เมือท่านได้รับจดหมายเลิกจ้าง
นายจ้างจะจ่ายเงินค่าชดเชยเลิกจ้าง
เพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้างให้กับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จะได้ค่าชดเชยอัตราเพิ่มเป็น 400 วัน จากเดิม 300 วัน
ทั้งนี้ จะทำให้หลักเกณฑ์ใหม่ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้
1. ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
2. ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน
3. ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน
4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
5. ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
6. ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน
เเต่ ............. ในกฎหมายระบุไว้ว่า พนักงานจ้างเหมาค่าแรง(เอาท์ซอร์ส) จะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงานประจำ ตามคำ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326-220404/2555
ดังนั้น เมื่อพวกท่านได้ทำงานมาเป็นระยะเวลานานหลายปี เเละไม่เคยได้รับโบนัส เเละ สวัสดิการ ใดๆ เทียบเท่าพนักงานประจำเลย เช่น
-ทำงานเป็นซัพมานาน 3-5 ปี ได้รับโบนัส ปีละ 8,000- 10,000 หมื่นบาท เเต่ พนักงานประจำ ได้โบนัสปีละ 3-5 เดือน + เงินบวก 5-6 หมื่น เป็นเงิน 80,000-100,000 บาท/ปี
-ทำงานเป็นซัพมานาน 3-5 ปี ไม่เคยได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลเลย เเต่พนักงานได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล ปีล่ะ 2หมื่นบาท
เเนวทางการต่อสู้ คือ ให้ท่านรวมตัวกัน ระหว่างพนักงานซัพที่อายุงานเยอะๆ หรือรวมตัวกันจ้างทนาย เเจ้งเรื่องต่อเจ้า “พนักงานตรวจแรงงาน” ประจำจังหวัด ว่าท่าน ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมจากนายจ้าง ตาม มาตรา 11/1 ที่ระบุไว้ว่า "พนักงานจ้างเหมาค่าแรง(เอาท์ซอร์ส) จะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงานประจำ"
เมื่อเ“พนักงานตรวจแรงงาน” ประจำจังหวัด ได้รับเรื่อง จะมีการเข้ามาตรวจสอบที่ทำงาน เเละ นายจ้างที่กำลังเลิกจ้างท่าน จะไม่สามารถเลิกจ้างท่านใดตามประกาศ เพราะว่า นายจ้างทำผิดข้อกฎหมายยังค้างจ่ายเงิน สวัสดิการท่านย้อนหลัง ต้องให้ข้อพิพาทเรื่องนี้สิ้นสุดก่อน ถึงจะเลิกจ้างได้ตามสิทธิ์ของนายจ้าง
เมื่อท่านต่อสู้ในข้อ กฎหมาย ตาม มาตรา 11/1 นายจ้างที่ไล่ท่านออกจะไม่ยอมรับ เเละจะยื้อเอาเรื่องพิพาทขึ้นศาลเเรงงาน พวกท่านต้องอดทนหน่อย อาจรวมตัวกันจ้างทนายต่อสู้เเทน ยังใงๆ พวกท่านก็ชนะ จะได้รับเงินเลิกจ้างอย่างเป็นธรรม เเละจะได้สวัสดิการโบนัส ย้อนหลังคืนเทียบเท่าพนักงานประจำที่เคยได้ หรือบางท่านที่นายจ้างต้องจ่ายเงินคืนย้อนหลังให้เยอะๆเป็นจำนวนหลายเเสนบาท อาจถูกเรียกกลับไปทำงานดังเดิม
หากพวกท่านไม่ต่อสู้ตาม เเนวทางข้อนี้ ท่านจะถูกเลิกจ้าง ตกงาน เเละไม่ได้รับเงิน โบนัส + สวัสดิการ ย้อนหลัง ตามสิทธิ์ที่ท่านควรได้อีกเลย
ข้อกฎหมาย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองแรงงาพ.ศ.2541 มีเรื่องสำคัญ คือ การให้การคุ้มครองลูกจ้างรับเหมาค่าแรง โดยที่บริษัทผู้รับเหมาแรงงานส่งพนักงานเข้าไปทำงานร่วมกับลูกจ้างประจำของสถานประกอบการ ในข้อกฎหมาย มาตรา 11/1ได้กำหนดให้ปฏิบัติ ดังนี้
“ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวน การผลิต หรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงาน หรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้น หรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ” ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2551เป็นต้นมา
พนักงานจ้างเหมาค่าแรง(เอาท์ซอร์ส) จะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326-220404/2555
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันได้ความว่าจำเลยที่ ๒ เป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๓๕ และที่ ๗๔ ถึงที่ ๗๙ จำเลยที่ ๓ เป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ที่ ๓๖ ถึงที่ ๗๓ จำ เลยที่ ๔ เป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ที่ ๘๐ ถึงที่ ๘๓ ต่อมาศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ ๒๙ ที่ ๔๙ ที่ ๕๒ และที่ ๕๔ ถอนฟ้อง จึงเหลือโจทก์รวม ๗๙ คน จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๑ ให้จัดหาคนมาทำงานให้จำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ จัดส่งโจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าไปทำงานกับจำเลยที่ ๑ โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าเป็นลูกจ้างเหมาค่าแรงที่เข้าทำงานผลิตชิ้นงานชุดคลัตช์ซึ่งเป็นงานหลักของจำเลยที่ ๑ แต่ได้รับสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการไม่เท่ากับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ ๑ ที่ทำ งานผลิตชิ้นงานชุดคลัตช์เช่นเดียวกัน
มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ ว่า จำเลยที่ ๑ ต้องดำเนินการ ให้โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในค่ำครองชีพ ค่าอาหาร ค่ารถ เงินโบนัสเท่ากับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ ๑ หรือไม่ เพียงใด เห็นว่าเมื่อข้อเท็จจริงยุติแล้วว่าโจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าทำงานผลิตชิ้นงานชุดคลัตช์ซึ่งเป็นงานหลักของจำเลยที่ ๑ กรณีจึงอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายความว่าผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของผู้ประกอบกิจการโดยไม่เลือกว่าเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรง หรือลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง อันเป็นการกำหนดหน้าที่ให้ผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินการ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับตามมาตรา ๑๑/๑ จึงเป็นสิทธิตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติไว้โดยตรง แม้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงไม่ได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือมีส่วน ในการเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจา หรือมีข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการ แต่หากเป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ผู้ประกอบกิจการให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของตนเองไม่ว่าจะเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระเบียบ หรือสัญญาจ้างแรงงาน ผู้ประกอบกิจการก็ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันนั้นได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการดังกล่าว เช่นเดียวกัน ดังนั้น จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการจึงต้องดำเนินการให้โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าซึ่งเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์แล้ว สวัสดิการในค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่ารถ เงินโบนัส ให้ถูกต้องตามที่จำเลยที่ ๑ จัดให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง โดยต้องดำเนินการให้โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าได้รับในส่วนที่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ผู้เป็นนายจ้างโดยตรงไม่จัดให้หรือจัดให้น้อยกว่าลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ ๑ โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน กับที่จำเลยที่ ๑ จัดให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ซึ่งหากจำเลยที่ ๑ มีหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่ารถ เงินโบนัสให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงโดยกำหนด จากทักษะ ประสบการณ์ ตำแหน่งงาน จำนวนผลิตผลของงานอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของจำเลยที่ ๑ เช่นเดียวกัน อุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ ฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์ต่อไปว่า พนักงานตรวจแรงงานเคยมีคำสั่งให้จำเลย ที่ ๑ ปฏิบัติต่อโจทก์บางคนและลูกจ้างอื่น ๆ โดยเท่าเทียมกัน เงินโบนัสที่โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้า ฟ้องเรียกร้องไม่มีปรากฏอยู่ในคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินโบนัส นั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ปฏิบัติต่อโจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ ๑ โดยเรียกร้องสิทธิประโยชน์อื่นเพิ่มเติมนอกจากที่พนักงานตรวจแรงงานเคยมีคำสั่งให้จำเลยที่ ๑ ปฏิบัติต่อโจทก์บางคนไว้ กรณีเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑/๑ มิได้ฟ้องขอให้บังคับ จำเลยที่ ๑ ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา ๑๒๔ มีเพียงในส่วนของเบี้ยขยันที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ ๑ ปฏิบัติต่อลูกจ้างทุกคน โดยเท่าเทียมกัน แต่ศาลแรงงานกลางก็มิได้กำหนดให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ต้องจ่ายเบี้ยขยันอีกจึงไม่มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าสำหรับเบี้ยขยันอีก ดังนั้นโจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าจึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ จ่ายเงินโบนัส และเงินอื่น ๆ ให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าโดยเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติได้ และที่จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์ต่อไปว่า โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มอัตราร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน นั้น เห็นว่า ศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ต้องจ่ายเงินดังกล่าว อุทธรณ์ส่วนนี้ของจำเลยที่ ๑ จึงไม่ได้เป็นการโต้แย้งข้อวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๒ ว่า จำเลยที่ ๒ ต้องร่วมกับ จำเลยที่ ๑ ดำเนินการให้โจทก์ทั้งเจ็ดสิบเก้าได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติตาม มาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง หรือไม่ เห็นว่า มาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง บัญญัติให้เฉพาะผู้ประกอบกิจการเท่านั้นที่ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้นเฉพาะจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการเท่านั้นที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๒๘ ที่ ๓๐ ถึงที่ ๓๕ และที่ ๗๔ ถึงที่ ๗๙ และเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๑ ให้จัดโจทก์ดังกล่าวมาทำงานในกระบวนการผลิตของจำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย ดังนั้นที่จำเลยที่ ๒ อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จ่ายเงินโบนัสย้อนหลัง ๒ ปี โดยคำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์แต่ละคนไม่ถูกต้อง คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางไม่ได้ระบุจำนวนเงินโบนัสที่ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ที่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ จึงไม่ชอบนั้น ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง อุทธรณ์ของจำเลยที่ ๒ ฟังขึ้น สำหรับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งอุทธรณ์มาในทำนองเดียวกันกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๒ ข้างต้นนั้น แม้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ จะไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เห็นว่า จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ที่ ๓๖ ถึงที่ ๔๘ ที่ ๕๐ ที่ ๕๑ ที่ ๕๓ และที่ ๕๕ ถึงที่ ๗๓ และจำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ที่ ๘๐ ถึงที่ ๘๓ โดยโจทก์ดังกล่าวเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ในกำรดำเนินการให้โจทก์ดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเช่นกัน
เเนวทางการต่อสู้ สำหรับพนักงาน ซัพคอนเเทค , จ้างเหมาค่าแรง,เอาท์ซอร์สที่ถูกเลิกจ้างช่วง COVID
นายจ้างจะจ่ายเงินค่าชดเชยเลิกจ้าง
เพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้างให้กับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จะได้ค่าชดเชยอัตราเพิ่มเป็น 400 วัน จากเดิม 300 วัน
ทั้งนี้ จะทำให้หลักเกณฑ์ใหม่ในการจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง แบ่งออกเป็น ดังนี้
1. ทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
2. ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน
3. ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน
4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
5. ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
6. ทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน
เเต่ ............. ในกฎหมายระบุไว้ว่า พนักงานจ้างเหมาค่าแรง(เอาท์ซอร์ส) จะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงานประจำ ตามคำ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326-220404/2555
ดังนั้น เมื่อพวกท่านได้ทำงานมาเป็นระยะเวลานานหลายปี เเละไม่เคยได้รับโบนัส เเละ สวัสดิการ ใดๆ เทียบเท่าพนักงานประจำเลย เช่น
-ทำงานเป็นซัพมานาน 3-5 ปี ได้รับโบนัส ปีละ 8,000- 10,000 หมื่นบาท เเต่ พนักงานประจำ ได้โบนัสปีละ 3-5 เดือน + เงินบวก 5-6 หมื่น เป็นเงิน 80,000-100,000 บาท/ปี
-ทำงานเป็นซัพมานาน 3-5 ปี ไม่เคยได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลเลย เเต่พนักงานได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล ปีล่ะ 2หมื่นบาท
เเนวทางการต่อสู้ คือ ให้ท่านรวมตัวกัน ระหว่างพนักงานซัพที่อายุงานเยอะๆ หรือรวมตัวกันจ้างทนาย เเจ้งเรื่องต่อเจ้า “พนักงานตรวจแรงงาน” ประจำจังหวัด ว่าท่าน ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมจากนายจ้าง ตาม มาตรา 11/1 ที่ระบุไว้ว่า "พนักงานจ้างเหมาค่าแรง(เอาท์ซอร์ส) จะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงานประจำ"
เมื่อเ“พนักงานตรวจแรงงาน” ประจำจังหวัด ได้รับเรื่อง จะมีการเข้ามาตรวจสอบที่ทำงาน เเละ นายจ้างที่กำลังเลิกจ้างท่าน จะไม่สามารถเลิกจ้างท่านใดตามประกาศ เพราะว่า นายจ้างทำผิดข้อกฎหมายยังค้างจ่ายเงิน สวัสดิการท่านย้อนหลัง ต้องให้ข้อพิพาทเรื่องนี้สิ้นสุดก่อน ถึงจะเลิกจ้างได้ตามสิทธิ์ของนายจ้าง
เมื่อท่านต่อสู้ในข้อ กฎหมาย ตาม มาตรา 11/1 นายจ้างที่ไล่ท่านออกจะไม่ยอมรับ เเละจะยื้อเอาเรื่องพิพาทขึ้นศาลเเรงงาน พวกท่านต้องอดทนหน่อย อาจรวมตัวกันจ้างทนายต่อสู้เเทน ยังใงๆ พวกท่านก็ชนะ จะได้รับเงินเลิกจ้างอย่างเป็นธรรม เเละจะได้สวัสดิการโบนัส ย้อนหลังคืนเทียบเท่าพนักงานประจำที่เคยได้ หรือบางท่านที่นายจ้างต้องจ่ายเงินคืนย้อนหลังให้เยอะๆเป็นจำนวนหลายเเสนบาท อาจถูกเรียกกลับไปทำงานดังเดิม
หากพวกท่านไม่ต่อสู้ตาม เเนวทางข้อนี้ ท่านจะถูกเลิกจ้าง ตกงาน เเละไม่ได้รับเงิน โบนัส + สวัสดิการ ย้อนหลัง ตามสิทธิ์ที่ท่านควรได้อีกเลย
ข้อกฎหมาย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองแรงงาพ.ศ.2541 มีเรื่องสำคัญ คือ การให้การคุ้มครองลูกจ้างรับเหมาค่าแรง โดยที่บริษัทผู้รับเหมาแรงงานส่งพนักงานเข้าไปทำงานร่วมกับลูกจ้างประจำของสถานประกอบการ ในข้อกฎหมาย มาตรา 11/1ได้กำหนดให้ปฏิบัติ ดังนี้
“ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวน การผลิต หรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงาน หรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้น หรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ” ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2551เป็นต้นมา
พนักงานจ้างเหมาค่าแรง(เอาท์ซอร์ส) จะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326-220404/2555
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้