ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมได้ศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมลายู ทั้งจากหนังสือ และในกระทู้ ในอินเทอร์เน็ต เหตุผลหนึ่งที่ศึกษาเพราะบรรพบุรุษก็เป็นชาวมลายู และก็คลุกคลีกับคนที่เป็นมลายูมาไม่น้อย แล้วแต่เดิมคิดว่าตัวเองเป็นแค่คนไทยเชื้อสายมลายูมาตลอด จนกระทั่งในช่วงหลายเดือนจนถึงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับมลายูในยุคก่อนที่จะนับถือศาสนาอิสลามกันค่อนข้างมาก ถึงขั้นเคยนับถือกันหลายร้อยปีก่อนอิสลามจะเข้ามาโดยพ่อค้าชาวอาหรับ ทั้งยังมีข้อมูลการพูดถึงกลุ่มชาวมลายูมุสลิมที่กลับมานับถือพระพุทธศาสนาด้วย ทำให้เริ่มรู้สึกสนใจและศึกษาเรื่องราวอย่างจริงจังมากขึ้นจากหลายๆ ด้าน
ก่อนหน้านี้ จากที่เคยศึกษาประวัติศาสตร์ของอินเดีย พบว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจคล้ายๆ กัน เพราะอินเดียในช่วงหลังยุคจักรวรรดิโมริยะของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นเริ่มมีการเข้ามาของมุสลิมในดินแดนเปอร์เซีย อาหรับ ก่อนที่จะเข้ามายึดครองในฐานะผู้ปกครองและทำให้ศาสนาฮินดูและพุทธเสื่อมลง ซึ่งทำให้รู้ว่าสาเหตุของการเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียโดยหลัก ไม่ใช่เพราะถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นอวตารของพระวิษณุหรือการเปลี่ยนให้เป็นฮินดู หากแต่สาเหตุนั้นเป็นเพราะการเข้ามาของผู้ปกครองมุสลิมจากดินแดนทางตะวันตก (ทั้งเปอร์เซียและเอเชียกลาง) ในช่วงที่จักรวรรดิมุฆัลรุ่งเรืองนั้น ยังพบว่ามีกษัตริย์ฮินดูหลายพระองค์ลุกขึ้นสู้กับผู้รุกรานต่างแดน ทั้งมหารานา ประตาป แห่งเมวาร์ และศิวาจีแห่งมราฐา ซึ่งคนอินเดียฮินดูยกย่องว่าเป็นผู้รักษาศาสนาฮินดูในทุกวันนี้ และทำให้ยังมีวัฒนธรรมดั้งเดิมของอินเดียยังคงอยู่และสืบทอดจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียของท่านอะนาการิกะ ธรรมปาละ ผู้เรียกร้องการฟื้นฟูพุทธคยาและศาสนสถานของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย และ ดร. อัมเบดการ์ ผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียยุคใหม่ ซึ่งแม้จะไม่รุ่งเรืองมากเท่ากับเมื่อหลายร้อยปีก่อน แต่ก็ถือว่าอยู่ในจุดที่มั่นคงและได้รับการสนับสนุนในปัจจุบัน ส่วนชาวมลายูนั้น รับศาสนาจากทางผู้ปกครอง ดังนั้นจึงไม่ได้มีการต่อต้านใดๆ วัฒนธรรมเก่าแก่ต่างๆ ที่ควรจะอยู่สืบทอดนั้น ก็ได้หายไปพร้อมกับความเชื่อทางศาสนาด้วย
อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้ต้องการฟื้นฟูศาสนา วัฒนธรรมโบราณหรือเรื่องราวของประวัติศาสตร์ในเวลานี้ สิ่งแรกที่ผมต้องการมากที่สุดคือ การพยายามค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมลายูให้มากกว่านี้ เพื่อให้รับรู้ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงว่า มลายูนั้นเคยเป็นชนชาติพุทธศาสนาที่เคยรุ่งเรืองมาไม่แพ้ชนชาติอื่นๆ ในคาบสมุทรแห่งนี้ และมีวัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่อะไรบ้าง เหตุผลหนึ่งเพื่อต้องการให้เกิดความสงบสุขในชายแดน เพราะคนในชายแดนส่วนมาก รู้แต่เพียงว่าดินแดนของตัวเองเคยเป็นอาณาจักรอิสลามเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้รับรู้ด้วยซ้ำว่าศาสนาอิสลามในเวลานั้นแตกต่างกับศาสนาอิสลามที่พวกตนนับถือกันในเวลานี้อย่างไร ดังนั้นประวัติศาสตร์ส่วนนี้ หากได้รับการฟื้นฟูเพิ่มเติมหลักฐานและสามารถเป็นที่ยอมรับของคนในชายแดนได้ โอกาสที่เกิดขึ้นของสันติสุขก็จะมีมากขึ้น ความเข้าใจก็จะมีมากขึ้นเพราะอย่างน้อยก็จะได้รับรู้ว่าบรรพบุรุษนั้นก็เคยเป็นพุทธมาก่อน
ส่วนเรื่องวัฒนธรรมประเพณี แม้ว่าอาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเนื่องจากไม่ค่อยมีหลักฐานการแต่งกายหรือประเพณีวัฒนธรรมใดๆ มากนัก แต่หากศึกษาจากวัฒนธรรมที่ชวารับมาจากสุมาตราก่อนที่บาหลีจะรับมา ก็อาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ยาก เพราะเกาะบาหลีนั้นมีวัฒนธรรมที่หลงเหลือจากมลายูยุคโบราณมาไม่น้อย เพียงแต่ปัญหาหนึ่งก็คือวัฒนธรรมบาหลีในปัจจุบันอาจจะเจือปนความเป็นท้องถิ่นไปมากแล้วและด้วยเวลาและการรับวัฒนธรรม อาจจะทำให้ค่อนข้างลำบากในการเสาะหาเรื่องราววัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม บางวัฒนธรรมนั้นยังสามารถสังเกตเห็นได้ เช่น ประเพณีการแห่นก หรือการสร้างเจดีย์ ปรางค์แบบมลายู (จันดิ/Candi) ในส่วนสำหรับการเรียนรู้นั้นก็เพื่อให้เรียนรู้วัฒนธรรมโบราณ ส่วนที่จะมีการปรับใช้หากจะปรับใช้กับสังคมมลายูมุสลิมนั้นก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมมลายูปัจจุบันมากขึ้นด้วย และสำหรับเรื่องศาสนา ในตรงนั้นไม่ได้ต้องการเน้นย้ำให้ชาวมลายูหรือผู้มีเชื้อสายมลายู (ที่เป็นมุสลิม) ทุกคนหันกลับมานับถือ เพียงแต่ในทางหนึ่ง ให้ศึกษาว่าพระพุทธศาสนาแบบมลายูโบราณนั้น เป็นอย่างไร และมีความเป็นมหายาน-ฮินดู อย่างไรบ้าง และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความเชื่ออย่างไร ส่วนที่นำไปใช้จริง หรือเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องนำเอาพระพุทธศาสนายุคนั้นมา แต่ให้ใช้พระพุทธศาสนาของไทยมาแทนที่และปรับให้เป็นสากลมากขึ้นด้วยการใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ไม่ขัดกับศาสนาอิสลาม มาสอนเพิ่มเติมนอกเหนือจากในคัมภีร์ หากเปิดใจยอมรับได้ โดยผลลัพธ์อย่างน้อยที่สุด ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างไทยพุทธและมลายูมุสลิมมากขึ้นได้
ทั้งหมดที่ได้เสนอแนะให้กับชาวพันทิปและผู้อ่าน เหตุผลหลักๆ มีเพียงแค่ต้องการให้เกิดสันติสุขในชายแดน เกิดความเข้าใจและความรู้กันมากขึ้น และเพื่อลดช่องว่างและรอยร้าวที่ผู้ไม่หวังดีได้สร้างเอาไว้ ทั้งนี้ ทุกๆ ข้อความนั้นเป็นเพียงแค่แบบเสนอของผมเท่านั้น หากจะนำไปปฏิบัติจริงก็ขอให้พิจารณาตามหลักความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในเวลาและสถานการณ์จริงด้วยครับ หากมีความคิดเห็นสร้างสรรค์ใดๆ ก็สามารถเสนอแนะกันได้ครับ ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้อ่านกระทู้นี้
หมายเหตุ แนวคิดทั้งหมดที่ผมเสนอสามารถใช้ได้กับทั้งในชายแดนและกับชุมชนไทยหรือชุมชนชาวพุทธในประเทศมาเลเซียครับ
ศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อความเข้าใจและสันติสุขในสังคมมลายู
ก่อนหน้านี้ จากที่เคยศึกษาประวัติศาสตร์ของอินเดีย พบว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจคล้ายๆ กัน เพราะอินเดียในช่วงหลังยุคจักรวรรดิโมริยะของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นเริ่มมีการเข้ามาของมุสลิมในดินแดนเปอร์เซีย อาหรับ ก่อนที่จะเข้ามายึดครองในฐานะผู้ปกครองและทำให้ศาสนาฮินดูและพุทธเสื่อมลง ซึ่งทำให้รู้ว่าสาเหตุของการเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียโดยหลัก ไม่ใช่เพราะถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นอวตารของพระวิษณุหรือการเปลี่ยนให้เป็นฮินดู หากแต่สาเหตุนั้นเป็นเพราะการเข้ามาของผู้ปกครองมุสลิมจากดินแดนทางตะวันตก (ทั้งเปอร์เซียและเอเชียกลาง) ในช่วงที่จักรวรรดิมุฆัลรุ่งเรืองนั้น ยังพบว่ามีกษัตริย์ฮินดูหลายพระองค์ลุกขึ้นสู้กับผู้รุกรานต่างแดน ทั้งมหารานา ประตาป แห่งเมวาร์ และศิวาจีแห่งมราฐา ซึ่งคนอินเดียฮินดูยกย่องว่าเป็นผู้รักษาศาสนาฮินดูในทุกวันนี้ และทำให้ยังมีวัฒนธรรมดั้งเดิมของอินเดียยังคงอยู่และสืบทอดจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียของท่านอะนาการิกะ ธรรมปาละ ผู้เรียกร้องการฟื้นฟูพุทธคยาและศาสนสถานของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย และ ดร. อัมเบดการ์ ผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียยุคใหม่ ซึ่งแม้จะไม่รุ่งเรืองมากเท่ากับเมื่อหลายร้อยปีก่อน แต่ก็ถือว่าอยู่ในจุดที่มั่นคงและได้รับการสนับสนุนในปัจจุบัน ส่วนชาวมลายูนั้น รับศาสนาจากทางผู้ปกครอง ดังนั้นจึงไม่ได้มีการต่อต้านใดๆ วัฒนธรรมเก่าแก่ต่างๆ ที่ควรจะอยู่สืบทอดนั้น ก็ได้หายไปพร้อมกับความเชื่อทางศาสนาด้วย
อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้ต้องการฟื้นฟูศาสนา วัฒนธรรมโบราณหรือเรื่องราวของประวัติศาสตร์ในเวลานี้ สิ่งแรกที่ผมต้องการมากที่สุดคือ การพยายามค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมลายูให้มากกว่านี้ เพื่อให้รับรู้ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงว่า มลายูนั้นเคยเป็นชนชาติพุทธศาสนาที่เคยรุ่งเรืองมาไม่แพ้ชนชาติอื่นๆ ในคาบสมุทรแห่งนี้ และมีวัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่อะไรบ้าง เหตุผลหนึ่งเพื่อต้องการให้เกิดความสงบสุขในชายแดน เพราะคนในชายแดนส่วนมาก รู้แต่เพียงว่าดินแดนของตัวเองเคยเป็นอาณาจักรอิสลามเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้รับรู้ด้วยซ้ำว่าศาสนาอิสลามในเวลานั้นแตกต่างกับศาสนาอิสลามที่พวกตนนับถือกันในเวลานี้อย่างไร ดังนั้นประวัติศาสตร์ส่วนนี้ หากได้รับการฟื้นฟูเพิ่มเติมหลักฐานและสามารถเป็นที่ยอมรับของคนในชายแดนได้ โอกาสที่เกิดขึ้นของสันติสุขก็จะมีมากขึ้น ความเข้าใจก็จะมีมากขึ้นเพราะอย่างน้อยก็จะได้รับรู้ว่าบรรพบุรุษนั้นก็เคยเป็นพุทธมาก่อน
ส่วนเรื่องวัฒนธรรมประเพณี แม้ว่าอาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเนื่องจากไม่ค่อยมีหลักฐานการแต่งกายหรือประเพณีวัฒนธรรมใดๆ มากนัก แต่หากศึกษาจากวัฒนธรรมที่ชวารับมาจากสุมาตราก่อนที่บาหลีจะรับมา ก็อาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ยาก เพราะเกาะบาหลีนั้นมีวัฒนธรรมที่หลงเหลือจากมลายูยุคโบราณมาไม่น้อย เพียงแต่ปัญหาหนึ่งก็คือวัฒนธรรมบาหลีในปัจจุบันอาจจะเจือปนความเป็นท้องถิ่นไปมากแล้วและด้วยเวลาและการรับวัฒนธรรม อาจจะทำให้ค่อนข้างลำบากในการเสาะหาเรื่องราววัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม บางวัฒนธรรมนั้นยังสามารถสังเกตเห็นได้ เช่น ประเพณีการแห่นก หรือการสร้างเจดีย์ ปรางค์แบบมลายู (จันดิ/Candi) ในส่วนสำหรับการเรียนรู้นั้นก็เพื่อให้เรียนรู้วัฒนธรรมโบราณ ส่วนที่จะมีการปรับใช้หากจะปรับใช้กับสังคมมลายูมุสลิมนั้นก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมมลายูปัจจุบันมากขึ้นด้วย และสำหรับเรื่องศาสนา ในตรงนั้นไม่ได้ต้องการเน้นย้ำให้ชาวมลายูหรือผู้มีเชื้อสายมลายู (ที่เป็นมุสลิม) ทุกคนหันกลับมานับถือ เพียงแต่ในทางหนึ่ง ให้ศึกษาว่าพระพุทธศาสนาแบบมลายูโบราณนั้น เป็นอย่างไร และมีความเป็นมหายาน-ฮินดู อย่างไรบ้าง และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความเชื่ออย่างไร ส่วนที่นำไปใช้จริง หรือเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องนำเอาพระพุทธศาสนายุคนั้นมา แต่ให้ใช้พระพุทธศาสนาของไทยมาแทนที่และปรับให้เป็นสากลมากขึ้นด้วยการใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ไม่ขัดกับศาสนาอิสลาม มาสอนเพิ่มเติมนอกเหนือจากในคัมภีร์ หากเปิดใจยอมรับได้ โดยผลลัพธ์อย่างน้อยที่สุด ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างไทยพุทธและมลายูมุสลิมมากขึ้นได้
ทั้งหมดที่ได้เสนอแนะให้กับชาวพันทิปและผู้อ่าน เหตุผลหลักๆ มีเพียงแค่ต้องการให้เกิดสันติสุขในชายแดน เกิดความเข้าใจและความรู้กันมากขึ้น และเพื่อลดช่องว่างและรอยร้าวที่ผู้ไม่หวังดีได้สร้างเอาไว้ ทั้งนี้ ทุกๆ ข้อความนั้นเป็นเพียงแค่แบบเสนอของผมเท่านั้น หากจะนำไปปฏิบัติจริงก็ขอให้พิจารณาตามหลักความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในเวลาและสถานการณ์จริงด้วยครับ หากมีความคิดเห็นสร้างสรรค์ใดๆ ก็สามารถเสนอแนะกันได้ครับ ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้อ่านกระทู้นี้
หมายเหตุ แนวคิดทั้งหมดที่ผมเสนอสามารถใช้ได้กับทั้งในชายแดนและกับชุมชนไทยหรือชุมชนชาวพุทธในประเทศมาเลเซียครับ