Jack ลิงบาบูนนายสถานีรถไฟ






ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
นักเดินทางที่ผ่านสถานีรถไฟ Uitenhage
ใกล้กับท่าเรือ  Port Elizabeth ใน South Africa
มักจะมองเห็นลิงบาบูน Jack กำลังสับหลีกรางรถไฟ
และลิงนี้เป็นลูกจ้างของ Cape Government Railways

เรื่องราวความเป็นมาที่ไม่ธรรมดา
เริ่มต้นจาก James Edwin Wide
ยามของ Cape Government Railways มากว่า 10 ปี
เพื่อน ๆ ที่สถานีรถไฟให้ฉายาว่า นักกระโดด Jumper
เพราะความสามารถในการกระโดดขึ้นกระโดดลง
จากขบวนรถไฟที่กำลังแล่นอยู่ขบวนหนึ่งไปยังอีกขบวนหนึ่ง
แต่แล้วโชคร้ายและความประมาทก็เล่นงาน James ในวันหนึ่ง
James กระโดดพลาดจนหล่นลงไปบนรางรถไฟ
ล้อเหล็กรถไฟที่หนักอึ้งบดขยี้ขาทั้งสองข้างจนขาดสะบั้น
แม้ว่าเพื่อนร่วมงานจะดึงตัวออกมาได้อย่างปลอดภัยก็ตาม

หลังจาก James พักฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บสาหัสแล้ว
ก็ได้สร้างขาไม้เทียมด้วยตนเองและทดลองหัดเดิน
จนสามารถเดินได้เหมือนกับคนทั่ว ๆ ไป ตามท้องถนน
บริษัทรถไฟจึงย้ายให้ไปทำงานที่สถานีรถไฟ Uitenhage
และแต่งตั้งให้เป็นนายสถานีเพื่อคอยสับหลีกรางรถไฟ

วันหนึ่ง ขณะที่ James ไปจับจ่ายข้าวของที่ตลาดนัด
ก็เห็น ลิงบาบูนชัคม่า Chacma baboon กำลังขับเกวียนที่ใช้วัวฝูงหนึ่งลากเกวียน
โดยทำหน้าที่เป็น voorloper (ผู้นำวัว)
เพราะเกิดความประทับใจกับทักษะของลิงตัวนี้
James จึงเจรจาขอซื้อลิงบาบูนตัวนี้จากเจ้าของ
เมื่อนำกลับมาที่บ้านแล้ว James ก็สอนลิงบาบูนอย่างเอาใจใส่
เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยส่วนตัวในเรื่องงานบ้านต่าง ๆ

ในไม่ช้า Jack ก็ช่วย James ในด้านต่าง ๆ
เช่น กวาดพื้น นำถังขยะในบ้านไปทิ้งข้างนอก
และยังช่วยรุนรถเข็นไม้ที่วิ่งบนรางรถไฟ
จากบ้านพักที่ห่างออกจากสถานีไปราวครึ่งไมล์
ให้ James กับ Jack นั่งไปกลับจากที่ทำงานได้
ช่วงเวลาเช้า และ 17.00 น.

เจ้าของคนก่อนบอกว่า Jack จะต้องได้รับบรั่นดีทุกคืน
และหากว่าลืมให้บรั่นดี Jack แล้วจะเสียใจ
เพราะวันรุ่งขึ้น Jack จะไม่ยอมทำงานให้เลย
และครั้งหนึ่ง Jumper ก็ลืมให้รางวัล
Jack ก็ไม่ยอมช่วยเหลืองานในวันรุ่งขึ้น

ที่สถานีรถไฟ รถไฟในยุคนั้นต้องใช้ถ่านหิน
เพื่อทำการต้มน้ำให้เดือดเพื่อให้มีไอน้ำขับเคลื่อนหัวรถจักรไอน้ำ
คนขับรถไฟจะเปิดเสียงหวุดรถไฟให้ดัง 4 ครั้ง
ก่อนที่จะเข้าเทียบท่าชานชาลาสถานีรถไฟ
เพื่อให้สับหลีกรางรถไฟให้เปลี่ยนรางรถไฟ

James ก็จะเดินโซเซใช้ไม้ยันรักแร้
แล้วถือกุญแจโรงเก็บถ่านหินให้คนขับรถไฟ
Jack มองเจ้านายทำเพียง 3 ครั้ง
แล้วต่อมาก็ทำการสับหลีกรางรถไฟ
พร้อมกับถือกุญแจไปให้คนขับรถไฟแทนเจ้านายได้เลย

Jack ยังจำสัญญานและรู้ถึงวิธีการสับประแจรางรถไฟ
Jack  เก่งมากจนสามารถทำงานด้วยตนเอง
โดยไม่จำเป็นต้องมี James คอยควบคุมแต่อย่างใด





Jack the signalman pushing his owner
James Edwin Wide on a trolley


ข่าวลิงบาบูนทำงานเป็นนายสถานีรถไฟสับหลีกรางได้
เข้าหูเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทรถไฟ
เพราะสตรีรายหนึ่งเห็น Jack ทำงานเป็นนายสถานีรถไฟ
โดยมองออกมาจากหน้าต่างรถไฟในขณะนั้น
และเห็นลิงบาบูนกำลังทำหน้าที่สับหลีกรางรถไฟ
ให้รถไฟที่กำลังจะแล่นมาถึงชานชาลาสถานีรถไฟได้ย้ายเข้าอีกรางหนึ่ง
ทำให้เธอร้องเรียนเรื่องนี้ไปยังบริษัทการรถไฟ

ในคราวแรกผู้กำกับการรถไฟได้ไล่ทั้งคู่ออก
แต่ Jumper James ขอร้องให้ Jack ทำงานให้ดู
โชคดีที่ผู้กำกับการรถไฟได้ตัดสินใจ
ทดสอบความสามารถของ Jack
คนขับรถไฟได้รับคำแนะนำที่เป็นความลับ
และทุกคนก็เฝ้ารอเพื่อดูว่า Jack จะผ่านการทดสอบนี้หรือไม่
ทุกครั้งที่คนขับรถไฟทำสัญญาณที่แตกต่าง
Jack จะเปลี่ยนสัญญาณและกดตรงที่สับรางอย่างถูกต้องโดยไม่ผิดพลาดเลย
ด้วยการมองไปรอบ ๆ ในทิศทางของรถไฟที่กำลังจะแล่นมาถึง
เพื่อยืนยันว่าคันโยกถูกต้องและสัญญาณไม่ผิดพลาด
แล้วผู้กำกับการรถไฟก็เกิดประทับใจการทำงานของ Jack มาก
เลยอนุมัติให้จ้าง Jack ทำงานเป็นพนักงานบริษัทการรถไฟ
ด้วยอัตราค่าจ้าง 20 เซ็นต์ต่อวัน และเบียร์ครึ่งขวดทุกสัปดาห์

" Jack รู้จักสัญญาณเป็นอย่างดีพอ ๆ กับผม 
และรู้จักประแจสับหลีกทุกอันด้วย
(ว่าต้องโยกอันไหนก่อนอันไหนหลัง)
มันเป็นเรื่องที่น่าประทับใจมาก
ที่เห็นมันชื่นชอบเจ้านายของมัน
เมื่อผมเดินเข้าไปใกล้ทั้งสอง
ก็เห็นว่าทั้งคู่ต่างนั่งบนรถเข็น
แขนข้างหนึ่งของลิงบาบูนโอบรอบคอ
ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งก็ลูบคลำไปที่ใบหน้า Wide " (James Edwin Wide)
George B. Howe ผู้กำกับการรถไฟ

Jack ทำหน้าที่นี้เป็นเวลา 9 ปี
จนกระทั่งตายเพราะวัณโรคในปี 1890
Jack ไม่เคยทำหน้าที่ผิดพลาดแต่อย่างใด
ค่อนข้างสมบูรณ์แบบกว่าคนงานทั่วไป
ทั้งเป็นยามที่ดุร้ายเฝ้าระมัดระวังเจ้านายตน




James Edwin Wide supervising Jack as he pulls a lever



mเรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2ZqM9u1
https://bit.ly/32gSyVL
https://bit.ly/2MLuOFI
https://bit.ly/2LYPn0s





ลิงบาบูนชัคม่า เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีขนตามตัวสีน้ำตาล ขนค่อนข้างหยาบ หน้าดำ หูมีขนน้อย
แต่ตัวผู้ขนตรงรอบคอและไหล่ยาว และมีขนปรกที่ปาก ส่งเสียงร้องได้ดัง
วิ่งได้เร็วมากและทรงพลัง มีลักษณะการวิ่งเหมือนม้าควบ ว่ายน้ำเก่ง
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงจำนวนเป็น 100 อาจถึง 200-300 ตัว
มีหัวหน้าเป็นตัวผู้ เป็นผู้ควบคุมสังคมของตัวให้เป็นระเบียบ
ในขณะในหมู่ลิงตัวเมียจะมีการจัดลำดับสังคมตามอาวุโส

ในเวลากลางคืนจะนอนพักผ่อนในถ้ำ หรือซอกหิน หรือบนกิ่งไม้ใหญ่ เพื่อหลบหลีกศัตรู
เพราะมักจะตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่าด้วย เช่น สิงโต เสือดาว, เสือชีตาห์
โดยอาจจะโดนล่าได้ถึงบนต้นไม้ และลูกลิงก็มักตกเป็นเหยื่อของนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ เช่น นกเหยี่ยว, นกอินทรี เป็นต้น
ส่วนในหมู่ลิงตัวผู้จะมีการสลับสับเปลี่ยนกันเรื่อย เพราะแย่งชิงกันเป็นจ่าฝูง
และหากมีลิงจากที่อื่นจะขอเข้าเป็นสมาชิกฝูง ก็ต้องได้รับการอนุญาตจากลิงตัวอื่นในฝูงด้วย

ลิงบาบูนชัคม่าไม่ค่อยพบในป่าทึบ ชอบอยู่ตามเขาที่เป็นหินมีต้นไม้น้อย
เพราะลิงบาบูนชัคม่าขึ้นต้นไม้ไม่เก่ง ในเวลาเช้ามักลงมาจากต้นไม้เพื่อลงมาอาบแดด
และแยกย้ายกันหากิน มีพฤติกรรมผสมพันธุ์เป็นคู่ ไม่ปะปนกัน
มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 6-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
ลูกจะอยู่กับแม่ตลอดเวลา  บางครั้งพ่อลิงจะช่วยดูแลลูกด้วย
เมื่อลูกยังเล็กจะอยู่ที่อกแม่และดูดนมแม่
เมื่อโตขึ้นมาหน่อยจะเปลี่ยนขึ้นมาเกาะหลังแม่
ลิงบาบูนชัคม่ามีอายุยืนราว 20 ปี แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ 
กินอาหารได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักและเมล็ดพืชผลไม้ต่าง ๆ
ทั้งยังสามารถวิ่งกระโจนจับนกฟลามิงโกกินเป็นอาหารได้ด้วย

Credit : https://bit.ly/2Zsoqts









เรื่องเล่าไร้สาระ


รถไฟสายแรกของไทย คือ สายปากน้ำ
เพื่อขนอาหารจากเรือมาพระนคร
สถานีต้นทางรถไฟ คือ สถานีหัวลำโพง 
สถานีปลายทางคือ สถานีปากน้ำ
(ท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์)
ระหว่าง พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2459
มีสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี
และเพิ่มเป็น 12 สถานีจนสิ้นสุดการเดินรถ

ค่าโดยสารไปกลับราคา 1 บาท
ส่วนรายสถานีคิดค่าโดยสารระยะสถานี
สถานีละ 1 เฟื้อง มีขนาดราง 1.00 เมตร
ขบวนรถโดยสารหนึ่งขบวนจะประกอบไปด้วย
ตู้โดยสาร 4 ตู้ และโบกี้ห้ามล้ออีกหนึ่งโบกี้
มีระดับชั้นที่นั่งสองระดับคือ ชั้นสองและชั้นสามเท่านั้น
ระยะเวลาเดินทางราวหนึ่งชั่วโมง
จะต้องผ่านสะพานข้ามคูคลองจำนวนมาก
ซึ่งสะพานส่วนใหญ่ทำจากไม้
มีเพียงบางส่วนที่เป็นไม้กับเหล็ก
การเดินรถในระยะแรก ใช้หัวรถจักรไอน้ำ 
ผลิตโดยบริษัท Krauss & Co of Munich เยอรมนี

บริหารงานโดย กอมปานีรถไฟ หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำทุนจำกัด
โดยพระยาชลยุทธโยธินทร์ (André du Plessis de Richelieu) ชาวเดนมาร์ก
และพระนิเทศชลธี (แอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช)
ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429 เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ. 2479
เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434
มีวิศวกรเดินรถชื่อ ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ชาวเดนมาร์ก
ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์
ครั้งนั้น พระปิยะมหาราชทรงทำพิธีเริ่มการก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434
ต่อมารถไฟสายนี้ขาดทุนหนักมาก
จึงต้องขายกิจการให้หลวงไป

Credit :
https://bit.ly/2ZDMJ31
http://bit.ly/2HC7dmJ





ต่อมาหลังจากรัฐบาลสยามได้ซื้อกิจการรถไฟ
ก็ขยายเส้นทางจากหัวลำโพง-อยุธยา
พร้อมกับทาสีขบวนรถไฟเป็นสีหมากสุก
เพราะชาวบ้านยุคนั้นยังกินหมากกัน
มักจะบ้วนหมากลงข้างทางแล้วปลิวติดข้างตู้รถโดยสาร
การใช้สีดังกล่าวจะทำให้มองเห็นกลมกลืนกัน
ส่วนสุขอนามัยยังไม่สนใจกันมากในยุคนั้น
ห้องส้วมก็ให้ผู้โดยสารขับถ่ายลงตามร่องกลางรางรถไฟ

มีความเชื่อในหมู่คนงานรถไฟ/ชาวบ้านข้างทางรางรถไฟ
ใครลักขโมยรางรถไฟและอุปกรณ์ชิ้นส่วนรางรถไฟไป จะซวยหนัก
พราะมีคำสาปแช่งจากหลวงไว้แล้วตอนสร้าง
จึงไม่ค่อยเห็นคนลักขโมยรางรถไฟ/ชิ้นส่วนยีดรางรถไฟไปขายเป็นเศษเหล็ก
เพราะร้านรับซื้อของเก่าดูสภาพของก็บอกได้ว่าเป็นของรถไฟ

รถไฟมีประเพณีปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่งคือ
ที่ชุมทางหาดใหญ่จะมี หัวรถจักรสีเหลือง
พร้อมอุปกรณ์จอดประจำอยู่แถวอู่ซ่อมรถไฟ
ถ้าเกิดกรณีรถไฟสายใต้ใกล้ ๆ ตกราง
หรือมีปัญหาเรื่องเส้นทางรถไฟขาด
ถ้าต้องไปซ่อมแซมบำรุงรักษาซึ่งเป็นงานช้าง
ก็จะมีหวูดเรียกเป็นระยะ ๆ ราว 30 นาทีอย่างต่ำ
ก็เป็นอันรู้กันว่ามีรถไฟตกรางแล้ว
ใครที่ว่างเว้นภาระกิจ/ไม่ได้ทำงานในวันนั้น
ก็จะพากันขึ้นขบวนรถไฟเหลืองไปช่วยเหลือกัน

มีครั้งหนึ่ง  ผมเห็นตู้รถไฟโดยสารคันหนึ่ง
ตกรางที่สถานีชุมทางหาดใหญ่
ก็เห็นคนงานรถไฟช่วยกันกู้ขึ้นมาจากราง
ด้วยแม่แรงขนาดใหญ่ 6 ตัวหนุนตู้โดยสาร
แล้วใช้ชะแลงค่อย ๆ งัดล้อจนยกขึ้นบนรางตามเดิม
ในระหว่างทำงานก็มีช่างคนหนึ่งวัย 40 กว่าปีผมเริ่มหงอกแล้ว
แกโพล่งขึ้นมาระหว่างทำงาน และกำลังจะเข้าที่แล้วว่า
" เมื่อคืน 4 ที "
ทุกคนต่างมองหน้ากันแล้วอมยิ้มกันในใจ
พลางคิดว่า  ยังไหวเหรอ หรือแมงโม้
สักพักแกก็พูดต่อว่า
" ตื่นขึ้นมาเยี่ยว  สงสัยเบาหวาน -ดก "






การซ่อมบำรุงทางรถไฟ

สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ คือชื่อฝั่งมาเลย์  แต่ชื่อสถานีสอง ที่ฝั่งไทย
ในการซ่อมบำรุงทางรถไฟ  ช่างมาเลย์จะข้ามเข้ามาในเขตแดนไทยร่วม 10 กิโลเมตร

ส่วนที่สถานีสุไหงโก-ลค  ช่างไทยจะข้ามเข้าไปในเขตแดนมาเลย์ร่วม 10 กิโลเมตรเช่นกัน
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างต้องทำงานภายในบริเวณเขตรางรถไฟ
ไม่ใช่เพ่นพล่านไปบริเวณอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ
แต่คนงานมักชอบเดินไปขอน้ำ/ผักผลไม้จากชาวบ้านข้างทางเป็นประจำ
เพราะได้เอื้อประโยชน์ฝากซื้อของชายแดนกันโดยด่านศุลกากรไม่ยุ่ง
การเข้าไปทำงานภายในเส้นทางรถไฟ  เป็นข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝั่งนานมากแล้ว

ในที่ฝั่งไทยบริเวณที่ดินรถไฟ  จะวัดออกจากรางซ้ายขวาข้างละ 40 เมตร
ตามกฎหมายตั้งแต่สมัยพระปิยะมหาราช
ช่วงตั้งกิจการรถไฟที่วิศวกรอังกฤษเป็นที่ปรึกษา
ที่ดินรถไฟจึงมีพื้นที่สองข้างทางรถไฟว่างมาก
ทำให้ชาวบ้านบุกรุกทำประโยชน์สองข้างทางรถไฟจนทุกวันนี้
จากเรื่องเดิม  ไทยแลกดินแดน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่