JJNY : โรมฉะรัฐแก้ปัญหาแบบคน‘สายตาสั้น’/ก้าวไกลเสนอรัฐรับแรงงานนอกระบบเป็นผู้ประกันตน/เทพไทฉะรัฐล้มเหลว/ติดเชื้อเพิ่ม109

ส.ส.โรม ฉะรัฐบาล แก้ปัญหา หน้ากากอนามัย-ไข่แพง แบบคน‘สายตาสั้น’
https://www.khaosod.co.th/politics/news_3837555
 


.ส.โรม ฉะรัฐบาลแก้ปัญหาแบบคน‘สายตาสั้น’ ลุยนครสวรรค์ หาข้อมูลไข่แพง
 
ส.ส.โรม ฉะรัฐบาล แก้ปัญหาแบบคนสายตาสั้น- วันที่ 27 มี.ค. นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กหลังเข้าพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ติดตามคดีแม่ค้าไข่ไก่ถูกจับ โดยระบุว่า

กรณีแม่ค้าไข่ไก่เมืองนครสวรรค์ถูกจับกุมเนื่องจากขายไข่ไก่เกินราคา คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี ปรับ 1.4 แสนบาท
 
ตนติดตามความคืบหน้าเนื่องจากกังวลว่าจะเป็นการดำเนินการทางกฎหมายที่กระทบต่อผู้ค้ารายย่อย ในช่วงการระบาดของ โวิด-19 การลงพื้นที่พบว่าแม่ค้าได้รับการประกันตัวไปแล้ว โดยใช้ตำแหน่งราชการของญาติแทนการวางหลักทรัพย์ พนักงานสอบสวนกำหนดวงเงินประกันตัวไว้ 100,000 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่สูง
 
ประเด็นราคาไข่ไก่ที่จำหน่ายหน้าร้าน ทางแม่ค้ายืนยันได้กำไรต่อแผงแค่ 10-15 บาท เนื่องจากราคาที่รับมาอยู่ที่ 140-145 บาทต่อแผง สำหรับไข่ไก่เบอร์ 0 ตนจึงตรวจสอบราคาจากผู้ประกอบการขายส่ง
 
เบื้องต้นพบว่าราคาไข่ไก่ช่วงสถานการณ์ โควิด-19 มีราคาแพงขึ้นจริง มีปัจจัยมาจากต้นทุนการเลี้ยงไก่สูงขึ้น รวมทั้งปัจจัยจำนวนโควตาแม่พันธุ์ไก่ไข่ตามที่รัฐบาลกำหนด ที่จริงเกษตรกร รวมทั้งผู้ประกอบการ พ่อค้า-แม่ค้ารายย่อย ต้องแบกรับภาระขาดทุนมาตลอด คือยิ่งขายจำนวนเยอะยิ่งขาดทุน
 
ราคาขายไข่ไก่ทุกขนาดจะแพงขึ้นจากปี 2562 ประมาณฟองละ 1 บาท ยกตัวอย่าง ราคาขายปลีกคละเบอร์ ตกแผงละ 116 บาท ขณะที่ราคาตามประกาศของสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่(คละ)อยู่ที่แผงละ 84 บาท ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร และประกาศกกร. ฉบับที่ 53 พ.ศ. 2562 การกำหนดไข่ไก่เป็นสินค้าควบคุม
 
กรณีนี้พาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ ใช้ราคา 84 บาทต่อแผง เป็นราคากลาง บวกกับการคำนวนทางวิชาการ จึงแจ้งความจับกุมแม่ค้าคนดังกล่าวว่า ผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 มาตรา 29 จำหน่ายสินค้าราคาสูงเกินสมควร มีโทษความผิดตามมาตรา 41 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท
 
แน่นอนว่ากรณีนี้ ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้บริโภค แต่จากข้อมูลที่ลงพื้นที่พบว่าราคาขายส่งสูงกว่าราคากลางอยู่พอสมควร การจับกุมผู้ค้ารายย่อยโดยแจ้งข้อหาที่มีอัตราโทษสูงไม่ได้ทำให้ราคาไข่ไก่ถูกลงแต่อย่างใด แน่นอนว่ามีการขายไข่ไก่แพงจริงในหลายพื้นที่ ในห้างสรรพสินค้าบางแห่งในกทม. มีการขายไข่ไก่แพงเกินไป บางแห่งเบอร์ 2 ฟองละเกือบ 6 บาท
 
มีข้อเสนอเบื้องต้นว่า กระทรวงพาณิชย์ควรสำรวจราคาขาย ราคาต้นทุนในตลาดไข่ไก่ทั้งระบบเพื่อทราบราคากลางของตลาดที่แท้จริง และอาจกำหนดราคากลางใหม่ เพราะการใช้ราคากลางเมื่อปี 2562 มาเปรียบเทียบแล้วจับกุมผู้ค้ารายย่อย นอกจากจะไม่สามารถควบคุมราคาไข่ไก่ให้ถูกลงได้แล้ว ยังซ้ำเติมประชาชนในกลุ่มพ่อค้า-แม่ค้าเข้าไปใหญ่
 
รัฐบาลควรมีมาตรการเร่งด่วน และจริงจังในการสร้างสมดุลของราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน มิเช่นนั้นจะกระทบทั้งคนซื้อและคนขาย
 
นอกจากนี้ ขอเสนอไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าในส่วนของการจับกุม และการใช้ดุลพินิจในการกำหนดวงเงินหลักทรัพย์ในการประกันตัว ควรใช้เกณฑ์ขั้นต่ำไว้ก่อน เพราะมีแนวโน้มว่าคนที่อาจถูกแจ้งข้อกล่าวหานี้อาจเป็นพ่อค้า+แม่ค้ารายย่อย การหาเงินมาประกันตัวหนึ่งแสนบาทนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับพี่น้องพ่อค้าแม่ค้า
 
สุดท้ายกรณีราคาไข่ไก่ คงเป็นอีกประเด็นที่สะท้อนประสิทธิภาพในการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติ โควิด-19 ของรัฐบาล ซึ่งแม้จะเริ่มมีผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปลายม.ค. 2563 แต่การเตรียมการต่างๆ นับตั้งแต่เรื่องปริมาณหน้ากากอนามัย เรื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ จนถึงล่าสุด เรื่องราคาไข่ไก่
 
พอเข้าสู่เดือนก.พ. รัฐบาลน่าจะวิเคราะห์ได้แล้วว่าทิศทางจะเลวร้ายลง แต่รัฐบาลไม่มีแนวทางป้องกันเรื่องเหล่านี้เลย จนสุดท้ายวันนี้ภาระต้องตกมาอยู่ที่ประชาชน นับว่ารัฐบาลสายตาสั้นมากๆ
 
ทั้งนี้ การลงพื้นที่ตนสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือโดยใช้เจลแอลกอฮอล์ ทุกๆ 1 ชั่วโมง และพยายามลงจากรถน้อยที่สุดตามมาตรการ social distancing ประเดิม ขายไข่แพง แม่ค้าปล่อยโฮกลางโรงพัก ถูกจับ โอดทำไมไม่ไปดูราคาหน้าฟาร์ม
 
https://www.facebook.com/rangsimanrome/posts/455246138565372
 

 
ส.ส.ปีกแรงงาน ก้าวไกล เสนอรัฐ รับแรงงานนอกระบบ เป็นผู้ประกันตน ชงพักหนี้ทั่วปท.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2097766
 
‘ส.ส.ก้าวไกล’ เสนอวิธีช่วยแรงงานช่วงโควิด-19 หนุนให้ลูกจ้างพื้นที่เสี่ยงสมัคร ม.40 ได้มีผลทันที – พักชำระหนี้ทั่วประเทศ
 
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม คณะทำงานพรรคก้าวไกลปีกแรงงาน ประกอบไปด้วย นายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และประธานคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กับ น.ส.วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และร่วมจัดรายการเฟซุ๊กไลฟ์ของพรรคก้าวไกลในซีรีส์ “ก้าวไกลพาไทยก้าวพ้นวิกฤต” เป็นตอนที่ 3 ในหัวข้อ​ “แรงงานไทยต้องไม่ถูกทอดทิ้ง” โดยได้สนทนาสะท้อนถึงปัญหาของภาคแรงงานในประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้แรงงานส่วนใหญ่ต้องหยุดงานและขาดรายได้
 
นายสุเทพ กล่าวว่า ทุกวันนี้แรงงานมีทั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบ คนที่เป็นแรงงานในระบบทำงานอยู่ในบริษัทห้างร้าน มีประกันสังคม ส่วนนอกระบบ คือคนไม่มีนายจ้างเป็นทางการ หรือทำงานอาชีพอิสระ แต่ประเด็นที่ตนอยากจะคุยก่อนในวันนี้คือเรื่องของแรงงานในระบบ ที่ผ่านมาเครือข่ายของเราที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สภาแรงงานต่างๆได้มีการสะท้อนปัญหา ว่า ขณะนี้กำลังมีความสับสนเกิดขึ้นในสถานประกอบการอย่างมาก จากการบริหารงานของภาครัฐ ไม่ว่า การปิดกิจการอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนงานโดนเลิกจ้าง ไม่ได้รับค่าชดเชยในโรงงานที่รัฐประกาศว่า จะมีการชดเชยในระบบประกันสังคม 50% คำถามคือแล้วในส่วนของมาตรา 75 ตามประกันสังคม ที่ให้คุ้มครองแรงงานกรณีนายจ้างปิดกิจการ 70% จะบังคับใช้หรือไม่
 
ตอนนี้ในระบบของประกันสังคมที่ออกมาชี้แจงอยู่ที่เพดานค่าจ้าง 15,000 บาท ได้รับคือ 7,500 บาท แล้วพวกเราจะอยู่ได้อย่างไร วันนี้ผมไปซื้อไข่มาแผงละ 180 บาท นั่นหมายความว่า 1 ใบ 6 บาทแล้ว ไหนลูกจ้างจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ในสถานประกอบการที่มีความรับผิดชอบก็มีการจัดอุปกรณ์ป้องกันไว้ให้ แต่ในบางสถานประกอบการให้ซื้อเองและตอนนี้ราคาแพงมาก ค่าใช้จ่ายทุกวันนี้แพงมหาศาล นายจ้างที่ไม่ดูแลลูกจ้างก็มีจำนวนมาก ไม่มีใครตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะปัญหาที่นายจ้างเลิกจ้างโดยใช้เหตุลดการผลิต การเลิกหรือปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างจากพนักงานประจำเป็นชั่วคราว” นายสุเทพ กล่าว
 
ด้าน น.ส.วรรณวิภา กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีส่วนของนายจ้างบางสถานประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่รัฐสั่งให้ปิด แต่กลับใช้โอกาสนี้สั่งให้ลูกจ้างหยุดโดยไม่จ่ายค่าจ้าง บางที่มีการสั่งให้เขียนใบลาออกทั้งๆที่ลูกจ้างไม่มีความผิด กระทรวงแรงงานมีอะไรออกมารองรับเรื่องนี้ได้บ้าง สิ่งที่กระทรวงแรงงานทำวันนี้ กำลังเปิดช่องว่างให้นายจ้างจ้างแบบพาร์ทไทม์ได้ ตนอยากให้พิจารณาดูใหม่ เพราะถ้าเปิดช่องว่างแบบนี้ รายได้ที่ขาดหายไปของแรงงานใครจะรับผิดชอบ ความมั่นคงที่เขาเคยมีอยู่จากลูกจ้างประจำไปเป็นพาร์ทไทม์จะทำอย่างไร ส่วนที่หายไปที่รัฐจะเยียวยาคืออะไร รวมทั้งลูกจ้างในสถานประกอบการที่ไม่ใช่ในส่วนที่รัฐสั่งปิด แต่นายจ้างก็ปรับให้ทำพาร์ทไทม์ ก็ไม่มีมาตรการรองรับ
 
น.ส.วรรณวิภา กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการเยียวยาของประกันสังคมก็ไม่มีความชัดเจน บุคคลไหนที่อยู่ในกลุ่มตกงานบ้าง รวมคนที่ตกงานเป็นระยะหรือติดต่อกัน 3 เดือน ยังไม่นับปัญหาเรื่องความล่าช้าในการจัดสรร ทุกวันนี้เรามีแรงงานนอกระบบอยู่รวมๆ แล้วประมาณ 18 กว่าล้านคน แต่ถ้าตัดภาคเกษตรออกไป 9 ล้านกว่าก็จะเหลือประมาณ 9 ล้านคน เป็นพ่อค้าแม่ขาย แท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ ธุรกิจส่วนตัว หรือในภาคอื่นๆ คำนิยามของแรงงานนอกระบบคือ แรงงานที่ไม่มีระบบประกันสังคมหรือสวัสดิการรองรับ ไม่มีนายจ้าง ไม่มีความปลอดภัยในการทำงานก็ต้องดูแลตัวเอง คนงานเหล่านี้ต้องมาทำงานในกรุงเทพ หาเช้ากินค่ำ ค่าแรงวันต่อวัน ทำให้รายได้แทบจะตายตัวไม่ได้เลย
 
วิกฤตขนาดนี้ กลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีหลักประกันใดๆเลย บางคนไม่มีค่ารถกลับบ้าน นอกจากจะขาดรายได้แล้ว ต้นทุนภาระสูงมากขึ้น อย่าว่าแต่มาม่าเลย ไข่ไก่แผงราคาเท่าชาบู ใครจะซื้อมาตุนได้ นี่คือกลุ่มคนที่รัฐสั่งเยียวยาเมื่อวันที่ 25 มีนาคมในเรื่องการลงทะเบียนรับเงิน 5 พันบาท ข่าววันนี้ที่เราได้ดูกันคือคนแห่กันไปต่อแถวเปิดบัญชีธนาคารออมสินจนธนาคารต้องปิดก่อนเวลา นี่คือปัญหาเรื่องการประชาสัมพันธ์ ที่ไม่มีความชัดเจนว่าไม่ต้องเป็นบัญชีธนาคารของรัฐก็ได้” น.ส.วรรณวิภา กล่าว
 
น.ส.วรรณวิภา กล่าวว่า ส่วนวันพรุ่งนี้ (28 มี.ค.) ที่เปิดลงทะเบียนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบ และผู้ได้รับสิทธิตามประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ที่กระทรวงการคลังรับผิดขอบ ที่จะมีการเปิดลงทะเบียนในเว็บไซต์กระทรวงการคลัง “เราไม่ทิ้งกัน” ตั้งแต่ 6 โมงเย็นเป็นต้นไป ตนขอเรียนว่า รัฐต้องเตรียมไปแก้ไขปัญหาเรื่องเว็บล่มได้เลย เพราะจำนวนคนลงทะเบียนจะมหาศาลมาก แต่จุดที่ตนอยากตั้งคำถาม คือในกลุ่มที่ลงทะเบียนรับ 5 พันบาท คำถามมีอยู่ว่า แรงงานนอกระบบในความเป็นจริงพอตัดภาคเกษตรออกแล้วเหลือ 9 ล้านคน แต่ตัวเลขที่รัฐออกมาระบุคือ 3 ล้านคน ถามว่า จะเป็นคนกลุ่มไหนบ้างที่จะได้รับสิทธิตรงนี้ ใครมาก่อนมีสิทธิก่อนหรือลงทะเบียนก่อนแล้วคัดเอาทีหลัง ตรงนี้ต้องให้ชัดเจน
 
จากนั้น น.ส.วรรณวิภา ได้กล่าวถึงข้อเสนอของคณะทำงานปีกแรงงานพรรคก้าวไกลต่อสถานการณ์แรงงานในขณะนี้ โดยระบุว่า ในส่วนของแรงงานนอกระบบ ประเด็นแรกที่อยากเสนอไปถึงผู้บริหาร หน่วยงานรัฐ และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง คืออยากเสนอให้แรงงานนอกระบบสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้และคุ้มครองได้ทันทีสำหรับกรณีผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง และในระยะข้างหน้าควรมีการขยายความคุ้มครองตามมาตรา 40 โดยรัฐสมทบเพิ่มเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมมากขึ้น ข้อเสนอที่สอง ควรมีพักการชำระหนี้สินทุกประเภท แรงงานนอกระบบมีหนี้สินเยอะมาก ที่รัฐควรต้องออกมาตรการช่วยเหลือ รวมถึงกลุ่มคนไร้บ้านที่เข้าไม่ถึงระบบออนไลน์ และกลุ่มนักศึกษาที่ช่วงนี้มหาวิทยาลัยปิด ต้นทุนค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัยลดลงอยู่แล้ว สิ่งที่ดีที่สุดคือการให้นักศึกษาที่กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาได้รับการพักหนี้หรือฟรีหนี้ไปเลยสักหนึ่งเทอม หรือลดค่าเทอมให้นักศึกษา หรือบรรเทาเรื่องค่าหอพัก ส่วนในระยะยาว อยากให้รัฐพัฒนาเงินเดือนพื้นฐานเพื่อชีวิต (UBI – Universal Basic Income) เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับชีวิตของประชาชนในยามวิกฤตแบบนี้ เพราะตอนนี้สิ่งที่ประชาชนอยากได้มากที่สุดคือความน่าเชื่อถือ ความไว้ใจ เมื่อประชาชนไดรับการดูแลมากพอ ความร่วมมือต่างๆ ก็จะตามมาในระยะยาวเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่