แตกประเด็นจาก
https://pantip.com/topic/37610222
ล้อเคลื่อนจากอุบลฯ กลางดึกเมื่อคืน
หยุดพักกินข้าวหลบพายุฝนสองครั้ง เพื่อความหล่อและความปลอดภัย
มาถึงเจียงฮาย เข้าที่พัก ส่องดูราชดำเนิน
ก็เห็นกระทู้นายอ่ำ ขอแจมครับขอแจม
หมายเรียก
ไม่มีอะไรหรอกครับ ก็แค่เรื่องหลัก "ไม่ฟังความข้างเดียว"
เมื่อมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ (แจ้งความเอาผิด) เจ้าพนักงานก็จะพิจารณาดูว่า
หลักฐานเพียงพอหรือไม่ หากไม่ ก็ไม่รับคำกล่าวโทษนั้น
หากเห็นว่าหลักฐานมีมูลเพียงพอ ก็จะสอบปากคำผู้ร้องทุกข์ พยาน
นั่นแหละ ขั้นต่อไปก็คือออกหมายเรียกถึงผู้ถูกกล่าวโทษ เพื่อสอบปากคำฟังความสองด้าน บันทึกในสำนวน
แน่นอนครับ เมื่อมีการกล่าวโทษ เจ้าพนักงานดูหลักฐานแล้ว พอเพียง
ก็ต้องฟังความสองด้าน ฟังหลักฐานสองฝ่าย สรุปสำนวน จะเห็นว่าควรฟ้องหรือไม่ควร แล้วส่งต่อไปยังอัยการ
อัยการครับ จะเป็นผู้พิจารณาสำนวนคดี แล้วมีคำสั่งว่าฟ้องหรือไม่ฟ้อง
หากฟ้อง ก็ไปสู่กันในชั้นศาล
ตรงนี้สำคัญนะครับ เมื่อถึงชั้นศาล หากคำกล่าวหาเป็นเท็จ หลักฐานมั่วปนเท็จ พนักงานสอบสวนเขาไม่รับรู้ด้วยนะครับ
คนนำเสนอหลักฐานเพื่อกล่าวโทษร้องทุกข์รับผิดชอบเองเต็ม ๆ จากจะเอาคนอื่นเข้าคุก ก็กลายเป็นตัวเองเข้าคุกซะเอง
ฉะนั้น ประเภทกร่าง อวด ๆ โม้ ๆ ว่าจะฟ้องคนนั้นคนนี้ ก็ให้รู้เรื่องซะบ้าง ไม่งั้นจะกลายเป็น ให้คุกแก่ท่าน คุกนั้นถึงตัว
หรือกร่าง อวดเก่ง เอาแต่หลอกตัวเองหลอกพวกว่า แค่คดีหมิ่นประมาท เล็กน้อย ไม่ได้ฆ่าใครซะหน่อย
ก็ให้รู้ตัวให้มาก ๆ ว่ากำลังพาตัวเองและพวกไปสู่ความบันได
จตุพรตอนนี้ยังอยู่ในเรือนจำครับ เพราะคดีหมิ่นประมาทนี่แหละ ทั้งที่เป็นประเด็นสาธารณะ
ประเด็นสาธารณะยังโดน เรื่องระหว่างบุคคลสาธารณะยังโดน แล้วเรื่องที่เป็นส่วนบุคคลล่ะ มีสิทธิ์ไหม ?
คิดเอาเอง
เรื่องส่วนบุคคลนี่ เรื่องหมิ่นประมาทกฎหมายมีหลักอยู่ว่า ยิ่งจริงยิ่งผิด
อย่าไปคิดว่า เอาความจริงมาพูดจะผิดอะไรนะครับ
เห็นเขาเล่นชู้กัน แล้วเอามาพูด ก็ทำให้คนเล่นชู้เขาเสียหาย กฎหมายดูแค่นี้ครับ ไม่ได้ดูว่าจริงหรือเท็จ
นี่แหละหลัก ยิ่งจริงยิ่งผิด
แต่ก็อาจได้รับความเมตตาจากศาล จากนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า 220 โวลท์ เหลือ 110 โวลท์
อันนี้ล้อเล่นนะครับ
และหากการกระทำให้คนอื่นเสียหายเป็นการกระทำผ่านทางเน็ต หรือสื่ออื่นใด
คือหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาเต็ม ๆ ครับ
และหากการกระทำให้ผู้อื่นเสียหายนั้นเป็นความเท็จ
ก็ไม่แน่ว่า จะผิดข้อหานำข้อความอันเป็นเท็จทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยหรือไม่
คดีหมิ่นประมาท หากเป็นเรื่องของบุคคล ไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงครับ
พิสูจน์แค่ว่า เกิดความเสียหายหรือไม่เท่านั้น
ต่างกับคดีหมิ่นบุคคลสาธารณะ ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง
ก็รอดตัวไป
มีหมายเรียก ปฏิเสธไม่ได้ครับ
ไม่ไปตามหมายเรียก โดนหมายจับฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
หมายจับ
ที่ต่อเรื่องหมายจับนี่ ไม่มีอะไรหรอกครับ
แค่อยากบอกใครบางคน พวกบางพวกว่า เลิกเลอะเทอะมโนแบบไม่รู้เรื่องกันซะที
คือมีคนบางพวก แถว่า เมื่อมีหมายจับ ทำไมต้องไปชี้ ไปแจ้ง ไปบอกให้ตำรวจมาจับ
ทำไมไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการปกติ คือให้เป็นเรื่องของตำรวจ เมื่อมีการชี้ตัวให้ตำรวจจับ ก็คือการแกล้งกัน
นี่เรียกว่า มโนแบบไม่รู้ประสา
ตำรวจ หากไม่ใช่คดีใหญ่ สำคัญ เขาไม่มีเวลามามองหาคนผิดตามหมายจับหรอกครับ
หรือต่อให้คดีใหญ่ คดีสำคัญ ตำรวจก็แทบไม่มีเวลา
ไม่ใช่มีหมายจับแล้ว ตำรวจเขาจะพกหมายจับไปเดินมองหาตามจับ
หมายจับ ไม่มีอายุความ มีผลตลอด ทั่วประเทศ
จะหมดฤทธิ์ ก็ต่อเมื่อคดีหมดอายุความ
หมายจับ ก็คือเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวโทษ ผู้ต้องหา จำเลย มาเข้าสู่กระบวนการ
ทีนี้ ในชั้นพนักงานสอบสวนที่ผู้ถูกกล่าวโทษไม่มาพบเจ้าพนักงานตามหมายเรียก
ก็ต้องออกหมายจับ เมื่อมีหมายจับ คู่กรณีเขาก็ต้องอยากให้ตำรวจจับให้ได้เพื่อนำตัวเข้าสู่กระบวนการ
หากปล่อยให้เป็นเรื่องของตำรวจฝ่ายเดียว ตำรวจคดีเยอะ หมายจับมีไม่รู้เท่าไร ใครเป็นใคร
ก็ไม่รู้เมื่อไรจะได้ตัวผู้ถูกกล่าวโทษมาเข้าสู่กระบวนการ
เสียเวลา
มีหมายจับ ผู้กล่าวโทษจึงชอบธรรมที่จะชี้ตัว พาตำรวจไปจับผู้ถูกกล่าวโทษมาเข้าสู่กระบวนการ
ไม่ใช่จะมาอ้างว่า ปล่อยให้เป็นเรื่องของตำรวจสิ
เพราะไม่รู้เมื่อไรตำรวจจะจับได้ ดีไม่ดี ลืม หลง หมดอายุความเอาง่าย ๆ
เรื่องกฎหมาย เป็นเรื่องหลักกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องความคิด ความรู้สึก
ป.วิ อาญา มี เจ้าพนักงานต้องเดินตามเป๊ะ หาไม่แล้วเจ้าพนักงานจะติดคุกซะเอง
ฉะนั้น เลิกมโนซะทีว่ามีการกลั่นแกล้งกันยังงั้นยังงี้ เลิกเอาแค่ความรู้สึกว่า
ให้เอาความรู้ หลักกฎหมาย ว่า
จำไว้
สวัสดีเจียงฮาย ขอแตกประเด็นเรื่องหมายเรียกจากกระทู้นายอ่ำ และแถมเรื่องหมายจับสักนิดครับ ...... โดย สุดหล่อ
ล้อเคลื่อนจากอุบลฯ กลางดึกเมื่อคืน
หยุดพักกินข้าวหลบพายุฝนสองครั้ง เพื่อความหล่อและความปลอดภัย
มาถึงเจียงฮาย เข้าที่พัก ส่องดูราชดำเนิน
ก็เห็นกระทู้นายอ่ำ ขอแจมครับขอแจม
หมายเรียก
ไม่มีอะไรหรอกครับ ก็แค่เรื่องหลัก "ไม่ฟังความข้างเดียว"
เมื่อมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ (แจ้งความเอาผิด) เจ้าพนักงานก็จะพิจารณาดูว่า
หลักฐานเพียงพอหรือไม่ หากไม่ ก็ไม่รับคำกล่าวโทษนั้น
หากเห็นว่าหลักฐานมีมูลเพียงพอ ก็จะสอบปากคำผู้ร้องทุกข์ พยาน
นั่นแหละ ขั้นต่อไปก็คือออกหมายเรียกถึงผู้ถูกกล่าวโทษ เพื่อสอบปากคำฟังความสองด้าน บันทึกในสำนวน
แน่นอนครับ เมื่อมีการกล่าวโทษ เจ้าพนักงานดูหลักฐานแล้ว พอเพียง
ก็ต้องฟังความสองด้าน ฟังหลักฐานสองฝ่าย สรุปสำนวน จะเห็นว่าควรฟ้องหรือไม่ควร แล้วส่งต่อไปยังอัยการ
อัยการครับ จะเป็นผู้พิจารณาสำนวนคดี แล้วมีคำสั่งว่าฟ้องหรือไม่ฟ้อง
หากฟ้อง ก็ไปสู่กันในชั้นศาล
ตรงนี้สำคัญนะครับ เมื่อถึงชั้นศาล หากคำกล่าวหาเป็นเท็จ หลักฐานมั่วปนเท็จ พนักงานสอบสวนเขาไม่รับรู้ด้วยนะครับ
คนนำเสนอหลักฐานเพื่อกล่าวโทษร้องทุกข์รับผิดชอบเองเต็ม ๆ จากจะเอาคนอื่นเข้าคุก ก็กลายเป็นตัวเองเข้าคุกซะเอง
ฉะนั้น ประเภทกร่าง อวด ๆ โม้ ๆ ว่าจะฟ้องคนนั้นคนนี้ ก็ให้รู้เรื่องซะบ้าง ไม่งั้นจะกลายเป็น ให้คุกแก่ท่าน คุกนั้นถึงตัว
หรือกร่าง อวดเก่ง เอาแต่หลอกตัวเองหลอกพวกว่า แค่คดีหมิ่นประมาท เล็กน้อย ไม่ได้ฆ่าใครซะหน่อย
ก็ให้รู้ตัวให้มาก ๆ ว่ากำลังพาตัวเองและพวกไปสู่ความบันได
จตุพรตอนนี้ยังอยู่ในเรือนจำครับ เพราะคดีหมิ่นประมาทนี่แหละ ทั้งที่เป็นประเด็นสาธารณะ
ประเด็นสาธารณะยังโดน เรื่องระหว่างบุคคลสาธารณะยังโดน แล้วเรื่องที่เป็นส่วนบุคคลล่ะ มีสิทธิ์ไหม ?
คิดเอาเอง
เรื่องส่วนบุคคลนี่ เรื่องหมิ่นประมาทกฎหมายมีหลักอยู่ว่า ยิ่งจริงยิ่งผิด
อย่าไปคิดว่า เอาความจริงมาพูดจะผิดอะไรนะครับ
เห็นเขาเล่นชู้กัน แล้วเอามาพูด ก็ทำให้คนเล่นชู้เขาเสียหาย กฎหมายดูแค่นี้ครับ ไม่ได้ดูว่าจริงหรือเท็จ
นี่แหละหลัก ยิ่งจริงยิ่งผิด
แต่ก็อาจได้รับความเมตตาจากศาล จากนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า 220 โวลท์ เหลือ 110 โวลท์
อันนี้ล้อเล่นนะครับ
และหากการกระทำให้คนอื่นเสียหายเป็นการกระทำผ่านทางเน็ต หรือสื่ออื่นใด
คือหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาเต็ม ๆ ครับ
และหากการกระทำให้ผู้อื่นเสียหายนั้นเป็นความเท็จ
ก็ไม่แน่ว่า จะผิดข้อหานำข้อความอันเป็นเท็จทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยหรือไม่
คดีหมิ่นประมาท หากเป็นเรื่องของบุคคล ไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงครับ
พิสูจน์แค่ว่า เกิดความเสียหายหรือไม่เท่านั้น
ต่างกับคดีหมิ่นบุคคลสาธารณะ ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง
ก็รอดตัวไป
มีหมายเรียก ปฏิเสธไม่ได้ครับ
ไม่ไปตามหมายเรียก โดนหมายจับฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
หมายจับ
ที่ต่อเรื่องหมายจับนี่ ไม่มีอะไรหรอกครับ
แค่อยากบอกใครบางคน พวกบางพวกว่า เลิกเลอะเทอะมโนแบบไม่รู้เรื่องกันซะที
คือมีคนบางพวก แถว่า เมื่อมีหมายจับ ทำไมต้องไปชี้ ไปแจ้ง ไปบอกให้ตำรวจมาจับ
ทำไมไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการปกติ คือให้เป็นเรื่องของตำรวจ เมื่อมีการชี้ตัวให้ตำรวจจับ ก็คือการแกล้งกัน
นี่เรียกว่า มโนแบบไม่รู้ประสา
ตำรวจ หากไม่ใช่คดีใหญ่ สำคัญ เขาไม่มีเวลามามองหาคนผิดตามหมายจับหรอกครับ
หรือต่อให้คดีใหญ่ คดีสำคัญ ตำรวจก็แทบไม่มีเวลา
ไม่ใช่มีหมายจับแล้ว ตำรวจเขาจะพกหมายจับไปเดินมองหาตามจับ
หมายจับ ไม่มีอายุความ มีผลตลอด ทั่วประเทศ
จะหมดฤทธิ์ ก็ต่อเมื่อคดีหมดอายุความ
หมายจับ ก็คือเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวโทษ ผู้ต้องหา จำเลย มาเข้าสู่กระบวนการ
ทีนี้ ในชั้นพนักงานสอบสวนที่ผู้ถูกกล่าวโทษไม่มาพบเจ้าพนักงานตามหมายเรียก
ก็ต้องออกหมายจับ เมื่อมีหมายจับ คู่กรณีเขาก็ต้องอยากให้ตำรวจจับให้ได้เพื่อนำตัวเข้าสู่กระบวนการ
หากปล่อยให้เป็นเรื่องของตำรวจฝ่ายเดียว ตำรวจคดีเยอะ หมายจับมีไม่รู้เท่าไร ใครเป็นใคร
ก็ไม่รู้เมื่อไรจะได้ตัวผู้ถูกกล่าวโทษมาเข้าสู่กระบวนการ
เสียเวลา
มีหมายจับ ผู้กล่าวโทษจึงชอบธรรมที่จะชี้ตัว พาตำรวจไปจับผู้ถูกกล่าวโทษมาเข้าสู่กระบวนการ
ไม่ใช่จะมาอ้างว่า ปล่อยให้เป็นเรื่องของตำรวจสิ
เพราะไม่รู้เมื่อไรตำรวจจะจับได้ ดีไม่ดี ลืม หลง หมดอายุความเอาง่าย ๆ
เรื่องกฎหมาย เป็นเรื่องหลักกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องความคิด ความรู้สึก
ป.วิ อาญา มี เจ้าพนักงานต้องเดินตามเป๊ะ หาไม่แล้วเจ้าพนักงานจะติดคุกซะเอง
ฉะนั้น เลิกมโนซะทีว่ามีการกลั่นแกล้งกันยังงั้นยังงี้ เลิกเอาแค่ความรู้สึกว่า
ให้เอาความรู้ หลักกฎหมาย ว่า
จำไว้