สภา ชง“บิ๊กตู่” โยกงบซื้อ เรือดำน้ำ ช่วยประชาชนน้ำท่วม เพิ่มเงินเยียวยาเกษตรกร
https://www.khaosod.co.th/politics/news_2885846
สภา ชง“บิ๊กตู่” โยกงบซื้อเรือดำน้ำ ช่วยประชาชนน้ำท่วม เพิ่มเงินเยียวยาเกษตรกร
เรือดำน้ำ – วันที่ 13 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในช่วงบ่าย
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาในญัตติด่วน ตามที่นาย
วีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้ที่ประชุมสภา
ให้ความเห็นเพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมถึงการเยียวยาประชาชนซึ่งประสบปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ การอภิปรายส่วนใหญ่ เสนอให้รัฐบาลเร่งส่งหน่วยงานของรัฐเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง โดยมาตรการเฉพาะหน้าคือ การเร่งจัดส่งสิ่งของช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมกำหนดมาตรการเยียวยาประชาชน และ เกษตรกรในพื้นที่
โดยมีการอภิปรายที่น่าสนใจ อาทิ
นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย เสนอให้รัฐบาลจัดสรรเงินเพื่อเยียวยาเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ไร่ละ 2,000 บาท เนื่องจากมีข่าวว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ซึ่งตนเชื่อว่าจะทำให้ประชาชนอยู่ไม่ได้ หากจะมีข้อจำกัดช่วยเหลือประชาชน เพียง 20 ไร่ ขอให้ช่วยไร่ละ 2,000 บาท รวมเป็น 80,000 บาท
ขณะที่
นายคมเดช ไชยศิวามงคล ส.ส.กาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย อภิปรายเสนอให้รัฐบาลตัดงบประมาณรายจ่ายที่จะใช้เพื่อจัดซื้อเรือดำน้ำ เบื้องต้นเชื่อว่าจะใช้งบประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งทราบว่าจัดเป็นงบประมาณผูกพันระยะ 3 ปี เพื่อจัดซื้อรถแม็คโคร เพื่อจัดสรรให้กับท้องถิ่น ให้ตำบลนำไปแก้ไปัญหาในพื้นที่ ะทำให้การแก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วมทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นขอให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบ และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอ ของสภา ตรวจสอบการทุจริตงบประมาณ เช่น ในโครงการถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน จ.อุดรธานี ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และสกลนคร รวมถึงให้ใช้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เช่น พักชำระหนี้
ทั้งนี้ ขอให้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม หยุดกล่าวทีเล่นทีจริงเมื่อประชาชนประสบปัญหาเช่น เมื่อเกิดน้ำท่วมขอให้ประชาชนเลี้ยงปลา เป็นต้น
ส่วน
นายวุฒิพงษ์ นามบุตร ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ขอให้รัฐบาลหาหน่วยงานเพื่อเป็นเจ้าภาพต่อการบริหารจัดการน้ำทุกกลุ่มลุ่มน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
อนค. - ภาคประชาชน แถลงไม่หยุดตรวจสอบ "อีอีซี"
https://news.thaipbs.or.th/content/284183
เปิดรายชื่อ! พบ ส.ส.รัฐบาล "เกียรติ - พิสิฐ" ประชาธิปัตย์โหวตสวน "เห็นชอบ" ตั้ง กมธ.ศึกษาปัญหาอีอีซี ด้าน ส.ส.อนาคตใหม่ - เครือข่าย
ปชช.ภาคตะวันออก แถลงเดินหน้าต่อ แม้ไม่ได้ตั้ง กมธ. แต่ไม่หยุดตรวจสอบโครงการอีอีซี
วันนี้ (13 ก.ย.2562) กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เผยแพร่แถลงการณ์ โดยเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก "
ตั้งกลไกคู่ขนานตรวจสอบ EEC" หลังผลการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร "
ไม่เห็นด้วย" ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาผลกระทบโครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดยมีผลการลงมติ 231 ต่อ 224 แล้วนั้น
เนื้อหาสำคัญแถลงการณ์ ระบุ ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ประชาชนในภาคตะวันออก ได้มีการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการดำเนินโครงการอีอีซี โดยเฉพาะการจัดทำร่างผังเมืองที่ไม่เป็นไปตามหลักการสากล เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน มากกว่าคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนเดินทางมายื่นหนังสือต่อรัฐบาล
“เราเรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญโครงการอีอีซี เพื่อเป็นกลไกตรวจสอบโครงการในระบบรัฐสภา ป้องกันไม่ให้เกิดการเสียผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน จากโครงการที่เกิดขึ้นโดยมาตรา 44 แต่ด้วยผลของการลงมติของสภาฯ ทำให้การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องตกไป”
นอกจากนี้ ยังระบุว่า แม้ผลการลงมติของสภาฯ ทำให้การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องตกไป แต่เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก จะเดินหน้าตรวจสอบนโยบายและการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดยจัดตั้งกลไกคู่ขนาน ที่มีองค์ประกอบจากหลายภาคส่วน เช่น ประชาชน ภาคประชาสังคมในภาคตะวันออก นักวิชาการ และพรรคการเมือง เพื่อสร้างกลไกตรวจสอบการดำเนินโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่อีอีซี รวมถึงผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ โดยมีองค์กรร่วมลงชื่อท้ายแถลงการณ์ 9 องค์กร
อนค. แถลงผิดหวัง ผลโหวตไม่เหมือนการอภิปราย
หลังเสร็จสิ้นการลงมติดังกล่าว ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวแสดงความผิดหวังผลการลงมติ แม้ไม่เกินความคาดหมาย เช่น นาย
จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า แปลกใจที่ในการอภิปรายญัตตินี้ ร่วม 30 คน มีผู้อภิปรายเห็นด้วยกับโครงการอีอีซีเพียง 1 คน เหตุใดผลการลงมติ จึงพบว่า ส.ส.พรรคฝ่ายรัฐบาล กลับไม่ต้องการให้มีการตั้ง กมธ. จึงตั้งคำถามว่า สิ่งเหล่านี้ สะท้อนความไม่มีอิสระในการตัดสินใจหรือไม่
ด้าน น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวว่า ผลการลงมติไม่ผิดความคาดหมาย เนื่องจากตลอดเวลาที่พรรคฝ่ายค้าน รวมถึงพรรคอนาคตใหม่ ได้นำเสนอญัตตินี้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ก.ค. กว่าจะได้แถลงและอภิปรายในสภาฯ ก็วันที่ 5 ก.ย. ซึ่งกินเวลาถึง 2 เดือน สะท้อนว่า มีการยื้อยุดระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล
น.ส.
ศิริกัญญา ยังกล่าวอีกว่า หน้าที่ของ กมธ.วิสามัญ มีหน้าที่เพียงแค่ศึกษาผลกระทบ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งผลการศึกษาจะถูกนำเสนอต่อสภาฯ ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ชะลอ ยับยั้ง หรือยกเลิกโครงการใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ฝ่ายรัฐบาลกลับไม่ยินยอมให้ตั้ง กมธ.วิสามัญ ครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องทางการทำงานนอกสภาฯ ร่วมกับภาคประชาชน และการดำเนินการตรวจสอบผ่านการตั้งอนุกรรมาธิการต่าง ๆ
“ในกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ดิฉันนั่งเป็นประธาน เราก็จะดำเนินการตรวจสอบโครงการอีอีซีด้วย จากนี้ไป เราพรรคร่วมฝ่ายค้านและพรรคอนาคตใหม่ จะติดตามตรวจสอบโครงการอีอีซี อย่างต่อเนื่อง”
"เกียรติ-พิสิฐ" โหวตสวน แต่ผู้เสนอญัตติโหวตไม่เห็นด้วย
นอกจากนี้ มีการเปิดรายชื่อผู้ร่วมลงมติดังกล่าว พบว่ามี ส.ส.พรรคฝ่ายรัฐบาล อย่าง นาย
เกียรติ สิทธีอมร และนาย
พิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลงคะแนน "
เห็นด้วย" กับการตั้ง กมธ.ดังกล่าว
ขณะที่ ผู้ยื่นเสนอญัตติตั้ง กมธ.ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของพรรคฝ่ายรัฐบาล อย่างพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ กลับลงมติไม่เห็นด้วยกับญัตติที่ตนเป็นผู้เสนอ เช่น นาย
สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ, นพ.
บัญญัติ เจตนจันทร์ และนาย
ธารา ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์
JJNY : 4in1 สภาชงโยกงบเรือดำน้ำช่วยน้ำท่วม/อนค.-ภาคปชช.ไม่หยุดสอบอีอีซี/ชี้กำลังซื้อปัจจัยเสี่ยง/พิษโพดุล-คาจิกิเหลือ5จว
https://www.khaosod.co.th/politics/news_2885846
เรือดำน้ำ – วันที่ 13 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในช่วงบ่าย ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาในญัตติด่วน ตามที่นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้ที่ประชุมสภา ให้ความเห็นเพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมถึงการเยียวยาประชาชนซึ่งประสบปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ การอภิปรายส่วนใหญ่ เสนอให้รัฐบาลเร่งส่งหน่วยงานของรัฐเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง โดยมาตรการเฉพาะหน้าคือ การเร่งจัดส่งสิ่งของช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมกำหนดมาตรการเยียวยาประชาชน และ เกษตรกรในพื้นที่
โดยมีการอภิปรายที่น่าสนใจ อาทิ นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย เสนอให้รัฐบาลจัดสรรเงินเพื่อเยียวยาเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ไร่ละ 2,000 บาท เนื่องจากมีข่าวว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ซึ่งตนเชื่อว่าจะทำให้ประชาชนอยู่ไม่ได้ หากจะมีข้อจำกัดช่วยเหลือประชาชน เพียง 20 ไร่ ขอให้ช่วยไร่ละ 2,000 บาท รวมเป็น 80,000 บาท
ขณะที่นายคมเดช ไชยศิวามงคล ส.ส.กาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย อภิปรายเสนอให้รัฐบาลตัดงบประมาณรายจ่ายที่จะใช้เพื่อจัดซื้อเรือดำน้ำ เบื้องต้นเชื่อว่าจะใช้งบประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งทราบว่าจัดเป็นงบประมาณผูกพันระยะ 3 ปี เพื่อจัดซื้อรถแม็คโคร เพื่อจัดสรรให้กับท้องถิ่น ให้ตำบลนำไปแก้ไปัญหาในพื้นที่ ะทำให้การแก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วมทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นขอให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบ และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอ ของสภา ตรวจสอบการทุจริตงบประมาณ เช่น ในโครงการถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน จ.อุดรธานี ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และสกลนคร รวมถึงให้ใช้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เช่น พักชำระหนี้
ทั้งนี้ ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม หยุดกล่าวทีเล่นทีจริงเมื่อประชาชนประสบปัญหาเช่น เมื่อเกิดน้ำท่วมขอให้ประชาชนเลี้ยงปลา เป็นต้น
ส่วนนายวุฒิพงษ์ นามบุตร ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ขอให้รัฐบาลหาหน่วยงานเพื่อเป็นเจ้าภาพต่อการบริหารจัดการน้ำทุกกลุ่มลุ่มน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
อนค. - ภาคประชาชน แถลงไม่หยุดตรวจสอบ "อีอีซี"
https://news.thaipbs.or.th/content/284183
เปิดรายชื่อ! พบ ส.ส.รัฐบาล "เกียรติ - พิสิฐ" ประชาธิปัตย์โหวตสวน "เห็นชอบ" ตั้ง กมธ.ศึกษาปัญหาอีอีซี ด้าน ส.ส.อนาคตใหม่ - เครือข่าย
ปชช.ภาคตะวันออก แถลงเดินหน้าต่อ แม้ไม่ได้ตั้ง กมธ. แต่ไม่หยุดตรวจสอบโครงการอีอีซี
วันนี้ (13 ก.ย.2562) กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เผยแพร่แถลงการณ์ โดยเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก "ตั้งกลไกคู่ขนานตรวจสอบ EEC" หลังผลการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร "ไม่เห็นด้วย" ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาผลกระทบโครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดยมีผลการลงมติ 231 ต่อ 224 แล้วนั้น
เนื้อหาสำคัญแถลงการณ์ ระบุ ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ประชาชนในภาคตะวันออก ได้มีการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการดำเนินโครงการอีอีซี โดยเฉพาะการจัดทำร่างผังเมืองที่ไม่เป็นไปตามหลักการสากล เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน มากกว่าคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนเดินทางมายื่นหนังสือต่อรัฐบาล
“เราเรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญโครงการอีอีซี เพื่อเป็นกลไกตรวจสอบโครงการในระบบรัฐสภา ป้องกันไม่ให้เกิดการเสียผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน จากโครงการที่เกิดขึ้นโดยมาตรา 44 แต่ด้วยผลของการลงมติของสภาฯ ทำให้การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องตกไป”
นอกจากนี้ ยังระบุว่า แม้ผลการลงมติของสภาฯ ทำให้การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องตกไป แต่เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก จะเดินหน้าตรวจสอบนโยบายและการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดยจัดตั้งกลไกคู่ขนาน ที่มีองค์ประกอบจากหลายภาคส่วน เช่น ประชาชน ภาคประชาสังคมในภาคตะวันออก นักวิชาการ และพรรคการเมือง เพื่อสร้างกลไกตรวจสอบการดำเนินโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่อีอีซี รวมถึงผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ โดยมีองค์กรร่วมลงชื่อท้ายแถลงการณ์ 9 องค์กร
อนค. แถลงผิดหวัง ผลโหวตไม่เหมือนการอภิปราย
หลังเสร็จสิ้นการลงมติดังกล่าว ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวแสดงความผิดหวังผลการลงมติ แม้ไม่เกินความคาดหมาย เช่น นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า แปลกใจที่ในการอภิปรายญัตตินี้ ร่วม 30 คน มีผู้อภิปรายเห็นด้วยกับโครงการอีอีซีเพียง 1 คน เหตุใดผลการลงมติ จึงพบว่า ส.ส.พรรคฝ่ายรัฐบาล กลับไม่ต้องการให้มีการตั้ง กมธ. จึงตั้งคำถามว่า สิ่งเหล่านี้ สะท้อนความไม่มีอิสระในการตัดสินใจหรือไม่
ด้าน น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวว่า ผลการลงมติไม่ผิดความคาดหมาย เนื่องจากตลอดเวลาที่พรรคฝ่ายค้าน รวมถึงพรรคอนาคตใหม่ ได้นำเสนอญัตตินี้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ก.ค. กว่าจะได้แถลงและอภิปรายในสภาฯ ก็วันที่ 5 ก.ย. ซึ่งกินเวลาถึง 2 เดือน สะท้อนว่า มีการยื้อยุดระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล
น.ส.ศิริกัญญา ยังกล่าวอีกว่า หน้าที่ของ กมธ.วิสามัญ มีหน้าที่เพียงแค่ศึกษาผลกระทบ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งผลการศึกษาจะถูกนำเสนอต่อสภาฯ ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ชะลอ ยับยั้ง หรือยกเลิกโครงการใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ฝ่ายรัฐบาลกลับไม่ยินยอมให้ตั้ง กมธ.วิสามัญ ครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องทางการทำงานนอกสภาฯ ร่วมกับภาคประชาชน และการดำเนินการตรวจสอบผ่านการตั้งอนุกรรมาธิการต่าง ๆ
“ในกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ดิฉันนั่งเป็นประธาน เราก็จะดำเนินการตรวจสอบโครงการอีอีซีด้วย จากนี้ไป เราพรรคร่วมฝ่ายค้านและพรรคอนาคตใหม่ จะติดตามตรวจสอบโครงการอีอีซี อย่างต่อเนื่อง”
"เกียรติ-พิสิฐ" โหวตสวน แต่ผู้เสนอญัตติโหวตไม่เห็นด้วย
นอกจากนี้ มีการเปิดรายชื่อผู้ร่วมลงมติดังกล่าว พบว่ามี ส.ส.พรรคฝ่ายรัฐบาล อย่าง นายเกียรติ สิทธีอมร และนายพิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลงคะแนน "เห็นด้วย" กับการตั้ง กมธ.ดังกล่าว
ขณะที่ ผู้ยื่นเสนอญัตติตั้ง กมธ.ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของพรรคฝ่ายรัฐบาล อย่างพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ กลับลงมติไม่เห็นด้วยกับญัตติที่ตนเป็นผู้เสนอ เช่น นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ, นพ.บัญญัติ เจตนจันทร์ และนายธารา ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์