าซึ่งตัวเอกสารก็เปิดดูได้ในเว็บไซต์ของสถานฑูตได้เลยนะคะ ถ้าไม่เคลียร์ก็อีเมลล์ไปหรือโทรถามให้เคลียร์ ย้ำถามให้เคลียร์ นะจ๊ะชีวิตจะได้ไม่ลำบากทีหลัง จริงๆนะ เจอมาแล้ว ฮ่าๆๆ
3.    เตรียมตัวบิน แค่นี้เลย ชิลๆ แต่อย่าชิลเกินไปเด้อเดี๋ยวอดไป

การเดินทาง นี่แหละเสียวสันหลังที่สุดเลยจะแม่ เพี้ยนสะอื้น เนื่องจากทุกมนุษยชาติทั่วโลกตกอยู่ในสภาวะที่ต้องกักตัว ใช้คำใหญ่มาก นึกว่าอยู่ในการ์ตูนญี่ปุ่น เพราะโคโรน่าไวรัส ร้องไห้แล้ว แถมยังเป็นการบินข้ามน้ำข้ามประเทศครั้งแรก ทำอะไรไม่ค่อยถูก ไม่รู้ด้วยว่าต้องทำยังไง ฮือ ทุกอย่างกำลังเป็นไปได้ดีแท้ๆ รอบินอยู่ดีๆเที่ยวบินก็โดนยกเลิกจองใหม่สามครั้งก็โดนยกเลิกคจนครั้งที่สามจองเที่ยวบินตรงซึ่งแพงมากเกินงบที่คิดไว้ไปไกลเลย เครียดมากออกไปไหนก็ไม่ได้ งานก็ไม่ได้ทำแล้ว เราถ่ายคลิปเล่าเรื่องไว้ยูทูบไปเปิดดูได้นะคะ กว่าจะถึงเยอรมันคาดว่าเส้นประสาทในสมองน่าจะตายไปหลายจุดเพราะเครียดจัดฮ่าๆ ทิ้งลิงค์ให้ดูฆ่าเวลานะคะ ใครชอบก็อย่าลืมกดติดตามนะ อาจจะลงคลิปช้าหน่อยเพราะทำอยู่คนเดียวแล้วตัดคลิปมันก็ใช้เวลา เรากำลังศึกษาวิธีใหม่ๆที่จะตัดคลิปให้น่าดูอยู่ถ้าลงช้าก็อย่าว่ากันนะคะ ไปตามเพจก่อนก็ได้ค่ะ Name's Ninja

คลิปเล่าประสบการณ์บินมาตอนโควิด กดโลด

เก็บตกสิ่งที่ไม่ได้พูดในคลิป ทุกคนกลัวและเป็นห่วงเรื่องไวรัสก็จริงแต่ก็มีอีกอย่างหนึ่งที่ครอบครัวและเพื่อนๆเป็นห่วงในการบินข้ามประเทศ คือเรื่อง “การเหยียด” คงพูดไม่ได้ว่ามันไม่มีเลยแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆแต่ก็สามารถกระทบจิตใจเราได้ บวกกับกระแสการเหยียดเอเชียเพราะไวรัสมีต้นตอมาจากจีน คนที่ไม่ใช่เอเชียเค้าแยกไม่ออกหรอกค่ะว่าเรามาจากจีนหรือเปล่า แม้แต่คนเอเชียยังเหยียดกันเองเลย เป็นเรื่องที่น่าเศร้าจริงๆ ตอนที่ลงจากเครื่องบินเพื่อไปต่อแถวเข้าตม. มีเด็กวัยรุ่นคนนึงต่ออยู่หลังเราแต่เค้าเว้นระยะห่างจากเราไกลมาก จนเราที่ยืนตรงนั้นคือเด่นไปเลย ห่างซะจนมองมาจากดาวอังคารยังรู้เลยว่าโดนเหยียด รู้สึกกดดันมากเพราะใจเราก็รู้ว่าเค้าคิดอะไร ยิ่งยืนคนเดียวโดดๆยิ่งเด่นต่อสายตา และโดน จนท. ที่ตม. ต่อแถวกันอยู่สองแถวแต่พอถึงคิวเราเค้าไม่เรียกเราเค้าเรียกแต่อีกแถวนึงจนเราเองก็รู้สึกถึงแรงกดดันอีกครั้ง เมินด้วย ถ้าเคาน์เตอร์ที่ว่างสำหรับคนเยอรมันเท่านั้นก็น่าจะบอกกันซักหน่อยไม่น่าทิ้งกันกลางทางแบบนี้เลย แต่ก็นะเค้าคงเหนื่อยแหละ ฮ่าๆ คิดในแง่ดี๊ดี ที่แชร์ให้ฟังไม่ได้อยากจะปลุกความเกลียดชังนะคะแต่แค่อยากจะแชร์ให้ได้รับฟัง การเหยียดไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย เราจะต้องเข้มแข็งนะคะเพราะหลังจากผ่านด่านนี้ไปแล้ว เราก็เจอแต่คนดีๆน่ารักๆทั้งนั้นเลย
เพี้ยนแข็งแรง
ติดอีกครั้ง ในคลิปเราไม่ได้เล่าให้ฟังว่าเราเกือบไม่ผ่านตม.แล้ว แต่อีเมลล์ที่โฮสส่งมาให้ทำให้เราผ่านไปได้อย่างโล่งอก ถอนหายใจยาวๆ เห้ออออออออออออ รอดแล้ววววววววววว เพี้ยนลอย

และหลังจากนั้นประมาณหนึ่งเดือน โฮสก็มาบอกว่าตอนนี้สถานฑูตออกกฎชัดเจนแล้วว่าออแพร์เข้าประเทศไม่ได้อีกต่อไป เราโชคดีมากที่มาถึงแล้ว 
 
ชีวิตหลังบินมาที่นี่ เพราะว่าตอนที่เราถึงมันเป็นช่วงโควิดใช่ไหม อะไรก็โควิด วุ้ย เหนื่อยใจ ฮ่า แต่ต้องทน เค้าเป็นกันทั่วโลกอ่ะเนอะ นั่นแหละค่ะทำให้เราต้องช่วยดูน้องเต็มเวลาเป็นเวลาประมาณสามเดือน เหนื่อยมากกกก คือเช้ามาอาจจะไม่ต้องตื่นเช้ามากเพราะเด็กไม่ต้องไป รร โฮสก็ไม่ไปทำงาน เราก็ตื่นเช้ามาจัดโต๊ะอาหาร ไม่มีอะไรมากหรอกค่ะ แยม นม เนย ขนมปัง หลังจากนั้นก็เก็บโต๊ะวิ่งไปเตรียมตัวเพราะโฮสจะต้องทำงานซึ่งเราก็ต้องดูน้องให้พวกเค้า เล่นกับน้องถึง 11 โมงก็พยายามหลอกล่อน้องให้ลงมาเล่นข้างล่างเพราะเราจะทำอาหารเพื่อที่ทุกคนจะได้กินพร้อมกันตอนเที่ยง บางวันน้องก็เล่นเพลินบางวันน้องก็รู้ตัวทัน วิ่งมาลากเราไปเล่นด้วยแต่เราก็ต้องทำอาหาร บางทีน้องก็ไม่พอใจร้องไห้ บางทีก็โน้มน้าวให้มาทำอาหารด้วยกันได้ หลังข้าวเที่ยงโฮสก็วิ่งกลับข้าห้องไปทำงาน ตัวเราเก็บของเสร็จก็ไปเล่นกับน้องช่วงหลังเที่ยงจะพยายามพาน้องไปข้างนอกจะได้ ได้รับลมสดชื่นบ้าง อาจจะไปเล่นในสวนหลังบ้าน หรือเดินเล่นบริเวณบ้าน ปิกนิกเล็กๆ กับน้องๆ จนคุณแม่เค้าจะมาประมาณสี่โมง เราก็ไปพักได้แล้วก็กลับมาเตรียมข้าวเย็นอีก บางวันก็ไม่ได้พักเลยหยุดทำงานก็คือหลังข้าวเย็นแล้ว ก็คือกินเสร็จสองทุ่ม ไม่อยากทำอะไรแล้วก็นอน นั้นคือส่วนของชีวิตระหว่าอาทิตย์ ส่วนเสาร์อาทิตย์ก็จะเบาๆหน่อย เสาร์ก็ช่วยทำงานบ้านนิดหน่อยแล้วเราก็เตรียมอาหารเที่ยงเพราะเค้าจะออกไปซื้อของเข้าบ้านกัน ถือว่าเสร็จงาน เราก็จะมีเวลาว่างแต่ คะ แต่ มันเป็นช่วงล็อคดาวน์ไงไปไหนไม่ได้ 555555555555  ในเลขห้ามีน้ำตาซ่อนอยู่ ก็ต้องอยู่ด้วยกันก็ไม่รู้สึกว่าได้พักอยู่ดี ใครไม่ร้องเราร้องแล้วนะ .............................เพี้ยนสะอื้น
ปัญหาที่พบมากที่สุดในการเป็นออแพร์ มีอีกกระทู้อ่านโลด

**********แต่ย้ำนะจ๊ะว่านี่คือช่วงโควิด ออแพร์จริงๆไม่ต้องทำงานหนักขนาดนี้นะ แต่มันก็ต้องช่วยๆกันไป***********
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่