" หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อความพ้นทุกข์ "

หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อความพ้นทุกข์


ดูก่อนภิกษุ ท!

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฎิบัติไม่ผิด และ
ชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย

ธรรม3 ประการเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุ ท!

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีทั้งหลาย
เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
เป็นผู้ประกอบความเพียร


ดูก่อนภิกษุ ท!

ก็ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อย่างไร

ดูก่อนภิกษุ ท!

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้
ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ฟังเสียงด้วยหู แล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมโสตอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้
ย่อมรักษาโสตอินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในโสตอินทรีย์

ดมกลิ่นด้วยจมูก แล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมฆานอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้
ย่อมรักษาฆานอินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในฆานอินทรีย์

ลิ้มรสด้วยลิ้น แล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมชิวหาอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้
ย่อมรักษาชิวหาอินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในชิวหาอินทรีย์

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย แล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมกายอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้
ย่อมรักษากายอินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในกายอินทรีย์

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมโนอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้
ย่อมรักษามโนอินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมโนอินทรีย์

ดูก่อนภิกษุ ท!

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เหล่านี้แล



ดูก่อนภิกษุ ท!

ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ อย่างไร

ดูก่อนภิกษุ ท!

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหารไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่เพื่อจะประดับ ไม่ใช่เพื่อจะประเทืองผิว เพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ เพื่อจะให้กายนี้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความเบียดเบียนลำบาก เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความที่กายจักเป็นไปได้นาน ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่สำราญจักมีแก่เรา ดังนี้

ดูก่อนภิกษุ ท!

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ เป็นอย่างนี้แล


ดูก่อนภิกษุ ท!

ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียร อย่างไร

ดูก่อนภิกษุ ท!

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดยามต้นแห่งราตรี ตลอดยามกลางแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ช้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายอันจะลุกขึ้นไว้ในใจ ย่อมลุกขึ้น ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยาม

ดูก่อนภิกษุ ท!

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียร อย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุ ท!

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ประการ นี้แล ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด
และชื่อว่า เธอเป็นผู้ปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่