What have you been up to, mate?!
เดินทางมาถึงตอนที่สามซะที เราได้ปูพื้นฐานที่สำคัญไปบ้างละในสองพาร์ทที่ผ่านมา พาร์ทนี้มันจะเริ่มลงลึกมากขึ้นแล้วนะ!
วันนี้ผมจะพูดถึง
-
Diphthong หรือสระประสม
-
Present simple และ past simple tense รวมไปถึงหลักแกรมมาร์ของ verb ในภาษาอังกฤษ
-
ช่องยูทูปสำหรับฝึกแกรมมาร์และโฟเนติค
หวังว่าจะไม่มีใครคิดว่าโฟเนติคมันเป็นเรื่องไกลตัวนะ เพราะจริง ๆ แล้วเราควรเรียนมาตั้งแต่เด็กแล้ว! (มีน้อง มีลูก มีหลานให้รีบเอาไปสอนเลย ฮ่า ๆ)
โอเค มาเริ่มกันดีกว่า
Let's roll!
_______________
1.
อ่านให้ออก
อย่างที่บอกไว้ในตอนที่แล้ว พาร์ทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ "
Diphthong" หรือ "
สระควบ" (บางตำราเรียก '
สระประสม')
Diphthong (อ่านว่า ดิฟ-ธอง /ˈdɪf.θɒŋ/) คือสระที่เกิดจากการเอาสระสองตัวมารวมกันเป็นสระตัวเดียว (a combination of two adjacent vowel sounds within the same syllable)
เช่นสระ
เอีย ที่เกิดจากการรวมของสระ
อี + เออะ (fear = fee-uh / near = nee-uh etc.)
สระ
อาว ที่เกิดจากการรวมกันของสระ
อา + อุ (now = nah-wu / loud = lah-wud)
หรือสระ
อัว ที่เกิดจากการรวมกันของสระ
อู + อา
วันนี้มาทำรู้จักพวกมันคร่าว ๆ ต่อไปเวลาเจอจะได้เริ่มสังเกต
1.1 ในภาษาอังกฤษมีดิฟธองหรือสระผสมอยู่ประมาณ 9 ตัว (แล้วแต่สำเนียง บางสำเนียงอาจมีเยอะหรือน้อยกว่านี้) ได้แก่
/eɪ/ as in 'p
ay' = สระเอ้(ยิ) [เอ้ + อิ]
/ɔɪ/ as in 'b
oy' = สระอ้อย [อ้อ + อิ]
/aɪ/ as in 'wh
y' = สระอ้าย [อ้า + อิ]
/əʊ/ as in 'kn
ow' = สระเอ้อว [เออะ - อุ] (ออกเสียง เอ้อ-วู แบบเร็ว ๆ ไปเรื่อย ๆ จะกลายเป็นเสียงสระ 'โอ้ว' ในที่สุด นั่นแหละคือสระโอที่ถูกต้องในภาษาอังกฤษ)
/aʊ/ as in 'h
ow' = สระอ้าว [อ้า + อุ]
/ɪə/ as in 'h
ere' = สระ

[อี้ + เออะ]
/eə/ as in 'b
ear' = สระแอ้ [เอ้ะ + เออะ]
/ʊə/ as in 't
our' = สระอั้ว [อู + อา]
ลองออกเสียงสระสองตัวที่อยู่ในช่อง [ ] แบบเร็ว ๆ แล้วมันจะกลายเป็นเสียง diphthong แบบถูกต้องเอง ดังนั้นควรกลับไปฝึกบ่อย ๆ!
1.2 จะเห็นว่าเราสามารถแบ่ง Diphthong ออกเป็น 3 กลุ่มคือ
-
กลุ่มที่ลงท้ายด้วย /-ɪ/ มักจะเป็นสระที่ลงท้ายด้วย -y เช่น pl
ay, s
ay, b
oy, t
oy, wh
y, sk
y ให้จำไว้เลยว่าสระพวกนี้จะมีเสียง 'อิ' หรือ 'ยิ' ลงท้าย ได้แก่สระ เอ้(ยิ), อ้อย(ยิ), อ้าย(ยิ)
-
กลุ่มที่ลงท้ายด้วย /-ʊ/ มักจะเป็นสระที่ลงท้ายด้วย -w เช่น l
ow, sh
ow, c
ow, h
ow ให้จำไว้เลยว่ามีเสียง 'อุ' หรือ 'วุ' ลงท้ายนิดหน่อย ได้แก่สระ เอ้อว(วุ) หรือโอ้ว(วุ) และ อ้าว(วุ)
-
กลุ่มที่ลงท้ายด้วย /-ə/ มักจะเป็นสระที่สะกดด้วย 'สระสองตัว' และ 'ตัว r' เช่น f
ear, d
eer, th
ere, c
are ให้จำไว้เลยว่าสระพวกนี้มีเสียง 'เออะ' ลงท้ายนิดหน่อย ได้แก่สระ

(เออะ), แอ้(เออะ), อั้ว (เออะ)
ดังนั้นหากเจอคำที่มีเสียงสระประสมเหล่านี้ ก็ต้องออกให้มันเป็น diphthong ด้วย (พูดง่าย ๆ คือให้มีเสียงสระลงท้ายด้วยนิดหน่อย!)
ฝึกให้คล่อง ลงท้ายเสียงสระให้ถูก แล้วสำเนียงการอ่านจะดีขึ้นเยอะมาก
1.3 ที่นี้เราก็ต้องจำว่า
Diphthong เหล่านี้มักจะถูกสะกดด้วยพยัญชนะอะไรบ้าง
เช่นสระ /ʊə/ (อั้ว) ก็มักจะถูกสะกดด้วย -our หรือ -ure (เช่น tour, your, sure, obscure etc.)
หรือสระ /ɔɪ/ (อ้อย) ที่มักจะถูกสะกดด้วย -oy หรือ -oi (เช่น toy, boy, point, voice etc.)
สรุปแล้วสิ่งที่เราต้องจำให้ได้คือตัวโฟเนติคและตัวสะกดเวลาไปอยู่ในคำศัพท์จริง ๆ ถามว่าเยอะมั้ย? ก็เยอะ ถามว่าจำเป็นต้องจำให้ได้ทั้งหมดมั้ย? ก็ไม่ เอาเป็นว่าหมั่นทบทวนไปวันละนิดก็พอ
วันนี้เอาคร่าว ๆ ก่อน พาร์ทหน้าเราจะมาเจาะลึกไปทีละตัวเลย!
_______________
2.
แกรมมาร์สำคัญที่ควรรู้ไว้
ในเซคชั่นแกรมมาร์ตอนที่แล้วเราเรียนเรื่อง Adjective และ Adverb และทำความเข้าใจหน้าที่และตำแหน่งของมันในประโยค
วันนี้มาทำความเข้าใจแกรมมาร์สำคัญอีกสองหัวข้อคือ
Present simple และ
Past simple
2.1 เริ่มจาก Concept ง่าย ๆ ก่อนคือ ทุกครั้งที่เราแต่งประโยค
ต้องมีประธานและกริยา (Subject + Verb) ส่วนกรรมจะมีหรือไม่ก็แล้วแต่บริบท
แต่ตรงนี้ต้องระวังนิดหน่อยคือ
เวิร์บบางตัวจำเป็นต้องมีกรรมเสมอเช่น love, give, buy etc. เราเรียกมันว่า '
transitive verb' โครงสร้างประโยคจึงต้องเป็น Subject + verb + object เสมอ ส่วนเวิร์บบางตัวไม่ต้องมีกรรมเช่น cry, work, sleep etc. เราเรียกกริยาเหล่านี้ว่า '
intransitive verb' และก็ยังมีเวิร์บที่เป็นได้ทั้งสองกลุ่มด้วย!
กลับมาที่เรื่อง Tense ปัญหาหลัก ๆ ของการเรียน tense คือ 'กริยา' นี่แหละ เพราะในภาษาอังกฤษมันมีการ '
ผันกริยา' เกิดขึ้นเวลาที่เราแต่งประโยคตาม tense ต่าง ๆ (กริยาต้องเปลี่ยนตามเวลาที่เหตุการณ์นั้นเกิด!)
Tense ที่ง่ายที่สุดก็คือ
Present simple นี่แหละ เพราะมัน
ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มันเลยจะเป็น tense ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ ซึ่งจะตรงข้ามกับ
Past simple ที่ใช้กับ
เหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วในอดีต ซึ่งเป็น tense ที่ใช้บ่อยเหมือน เพราะมันใช้พูดเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมา (และใช้นินทาว่าใครไปทำอะไรมา!)
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเข้าใจสองเทนส์นี้ดีแล้ว เลยขอยกตัวอย่างแบบเปรียบเทียบไปเลยละกัน
- He
knows John very well. (พูดถึงการรู้จักที่ 'ตอนนี้ก็ยังรู้จักอยู่')
- He
knew John when he was in high school. (พูดถึงการรู้จักครั้งแรกที่ 'เกิดขึ้นในอดีต')
- I
love Susan and we are meant to be. (พูดถึงความรักที่ 'ตอนนี้ก็ยังรักอยู่')
- I
loved her but we were not meant to be. (พูดถึงความรักที่ 'มันจบไปแล้วในอดีต' ตอนนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว! หลายคนอาจได้ใช้ tense ในวันวาเลนไทน์นี้ (เอ่า ดราม่าเฉย))
- We
don't go to school on Sundays. (ไม่ได้ไปโรงเรียนทุกวันอาทิตย์อยู่แล้ว พูดถึง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำ)
- We
didn't go to school last Sunday. (พูดถึง
เหตุการณ์ที่เกิดเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว คือพวกเราไม่ได้ไปโรงเรียน)
2.2 จากข้างบนเราจะเห็นว่ากริยามีทั้งการเติม -s เติม -ed และเปลี่ยนรูปด้วย (know กลายเป็น knew) นี่แหละที่เราเรียกว่าการผันกริยา
คงไม่ต้องพูดถึงแล้วมั้ง น่าจะอ่านกันมาเยอะละ สรุปให้ง่าย ๆ เลยละกัน
- ใน Present tense หากประธานเป็น

, she, it กริยาต้องเติม -s ด้วย (He
likes it. / She
hates it. / The dog
loves it!)
- แต่หากกริยาของ

, she, it ในประโยคนั้นลงท้ายด้วย x, z, ch, sh, ss หรือ o ให้เราเติม -es เข้าไป (He
goes to school on Sundays. / My dog
kisses me all the time. / Susan
watches TV quite often.)
- สุดท้าย หากกริยาของประธาน

, she, it ลงท้ายด้วย y และก่อนหน้าเป็นพยัญชนะ เช่น cry, try, fry, fly, comply etc. ให้ตัด y ออกแล้วเติม -ies (That baby always
cries when he wants something. / A bird
flies because it can. / Let's see if he
complies.)
เราเรียกแกรมมาร์เรื่องนี้ว่า 'Subject-verb agreement'
2.3 แต่หากประโยคเป็น Past simple ก็ง่าย ๆ เลยคือเติม -ed ให้กริยาด้วย เช่น He
walked me home last night. / We
used to be good friends. / She
turned off the light and went to sleep.
ใน past simple เรายังต้องระวังกริยาบางกลุ่มที่ไม่ได้ผันโดยใช้หลักการเติม -ed ด้วย เราเรียกมันว่า 'Irregular verb' เป็นกริยาที่เปลี่ยนรูปไปเลย เช่น You
sang quite well this morning. (sing) / How come you
broke my heart so easily? (break) / Yes, you
did! (do)
ไม่ยากไม่ง่าย แม่นไม่แม่นวัดกันที่ใครอ่านและฝึกฝนมาเยอะกว่ากัน!
_______________
3.
ฝึกฟังและเก็บคำศัพท์
มาถึง section สุดท้าย วันนี้ (หรือหลังจากนี้) ให้เราเข้าไปฟังยูทูปเหล่านี้
3.1
อาจารย์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่อง Irregular verb (
https://www.youtube.com/watch?v=4be5ARBawVU)
คนนี้ผมไม่ค่อยรู้จักหรอก แต่เห็นคลิปเขาพูดชัดถ้อยชัดคำดี และสรุปไว้ง่าย ๆ ด้วย เลยอยากให้ไปดู
3.2
อาจารย์ชาวอังกฤษสรุป Tense ทั้งหมดให้ฟัง (
https://www.youtube.com/watch?v=84jVz0D-KkY)
คนนี้ผมแนะนำให้ติดตามช่องยูทูปเขาไว้เลย ชื่อช่องว่า '
Anglo-link' ส่วนมากจะพูดถึงการออกเสียงให้ถูกต้อง (สำเนียง UK แบบเป๊ะ ๆ เลย) และข้อผิดพลาด หรือ mistake ที่เราอาจจะเผลอทำตอนพูดหรือแต่งประโยคภาษาอังกฤษ เข้าไปฟังบ่อย ๆ จะทำให้เราแม่นทั้งแกรมมาร์ทั้งสกิลการออกเสียง

3.3
อาจารย์ขาวอังกฤษพูดถึง Tense ที่เราใช้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน (
https://www.youtube.com/watch?v=vXABB4tBBUU)
คนนี้ก็เป็นอีกคนที่แนะนำ โดยเฉพาะใครที่สนใจเรื่อง Phonetics เพราะเขาจัดเต็มมาก สรุปมาให้ฟังทุกเสียงทุกสระ รวมไปถึง diphthong ที่เราพูดถึงในกระทู้นี้ด้วย (แต่ต้องไปนั่งเสริชหาหน่อยนะ เพราะเขามีหลายวิดีโอ) ชื่อช่องยูทูปของเขาคือ '
English Language Club'

_______________
สำหรับวันนี้ก็แค่นี้แหละ ใครที่ตามอ่านตั้งแต่พาร์ทหนึ่งก็น่าจะได้พื้นฐานที่สำคัญ ๆ ไปเยอะแล้วนะ แต่ยังไงก็อย่าลืมกลับไปทบทวนด้วย
สุดท้ายก็เหมือนเดิม 'ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ รู้มากกว่าเมื่อวานก็พอ!' ใครอ่านจบแบบไม่ข้ามก็น่าจะได้ความรู้เพิ่มมาบ้างแหละน่า นิด ๆ หน่อย ๆ ค่อย ๆ เก็บไป เป็นกำลังใจให้ครับ (เข้าไปฟังยูทูปด้วยนะ)
รู้ภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกวันที่:
https://www.facebook.com/MyFathersAnEnglishMan/ (Page:
พ่อผมเป็นคนอังกฤษ)
Stay knowledge-hungry
JGC.
[How to] ภาษาอังกฤษเริ่มจากศูนย์ ต้องเริ่มตรงไหนมาดู! (Part 3)
เดินทางมาถึงตอนที่สามซะที เราได้ปูพื้นฐานที่สำคัญไปบ้างละในสองพาร์ทที่ผ่านมา พาร์ทนี้มันจะเริ่มลงลึกมากขึ้นแล้วนะ!
วันนี้ผมจะพูดถึง
- Diphthong หรือสระประสม
- Present simple และ past simple tense รวมไปถึงหลักแกรมมาร์ของ verb ในภาษาอังกฤษ
- ช่องยูทูปสำหรับฝึกแกรมมาร์และโฟเนติค
หวังว่าจะไม่มีใครคิดว่าโฟเนติคมันเป็นเรื่องไกลตัวนะ เพราะจริง ๆ แล้วเราควรเรียนมาตั้งแต่เด็กแล้ว! (มีน้อง มีลูก มีหลานให้รีบเอาไปสอนเลย ฮ่า ๆ)
โอเค มาเริ่มกันดีกว่า
Let's roll!
_______________
1. อ่านให้ออก
อย่างที่บอกไว้ในตอนที่แล้ว พาร์ทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ "Diphthong" หรือ "สระควบ" (บางตำราเรียก 'สระประสม')
Diphthong (อ่านว่า ดิฟ-ธอง /ˈdɪf.θɒŋ/) คือสระที่เกิดจากการเอาสระสองตัวมารวมกันเป็นสระตัวเดียว (a combination of two adjacent vowel sounds within the same syllable)
เช่นสระ เอีย ที่เกิดจากการรวมของสระ อี + เออะ (fear = fee-uh / near = nee-uh etc.)
สระ อาว ที่เกิดจากการรวมกันของสระ อา + อุ (now = nah-wu / loud = lah-wud)
หรือสระ อัว ที่เกิดจากการรวมกันของสระ อู + อา
วันนี้มาทำรู้จักพวกมันคร่าว ๆ ต่อไปเวลาเจอจะได้เริ่มสังเกต
1.1 ในภาษาอังกฤษมีดิฟธองหรือสระผสมอยู่ประมาณ 9 ตัว (แล้วแต่สำเนียง บางสำเนียงอาจมีเยอะหรือน้อยกว่านี้) ได้แก่
/eɪ/ as in 'pay' = สระเอ้(ยิ) [เอ้ + อิ]
/ɔɪ/ as in 'boy' = สระอ้อย [อ้อ + อิ]
/aɪ/ as in 'why' = สระอ้าย [อ้า + อิ]
/əʊ/ as in 'know' = สระเอ้อว [เออะ - อุ] (ออกเสียง เอ้อ-วู แบบเร็ว ๆ ไปเรื่อย ๆ จะกลายเป็นเสียงสระ 'โอ้ว' ในที่สุด นั่นแหละคือสระโอที่ถูกต้องในภาษาอังกฤษ)
/aʊ/ as in 'how' = สระอ้าว [อ้า + อุ]
/ɪə/ as in 'here' = สระ
/eə/ as in 'bear' = สระแอ้ [เอ้ะ + เออะ]
/ʊə/ as in 'tour' = สระอั้ว [อู + อา]
ลองออกเสียงสระสองตัวที่อยู่ในช่อง [ ] แบบเร็ว ๆ แล้วมันจะกลายเป็นเสียง diphthong แบบถูกต้องเอง ดังนั้นควรกลับไปฝึกบ่อย ๆ!
1.2 จะเห็นว่าเราสามารถแบ่ง Diphthong ออกเป็น 3 กลุ่มคือ
- กลุ่มที่ลงท้ายด้วย /-ɪ/ มักจะเป็นสระที่ลงท้ายด้วย -y เช่น play, say, boy, toy, why, sky ให้จำไว้เลยว่าสระพวกนี้จะมีเสียง 'อิ' หรือ 'ยิ' ลงท้าย ได้แก่สระ เอ้(ยิ), อ้อย(ยิ), อ้าย(ยิ)
- กลุ่มที่ลงท้ายด้วย /-ʊ/ มักจะเป็นสระที่ลงท้ายด้วย -w เช่น low, show, cow, how ให้จำไว้เลยว่ามีเสียง 'อุ' หรือ 'วุ' ลงท้ายนิดหน่อย ได้แก่สระ เอ้อว(วุ) หรือโอ้ว(วุ) และ อ้าว(วุ)
- กลุ่มที่ลงท้ายด้วย /-ə/ มักจะเป็นสระที่สะกดด้วย 'สระสองตัว' และ 'ตัว r' เช่น fear, deer, there, care ให้จำไว้เลยว่าสระพวกนี้มีเสียง 'เออะ' ลงท้ายนิดหน่อย ได้แก่สระ
ดังนั้นหากเจอคำที่มีเสียงสระประสมเหล่านี้ ก็ต้องออกให้มันเป็น diphthong ด้วย (พูดง่าย ๆ คือให้มีเสียงสระลงท้ายด้วยนิดหน่อย!)
ฝึกให้คล่อง ลงท้ายเสียงสระให้ถูก แล้วสำเนียงการอ่านจะดีขึ้นเยอะมาก
1.3 ที่นี้เราก็ต้องจำว่า Diphthong เหล่านี้มักจะถูกสะกดด้วยพยัญชนะอะไรบ้าง
เช่นสระ /ʊə/ (อั้ว) ก็มักจะถูกสะกดด้วย -our หรือ -ure (เช่น tour, your, sure, obscure etc.)
หรือสระ /ɔɪ/ (อ้อย) ที่มักจะถูกสะกดด้วย -oy หรือ -oi (เช่น toy, boy, point, voice etc.)
สรุปแล้วสิ่งที่เราต้องจำให้ได้คือตัวโฟเนติคและตัวสะกดเวลาไปอยู่ในคำศัพท์จริง ๆ ถามว่าเยอะมั้ย? ก็เยอะ ถามว่าจำเป็นต้องจำให้ได้ทั้งหมดมั้ย? ก็ไม่ เอาเป็นว่าหมั่นทบทวนไปวันละนิดก็พอ
วันนี้เอาคร่าว ๆ ก่อน พาร์ทหน้าเราจะมาเจาะลึกไปทีละตัวเลย!
_______________
2. แกรมมาร์สำคัญที่ควรรู้ไว้
ในเซคชั่นแกรมมาร์ตอนที่แล้วเราเรียนเรื่อง Adjective และ Adverb และทำความเข้าใจหน้าที่และตำแหน่งของมันในประโยค
วันนี้มาทำความเข้าใจแกรมมาร์สำคัญอีกสองหัวข้อคือ Present simple และ Past simple
2.1 เริ่มจาก Concept ง่าย ๆ ก่อนคือ ทุกครั้งที่เราแต่งประโยคต้องมีประธานและกริยา (Subject + Verb) ส่วนกรรมจะมีหรือไม่ก็แล้วแต่บริบท
แต่ตรงนี้ต้องระวังนิดหน่อยคือเวิร์บบางตัวจำเป็นต้องมีกรรมเสมอเช่น love, give, buy etc. เราเรียกมันว่า 'transitive verb' โครงสร้างประโยคจึงต้องเป็น Subject + verb + object เสมอ ส่วนเวิร์บบางตัวไม่ต้องมีกรรมเช่น cry, work, sleep etc. เราเรียกกริยาเหล่านี้ว่า 'intransitive verb' และก็ยังมีเวิร์บที่เป็นได้ทั้งสองกลุ่มด้วย!
กลับมาที่เรื่อง Tense ปัญหาหลัก ๆ ของการเรียน tense คือ 'กริยา' นี่แหละ เพราะในภาษาอังกฤษมันมีการ 'ผันกริยา' เกิดขึ้นเวลาที่เราแต่งประโยคตาม tense ต่าง ๆ (กริยาต้องเปลี่ยนตามเวลาที่เหตุการณ์นั้นเกิด!)
Tense ที่ง่ายที่สุดก็คือ Present simple นี่แหละ เพราะมันใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มันเลยจะเป็น tense ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ ซึ่งจะตรงข้ามกับ Past simple ที่ใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วในอดีต ซึ่งเป็น tense ที่ใช้บ่อยเหมือน เพราะมันใช้พูดเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมา (และใช้นินทาว่าใครไปทำอะไรมา!)
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเข้าใจสองเทนส์นี้ดีแล้ว เลยขอยกตัวอย่างแบบเปรียบเทียบไปเลยละกัน
- He knows John very well. (พูดถึงการรู้จักที่ 'ตอนนี้ก็ยังรู้จักอยู่')
- He knew John when he was in high school. (พูดถึงการรู้จักครั้งแรกที่ 'เกิดขึ้นในอดีต')
- I love Susan and we are meant to be. (พูดถึงความรักที่ 'ตอนนี้ก็ยังรักอยู่')
- I loved her but we were not meant to be. (พูดถึงความรักที่ 'มันจบไปแล้วในอดีต' ตอนนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว! หลายคนอาจได้ใช้ tense ในวันวาเลนไทน์นี้ (เอ่า ดราม่าเฉย))
- We don't go to school on Sundays. (ไม่ได้ไปโรงเรียนทุกวันอาทิตย์อยู่แล้ว พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำ)
- We didn't go to school last Sunday. (พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว คือพวกเราไม่ได้ไปโรงเรียน)
2.2 จากข้างบนเราจะเห็นว่ากริยามีทั้งการเติม -s เติม -ed และเปลี่ยนรูปด้วย (know กลายเป็น knew) นี่แหละที่เราเรียกว่าการผันกริยา
คงไม่ต้องพูดถึงแล้วมั้ง น่าจะอ่านกันมาเยอะละ สรุปให้ง่าย ๆ เลยละกัน
- ใน Present tense หากประธานเป็น
- แต่หากกริยาของ
- สุดท้าย หากกริยาของประธาน
เราเรียกแกรมมาร์เรื่องนี้ว่า 'Subject-verb agreement'
2.3 แต่หากประโยคเป็น Past simple ก็ง่าย ๆ เลยคือเติม -ed ให้กริยาด้วย เช่น He walked me home last night. / We used to be good friends. / She turned off the light and went to sleep.
ใน past simple เรายังต้องระวังกริยาบางกลุ่มที่ไม่ได้ผันโดยใช้หลักการเติม -ed ด้วย เราเรียกมันว่า 'Irregular verb' เป็นกริยาที่เปลี่ยนรูปไปเลย เช่น You sang quite well this morning. (sing) / How come you broke my heart so easily? (break) / Yes, you did! (do)
ไม่ยากไม่ง่าย แม่นไม่แม่นวัดกันที่ใครอ่านและฝึกฝนมาเยอะกว่ากัน!
_______________
3. ฝึกฟังและเก็บคำศัพท์
มาถึง section สุดท้าย วันนี้ (หรือหลังจากนี้) ให้เราเข้าไปฟังยูทูปเหล่านี้
3.1 อาจารย์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่อง Irregular verb (https://www.youtube.com/watch?v=4be5ARBawVU)
คนนี้ผมไม่ค่อยรู้จักหรอก แต่เห็นคลิปเขาพูดชัดถ้อยชัดคำดี และสรุปไว้ง่าย ๆ ด้วย เลยอยากให้ไปดู
3.2 อาจารย์ชาวอังกฤษสรุป Tense ทั้งหมดให้ฟัง (https://www.youtube.com/watch?v=84jVz0D-KkY)
คนนี้ผมแนะนำให้ติดตามช่องยูทูปเขาไว้เลย ชื่อช่องว่า 'Anglo-link' ส่วนมากจะพูดถึงการออกเสียงให้ถูกต้อง (สำเนียง UK แบบเป๊ะ ๆ เลย) และข้อผิดพลาด หรือ mistake ที่เราอาจจะเผลอทำตอนพูดหรือแต่งประโยคภาษาอังกฤษ เข้าไปฟังบ่อย ๆ จะทำให้เราแม่นทั้งแกรมมาร์ทั้งสกิลการออกเสียง
3.3 อาจารย์ขาวอังกฤษพูดถึง Tense ที่เราใช้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน (https://www.youtube.com/watch?v=vXABB4tBBUU)
คนนี้ก็เป็นอีกคนที่แนะนำ โดยเฉพาะใครที่สนใจเรื่อง Phonetics เพราะเขาจัดเต็มมาก สรุปมาให้ฟังทุกเสียงทุกสระ รวมไปถึง diphthong ที่เราพูดถึงในกระทู้นี้ด้วย (แต่ต้องไปนั่งเสริชหาหน่อยนะ เพราะเขามีหลายวิดีโอ) ชื่อช่องยูทูปของเขาคือ 'English Language Club'
สำหรับวันนี้ก็แค่นี้แหละ ใครที่ตามอ่านตั้งแต่พาร์ทหนึ่งก็น่าจะได้พื้นฐานที่สำคัญ ๆ ไปเยอะแล้วนะ แต่ยังไงก็อย่าลืมกลับไปทบทวนด้วย
สุดท้ายก็เหมือนเดิม 'ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ รู้มากกว่าเมื่อวานก็พอ!' ใครอ่านจบแบบไม่ข้ามก็น่าจะได้ความรู้เพิ่มมาบ้างแหละน่า นิด ๆ หน่อย ๆ ค่อย ๆ เก็บไป เป็นกำลังใจให้ครับ (เข้าไปฟังยูทูปด้วยนะ)
รู้ภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกวันที่: https://www.facebook.com/MyFathersAnEnglishMan/ (Page: พ่อผมเป็นคนอังกฤษ)
Stay knowledge-hungry
JGC.