พระเจ้าสุทโธทนะ บรรลุอรหัตตผลแล้ว ต้องรออีก 7 วันจึงปรินิพพานจริงหรือ ?



https://84000.org/tipitaka/picture/f60.html

https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/puttha_buddha/38.html

http://mfsb2018.org/index.php/navigations/floor-1-plan/zone-1-buddha/item/190-buddha-history80-detail

https://sites.google.com/site/dhammatharn/xetthakhkh/xetthakhkha-xubask/phra-cea-suu-tho-thna

https://trang82.wordpress.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%96%E0%B9%90-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3/
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
สรุปแล้ว.......คือ

ความคิดเห็นที่ 3
........ แม้พระอานนท์  พระนนทะ  พระราหุล  ก็ได้กระทำสัตยาธิษฐาน  แล้วรูปที่แขนซ้าย  ลูบที่แขนขวา   ลูบที่หลัง  ตามลำดับ  ซึ่งช่วยให้พระราชาทรงมีพระชนม์ต่ออีก ๗ วัน  ระหว่างนั้น  พระศาสดาก็ตรัสพระเทศนาว่าด้วยความไม่เที่ยงและอริยสัจ ๔ พระราชาทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์ในวันที่ ๗ พระราชากราบทูลลาพระพุทธเจ้า  แล้วทรงให้โอวาทมิให้เหล่าพระประยูรญาติโศกเศร้า  จากนั้นก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน




พระเจ้าสุทโธทนะ ฟังธรรม 7 วันจึงบรรลุอรหันต์ แล้วจึงปรินิพพาน
ไม่ใช่บรรลุอรหันต์ แล้วอีก 7 วันจึงปรินิพพาน...........อ้อ มันเป็นอย่างนี้เอง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
อรรถกถาปริพพาชกวรรค               
               ๑. อรรถกถาเตวิชชวัจฉสูตร๑-      
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=240

       แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์ คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะเศรษฐีบุตร วีตโสกธารกะ ก็บรรลุพระอรหัตได้. แม้บุคคลเหล่านั้นก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไปด้วยมรรคแล้วบรรลุได้ แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น.
               ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง. แต่ภุมมเทวดายังดำรงอยู่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะมีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้.
               ในกามภพที่เหลือ พระอริยบุคคล ๓ จำพวกมีพระโสดาบันเป็นต้น ยังดำรงอยู่ได้ในมนุษยโลก. ในกามาวจรเทวโลก พระโสดาบันและพระสกทาคามียังดำรงอยู่ได้. แต่พระอนาคามีและพระขีณาสพจะดำรงอยู่ในกามาวจรเทวโลกนี้ไม่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะที่นั้นมิใช่เป็นที่อยู่ของชนผู้ละอายแล้ว และที่นั้นมิใช่เป็นที่ปกปิดที่สมควรแก่วิเวกของพระขีณาสพเหล่านั้น.
               ด้วยประการฉะนี้ พระขีณาสพจึงปรินิพพาน ณ ที่นั้น. พระอนาคามีจุติแล้วไปเกิดในชั้นสุทธาวาส. พระอริยะแม้ ๔ จำพวกย่อมดำรงอยู่ในภูมิเบื้องบน แต่กามาวจรเทวโลกได้.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔

               ๕. เรื่องพระนางเขมา [๒๔๔]     
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=34&p=5

บาทพระคาถาว่า เอตมฺปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา ความว่า บัณฑิตทั้งหลายตัดเครื่องผูกนั่นแล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย คือไม่มีอาลัย ละทุกขทั้งปวงด้วยอรหัตมรรคแล้ว ก็เว้น คือไป.

               ในกาลจบเทศนา พระนางเขมาทรงดำรงอยู่ในพระอรหัต.
               เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว.
               พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า "มหาบพิตร พระนางเขมาจะบวชหรือปรินิพพาน จึงควร?"
               พระราชา. โปรดให้พระนางบวชเถิด พระเจ้าข้า อย่าเลยด้วยการปรินิพพาน.
               พระนางบรรพชาแล้ว ก็ได้เป็นสาวิกาผู้เลิศ ดังนี้แล
.

               เรื่องพระนางเขมา จบ.               
               ---------------------------               

มิลินทปัญหา

เมณฑกปัญหา

วรรคที่ ๖

http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-main-page.htm

ปัญหาที่ ๓ ถามถึงความเป็นพระอรหันต์แห่งคฤหัสถ์

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า

" ข้าแต่พระนาคเสน มีคำกล่าวไว้ว่า " คฤหัสถ์ผู้สำเร็จอรหันต์แล้ว ย่อมมีคติ ๒ ประการ คือบรรพชาในวันนั้น ๑ ปรินิพพานในวันนั้น ๑ ไม่อาจเลยวันนั้นไปได้ " ดังนี้

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าในวันนั้น ไม่ได้อาจารย์ หรืออุปัชฌาย์ หรือบาตร จีวร ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วนั้นจะบรรพชาเอง หรือเลยวันนั้นไป หรือมีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์องค์ใดองค์หนึ่งมาให้บรรพชา จะได้หรือไม่ หรือต้องปรินิพพานไป ? "

พระนาคเสนตอบว่า

" ขอถวายพระพร พระอรหันต์ทั้งบรรพชาเองไม่ได้ ถ้าบรรพชาเองก็ชื่อว่า " ไถยสังวาส " ( ลักเพศ คือปลอมบวช ) และเลยวันนั้นไปก็ไม่ได้ จะมีพระอรหันต์องค์อื่นมาหรือไม่มีก็ตาม ก็ต้องปรินิพพานในวันนั้น"

" ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้นความเป็นพระอรหันต์ ก็ทำให้สิ้นชีวิตน่ะซิ "

" ขอถวายพระพร คฤหัสถ์ถึงสำเร็จอรหันต์แล้วต้องบรรพชา หรือปรินิพพานในวันนั้น เพราะเพศคฤหัสถ์ไม่มีกำลังพอ ข้อที่สิ้นชีวิตไปนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะโทษแห่งความเป็นพระอรหันต์ เป็นเพราะโทษแห่งคฤหัสถ์ ไม่มีกำลังพอต่างหาก ขอถวายพระพร

ธรรมดาโภชนาหารย่อมรักษาอายุ รักษาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไว้ แต่ว่าโภชนาหารนั้น ย่อมทำให้สิ้นชีวิตได้ด้วยไฟย่อยอาหารไม่พอ การสิ้นชีวิตนั้นไม่ใช่เป็นโทษแห่งอาหารนั้น เป็นโทษแห่งไฟย่อยอาหารไม่พอฉันใด การที่คฤหัสถ์ผู้ได้สำเร็จพระอรหันต์แล้วต้องบรรพชาหรือปรินิพพานในวันนั้น ข้อนั้นไม่ใช่เป็นโทษแห่งความเป็นพระอรหันต์ เป็นโทษแห่งเพศคฤหัสถ์มีกำลังไม่พอฉันนั้น

อีกประการหนึ่ง เหมือนกับบุคคลยกเอาก้อนศิลาหนัก ๆ วางลงบนฟ่อนหญ้าเล็ก ๆ ฟ่อนหญ้าเล็ก ๆ นั้น ก็ต้องจมลงไปเพราะกำลังไม่พอฉันใด ข้อนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนบุรุษผู้มีบุญน้อยเมื่อได้ราชสมบัติอันใหญ่แล้ว ก็ไม่อาจรักษาความเป็นอิสระไว้ได้ฉันใด คฤหัสถ์ผู้ได้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่อาจรับรองความเป็นอรหันต์ไว้ได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงต้องบรรพชาหรือปรินิพพานในวันนั้น ขอถวายพระพร "

" ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน "
----------------------------------------------------------------------------------

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/article.htm

ผู้ถึงกระแสพระนิพพาน
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/krasae.doc


บวช มาจากคำว่า ปวช (ปะ-วะ-ชะ) แปลว่า ออกจาก ไม่ได้แปลว่าโกนหัวเลย ไม่ได้แปลว่าห่มเหลืองเลย ไม่ได้แปลว่าเที่ยวขอเลย แล้วชีวิตของเราถ้าไม่ออกจากจะคลุกคลีอยู่กับอะไร อยู่กับ โลภ โกรธ หลง อยากได้ อุปาทาน ยึดมั่นแสวงหาที่เกิด แต่ผู้ออกจาก คือออกจากโลภ โกรธ หลง และการเสวงหาการเกิด แล้วอะไรที่เป็นตัวการให้อยู่กับพวกนี้ ก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ผู้ที่ออกบวชจึงเป็นผู้ปวารณาตัว ออกจากกามตัณหา ความยินดีติดใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ปวารณาออกจากความยึดมั่นในเรื่องไร้สาระ เช่น ลาภยศต่าง ๆ ออกจากความยึดมั่นในอารมณ์อันเป็นสุขเป็นทุกข์

ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนามีกิจอย่างเดียวเท่านั้นเอง คือกิจที่ต้องพยายามออกจากการพัวพันชีวิตไว้กับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่มีชิวิตเนื่องด้วยตัณหา อุปาทาน จึงจะเป็นนักบวชที่แท้จริง ดังนั้น พระอรหันต์จึงครองชีวิตอยู่ในความยึดมั่นหรือครองเรือนอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะรู้ว่าเป็นภัยเป็นโทษ เปรียบเสมือนไฟกำลังไหม้บ้าน ควันก็เข้าตา ร้อนก็ร้อน ใครจะทน มีใครทนไหม ร้องหาทางหนี อยู่ไปก็ตายแน่ เพราะรู้ว่านี่ก็เป็นกิเลส ทำให้ต้องมีการเกิด นี่ก็เป็นโทษ นี่ก็เป็นภัย เมื่อเป็นผู้กลัวภัย จึงต้องพาตนเองออกจากภัยนั้น บวชจึงเท่ากับออกจาก ไม่ใช่ว่าจะต้องโกนหัว เพราะว่าพระอรหันต์ไม่ได้สำเร็จในเพศชาย ผู้หญิงก็สำเร็จได้
ความคิดเห็นที่ 2
ผมเชื่ออย่างนั้น เพราะคิดว่าท่านคงใช้เวลาพิจารณาระลึกถึงอดีตเหตุ คือ
บุพกรรมที่ได้ร่วมสั่งสมกันมา กับ พระพุทธเจ้า พระนันทะ สามเณรราหุล พระนางสิริมหามายา พระนางปชาบดีโคตมี ฯลฯ
และเสวยวิมุตติสุขจากอรหัตผลสมาบัติ
ความคิดเห็นที่ 3


https://sites.google.com/site/thai026ssru53/phra-pthmsmphothi-ktha/pricheth-thi-20-29/pricheth-thi-21
ความคิดเห็นที่ 1


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=50366
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่