คุณพ่อที่ไม่ยอมรับในตัวลูกอาจการสร้างภาวะความวิตกกังวลในการเข้าสังคมและความโดดเดี่ยวให้กับลูก



การรักษาระดับความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและการสร้างความรู้สึกที่ดีถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการพัฒนาวัยรุ่น สอดคล้องกับนักวิจัยหลายคนจาก Penn ได้กล่าวว่า การที่คุณพ่อไม่ยอมรับในตัวลูกอาจนำไปสู่ความวิตกกังวลในการเข้าสังคมและทำให้พวกเขาโดดเดี่ยวขึ้นมา

นักวิจัยพบว่าวัยรุ่นหลายคนที่ประสบปัญหากับการไม่ได้รับการยอมรับจากคุณพ่อมีแนวโน้มที่จะเกิดความวิตกกังวลในการเข้าสังคมในเวลาต่อมา และนำไปสู่การที่พวกเขาจะต้องอยู่โดดเดี่ยวมากขึ้น

“พวกเราคาดการณ์ได้ว่าการที่คุณพ่อไม่ยอมรับในตัวลูกที่เป็นวัยรุ่นจะนำไปสู่ความวิตกกังวลในการเข้าสังคมมากขึ้น แม้ว่าพวกเราสามารถควบคุมภาวะความวิตกกังวลการเข้าสังคมได้ในช่วงก่อนหน้านี้ ในทางกลับกันก็คาดได้ว่าวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะอยู่โดดเดี่ยวในช่วงต่อมา” Mak กล่าว “ข้ออธิบายนี้ก็ชี้ว่าคุณพ่อที่ไม่ยอมรับในความคิดทัศนคติของลูกที่เป็นวัยรุ่นอาจจะทำให้วัยรุ่นเกิดความวิตกกังวลในสถานการณ์ทางสังคมขึ้นมา ซึ่งในทางกลับกันก็จะยิ่งทำให้พวกเขาอยู่โดดเดี่ยวในสังคมมากขึ้น”

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับวัยรุ่น สอดคล้องกับงานวิจัยของนักวิจัยหลายคนก่อนหน้านี้ที่ชี้ให้เห็นว่า วัยรุ่นที่มีชีวิตทางสังคมที่ดีมีแนวโน้มที่จะมีภาวะสุขภาพร่างกายแข็งแรง ในขณะเดียวกันปัญหาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีก็มีแนวโน้มที่จะที่ทำให้พวกเขามีแนวโน้มเรียนแย่และนำไปสู่ภาวะความกดดันต่างๆเข้ามา

“วัยรุ่นที่ประสบความสำเร็จจะมีมุมมองไปในทางด้านบวก การสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาทางด้านจิตใจวัยรุ่น” กล่าวโดย Fosco “ความสัมพันธ์ต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขามีความคิดที่เป็นอิสระและค้นพบตัวเองจากโลกภายนอกได้”

นักวิจัยหลายคนได้กล่าวว่า ภาวะความวิตกกังวลในการเข้าสังคมมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านการเข้าสังคมของวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวลที่มาจากความกลัวต่อการถูกตัดสินไปในทางด้านลบ และมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมหรือเกิดความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง

Mak กล่าวว่าพวกเขาจะต้องเรียนรู้เรื่องของการไม่ยอมรับของผู้ปกครองกับผลกระทบที่มีต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวให้มากๆตลอดจนถึงเรื่องของการอยู่โดดเดี่ยวและความวิตกกังวลในการเข้าสังคม

นักวิจัยได้โฟกัสครอบครัว 687 ครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วยพ่อแม่และลูกที่เป็นวัยรุ่น โดยพวกเขาดูพัฒนาการของเด็กในช่วงม.1-3 เพื่อที่จะทำการศึกษาพัฒนาการของพวกเขา

ในแต่ละช่วงเวลานั้น นักวิจัยหลายคนได้ประเมินว่าพ่อแม่ที่ไม่ยอมรับลูกก็จะถูกทำการสอบถามเกี่ยวกับเรื่องของความรัก ความไม่เชื่อใจและความไม่พึงพอใจที่มีต่อลูก เช่นกันผู้ปกครองก็ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับภาพรวมของครอบครัวและเล่าเกี่ยวกับความวิตกกังวลในการเข้าสังคมของลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเป็นมิตรกับความโดดเดี่ยว

หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ทางด้าน Fosco ก็พบว่า มีปัจจัยหลักๆอยู่ 3 อย่างด้วยกันก็คือ พ่อไม่ยอมรับ แม่ไม่ยอมรับและภาพรวมของครอบครัวที่คาดได้ว่าส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความสัมพันธ์ของลูกวัยรุ่นและทำให้พวกเขาอยู่โดดเดี่ยว เขากล่าวว่าปกติแล้วการที่ผู้ปกครองไม่ยอมรับจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนภาวะทางสังคมไปในทางที่แย่และครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางครอบครัวอย่างกลมเกลียวและทำให้ลูกไม่อยู่โดดเดี่ยว

Mak กล่าวว่า เช่นกันการไม่ยอมรับของคุณพ่อต่อลูกที่อยู่ชั้นม.1 ก็มีแนวโน้มที่จะมีความวิตกกังวลต่อการเข้าสังคมมากขึ้นเมื่อพวกเขาเรียนชั้นม.2 นอกจากนั้นแล้วพวกเขาก็พบอีกด้วยว่า ความวิตกกังวลในชั้นม.2 คาดว่าทำให้พวกเขาโดดเดี่ยวมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ชั้นม.3

“พวกเราพบว่าพ่อที่ไม่ยอมรับ แม่ที่ไม่ยอมรับและภาพรวมของครอบครัวส่งผลต่อลูกที่เป็นวัยรุ่นมาก ทั้งความสัมพันธ์กับการอยู่โดดเดี่ยว” กล่าวโดย Mak “นอกจากนั้นแล้วพวกเรายังพบอีกด้วยว่า หากคุณพ่อไม่ยอมรับ แต่แม่ยอมรับก็อาจจะคาดได้ว่าทำให้ลูกมีความวิตกกังวลในการเข้าสังคม ปกติแล้วคุณพ่อก็ไม่ค่อยอยู่ในส่วนหนึ่งของงานวิจัยเกี่ยวกับครอบครัว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับคุณพ่อมากขึ้นและทำความเข้าใจอิทธิพลของคุณพ่อที่มีต่อลูกที่เป็นวัยรุ่นทั้งความสัมพันธ์กับการอยู่โดดเดี่ยว”

สอดคล้องกับนักวิจัยหลายคน พวกเขาพบว่าเรื่องนี้มีแนวทางที่นำไปสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้นโดยจะต้องช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีความวิตกกังวลในการเข้าสังคมและส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคุณพ่อกับลูกมากขึ้น

“บ่อยครั้งเมื่อพวกเราได้พยายามเข้าไปช่วยเหลือและส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เป็นด้านบวก พวกเราก็จะต้องมาโฟกัสในเรื่องของสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ความสัมพันธ์กับผู้คนในโรงเรียนก่อน” Fosco กล่าว “ผมคิดว่าการค้นพบต่างๆเหล่านี้ก็ชี้ว่า พวกเราจะต้องทำการส่งเสริมให้ความช่วยเหลือไปในทางเดียวกัน พวกเราอาจจะต้องทำการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับครอบครัวดียิ่งขึ้น”

ผู้แปล : Mr.lawrence10

ที่มา : sciencedaily.com

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่