วิดีโอตัวบน คือ รถไฟฟ้า ETS ของมาเลเซีย ถ้าจะเทียบคลาสกันโดยตรงกับรถไฟไทย คือ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ที่ไทยเราพึ่งจะมีนี่แหละครับ) จึงต้องยอมรับว่าเรายังตามหลังมาเลย์เรื่องระบบรางอยู่ แต่พอไทยเราขยับ มาเลย์ขยับหนีเลย ที่สำคัญคือ รถไฟฟ้า ETS ตอบโจทย์การเดินทางระยะไกลมากกว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงด้วย ด้วยลักษณะที่นั่ง ขบวนรถ ที่สายสีแดงเน้นขนคนจากสถานีกลางออกเมืองรอบนอก และนำคนจากเมืองรอบนอกเข้าสถานีกลาง แต่สำหรับรถไฟฟ้า ETS เป็นรถไฟทางไกลของมาเลย์ที่เชื่อมโยงเมืองต่างๆแล้ว ทำให้เป็นรถไฟทางไกลเต็มรูปแบบ ที่ยังแตกต่างจากไทยที่ยังเป็นกึ่งๆอยู่ เพราะของไทยยังไม่วิ่งไกลแบบมาเลย์
วิดีโอตัวล่าง นี่คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง หน้าที่หลัก ตัวระบบ ทุกอย่าง ทำหน้าที่เดียวกับรถไฟฟ้า ETS ตัวบนของมาเลเซีย เพียงแต่ การจัดที่นั่งยังแตกต่างกัน เพราะ ETS เขาเป็นรถไฟทางไกลของมาเลย์แล้ว (สำหรับของไทยคือรถไฟ ฉึกกะฉัก ปู๊นๆ) แต่ตัวรถไฟสายสีแดง ยังไม่ใช่รถไฟทางไกล เป็นเพียงรถไฟชานเมืองคือ ขนคนเข้าออกจากเมืองหลวงไปยังเมืองโดยรอบ รัศมีไม่เกิน 200 กิโลเมตร เช่น รังสิต อยุธยา มหาชัย ศาลายา เป็นต้น คือใช้เวลาเดินทางประมาณ 1ชั่วโมง ถึง1ชั่วโมง20นาที ไม่เกินนี้ รถไฟสายสีแดงจึงออกแบบที่นั่งมาสนองต่อนักท่องเที่ยวแบบ back pack
** สำหรับเรื่องระบบราง ทำไมผมจึงพูดว่า ไทยกับมาเลย์แข่งกันพัฒนา เนื่องจากว่า แม้มาเลย์จะมีรถ ETS และไทยยังคงใช้รถฉึกกะฉัก ปู๊นๆอยู่ แต่...ไทยได้สร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาแทน 2เส้นทาง คือ กรุงเทพ-โคราช และ เส้นทาง EEC ส่วนระบบเมโทรไลน์ในเมืองหลวง หลังจากปี 2570 เป็นต้นไป ไทยจะยืนหนึ่งในระยะทางเรื่องระบบเมโทรไลน์ในเมืองหลวง ในอาเซียนทันที การแข่งขันกันระหว่างไทยและมาเลย์ในระบบรางครั้งนี้ ดุเดือดมาก น่าตามดูชมกันมากเลยครับ ว่าในอนาคตแล้ว ใครจะมีระบบสาธารณูปโภคระบบราง เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์กันแน่ **
สรุป
มาเลย์
- เมโทรไลน์ ในเมืองหลวงครอบคลุม
- รถไฟทางไกลเป็นรถไฟฟ้า ETS สะดวกสบายและครอบคลุมพื้นที่ทั้ง2ชายฝั่งทะเล
- ไม่มีระบบรถไฟความเร็วสูง
ไทย
- เมโทรไลน์ ในเมืองหลวงครอบคลุม(และจะมากกว่ามาเลย์หลังปี 2570)
- ระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (แต่ครอบคลุมแค่รัศมี 200 km ลงมา)
- รถไฟทางไกล เป็นรถไฟฉึกกะฉัก ปู๊นๆ
- กำลังสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง
มาลุ้นไปพร้อมกันครับว่า ไทยเราจะสร้างระบบรางต่างๆได้ตามแผนที่วางเอาไว้หรือไม่ ถ้าสร้างได้ตามแผน ไทยกับมาเลย์เบียดกันสนุกแน่นอนครับงานนี้
ไทยกับมาเลย์แข่งขันเรื่องระบบรางกันสนุกเลยงานนี้ โดยมาเลย์เปิดตัวรถไฟฟ้า ETS ชั้นธุรกิจอย่างเป็นทางการ
วิดีโอตัวบน คือ รถไฟฟ้า ETS ของมาเลเซีย ถ้าจะเทียบคลาสกันโดยตรงกับรถไฟไทย คือ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ที่ไทยเราพึ่งจะมีนี่แหละครับ) จึงต้องยอมรับว่าเรายังตามหลังมาเลย์เรื่องระบบรางอยู่ แต่พอไทยเราขยับ มาเลย์ขยับหนีเลย ที่สำคัญคือ รถไฟฟ้า ETS ตอบโจทย์การเดินทางระยะไกลมากกว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงด้วย ด้วยลักษณะที่นั่ง ขบวนรถ ที่สายสีแดงเน้นขนคนจากสถานีกลางออกเมืองรอบนอก และนำคนจากเมืองรอบนอกเข้าสถานีกลาง แต่สำหรับรถไฟฟ้า ETS เป็นรถไฟทางไกลของมาเลย์ที่เชื่อมโยงเมืองต่างๆแล้ว ทำให้เป็นรถไฟทางไกลเต็มรูปแบบ ที่ยังแตกต่างจากไทยที่ยังเป็นกึ่งๆอยู่ เพราะของไทยยังไม่วิ่งไกลแบบมาเลย์
วิดีโอตัวล่าง นี่คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง หน้าที่หลัก ตัวระบบ ทุกอย่าง ทำหน้าที่เดียวกับรถไฟฟ้า ETS ตัวบนของมาเลเซีย เพียงแต่ การจัดที่นั่งยังแตกต่างกัน เพราะ ETS เขาเป็นรถไฟทางไกลของมาเลย์แล้ว (สำหรับของไทยคือรถไฟ ฉึกกะฉัก ปู๊นๆ) แต่ตัวรถไฟสายสีแดง ยังไม่ใช่รถไฟทางไกล เป็นเพียงรถไฟชานเมืองคือ ขนคนเข้าออกจากเมืองหลวงไปยังเมืองโดยรอบ รัศมีไม่เกิน 200 กิโลเมตร เช่น รังสิต อยุธยา มหาชัย ศาลายา เป็นต้น คือใช้เวลาเดินทางประมาณ 1ชั่วโมง ถึง1ชั่วโมง20นาที ไม่เกินนี้ รถไฟสายสีแดงจึงออกแบบที่นั่งมาสนองต่อนักท่องเที่ยวแบบ back pack
** สำหรับเรื่องระบบราง ทำไมผมจึงพูดว่า ไทยกับมาเลย์แข่งกันพัฒนา เนื่องจากว่า แม้มาเลย์จะมีรถ ETS และไทยยังคงใช้รถฉึกกะฉัก ปู๊นๆอยู่ แต่...ไทยได้สร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาแทน 2เส้นทาง คือ กรุงเทพ-โคราช และ เส้นทาง EEC ส่วนระบบเมโทรไลน์ในเมืองหลวง หลังจากปี 2570 เป็นต้นไป ไทยจะยืนหนึ่งในระยะทางเรื่องระบบเมโทรไลน์ในเมืองหลวง ในอาเซียนทันที การแข่งขันกันระหว่างไทยและมาเลย์ในระบบรางครั้งนี้ ดุเดือดมาก น่าตามดูชมกันมากเลยครับ ว่าในอนาคตแล้ว ใครจะมีระบบสาธารณูปโภคระบบราง เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์กันแน่ **
สรุป
มาเลย์
- เมโทรไลน์ ในเมืองหลวงครอบคลุม
- รถไฟทางไกลเป็นรถไฟฟ้า ETS สะดวกสบายและครอบคลุมพื้นที่ทั้ง2ชายฝั่งทะเล
- ไม่มีระบบรถไฟความเร็วสูง
ไทย
- เมโทรไลน์ ในเมืองหลวงครอบคลุม(และจะมากกว่ามาเลย์หลังปี 2570)
- ระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (แต่ครอบคลุมแค่รัศมี 200 km ลงมา)
- รถไฟทางไกล เป็นรถไฟฉึกกะฉัก ปู๊นๆ
- กำลังสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง
มาลุ้นไปพร้อมกันครับว่า ไทยเราจะสร้างระบบรางต่างๆได้ตามแผนที่วางเอาไว้หรือไม่ ถ้าสร้างได้ตามแผน ไทยกับมาเลย์เบียดกันสนุกแน่นอนครับงานนี้