ขอปรึกษา เรื่องเรียนลูกชายครับ

แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ม.1- ม.3 ผมให้ลูกสาวผมสอบเข้าเรียนห้องกิฟท์ (เพราะรู้ว่าลูกขี้เกียจ ไม่ค่อยอ่านหนังสือ) ถ้าอยู่ห้องกิฟท์ อยู่ในกลุ่มเด็กเรียนเก่งๆ น่าจะพอซึมซับได้บ้างไม่มากก็น้อย

ช่วง ม.ต้น ไม่ค่อยเข้มงวดเท่าไหร่ เกรดที่ได้จะอยู่ลำดับกลางๆ

พอลูกขึ้น ม.4 ก็ต้องเตรียมตัว ความเข้มมากขึ้น เพราะต้องรีบวางพื้นฐานสอบเข้ามหาวิทยาลัย
(ลูกสอบเข้าห้องกิฟท์ได้ แต่เป็นห้องสุดท้ายของแผนกนี้(วิทย์-คณิต))
ในช่วง ม.4 ผมวางแผนเคี่ยวเข็ญลูก ทำตารางให้ลูกอ่านหนังสือ
สั่งเค้าเหมือนเป็นเครื่องจักร ให้ทำตามตารางที่ผมวางไว้ด้วยคิดว่า ทำเพราะความหวังดี
วันไหนไม่ทำตามตาราง ก็จะไปบอกย้ำๆ จนลูกรำคาญ บางครั้งปิดประตูห้องดังปังใส่
จนผ่านไปถึง ม.5 เทอม 1 ผมเริ่มเห็นว่าวิธีที่ผมคิดว่าทำไปเพราะหวังดี มันกลับกลายเป็นผลเสียต่อลูกที่เรารัก
ลูกมีความเครียดสะสม ชอบเก็บตัว โลกส่วนตัวสูง  ไม่ค่อยได้เห็นรอยยิ้ม เค้าถูกบังคับมากเกินไป
ระยะห่างระหว่างพ่อกับลูก ห่างออกมากขึ้นเรื่อยๆ

(ระดับผลการเรียนของลูกผม อยู่ค่อนไปทางท้ายของห้อง)

ปกติผมวางตัวกับลูกเหมือนเพื่อน แต่ก็จะสลับกับบทบาทความเป็นผู้คุม(ที่ผมทำไปแบบไม่รู้ตัว)
ดังนั้นด้วยพฤติกรรมผมแบบนี้ จึงมีผลให้ลูกผม เป็นคนอารมณ์ปรวนแปร

" ผมมาผิดเส้นทาง ผมกำลังทำร้ายลูกโดยไม่ตั้งใจ "

พอถึง ม.5 เทอม 2 ผมเริ่มเปลี่ยนแปลงการดูแลลูก ใจเย็น มีสติ
-หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่นๆ
-สังเกตุสิ่งที่ลูกชอบว่าเค้าชอบวิชาอะไร เค้าชอบอ่านอะไร
-มองข้ามสิ่งที่ขัดหูขัดตาไปบ้าง บ่นให้น้อยลง
-ลองวางตัวนิ่งๆ ไม่ไปยุ่งวุ่นวายในชีวิตลูกมากเกินไป
-สิ่งไหนลูกทำไม่ได้หรือติดขัด ให้ลองเสนอยื่นมือเข้าไปช่วยแนะนำ
-เปิดใจคุยกับลูกว่าชอบอะไร อยากเรียนคณะไหนเพราะอะไร - (ลูกบอกว่าอยากเข้าอักษรจุฬา ชอบเรียนภาษาต่างๆ  ผมสะดุ้งโหยงในใจ เพราะรู้ว่ามันเป็นคณะที่คะแนนสูงและเข้ายากมากๆ แต่ก็อธิบายให้ลูกฟังว่าถ้าอยากจะเข้าก็ต้องเตรียมตัวหนักน่ะ ทำได้มั๊ย จากนั้นก็ไปค้นกูเกิ้ลว่า"สายวิทย์อยากเข้าอักษร" เค้าเตรียมตัวแบบไหนถึงจะเข้าได้ ก็ให้ลูกอ่านไว้เป็นต้นแบบการเตรียมตัว  ยากแค่ไหนก็อย่าเพิ่งไปปฏิเสธลูกครับ ต้องให้เค้าได้ลอง เพราะเด๋วนี้มหาวิทยาลัยมีการสอบตั้งหลายรอบ หลายต่อหลายคนเคยทำได้มาแล้ว)

ผลที่ได้คือ

-ลูกมีความสุขมากขึ้น ได้เห็นร้อยยิ้มบ่อยขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
-จากที่ชอบเดินข้างๆแม่ ช่วงหลังมักจะมาเดินข้างๆเรา (ผมก็แอบยิ้ม+ดีใจ ในใจน่ะครับ)
-บางครั้งลูกเดินเข้ามาขอคำปรึกษาจากเราเอง จากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  ลูกกล้าเข้ามาหาเราเองมากขึ้น
-การไม่เปรียบเทียบ ทำให้ลูกได้มีอิสระทางความคิด และเราต้องเริ่มถามลูกเราได้แล้วว่าชอบวิชาอะไร อยากเข้าเรียนคณะไหน แต่ถ้าลูกตอบว่าไม่รู้เหมือนกัน ก็ให้เราลองยกตัวอย่างคณะและวิชาชีพแต่ละวิชาชีพว่ามีข้อดียังงัยบ้างซัก2-3 วิชาชีพ
-ผมสังเกตุว่าลูกมีการจัดการการอ่านหนังสือไม่เป็นระบบเท่าไหร่ จึงทำตารางอ่านหนังสือให้เค้าลองอ่านตามดู พร้อมทั้งอธิบายว่าทำไมถึงต้องวางตารางแบบนั้นแบบนี้ ลูกอ่านหนังสือมากขึ้นครับ แต่ก็ไม่ถึงกับอ่านตามตารางเป๊ะๆ แต่ทำด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ทำเพราะถูกบังคับ
-ลูกผมชอบภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก อ่านหนังสือวิชานี้แล้วดูมีความสุข ชอบซื้อหนังสือภาษาอังกฤษมาอ่านเสมอๆ ฟังเพลงภาษาอังกฤษ แปลเพลง ทำให้วิชานี้ได้เกรด 4 มาโดยตลอด (ลูกผมไม่ชอบเรียนคำนวณเลยเรียกได้ว่าเข้าขั้นเกลียดก็ว่าได้ 5555+  คณิต ฟิสิกส์ ขออยู่ห่างๆ)  ม.5 เทอม 2 จึงได้เกริ่นกับลูกว่าถ้าชอบภาษาอังกฤษ อยากไปลองสอบวัดผลพวก CUTEP IELTS TOEFL BMAT มั๊ยเพราะอนาคตอาจได้ใช้ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้  ไปสอบก็ถือว่าไปเที่ยวในตัวด้วยเลย ปรากฏว่าลูกให้ความสนใจ
(ถึงตอนนี้ สรุปได้พาลูกไปสอบ CUTEP ครั้งเดียวที่ศูนย์สอบนครพนม สอบครั้งนั้นได้คะแนนสูงพอสมควร ทั้งๆที่แทบไม่ได้เตรียมตัว คิดว่าเป็นเพราะเค้าอ่านหนังสืออังกฤษสะสมมาเรื่อยๆ หลังปีใหม่กะว่าจะพาไปสอบตัวอื่นๆเพิ่ม)
-ระบบ Tcas62 ผมมองว่ามีผลดีกับนักเรียน มีรอบการยื่น Portfolio ใช้ความสามารถพิเศษในแต่ละด้าน เพื่อยื่นผลงานเข้าคณะต่างๆโดยไม่ต้องสอบข้อเขียน (สอบสัมภาษณ์อย่างเดียว) ผมวางแผนให้ลูกยื่นเข้าคณะเป้าหมายที่ใช้เกณฑ์ความสามารถทางภาษาอังกฤษ พวก CUTEP  จนได้ยื่นที่คณะของมหาวิทยาลัยนึง (ใช้เกณฑ์ CUTEP 60 คะแนนขึ้นไป)
รอบแรก-ผ่านเข้าสอบสัมภาษณ์
รอบต่อมา-สัมภาษณ์
วันนี้เพิ่งประกาศผล-ได้สิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้ครับ (ลูกผมผ่อนคลาย อารมณ์ดี มีรอยยิ้ม มีความสุขอย่างเห็นได้ชัด)

แต่คณะที่เค้าสนใจอยากเรียนมากที่สุดคือ อักษรศาสตร์ (ซึ่งต้องใข้คะแนนสูงและเข้ายากมาก) ผมจึงบอกว่าอยากเข้าอักษรก็ต้องอ่านหนังสือเยอะๆ ทำข้อสอบ ทำโจทย์มากๆ

ผมก็หาข้อมูลของเด็กสายวิทย์ที่สอบเข้าอักษรได้ว่าเค้าวางแผนการอ่านหนังสือยังงัยบ้าง ก็รวบรวมมาให้ลูกได้ดูเป็นแบบอย่าง หนังสือที่น่าสนใจ ก็พยายามหาซื้อมาให้ลูกได้อ่าน

ปลายมี.ค.ก็จะรู้คะแนน 9 วิชาสามัญ onet gat pat ทั้งหมด เมื่อรู้คะแนนแล้วก็จะรู้ว่าคะแนนที่เรามี พอจะยื่นเข้าคณะที่เรามุ่งหวังในรอบ 3 รอบ 4 รอบ 5 ได้หรือเปล่า
ถ้ามีหวัง ก็คงต้องสละสิทธิ์อันเดิม  แล้วลองยื่นคะแนนในแต่ละรอบลองดู
แต่ถ้าคะแนนดูแล้วไม่มีหวัง ก็ยังได้เรียนในรอบที่ยื่น  Portfolio ไว้

--------------------------------------------------------------------------------------------------

เหมือนคำที่พี่โน๊ต อุดม กล่าวไว้
เด็กๆก็เปรียบเสมือนผลไม้หลายๆชนิด ถ้าลูกเราเป็นมะม่วง  จะให้เค้าไปเป็นทุเรียนก็ไม่ใช่ มันไม่ได้
ดังนั้นเด็กแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันไป จะให้เหมือนกัน หรือเก่งเหมือนกันหมดเป็นไปไม่ได้

------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่สำคัญเราต้องเข้าใจในตัวลูกให้ได้
อย่าเอาความคาดหวังของเราไป ไปโยนให้ลูกแบกรับ

ลูกแต่ละคนลักษณะไม่เหมือนกัน ต้องดึงจุดเด่นออกมาให้ได้
และสนับสนุนในด้านนั้นๆ

การดูแลลูกต้องพยายามปรับแนวทางเข้าหากัน เราครึ่งนึงลูกครึ่งนึง
ทุกอย่างต้องอธิบายเหตุผลให้ลูกได้เข้าใจเสมอ

อย่าคิดว่าเราต้องถูกเสมอไป บางครั้งเราอาจจะผิดก็ได้

-----------------------------------------------------------------------------------

สมัยนี้อยากให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัย
ไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือหนักๆเสมอไปครับ
ยื่น Portfolio เข้าจะเบางานมากกว่า (ได้ที่เรียนก่อนแต่เนิ่นๆ เวลาที่เหลือจะอ่านหนังสือสอบรอบต่อไปหรือจะพอใจแค่นี้ก็แล้วแต่ตัวเด็ก)
ลูกอยากเรียนคณะไหน ก็ศึกษากฏเกณฑ์ที่คณะนั้นๆใช้
แล้วก็ให้ลูกทำตัวให้เข้ากฏเกณฑ์

ต้องเข้าใจในตัวลูกให้มากๆครับ เด็กสมัยนี้อยู่ในโลกของเทคโนโลยี และโลก social
ความคิดเห็นที่ 5
ผมเป็นลูกคุณคงเซ็งอะ ทำเต็มที่แล้ว คุณยังไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น
ทั้งๆที่คุณก็รู้ที่มาที่ไป ทำไมคนอื่นเค้าเกรดเยอะ  ตัวเลขก็ไม่ได้แย่
สอนให้ลูกเอาตัวรอด ดีกว่ามาตัดสินเค้าด้วยตัวเลขจากเกรดเถอะครับ
เด็กเริ่มโต ไม่ใช่ลูกเล็กๆอีกต่อไป คุณต้องเป็น เพื่อนที่เข้าใจเค้า
เป็นพ่อที่ปกป้องเค้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่