กฎหมายคุ้มครองการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

กระทู้คำถาม
กฎหมายคุ้มครองการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

    ที่มาของการตั้งกฎหมายถึงรูปแบบที่กฎหมายแสดงออกมาในทางนิติศาสตร์ นอกจากกฎหมายที่บัญญัติขึ้นแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์แบบแผนความประพฤติของคนในสังคมบางอย่างที่มิได้บัญญัติขึ้นแต่มีผลบังคับเป็นกฎหมายได้ ในระบบกฎหมายไทยเมื่อพิจารณาจากประมวล“เมื่อไม่มีกฎหมายมี่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นนั้นให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มี ให้พิจารณาตามหลักทั่วไป”จะเห็นได้ว่าที่มาของกฎหมายประเทศไทยสามารถแบ่งแยกได้๒ประเทศเภท คือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นและกฎหมายที่มิได้บัญญัติขึ้น
    ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากมายที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีระเบียบกฎหมายเพื่อใช้อยู่ร่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการการควบคุมความประพฤติของมนุษย์แลกะช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้สังคมไม่ให้เกิดความวุ่นวาย และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
    บทบาทหน้าที่ของการกก่อตั้งกำหมายให้มีขึ้นนั้น ก็เพื่อจัดระเบียบสังคม ทั้งยังช่วยรักษาความมั่นคงให้รัฐ ระงับข้อพิพาทประสานผลประโยชน์ทั้งร่วมบุคคลและส่วนรวม ช่วยพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือรักษาระเบียบการของสังคม เมื่อสังคมมีระเบียบจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ความหมายของกฎหมาย
    กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการใช้ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมที่ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความยุติธรรม กฎหมายคือตัวกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิ หน้าที่ คือละเสรีภาพในสังคมตลอกจนการป้องกันสิทธิ ผลประโยชน์ของประชาชน มีนักปราชญ์หลายท่านได้ให้ความหลายไว้หลายนัย หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า กฎหมายได้แก่ ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ อริสโตเติล ได้อธิบายว่ากฎหมายคือข้อบังคับRule ซึ่งประกอบด้วยเหตุผลReason ของชุมชน โดยมีลักษณะที่ทำให้สิ่งต่างๆ ที่มี ความขัดแย้งอยู่ร่วมกันได้ และก่อให้เกิดสันติสุขขึ้นในสังคม กฎหมายคือบรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคลอันเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ



มาตรากฎหมายคุ้มครองการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
    พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง
        พระราชบัญญัติ คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ สำหรับกระบวนการในการตราพระราชบัญญัตินั้น ร่างพระราชบัญญัติ มี ๒ ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติทั่วไป และร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน การเสนอร่างพระราชบัญญัติ กระทำได้ ๓ ทางคือ
    (๑) โดยคณะรัฐมนตรี
    (๒) โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งต้องให้พรรคการเมือง ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดนั้นมีมติให้เสนอให้ และต้องมีสมาชิดสภาผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่า ๒๐ คนรับรอง แต่ถ้าเป็นร่าง พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ ต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
    (๓) โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ คน
เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา๑
    พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา๒
    พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓
    “ความรุนแรงในครอบครัว” หมายความว่า การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึง การกระทำโดยประมาท
มาตรา๔
    ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ให้ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่ลบล้างความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น
มาตรา๕
    ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ที่พบเห็นหรือทราบการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว มีหน้าที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
การแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้กระทำโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง
มาตรา๖
    การแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕ อาจกระทำโดยวาจา เป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็นการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือได้รับแจ้งตามมาตรา ๕ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ที่เกิดเหตุ เพื่อสอบถามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานที่นั้น เกี่ยวกับการกระทำที่ได้รับแจ้ง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา๗
    ถ้ามิได้มีการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕ หรือมิได้มีการร้องทุกข์ตามมาตรา ๖ ภายในสามเดือนนับแต่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในวิสัยและมีโอกาสที่จะแจ้งหรือร้องทุกข์ได้ ให้ถือว่า คดีเป็นอันขาดอายุความ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
มาตรา๘
    ในกรณีที่การกระทำความผิดตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดตามกฎหมายอื่น ให้ดำเนินคดีความผิดตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง ต่อศาลรวมไปกับความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น เว้นแต่ความผิดตามกฎหมายอื่นนั้นมีอัตราโทษสูงกว่า ให้ดำเนินคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น โดยให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา๙
    เมื่อมีการแจ้งตามมาตรา ๕ หรือมีการร้องทุกข์ตามมาตรา ๖ แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดลงพิมพ์ โฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งภาพ เรื่องราว หรือข้อมูลใด ๆ อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในคดีตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา๑๐
    ในการดำเนินการตามมาตรา ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีฐานะเทียบได้ไม่ต่ำกว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่บุคคลผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นการชั่วคราว ไม่ว่าจะมีคำร้องขอจากบุคคลดังกล่าวหรือไม่ โดยให้มีอำนาจออกคำสั่งใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็นและสมควร ซึ่งรวมถึง การให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ การให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้นตามสมควรแก่ฐานะ การออกคำสั่งห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้าไปในที่พำนักของครอบครัวหรือเข้าใกล้ตัวบุคคลใดในครอบครัว ตลอดจนการกำหนดวิธีการดูแลบุตร
มาตรา ๑๑
    ในกรณีที่เหตุการณ์หรือพฤติการณ์เกี่ยวกับผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง หรือเพิกถอนคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ หรือคำสั่งใด ๆ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมก็ได้
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๒
ในกรณีที่ศาลพิพากษาว่า ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวมีความผิดตามมาตรา ๔ ศาลมีอำนาจกำหนดให้ใช้วิธีการฟื้นฟู บำบัดรักษา คุมความประพฤติผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำความผิดชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทำงานบริการสาธารณะ ละเว้นการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือทำทัณฑ์บนไว้ ตามวิธีการและระยะเวลาที่ศาลกำหนด แทนการลงโทษผู้กระทำความผิดก็ได้
มาตรา ๑๓
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดให้มีระบบงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการบังคับให้เป็นไปตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ โดยกำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๔
    วิธีพิจารณา การยื่น และการรับฟังพยานหลักฐาน หากพระราชบัญญัตินี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๕
    ไม่ว่าการพิจารณาคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ยอมความกัน โดยมุ่งถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ ประกอบด้วย
มาตรา ๑๖
    เพื่อประโยชน์ในการยอมความในคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือศาล แล้วแต่กรณี อาจตั้งผู้ประนีประนอม ประกอบด้วย บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งเป็นบิดา มารดา ผู้ปกครอง ญาติของคู่ความ หรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลเห็นสมควร เพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ยอมความกัน หรืออาจมอบหมายให้นักสังคมสงเคราะห์ หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลใดช่วยเหลือไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ยอมความกันก็ได้
มาตรา ๑๗
    ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำรายงานประจำปีแสดงจำนวนคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวนคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ และจำนวนการละเมิดคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาล และจำนวนการยอมความ และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเพื่อทราบปีละครั้ง
มาตรา ๑๘
    ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและระเบียบ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ








สิทธิคุ้มครองเมื่อถูกกระทำในครอบครัว
    ๑.สิทธิในการได้รับการบริการตรวจรักษา และให้คำปรึกษา
    ๒.สิทธิในการร้องทุกข์ดำเนินคดีเพื่อดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด ฐานกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
    ๓.สิทธิในการร้องขอรับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
    ๔.สิทธิในการดำเนินคดีต่อผู้กระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
    ๕.สิทธิในการมีจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ตนร้องขอร่วมอยู่ด้วยในการสอบปากคำเพื่อให้คำปรึกษา
    ๖.สิทธิในการขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เบื้องต้นเป็นการชั่วคราวให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
.สิทธิในการยอมความ
    ๗.สิทธิได้รับความคุ้มครองไม่ให้ผู้ใดลงพิมพ์โฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีใดๆ (ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเรามักพบว่า สื่อบางกลุ่มมักจะไม่ให้ความสำคัญในจุดนี้ โดยมีการเปิดเผยชื่อนามสกุลของผู้เสียหาย และผู
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่