จากการที่สถานีบ้านไผ่ที่เพิ่งเปิดเป็นสถานีรถไฟยกระดับ โดยยกระดับลอยฟ้าในช่วงผ่านตัวอำเภอบ้านไผ่ เพื่อแก้ปัญหาจราจร และอำนวยความสะดวก
และด้วยความที่ทางรถไฟยกระดับ ทำเมืองหลายเมืองในเส้นทางจิระ-ขอนแก่ ก็อยากได้ทางรถไฟยกระดับบ้าง ทั้งเมืองพล บัวใหญ่ รวมทั้งคนนครราชสีมาก็อยากได้ยกระดับจนทำให้การสร้างรถไฟทางคู่มาบกะเบา-จิระในระยะที่ 2 ล่าช้า แต่ในกระทู้นี้จะมาพูดถึงสถานียกระดับกับสถานีระดับดินมาเปรียบเทียบกัน โดยจะนำสถานีบ้านไผ่เดิมกับสถานีบ้านไผ่ในปัจจุบันมาเทียบกัน

จากในวิดีโอเป็นสถานีบ้านไผ่เดิมก่อนที่จะยกระดับนะครับ จะเห็นว่าเป็นสถานีระดับดิน อาคารสร้างด้วยไม้ ห้องขายตั๋วกับชานชาลาติดกันเดินก้าวเดียวถึงเลย จะมีตั๋วหรือไม่ก็เดินมาที่ชานชาลาได้แน่นอน มีห้องน้ำแยกอยู่อีกอาคารโดยเชื่อมกับชานชาลา ผู้โดยสารมารอที่ชานชาลาได้เลย

ส่วนในวิดีโอนี้จะเป็นสถานีบ้านไผ่ใหม่ที่เปิดให้บริการแล้ว สถานีดูใหม่ ดูสะอาด ชั้นขายตั๋วกับชั้นชานชาลาแยกจากกัน โดยชั้นชานชาลายกระดับชั้นบนมีบันไดเลื่อนและลิฟต์เชื่อมต่อกับชั้นขายตั๋ว ที่นั่งรอผู้โดยสารก็อยู่ที่ชั้นขายตั๋วนี่แหละ ไม่ได้อยู่ที่ชานชาลาแบบเดิม(คล้ายกับสถานีกรุงเทพ)
จะเห็นว่าสถานีบ้านไผ่เดิมกับใหม่นั้นแตกต่างกันมากที่นี้มาดูดีกว่าว่ามันมีอะไรที่ดีกว่าและแย่กว่าเดิมกันอย่างไร คนเมืองพล คนบัวใหญ่และโคราชควรจะรู้ไว้ด้วย ก่อนที่จะเรียกร้องจะเอาสถานียกระดับ
สถานียกระดับมีข้อได้เปรียบสถานีระดับดิน
-เมื่อสถานียกระดับทางก็ยกระดับจึงทำให้ทางยกข้ามเมืองซึ่งทำให้การจราจรบริเวณทางรถไฟไม่ติดนั่นเอง ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลัก(แต่รางข้างล่างก็ยังอยู่เหมือนเดิมเพราะรถสินค้าใช้ ไฟทางข้ามก็ยังคงอยู่)
-สถานีดูทันสมัย (ขนาดนักข่าวยังพูดเลย)
-ชั้นสถานีแยกชั้นชานชาลากับกับชั้นขายตั๋ยออกจากกัน การดูแลความปลอดภัยก็ง่ายขึ้นเพราะทางเข้าถูกจำกัด
-เพราะจำกัดคนขึ้นชานชาลาเลยจะดูสะอาดกว่าชานชาลาระดับดิน
สถานีระดับดินได้เปรียบสถานียกระดับ
- แต่เพราะมันทันสมัย มันก็เลยดูโหลเหมือนกับบีทีเอส สถานีขาดเอกลักษณ์ภายใน
- เนื่องจากว่าจะเป็นระบบปิด ซึ่งทำจริงได้มั้ยไม่ทราบ(แต่คิดว่าทำไม่ได้) แต่ถ้าทำได้ คนที่ไม่ใช้ผู้โดยสารต้องรอข้างล่าง ถ้าผู้โดยสารขนของมาเยอะแบบรถไฟเดิมคงต้องขนของเอาเอง(เจริญล่ะ)
- ระยะทางจากชานชาลาออกจากสถานีไกลว่าระดับดิน
- ข้อนี้เป็นข้อเสียที่ร้ายแรงที่สุดของสถานียกระดับเลยครับ และเป็นสิ่งที่สถานีบ้านไผ่จะเสียมันไปตลอดกาลเลยแหละ เพราะมันเป็นสถานีที่ออกแบบไว้สำหรับผู้โดยสารเท่านั้น ซึ่งถ้ามันใช้ในระบบที่ใช้ขนผู้โดยสารอย่างเดียวแบบบีทีเอสก็ไม่มีปัญหาครับ แต่รถไฟทางไกลน่ะไม่ใช่ รถไฟทางไกลมีทั้งที่ขนคนอย่างเดียว(แบบดีเซลราง รถด่วนพิเศษ) ขนของอย่างเดียว(รถขนสินค้า) และรถไฟที่ขนทั้งสอง(รถเร็ว รถด่วน รถธรรมดา) ที่นี้สถานีที่ออกแบบมาเพื่อผู้โดยสารเป็นหลักแบบบ้านไผ่ คุณจะไม่สามารถใช้บริการขนของใหญ่ได้ครับ เพราะไม่รู้จะเอาลงยังไง ใครที่เคยขนรถจักรยานยนต์ไปลงบ้านไผ่แล้วขี่ไปมหาสารคาม คุณลืมไปได้เลยว่าจะทำแบบนั้นได้อีก แถมที่ตลกร้ายกว่าก็คือถ้าจะทำแบบนั้นสถานีที่ใกล้ที่สุดที่จะขนของใหญ่ลงได้ก็คือเมืองพลที่อยากจะได้สถานียกระดับซะงั้น (เกือบซวยไปละ) และที่บ้านไผ่จะเจ็บกว่าเดิมก็คือเดิมทีสถานีบ้านไผ่มีปริมาณขนส่งสินค้ามากที่สุดของจังหวัดด้วย ตัดแหล่งทำเงินของตัวเองชัดๆ และดูท่าขอนแก่นกำลังจะประสบกับชะตาเดียวกัน ผลจากการได้สถานีทันสมัยเชียวนะ
ความแตกต่างระหว่างสถานีรถไฟยกระดับกับสถานีระดับดิน และบทเรียนจากสถานียกระดับบ้านไผ่ เมื่อสถานียกระดับไม่ได้นำมาแต่ผลดี
และด้วยความที่ทางรถไฟยกระดับ ทำเมืองหลายเมืองในเส้นทางจิระ-ขอนแก่ ก็อยากได้ทางรถไฟยกระดับบ้าง ทั้งเมืองพล บัวใหญ่ รวมทั้งคนนครราชสีมาก็อยากได้ยกระดับจนทำให้การสร้างรถไฟทางคู่มาบกะเบา-จิระในระยะที่ 2 ล่าช้า แต่ในกระทู้นี้จะมาพูดถึงสถานียกระดับกับสถานีระดับดินมาเปรียบเทียบกัน โดยจะนำสถานีบ้านไผ่เดิมกับสถานีบ้านไผ่ในปัจจุบันมาเทียบกัน
จากในวิดีโอเป็นสถานีบ้านไผ่เดิมก่อนที่จะยกระดับนะครับ จะเห็นว่าเป็นสถานีระดับดิน อาคารสร้างด้วยไม้ ห้องขายตั๋วกับชานชาลาติดกันเดินก้าวเดียวถึงเลย จะมีตั๋วหรือไม่ก็เดินมาที่ชานชาลาได้แน่นอน มีห้องน้ำแยกอยู่อีกอาคารโดยเชื่อมกับชานชาลา ผู้โดยสารมารอที่ชานชาลาได้เลย
ส่วนในวิดีโอนี้จะเป็นสถานีบ้านไผ่ใหม่ที่เปิดให้บริการแล้ว สถานีดูใหม่ ดูสะอาด ชั้นขายตั๋วกับชั้นชานชาลาแยกจากกัน โดยชั้นชานชาลายกระดับชั้นบนมีบันไดเลื่อนและลิฟต์เชื่อมต่อกับชั้นขายตั๋ว ที่นั่งรอผู้โดยสารก็อยู่ที่ชั้นขายตั๋วนี่แหละ ไม่ได้อยู่ที่ชานชาลาแบบเดิม(คล้ายกับสถานีกรุงเทพ)
จะเห็นว่าสถานีบ้านไผ่เดิมกับใหม่นั้นแตกต่างกันมากที่นี้มาดูดีกว่าว่ามันมีอะไรที่ดีกว่าและแย่กว่าเดิมกันอย่างไร คนเมืองพล คนบัวใหญ่และโคราชควรจะรู้ไว้ด้วย ก่อนที่จะเรียกร้องจะเอาสถานียกระดับ
สถานียกระดับมีข้อได้เปรียบสถานีระดับดิน
-เมื่อสถานียกระดับทางก็ยกระดับจึงทำให้ทางยกข้ามเมืองซึ่งทำให้การจราจรบริเวณทางรถไฟไม่ติดนั่นเอง ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลัก(แต่รางข้างล่างก็ยังอยู่เหมือนเดิมเพราะรถสินค้าใช้ ไฟทางข้ามก็ยังคงอยู่)
-สถานีดูทันสมัย (ขนาดนักข่าวยังพูดเลย)
-ชั้นสถานีแยกชั้นชานชาลากับกับชั้นขายตั๋ยออกจากกัน การดูแลความปลอดภัยก็ง่ายขึ้นเพราะทางเข้าถูกจำกัด
-เพราะจำกัดคนขึ้นชานชาลาเลยจะดูสะอาดกว่าชานชาลาระดับดิน
สถานีระดับดินได้เปรียบสถานียกระดับ
- แต่เพราะมันทันสมัย มันก็เลยดูโหลเหมือนกับบีทีเอส สถานีขาดเอกลักษณ์ภายใน
- เนื่องจากว่าจะเป็นระบบปิด ซึ่งทำจริงได้มั้ยไม่ทราบ(แต่คิดว่าทำไม่ได้) แต่ถ้าทำได้ คนที่ไม่ใช้ผู้โดยสารต้องรอข้างล่าง ถ้าผู้โดยสารขนของมาเยอะแบบรถไฟเดิมคงต้องขนของเอาเอง(เจริญล่ะ)
- ระยะทางจากชานชาลาออกจากสถานีไกลว่าระดับดิน
- ข้อนี้เป็นข้อเสียที่ร้ายแรงที่สุดของสถานียกระดับเลยครับ และเป็นสิ่งที่สถานีบ้านไผ่จะเสียมันไปตลอดกาลเลยแหละ เพราะมันเป็นสถานีที่ออกแบบไว้สำหรับผู้โดยสารเท่านั้น ซึ่งถ้ามันใช้ในระบบที่ใช้ขนผู้โดยสารอย่างเดียวแบบบีทีเอสก็ไม่มีปัญหาครับ แต่รถไฟทางไกลน่ะไม่ใช่ รถไฟทางไกลมีทั้งที่ขนคนอย่างเดียว(แบบดีเซลราง รถด่วนพิเศษ) ขนของอย่างเดียว(รถขนสินค้า) และรถไฟที่ขนทั้งสอง(รถเร็ว รถด่วน รถธรรมดา) ที่นี้สถานีที่ออกแบบมาเพื่อผู้โดยสารเป็นหลักแบบบ้านไผ่ คุณจะไม่สามารถใช้บริการขนของใหญ่ได้ครับ เพราะไม่รู้จะเอาลงยังไง ใครที่เคยขนรถจักรยานยนต์ไปลงบ้านไผ่แล้วขี่ไปมหาสารคาม คุณลืมไปได้เลยว่าจะทำแบบนั้นได้อีก แถมที่ตลกร้ายกว่าก็คือถ้าจะทำแบบนั้นสถานีที่ใกล้ที่สุดที่จะขนของใหญ่ลงได้ก็คือเมืองพลที่อยากจะได้สถานียกระดับซะงั้น (เกือบซวยไปละ) และที่บ้านไผ่จะเจ็บกว่าเดิมก็คือเดิมทีสถานีบ้านไผ่มีปริมาณขนส่งสินค้ามากที่สุดของจังหวัดด้วย ตัดแหล่งทำเงินของตัวเองชัดๆ และดูท่าขอนแก่นกำลังจะประสบกับชะตาเดียวกัน ผลจากการได้สถานีทันสมัยเชียวนะ