ว่าด้วยเรื่อง CE marking บนการ์ดที่ อยู่ในเสื้อการ์ด, กางเกง หรืออุปกรณ์ขับขี่มอเตอร์ไซค์ หรือที่ท่านๆทั้งหลายเรียกว่า Riding Gear

ต้องขอออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รอบรู้เรื่องนี้ แต่แค่อยากจะแชร์ในสิ่งที่ผมรู้และเข้าใจว่ามันเป็นอย่างนี้ และผมน้อมรับทุกความคิดเห็น และมูลที่แตกต่างกัน ถือว่าเรามาแชร์สิ่งที่เรารู้ก็แล้วกันนะครับ

CE มาจากภาษาฝรั่งเศส Conformité Européene จริงๆแล้วมันก็คือมาตรฐานอย่างหนึ่งของฝั่งยุโรป ประมาณว่าถ้าไม่มีสัญลักษณ์ นี้สินค้าของคุณก็ไม่สามารถขายในยุโรปได้ หรือถ้าเข้าไปขายได้ผู้อุปโภค บริโภคอาจจะมองว่าเป็นสินค้าที่ด้อยคุณภาพอะไรประมาณนี้ (ถ้าเป็นฝั่งอเมริกาก็คือ UL ของไทยเราก็จะเป็น มอก. หรือ อย. อะไรประมาณนี้แหละครับ)
แล้วทำไมมันต้องมาอยู่บนการ์ด เสื้อการ์ด Riding gear ต่างๆละ ไอ้เจ้า CE marking มันครอบคลุมสินค้าหลายประเภท หลักๆ ก็จะมี 1. เครื่องจักรกล 2. ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ 3. เครื่องมือแพทย์ 4. ของเล่นเด็ก และ
5. อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอกภัยส่วนบุคคล ทีนี้พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมละครับว่ามันเกี่ยวกับ Riding gear ยังไง ใช่แล้วครับมันคือข้อ 5 ที่ผมไฮไลท์ไว้นั้นแหละครับ
Cr. ข้อมูลเพิ่มเติมตามลิ้งข้างล่าง
https://www.medica-tradefair.com/…/CE_Marking_93_68_EEC_Dir…
บ้างคนอาจจะมีคำถามว่า อ้าว...แล้วทำไมไม่ใช้มาตรฐานอื่นละทำไมต้องเป็น CE อันนี้ผมเข้าใจว่า มันน่าจะมาจากการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ รายการใหญ่ๆที่คนทั่วโลกรู้จัก มันมาจากฝั่งยุโรป เช่น Motor GP หรือ TT isle of man ซึ่งผู้สนับสนุนการแข่งขันส่วนหนึ่งก็จะเป็นผู้ผลิตชุดนักแข่ง ถุงมือ รองเท้า หมวกกันน็อก ก็คืออุปกรณ์ Safety ส่วนบุคคลว่างั้นเถอะ แล้วผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็อยู่ในยุโรป หรือถ้าประเทศอื่นอยากมาสนับสนุนบ้าง แสงดว่าคุณต้องเข้ามาขายในยุโรป อย่างแรกเลยที่สินค้าของคุณต้องมีคือ CE marking อันเนี่ยเลยทำให้มาตรฐาน CE ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก แต่จริงๆแล้วมาตรฐานอื่นก็มี เช่นของญี่ปุ่นก็เป็น Js ถ้าใครใช้หมวกกันน็อก Arai หรือ Shoei ลองดูข้างในหมวกก็จะเห็นสัญลัษณ์ Js
ที่นี้เรามารู้จักข้อกำหนดลูกของเจ้า CE marking ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ มันก็คือ EN1621 (EN: European norm หรือ European standard) ซึ่งภายใต้ชื่อ EN1621 มันน่าจะมีรายระเอียดปลีกย่อยเยอะแยะ แต่ที่หลักๆที่ผมเข้าใจมันมีอยู่ 2 แบบที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์
1. EN1621-1 เป็นมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับทุกส่วนของร่างกาย เช่น ศีรษะ หัวไหล่ ข้อศอก มือ ก้น เข่า ขา เท้า ยกเว้นหลัง
2. EN1621-2 เป็นมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหลังหรือกระดูกสันหลัง (อันนี้ไม่แน่ใจว่าว่าทำไมเขาถึงแยกออกมา)
ที่นี้มาเข้าประเด็นของเราว่าไอ้ CE ที่เขาพูดๆกันว่า CE approved level 1 หรือ CE approved level 2 มันคืออะไร มันบอกอะไรเรา มันมาอยู่ในเสื้อเรา แล้วมันทำให้เราปลอดภัยจริงหรือ
อย่างแรกเลยมาทำความเข้าใจ level 1 และ level 2 กันก่อน CE level 1, level 2 เนี่ยมันก็มีกรอบที่เอาไว้กำหมดคุณสมบัติ ขอบเขตการยอมรับของมัน โดยผ่านการทดสอบจนได้ข้อสรุป ซึ่งเป็นที่ยอมรับของเชี่ยวชาญ (ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร แพทย์...) แล้วนำมาเซตเป็นมาตรฐาน จริงๆแล้วมันคือความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกแล้วส่งผ่านไปยังวัตถุที่อยู่อีกด้านของอุปกรณ์ป้องกันนั้นๆ
Cr.
https://en.wikipedia.org/wiki/Motorcycle_armor
การทดสอบคือการปล่อยวัตถุหนัก 11 lbs (4.99 Kg )ที่ความสูงไม่ต่ำกว่า 6 ft (180 Cm) ลงบนการ์ด หรืออุปกรณ์ที่ต้องการทดสอบ โดยมีความเร็วในการตกกระทบที่ 4.47 m/s ทั้งหมด 9 ครั้ง แล้ววัดแรงที่เกิดจากการตกที่ส่งมาเครื่องมือวัด แล้วหาค่าเฉลี่ยต้องไม่เกิน 18 kN และในแต่ครั้งที่ทดสอบต้องไม่มีครั้งไหนที่ให้ค่าเกิด 24 kN นั้นคือ Level 1
ส่วนการทดสอบ Level 2 ก็เหมือนกับ Level 1 ครับ แต่ต่างกันที่ Specification คือ Level 2 ค่าเฉลี่ยของแรงที่ส่งมายังเครื่องมือวัดต้องไม่เกิน 9 kN และในแต่ครั้งที่ทดสอบต้องไม่มีครั้งไหนที่ให้ค่าเกิด 12 kN.
แสดงว่า Level 2 สามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดีกว่า Level 1 ตั้งครึ่งหนึ่ง นั้นคือเหตุผลว่าทำไม Level 2 ถึงแพงกว่า. นี้น่าจะพอให้เข้าใจในเรื่องของ Level 1 และ 2 แล้วนะครับ ฝรั่งมักจะพูดเสมอว่า
Level 1 is good but level 2 is better

Cr. ข้อมูลจากลิ้งนี้นะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=KTJF6kXKc10
สรุปคือ
CE level 1 แรงกระแทกที่ส่งผ่านไปยังวัตถุที่อยู่อีกด้านของอุปกรณ์ป้องกันนั้นๆ ต้องมีค่าเฉลี่ไม่เกิน 18 kN โดยที่ต้องไม่มีค่าไหนเกิน 24 kN จากการทดสอบทั้งหมด 9 ครั้ง
CE level 2 คือความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกแล้วส่งผ่านไปยังวัตถุที่อยู่อีกด้านของอุปกรณ์ป้องกันนั้นๆ ต้องมีค่าเฉลี่ไม่เกิน 9 kN โดยที่ต้องไม่มีค่าไหนเกิน 12 kN จากการทดสอบทั้งหมด 9 ครั้ง
อ่านจบแล้วอย่าลืมไปตรวจสอบเสื้อการโืตัวเก่งของคุณด้วยนะครับว่าเป็น level ไหน โอการต่อไปผมจะมาแชร์เรื่องของวัสดุที่ใช้ทำการ์ด
Note:ผิดพลาดประการใดก็กราบขออภัยไว้นะที่นี้ด้วยครับ แนะนำ ติชมได้ครับน้อมรับเพื่อรับปรุงและแก้ไขครับ
ว่าด้วยเรื่อง CE marking สำหรับไบค์เกอร์ (การ์ด)
ต้องขอออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รอบรู้เรื่องนี้ แต่แค่อยากจะแชร์ในสิ่งที่ผมรู้และเข้าใจว่ามันเป็นอย่างนี้ และผมน้อมรับทุกความคิดเห็น และมูลที่แตกต่างกัน ถือว่าเรามาแชร์สิ่งที่เรารู้ก็แล้วกันนะครับ
CE มาจากภาษาฝรั่งเศส Conformité Européene จริงๆแล้วมันก็คือมาตรฐานอย่างหนึ่งของฝั่งยุโรป ประมาณว่าถ้าไม่มีสัญลักษณ์ นี้สินค้าของคุณก็ไม่สามารถขายในยุโรปได้ หรือถ้าเข้าไปขายได้ผู้อุปโภค บริโภคอาจจะมองว่าเป็นสินค้าที่ด้อยคุณภาพอะไรประมาณนี้ (ถ้าเป็นฝั่งอเมริกาก็คือ UL ของไทยเราก็จะเป็น มอก. หรือ อย. อะไรประมาณนี้แหละครับ)
แล้วทำไมมันต้องมาอยู่บนการ์ด เสื้อการ์ด Riding gear ต่างๆละ ไอ้เจ้า CE marking มันครอบคลุมสินค้าหลายประเภท หลักๆ ก็จะมี 1. เครื่องจักรกล 2. ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ 3. เครื่องมือแพทย์ 4. ของเล่นเด็ก และ 5. อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอกภัยส่วนบุคคล ทีนี้พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมละครับว่ามันเกี่ยวกับ Riding gear ยังไง ใช่แล้วครับมันคือข้อ 5 ที่ผมไฮไลท์ไว้นั้นแหละครับ
Cr. ข้อมูลเพิ่มเติมตามลิ้งข้างล่าง
https://www.medica-tradefair.com/…/CE_Marking_93_68_EEC_Dir…
บ้างคนอาจจะมีคำถามว่า อ้าว...แล้วทำไมไม่ใช้มาตรฐานอื่นละทำไมต้องเป็น CE อันนี้ผมเข้าใจว่า มันน่าจะมาจากการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ รายการใหญ่ๆที่คนทั่วโลกรู้จัก มันมาจากฝั่งยุโรป เช่น Motor GP หรือ TT isle of man ซึ่งผู้สนับสนุนการแข่งขันส่วนหนึ่งก็จะเป็นผู้ผลิตชุดนักแข่ง ถุงมือ รองเท้า หมวกกันน็อก ก็คืออุปกรณ์ Safety ส่วนบุคคลว่างั้นเถอะ แล้วผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็อยู่ในยุโรป หรือถ้าประเทศอื่นอยากมาสนับสนุนบ้าง แสงดว่าคุณต้องเข้ามาขายในยุโรป อย่างแรกเลยที่สินค้าของคุณต้องมีคือ CE marking อันเนี่ยเลยทำให้มาตรฐาน CE ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก แต่จริงๆแล้วมาตรฐานอื่นก็มี เช่นของญี่ปุ่นก็เป็น Js ถ้าใครใช้หมวกกันน็อก Arai หรือ Shoei ลองดูข้างในหมวกก็จะเห็นสัญลัษณ์ Js
ที่นี้เรามารู้จักข้อกำหนดลูกของเจ้า CE marking ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ มันก็คือ EN1621 (EN: European norm หรือ European standard) ซึ่งภายใต้ชื่อ EN1621 มันน่าจะมีรายระเอียดปลีกย่อยเยอะแยะ แต่ที่หลักๆที่ผมเข้าใจมันมีอยู่ 2 แบบที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์
1. EN1621-1 เป็นมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับทุกส่วนของร่างกาย เช่น ศีรษะ หัวไหล่ ข้อศอก มือ ก้น เข่า ขา เท้า ยกเว้นหลัง
2. EN1621-2 เป็นมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหลังหรือกระดูกสันหลัง (อันนี้ไม่แน่ใจว่าว่าทำไมเขาถึงแยกออกมา)
ที่นี้มาเข้าประเด็นของเราว่าไอ้ CE ที่เขาพูดๆกันว่า CE approved level 1 หรือ CE approved level 2 มันคืออะไร มันบอกอะไรเรา มันมาอยู่ในเสื้อเรา แล้วมันทำให้เราปลอดภัยจริงหรือ
อย่างแรกเลยมาทำความเข้าใจ level 1 และ level 2 กันก่อน CE level 1, level 2 เนี่ยมันก็มีกรอบที่เอาไว้กำหมดคุณสมบัติ ขอบเขตการยอมรับของมัน โดยผ่านการทดสอบจนได้ข้อสรุป ซึ่งเป็นที่ยอมรับของเชี่ยวชาญ (ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร แพทย์...) แล้วนำมาเซตเป็นมาตรฐาน จริงๆแล้วมันคือความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกแล้วส่งผ่านไปยังวัตถุที่อยู่อีกด้านของอุปกรณ์ป้องกันนั้นๆ
Cr.
https://en.wikipedia.org/wiki/Motorcycle_armor
การทดสอบคือการปล่อยวัตถุหนัก 11 lbs (4.99 Kg )ที่ความสูงไม่ต่ำกว่า 6 ft (180 Cm) ลงบนการ์ด หรืออุปกรณ์ที่ต้องการทดสอบ โดยมีความเร็วในการตกกระทบที่ 4.47 m/s ทั้งหมด 9 ครั้ง แล้ววัดแรงที่เกิดจากการตกที่ส่งมาเครื่องมือวัด แล้วหาค่าเฉลี่ยต้องไม่เกิน 18 kN และในแต่ครั้งที่ทดสอบต้องไม่มีครั้งไหนที่ให้ค่าเกิด 24 kN นั้นคือ Level 1
ส่วนการทดสอบ Level 2 ก็เหมือนกับ Level 1 ครับ แต่ต่างกันที่ Specification คือ Level 2 ค่าเฉลี่ยของแรงที่ส่งมายังเครื่องมือวัดต้องไม่เกิน 9 kN และในแต่ครั้งที่ทดสอบต้องไม่มีครั้งไหนที่ให้ค่าเกิด 12 kN.
แสดงว่า Level 2 สามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดีกว่า Level 1 ตั้งครึ่งหนึ่ง นั้นคือเหตุผลว่าทำไม Level 2 ถึงแพงกว่า. นี้น่าจะพอให้เข้าใจในเรื่องของ Level 1 และ 2 แล้วนะครับ ฝรั่งมักจะพูดเสมอว่า Level 1 is good but level 2 is better
Cr. ข้อมูลจากลิ้งนี้นะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=KTJF6kXKc10
สรุปคือ
CE level 1 แรงกระแทกที่ส่งผ่านไปยังวัตถุที่อยู่อีกด้านของอุปกรณ์ป้องกันนั้นๆ ต้องมีค่าเฉลี่ไม่เกิน 18 kN โดยที่ต้องไม่มีค่าไหนเกิน 24 kN จากการทดสอบทั้งหมด 9 ครั้ง
CE level 2 คือความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกแล้วส่งผ่านไปยังวัตถุที่อยู่อีกด้านของอุปกรณ์ป้องกันนั้นๆ ต้องมีค่าเฉลี่ไม่เกิน 9 kN โดยที่ต้องไม่มีค่าไหนเกิน 12 kN จากการทดสอบทั้งหมด 9 ครั้ง
อ่านจบแล้วอย่าลืมไปตรวจสอบเสื้อการโืตัวเก่งของคุณด้วยนะครับว่าเป็น level ไหน โอการต่อไปผมจะมาแชร์เรื่องของวัสดุที่ใช้ทำการ์ด
Note:ผิดพลาดประการใดก็กราบขออภัยไว้นะที่นี้ด้วยครับ แนะนำ ติชมได้ครับน้อมรับเพื่อรับปรุงและแก้ไขครับ