สวัสดีค่ะ ช่วงนี้รู้สึกว่ามีคนเริ่มสนใจทำเลสิค LASIK กันมากขึ้น
บวกกับเจ้าของกระทู้เพิ่งไปทำเลสิคที่รพ.กลางมาได้ 1 สัปดาห์
โดยก่อนหน้าที่จะไปทำ ก็หาข้อมูลมาสักพัก มีบางช่วงที่กลัวบ้าง เพราะไม่แน่ใจว่าขั้นตอนการทำเป็นอย่างไร
หลังจากทำจะมี effect อะไรบ้าง
วันนี้ เลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ และข้อมูลต่างๆ ที่เคยหา ให้เพื่อนๆ ที่สนใจใช้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจกันค่ะ
จขกท ไม่ได้เป็นหมอ อาจจะใช้คำศัพท์ผิดถูกบ้าง ขออภัยนะคะ
LASIK ใช้แก้ไขปัญหาทางสายตาเรื่องใดได้บ้าง
1. สายตาสั้น (Myopia or nearsightedness)
2. สายตายาว (Hyperopia or farsightedness) ถ้าสายตายาวจากอายุ (Presbyopia) อาจต้องถามรายละเอียดเพิ่มเติมค่ะ เหมือนเคยเห็นว่าทาง รพ.กรุงเทพสามารถทำ LASIK สายตายาวตามอายุได้ แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากปกติ
3. สายตาเอียง (Astigmatism)
สิ่งที่ต้องเตรียม
1. เตรียมใจ กล้าๆ เข้าไว้ค่ะ การทำ LASIK ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ แต่ต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงหลังการผ่าตัดด้วยนะคะ เหมือนกับการผ่าตัดทั่วไปค่ะ มีความเสี่ยงหมด
2. เตรียมเงิน

3. เตรียมตา ถึงแม้ว่า 2 คนบนจะพร้อมแล้ว แต่ถ้าตาเราไม่ผ่านการประเมินสภาพสายตา ก็ไม่สามารถทำได้นะคะ ข้อนี้ลุ้นมากค่ะ ทั้งความหนากระจกตา ความโค้ง และรูม่านตา
คุณสมบัติคนที่เหมาะรับการรักษาด้วย LASIK
1. ควรมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
2. มีสายตาคงที่หรือเปลี่ยนไม่เกิน 50 ( 0.5 D) อย่างน้อย 1 ปี
3. ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
4. มีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อภาวะเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจมีได้
5. ไม่เป็นโรคต้องห้ามในการทำ LASIK เช่น ต้อหิน กระจกตาอักเสบ
6. ไม่อยากใส่แว่นหรือ Contact lense (ปกติจขกทใส่ Contact lense รายวันสลับกับแว่น)
LASIK คืออะไร
LASIK (Laser-Assisted In Situ Keratomileusis) เป็นการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติโดยการแยกชั้นกระจกตาด้านบนออก
แล้วใช้ Laser ปรับเปลี่ยนความโค้งกระจกตาด้านล่าง แล้วปิดกระจกตาด้านบนกลับมาที่เดิม
LASIK มี 3 แบบ
1. PRK (Photorefractive Keratectomy)
เป็นการใช้ขูดผิวกระจกตา (Cornea) ด้านนอกออก โดยไม่มีการแยกชั้นกระจกตา และใช้ laser ปรับความโค้งกระจกตา หลังจากนั้นจึงใส่ contact lense ไว้เพื่อสมานแผล เหมาะกับผู้ที่สายตาสั้นหรือยาวไม่มาก หรือมีกระจกตาบาง และบางอาชีพ
2. Femto LASIK or Bladeless LASIK
เป็นการใช้ laser 2 ชนิดเพื่อแก้ไขสายตา เหมาะสำหรับคนที่มีกระจกตาหนากว่า 500 โดยใช้ femtosecond laser (FS: 10
-15 second) เป็น infrared laser ซึ่งมี wavelength 1053nm มีความเร็วสูง ใช้พลังงานต่ำไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงบริเวณที่ถูก laser ใช้เพื่อแยกชั้นกระจกตา (Cornea flap) แทนการใช้ Microkeratome แล้วจึงใช้ excimer laser เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาด้านล่าง และปิดชั้นกระจกตาด้านบนกลับมาที่เดิม ไม่ต้องเย็บแผล
3. ReLEx (Refractive Lenticule Extraction) SMILE
เป็นการรักษาโดยใช้แค่ femtosecond laser อย่างเดียว ไม่มีการแยกชั้นกระจกตา (flapless) ซึ่งจะยิงเข้าไปที่กระจกตาถึงกระจกตาด้านในที่จะปรับความโค้ง และเปิดกระจกตาด้วยรูที่มีขนาดเล็กมาก 2-5 mm แล้วนำกระจกตาด้านในที่จะปรับความโค้งออกจากรูเล็กๆ ดังกล่าว การรักษาประเภทนี้รบกวนกระจกตาน้อยมาก หายไว ตาแห้งน้อย แสงกระจายน้อย



Ref:
http://www.herzig-eye.com/blog/medical-information/benefits-of-smile-the-newest-generation-of-laser-vision-correction/
หลังจากที่ทราบประเภทเลสิคคร่าวๆ เราจะมาต่อกันด้วยขั้นตอนการทำเลสิค
เริ่มตั้งแต่การประเมิน ตรวจสภาพตา จนถึงขั้นตอนการผ่าตัดค่ะ
เนื่องจาก จขกท ทำที่ รพ.กลางและตั้งใจว่าจะทำแบบ Femto อย่างเดียว ด้านล่างจะเป็นขั้นตอนของ รพ.กลางนะคะ
แต่หลักๆ แล้วไม่น่าต่างกันมากกับที่อื่น
ปล. จขกท ทำเลสิคกับคุณหมอเม เมธินี จงเจริญ คุณหมอน่ารักค่ะ อธิบายละเอียด และสามารถสอบถามพูดคุยจนกว่าเราจะรู้สึกสบายใจได้เลยค่ะ คุณหมอทำ LASIK อยู่ที่ TRSC ด้วยนะคะ
http://lasik.klanghospital.go.th/th
โทรสอบถามข้อมูล
หลังจากที่ตัดสินใจว่าจะทำที่รพ.กลาง จขกทโทรสอบถามรายละเอียดกับทางโรงพยาบาล ที่เบอร์ 0-2220-8000 ต่อ 11641-2 หรือ 085-8088831 ว่าถ้าจะทำเลสิคมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ได้ความว่าให้เข้ามาวัดความหนากระจกตาก่อนว่าหนาพอทำเลสิคหรือไม่ จขกทก็นัดและดูตารางคุณหมอเมเลยค่ะ คุณหมอเข้าวันจันทร์ จึงไปวันจันทร์ค่ะ
วันนัดตรวจความหนากระจกตา
พอถึงวันนัดจขกท.โทรไป confirm อีกรอบค่ะ ว่าให้เข้าไปกี่โมง ศูนย์เลสิค อยู่ชั้น 16 ของ รพ.กลางค่ะ มีตึกเดียว
ก่อนมาตรวจควรปฎิบัติตามข้อแนะนำด้านล่างค่ะ เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำและประสิทธิภาพในการทำเลสิค
1. ผู้ที่ใส่ contact lenses แบบนิ่ม (Soft lens) ควรถอดล่วงหน้า 3-7 วัน
2. ผู้ที่ใส่ contact lenses แบบแข็ง (Hard lens) ควรถอดล่วงหน้า 14-30 วัน
การตรวจความหนาของกระจกตา ถ้าความหนาผ่านถึงจะตรวจละเอียดเพื่อทำเลสิคต่อไป
1. ทางรพ.กลางจะมีช่วงเวลาให้คนไข้ใหม่เข้ามาตรวจความหนากระจกตาได้ช่วงเวลา 13.00-14.30 ถ้ามาเร็ว ก็ได้ตรวจเร็ว ที่นี่เรียงคิวแบบ FIFO First come First serve ค่ะ
2. จขกท ไปก่อนบ่ายโมง ก็นั่งรอพี่ๆ พยาบาลพักเที่ยงค่ะ
3. พอบ่ายโมง ก็แจ้งที่ Counter ได้เลยค่ะ ว่ามาตรวจความหนากระจกตาเพื่อดูว่าทำเลสิคได้หรือไม่
4. พี่พยาบาลจะพาไปวัดสายตา วัดความดันตา และวัดความหนากระจกตา ถ้าหนาเกิน 500 ก็ถือว่าทำ femto ได้ค่ะ จขกท ซ้าย 575 กับขวา 590 ไมครอน ผ่านค่ะ ดีใจมาก พี่พยาบาลที่พาไปตรวจชื่อพี่มน ตรวจและอธิบายละเอียดมาก อ่านผลตรวจแล้วอธิบายได้อย่างกับคุณหมอเลยค่ะ จขกท. ชื่นชมค่ะ บวกกับการบริการด้วย โอเคมาก
5. ตอนแรก จขกท ตั้งใจว่าจะมาตรวจแค่นี้ แล้วค่อยหาวันมาตรวจละเอียด แต่พี่พยาบาลเชียร์ค่ะ บอกว่าไหนๆ ก็มาแล้ว วันนี้คุณหมอก็ลง ตรวจละเอียดเลยมั้ย เสร็จไม่เกินทุ่มนึง วันนี้ไม่ได้ขับรถมาใช่มั้ย นั่งคิดสักพัก ก็ตอบตกลงไปค่ะ


เนื่องจาก จขกท ตรวจความหนากระจกตาเบื้องต้นเสร็จเร็ว ถ้าจะตรวจประเมินสภาพสายตาแบบละเอียดต้องรอประมาณบ่ายสาม
ในระหว่างนี้พี่พยาบาลจึงทำประวัติคนไข้ และสอบถามรายละเอียดว่าสายตาสั้นมานานหรือยัง ปกติใช้คอมกี่ชม ใส่แว่นหรือ contact lense ทำไมถึงอยากทำเลสิค ปกติขับรถตอนที่สว่างหรือมืดมากกว่ากัน เบอร์ติดต่อคนไข้ และเบอร์สำรอง
เมื่อทำประวัติเสร็จ พี่พยาบาลก็ดูตารางผ่าตัดของคุณหมอ ตารางผ่าตัดคุณหมอแน่นมาก พี่พยาบาลถามว่ารีบมั้ย ถ้ารีบจะให้ผ่าวันพุธเลย เพราะมีแค่ 2 เคส จากปกติ 5 เคส แต่ จขกท ไม่ว่าง บวกกับรู้สึกกระทันหันเกินไป จึงเลือกเป็นวันศุกร์บ่ายแทนค่ะ คุณหมอเมลงตรวจประจำวันจันทร์ และมีบ้าง บางสัปดาห์ที่เข้าพุธกับศุกร์ พี่พยาบาลบอกว่าแอบแทรกคิวให้ มีติดดาวสัญลักษณ์อะไรไว้ในแฟ้มด้วยค่ะ
ถ้าสุดท้ายผลตรวจประเมินสภาพสายตาไม่ผ่าน พี่เค้าก็จะมาเลื่อนคิวออกไปให้ค่ะ เสร็จแล้วก็ให้ไปนั่งดู Video อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับ LASIK และการตรวจประเมินสภาพสายตา แล้วปล่อยให้เราพัก รอเวลาบ่ายสามค่อยกลับมาก็ได้ค่ะ
การตรวจและประเมินสภาพสายตา
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตรวจ 500 บาท
2. ค่าบริการผู้ป่วยนอก 50 บาท
ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. มีการหยอดยาขยายม่านตาด้วย จะเห็นแสงจ้าๆ หน่อย จะให้ญาติมารับกลับก็ได้นะคะ แต่จขกทกลับ taxi
รายละเอียดการตรวจ อาจมีสลับขั้นตอนไปบ้าง จขกท เพิ่งมาเขียนตอนผ่านไป 1 สัปดาห์ อาจหลงๆ ไปบ้าง ขออภัย
พอก่อนบ่ายสามนิดหน่อย จขกท กลับขึ้นมาที่ชั้น 16 พี่พยาบาลคนเดิมจะเอาป้ายชื่อเรามาให้ติดเสื้อ และพาไปตรวจค่ะ
ตรวจอะไรบ้าง
1. วัดสายตา (Auto Refraction) สั้น ยาว เอียง เท่าไหร่ มองลูกบอลลูน เหมือนเวลาไปร้านแว่นตา ขวา 6.25 เอียง 1.25, ซ้าย 5.25 เอียง 1.00
2. วัดความดันตา (Auto Tension : IOP Intra ocular pressure) เพื่อดูการไหลเวียนของของเหลวในลูกตา ว่าอยู่ในระดับปกติและไม่มีโรคทางสายตา โดยจะมีลมเป่าออกมาที่ลูกตา ไม่มีการสัมผัสลูกตา มีสะดุ้งเล็กน้อยค่ะ ความดันตาปกติ คือ 12 - 20 mmHg ค่ะ
3. วัดระยะการมองเห็น (Visual Acuity) ให้อ่านตัวเลข ปิดตาอ่าน ทีละข้าง พี่พยาบาลจะขอแว่นตาเราเพื่อนำไปวัดสายตาของแว่นด้วยค่ะ
4. วัดความถนัดของตา ว่าตาข้างใดเป็นตาเด่น (Dominant Eye) มีผลตอนผ่าตัดค่ะ เนื่องจากตาข้างที่เด่นจะชัดกว่าข้างที่ด้อย หลังจากที่ผ่าตัดค่ะ เพราะเราจะใช้ตาข้างที่เด่นในการมองไกลเป็นหลัก เช่นการเล็งเป้าเมื่อยิงปืน วิธีการทดสอบค่ะ
1. ให้ใช้มือทั้งสองข้างประกอบกันเป็นรุปสามเหลี่ยมแล้วยื่นไปข้างหน้าตรงๆ และเล็งที่วัตถุใดวัตถุหนี่ง
2. ลองทดสอบปิดตาทีละข้าง จะมีข้างนึงที่เห็น ซึ่งเป็นตาเด่น และอีกข้างไม่เห็น เป็นตาข้างที่ด้อยกว่า
3. หรือให้ลองเลื่อนมือที่ทำเป็นรูปสามเหลี่ยมเข้ามาหาตาเรา หัวตั้งตรงนะคะ มือเราจะค่อยๆ เลื่อนมาทางตาข้างที่เด่นเองค่ะ

5. วัดความโค้งกระจกตาส่วนหน้าและส่วนหลัง (Pentacam ยี่ห้อ SCHWIND SIRIUS) เครื่องนี้จะมีจุดแดงๆ ตรงกลางให้มอง แล้วเครื่องจะหมุนรอบตาเรา มีเส้นลายทาง คล้ายๆ เขาวงกตไฟสีแดง
6. วัดความหนาของกระจกตา (Pachymetry) เครื่องนี้ลืมตาค้างไว้ประมาณ 5 วิ สู้แสงค่ะ แอบตาแห้ง
7. วิเคราะห์สภาพสายตา (wavefront analyzer ยี่ห้อ SCHWIND)
8. วัดปริมาณน้ำตา (Schirmers Test) พี่พยาบาลจะหยอดยาชาแล้วเอากระดาษมาแปะที่กระพุ้งตาด้านล่าง ตรงหางตา แสบๆ นิดนึงค่ะ และตาก็จะรู้สึกตึงๆ จากยาชา ระดับปกติคือ > 15 mm

9. หยอดยาขยายม่านตา เพื่อตรวจจอประสาทตาและลดการเพ่งของตา
10. วัดความดันตา ด้วยวิธี Applanation tonometer มีการสัมผัสลูกตา โดยการตวรจอันนี้พี่พยาบาลจะให้ไปนอนบนเตียง แล้วเอาอุปกรณ์มาแตะที่ตาเรา เมื่อวัดเสร็จจะมีเสียงติ๊ดค่ะ
ขั้นตอนหลังจากนี้จะเป็นคุณหมอแทนพี่พยาบาลแล้วค่ะ
11. ตรวจสภาพจอประสาทตา หรือ Retina ซึ่งประกอบไปด้วย เซลล์รับรู้การมองเห็น ที่จะแปลงภาพส่งผ่านไปยังเส้นใยประสาทตา โดยการตรวจจะอาศัยการดูจากช่องของรูม่านตา
12. วัดการมองเห็นหลังขยายม่านตา โดยจะให้เราถอดแว่นและวัดสายตาโดยการเปรียบเทียบค่าสายตาตามเลนส์ที่คุณหมอปรับไปเรื่อยๆ เหมือนตอนตัดแว่นค่ะ ครั้งนี้จะตรวจละเอียดนิดนึง เนื่องจากจะใช้สายตาตรงนี้ในการทำเลสิค แต่วันทำเลสิคจะตรวจวัดค่าสายตาแบบนี้อีกครั้ง แต่ไม่ขยายม่านตานะคะ หากค่าสายตาไม่คลาดเคลื่อนจากครั้งนี้มากนัก ถึงจะทำเลสิค
13. หลังจากนั้น คุณหมอก็จะอ่านผลการตรวจอื่นๆ แล้วก็คุยกับเราว่าเราทำแบบไหนได้ ของ จขกท สั้นเยอะ ทำได้แต่ femto จ้ะ ทำ PRK ไม่ได้ ซึ่งก็กะว่าจะทำแบบนี้อยู่แล้ว แล้วก็อธิบายความเสี่ยงเรื่องการกระเจิงของแสง สอบถามประวัติว่าปกติขับรถกลางคืนบ่อยมั้ย เพราะการกระเจิงของแสงอาจทำให้เห็นแสงแตก หรือกระจายหลังจากทำ ปกติเมื่อเทียบระหว่างแว่นกับ contact lense ใส่แว่นชัดกว่าใช่มั้ย ใช่ค่ะ เพราะ จขกท มีเอียงด้วย แล้วคุณหมอก็บอกว่ามีตาแห้งนิดหน่อย สงสัยอะไรเรื่องการผ่าตัดก็ถามคุณหมอได้เลยค่ะ
[CR] Review การทำ LASIK รพ. กลาง
บวกกับเจ้าของกระทู้เพิ่งไปทำเลสิคที่รพ.กลางมาได้ 1 สัปดาห์
โดยก่อนหน้าที่จะไปทำ ก็หาข้อมูลมาสักพัก มีบางช่วงที่กลัวบ้าง เพราะไม่แน่ใจว่าขั้นตอนการทำเป็นอย่างไร
หลังจากทำจะมี effect อะไรบ้าง
วันนี้ เลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ และข้อมูลต่างๆ ที่เคยหา ให้เพื่อนๆ ที่สนใจใช้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจกันค่ะ
จขกท ไม่ได้เป็นหมอ อาจจะใช้คำศัพท์ผิดถูกบ้าง ขออภัยนะคะ
LASIK ใช้แก้ไขปัญหาทางสายตาเรื่องใดได้บ้าง
1. สายตาสั้น (Myopia or nearsightedness)
2. สายตายาว (Hyperopia or farsightedness) ถ้าสายตายาวจากอายุ (Presbyopia) อาจต้องถามรายละเอียดเพิ่มเติมค่ะ เหมือนเคยเห็นว่าทาง รพ.กรุงเทพสามารถทำ LASIK สายตายาวตามอายุได้ แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากปกติ
3. สายตาเอียง (Astigmatism)
สิ่งที่ต้องเตรียม
1. เตรียมใจ กล้าๆ เข้าไว้ค่ะ การทำ LASIK ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ แต่ต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงหลังการผ่าตัดด้วยนะคะ เหมือนกับการผ่าตัดทั่วไปค่ะ มีความเสี่ยงหมด
2. เตรียมเงิน
3. เตรียมตา ถึงแม้ว่า 2 คนบนจะพร้อมแล้ว แต่ถ้าตาเราไม่ผ่านการประเมินสภาพสายตา ก็ไม่สามารถทำได้นะคะ ข้อนี้ลุ้นมากค่ะ ทั้งความหนากระจกตา ความโค้ง และรูม่านตา
คุณสมบัติคนที่เหมาะรับการรักษาด้วย LASIK
1. ควรมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
2. มีสายตาคงที่หรือเปลี่ยนไม่เกิน 50 ( 0.5 D) อย่างน้อย 1 ปี
3. ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
4. มีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อภาวะเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจมีได้
5. ไม่เป็นโรคต้องห้ามในการทำ LASIK เช่น ต้อหิน กระจกตาอักเสบ
6. ไม่อยากใส่แว่นหรือ Contact lense (ปกติจขกทใส่ Contact lense รายวันสลับกับแว่น)
LASIK คืออะไร
LASIK (Laser-Assisted In Situ Keratomileusis) เป็นการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติโดยการแยกชั้นกระจกตาด้านบนออก
แล้วใช้ Laser ปรับเปลี่ยนความโค้งกระจกตาด้านล่าง แล้วปิดกระจกตาด้านบนกลับมาที่เดิม
LASIK มี 3 แบบ
1. PRK (Photorefractive Keratectomy)
เป็นการใช้ขูดผิวกระจกตา (Cornea) ด้านนอกออก โดยไม่มีการแยกชั้นกระจกตา และใช้ laser ปรับความโค้งกระจกตา หลังจากนั้นจึงใส่ contact lense ไว้เพื่อสมานแผล เหมาะกับผู้ที่สายตาสั้นหรือยาวไม่มาก หรือมีกระจกตาบาง และบางอาชีพ
2. Femto LASIK or Bladeless LASIK
เป็นการใช้ laser 2 ชนิดเพื่อแก้ไขสายตา เหมาะสำหรับคนที่มีกระจกตาหนากว่า 500 โดยใช้ femtosecond laser (FS: 10-15 second) เป็น infrared laser ซึ่งมี wavelength 1053nm มีความเร็วสูง ใช้พลังงานต่ำไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงบริเวณที่ถูก laser ใช้เพื่อแยกชั้นกระจกตา (Cornea flap) แทนการใช้ Microkeratome แล้วจึงใช้ excimer laser เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาด้านล่าง และปิดชั้นกระจกตาด้านบนกลับมาที่เดิม ไม่ต้องเย็บแผล
3. ReLEx (Refractive Lenticule Extraction) SMILE
เป็นการรักษาโดยใช้แค่ femtosecond laser อย่างเดียว ไม่มีการแยกชั้นกระจกตา (flapless) ซึ่งจะยิงเข้าไปที่กระจกตาถึงกระจกตาด้านในที่จะปรับความโค้ง และเปิดกระจกตาด้วยรูที่มีขนาดเล็กมาก 2-5 mm แล้วนำกระจกตาด้านในที่จะปรับความโค้งออกจากรูเล็กๆ ดังกล่าว การรักษาประเภทนี้รบกวนกระจกตาน้อยมาก หายไว ตาแห้งน้อย แสงกระจายน้อย
Ref: http://www.herzig-eye.com/blog/medical-information/benefits-of-smile-the-newest-generation-of-laser-vision-correction/
หลังจากที่ทราบประเภทเลสิคคร่าวๆ เราจะมาต่อกันด้วยขั้นตอนการทำเลสิค
เริ่มตั้งแต่การประเมิน ตรวจสภาพตา จนถึงขั้นตอนการผ่าตัดค่ะ
เนื่องจาก จขกท ทำที่ รพ.กลางและตั้งใจว่าจะทำแบบ Femto อย่างเดียว ด้านล่างจะเป็นขั้นตอนของ รพ.กลางนะคะ
แต่หลักๆ แล้วไม่น่าต่างกันมากกับที่อื่น
ปล. จขกท ทำเลสิคกับคุณหมอเม เมธินี จงเจริญ คุณหมอน่ารักค่ะ อธิบายละเอียด และสามารถสอบถามพูดคุยจนกว่าเราจะรู้สึกสบายใจได้เลยค่ะ คุณหมอทำ LASIK อยู่ที่ TRSC ด้วยนะคะ
http://lasik.klanghospital.go.th/th
โทรสอบถามข้อมูล
หลังจากที่ตัดสินใจว่าจะทำที่รพ.กลาง จขกทโทรสอบถามรายละเอียดกับทางโรงพยาบาล ที่เบอร์ 0-2220-8000 ต่อ 11641-2 หรือ 085-8088831 ว่าถ้าจะทำเลสิคมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ได้ความว่าให้เข้ามาวัดความหนากระจกตาก่อนว่าหนาพอทำเลสิคหรือไม่ จขกทก็นัดและดูตารางคุณหมอเมเลยค่ะ คุณหมอเข้าวันจันทร์ จึงไปวันจันทร์ค่ะ
วันนัดตรวจความหนากระจกตา
พอถึงวันนัดจขกท.โทรไป confirm อีกรอบค่ะ ว่าให้เข้าไปกี่โมง ศูนย์เลสิค อยู่ชั้น 16 ของ รพ.กลางค่ะ มีตึกเดียว
ก่อนมาตรวจควรปฎิบัติตามข้อแนะนำด้านล่างค่ะ เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำและประสิทธิภาพในการทำเลสิค
1. ผู้ที่ใส่ contact lenses แบบนิ่ม (Soft lens) ควรถอดล่วงหน้า 3-7 วัน
2. ผู้ที่ใส่ contact lenses แบบแข็ง (Hard lens) ควรถอดล่วงหน้า 14-30 วัน
การตรวจความหนาของกระจกตา ถ้าความหนาผ่านถึงจะตรวจละเอียดเพื่อทำเลสิคต่อไป
1. ทางรพ.กลางจะมีช่วงเวลาให้คนไข้ใหม่เข้ามาตรวจความหนากระจกตาได้ช่วงเวลา 13.00-14.30 ถ้ามาเร็ว ก็ได้ตรวจเร็ว ที่นี่เรียงคิวแบบ FIFO First come First serve ค่ะ
2. จขกท ไปก่อนบ่ายโมง ก็นั่งรอพี่ๆ พยาบาลพักเที่ยงค่ะ
3. พอบ่ายโมง ก็แจ้งที่ Counter ได้เลยค่ะ ว่ามาตรวจความหนากระจกตาเพื่อดูว่าทำเลสิคได้หรือไม่
4. พี่พยาบาลจะพาไปวัดสายตา วัดความดันตา และวัดความหนากระจกตา ถ้าหนาเกิน 500 ก็ถือว่าทำ femto ได้ค่ะ จขกท ซ้าย 575 กับขวา 590 ไมครอน ผ่านค่ะ ดีใจมาก พี่พยาบาลที่พาไปตรวจชื่อพี่มน ตรวจและอธิบายละเอียดมาก อ่านผลตรวจแล้วอธิบายได้อย่างกับคุณหมอเลยค่ะ จขกท. ชื่นชมค่ะ บวกกับการบริการด้วย โอเคมาก
5. ตอนแรก จขกท ตั้งใจว่าจะมาตรวจแค่นี้ แล้วค่อยหาวันมาตรวจละเอียด แต่พี่พยาบาลเชียร์ค่ะ บอกว่าไหนๆ ก็มาแล้ว วันนี้คุณหมอก็ลง ตรวจละเอียดเลยมั้ย เสร็จไม่เกินทุ่มนึง วันนี้ไม่ได้ขับรถมาใช่มั้ย นั่งคิดสักพัก ก็ตอบตกลงไปค่ะ

เนื่องจาก จขกท ตรวจความหนากระจกตาเบื้องต้นเสร็จเร็ว ถ้าจะตรวจประเมินสภาพสายตาแบบละเอียดต้องรอประมาณบ่ายสาม
ในระหว่างนี้พี่พยาบาลจึงทำประวัติคนไข้ และสอบถามรายละเอียดว่าสายตาสั้นมานานหรือยัง ปกติใช้คอมกี่ชม ใส่แว่นหรือ contact lense ทำไมถึงอยากทำเลสิค ปกติขับรถตอนที่สว่างหรือมืดมากกว่ากัน เบอร์ติดต่อคนไข้ และเบอร์สำรอง
เมื่อทำประวัติเสร็จ พี่พยาบาลก็ดูตารางผ่าตัดของคุณหมอ ตารางผ่าตัดคุณหมอแน่นมาก พี่พยาบาลถามว่ารีบมั้ย ถ้ารีบจะให้ผ่าวันพุธเลย เพราะมีแค่ 2 เคส จากปกติ 5 เคส แต่ จขกท ไม่ว่าง บวกกับรู้สึกกระทันหันเกินไป จึงเลือกเป็นวันศุกร์บ่ายแทนค่ะ คุณหมอเมลงตรวจประจำวันจันทร์ และมีบ้าง บางสัปดาห์ที่เข้าพุธกับศุกร์ พี่พยาบาลบอกว่าแอบแทรกคิวให้ มีติดดาวสัญลักษณ์อะไรไว้ในแฟ้มด้วยค่ะ
ถ้าสุดท้ายผลตรวจประเมินสภาพสายตาไม่ผ่าน พี่เค้าก็จะมาเลื่อนคิวออกไปให้ค่ะ เสร็จแล้วก็ให้ไปนั่งดู Video อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับ LASIK และการตรวจประเมินสภาพสายตา แล้วปล่อยให้เราพัก รอเวลาบ่ายสามค่อยกลับมาก็ได้ค่ะ
การตรวจและประเมินสภาพสายตา
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตรวจ 500 บาท
2. ค่าบริการผู้ป่วยนอก 50 บาท
ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. มีการหยอดยาขยายม่านตาด้วย จะเห็นแสงจ้าๆ หน่อย จะให้ญาติมารับกลับก็ได้นะคะ แต่จขกทกลับ taxi
รายละเอียดการตรวจ อาจมีสลับขั้นตอนไปบ้าง จขกท เพิ่งมาเขียนตอนผ่านไป 1 สัปดาห์ อาจหลงๆ ไปบ้าง ขออภัย
พอก่อนบ่ายสามนิดหน่อย จขกท กลับขึ้นมาที่ชั้น 16 พี่พยาบาลคนเดิมจะเอาป้ายชื่อเรามาให้ติดเสื้อ และพาไปตรวจค่ะ
ตรวจอะไรบ้าง
1. วัดสายตา (Auto Refraction) สั้น ยาว เอียง เท่าไหร่ มองลูกบอลลูน เหมือนเวลาไปร้านแว่นตา ขวา 6.25 เอียง 1.25, ซ้าย 5.25 เอียง 1.00
2. วัดความดันตา (Auto Tension : IOP Intra ocular pressure) เพื่อดูการไหลเวียนของของเหลวในลูกตา ว่าอยู่ในระดับปกติและไม่มีโรคทางสายตา โดยจะมีลมเป่าออกมาที่ลูกตา ไม่มีการสัมผัสลูกตา มีสะดุ้งเล็กน้อยค่ะ ความดันตาปกติ คือ 12 - 20 mmHg ค่ะ
3. วัดระยะการมองเห็น (Visual Acuity) ให้อ่านตัวเลข ปิดตาอ่าน ทีละข้าง พี่พยาบาลจะขอแว่นตาเราเพื่อนำไปวัดสายตาของแว่นด้วยค่ะ
4. วัดความถนัดของตา ว่าตาข้างใดเป็นตาเด่น (Dominant Eye) มีผลตอนผ่าตัดค่ะ เนื่องจากตาข้างที่เด่นจะชัดกว่าข้างที่ด้อย หลังจากที่ผ่าตัดค่ะ เพราะเราจะใช้ตาข้างที่เด่นในการมองไกลเป็นหลัก เช่นการเล็งเป้าเมื่อยิงปืน วิธีการทดสอบค่ะ
1. ให้ใช้มือทั้งสองข้างประกอบกันเป็นรุปสามเหลี่ยมแล้วยื่นไปข้างหน้าตรงๆ และเล็งที่วัตถุใดวัตถุหนี่ง
2. ลองทดสอบปิดตาทีละข้าง จะมีข้างนึงที่เห็น ซึ่งเป็นตาเด่น และอีกข้างไม่เห็น เป็นตาข้างที่ด้อยกว่า
3. หรือให้ลองเลื่อนมือที่ทำเป็นรูปสามเหลี่ยมเข้ามาหาตาเรา หัวตั้งตรงนะคะ มือเราจะค่อยๆ เลื่อนมาทางตาข้างที่เด่นเองค่ะ
5. วัดความโค้งกระจกตาส่วนหน้าและส่วนหลัง (Pentacam ยี่ห้อ SCHWIND SIRIUS) เครื่องนี้จะมีจุดแดงๆ ตรงกลางให้มอง แล้วเครื่องจะหมุนรอบตาเรา มีเส้นลายทาง คล้ายๆ เขาวงกตไฟสีแดง
6. วัดความหนาของกระจกตา (Pachymetry) เครื่องนี้ลืมตาค้างไว้ประมาณ 5 วิ สู้แสงค่ะ แอบตาแห้ง
7. วิเคราะห์สภาพสายตา (wavefront analyzer ยี่ห้อ SCHWIND)
8. วัดปริมาณน้ำตา (Schirmers Test) พี่พยาบาลจะหยอดยาชาแล้วเอากระดาษมาแปะที่กระพุ้งตาด้านล่าง ตรงหางตา แสบๆ นิดนึงค่ะ และตาก็จะรู้สึกตึงๆ จากยาชา ระดับปกติคือ > 15 mm
9. หยอดยาขยายม่านตา เพื่อตรวจจอประสาทตาและลดการเพ่งของตา
10. วัดความดันตา ด้วยวิธี Applanation tonometer มีการสัมผัสลูกตา โดยการตวรจอันนี้พี่พยาบาลจะให้ไปนอนบนเตียง แล้วเอาอุปกรณ์มาแตะที่ตาเรา เมื่อวัดเสร็จจะมีเสียงติ๊ดค่ะ
ขั้นตอนหลังจากนี้จะเป็นคุณหมอแทนพี่พยาบาลแล้วค่ะ
11. ตรวจสภาพจอประสาทตา หรือ Retina ซึ่งประกอบไปด้วย เซลล์รับรู้การมองเห็น ที่จะแปลงภาพส่งผ่านไปยังเส้นใยประสาทตา โดยการตรวจจะอาศัยการดูจากช่องของรูม่านตา
12. วัดการมองเห็นหลังขยายม่านตา โดยจะให้เราถอดแว่นและวัดสายตาโดยการเปรียบเทียบค่าสายตาตามเลนส์ที่คุณหมอปรับไปเรื่อยๆ เหมือนตอนตัดแว่นค่ะ ครั้งนี้จะตรวจละเอียดนิดนึง เนื่องจากจะใช้สายตาตรงนี้ในการทำเลสิค แต่วันทำเลสิคจะตรวจวัดค่าสายตาแบบนี้อีกครั้ง แต่ไม่ขยายม่านตานะคะ หากค่าสายตาไม่คลาดเคลื่อนจากครั้งนี้มากนัก ถึงจะทำเลสิค
13. หลังจากนั้น คุณหมอก็จะอ่านผลการตรวจอื่นๆ แล้วก็คุยกับเราว่าเราทำแบบไหนได้ ของ จขกท สั้นเยอะ ทำได้แต่ femto จ้ะ ทำ PRK ไม่ได้ ซึ่งก็กะว่าจะทำแบบนี้อยู่แล้ว แล้วก็อธิบายความเสี่ยงเรื่องการกระเจิงของแสง สอบถามประวัติว่าปกติขับรถกลางคืนบ่อยมั้ย เพราะการกระเจิงของแสงอาจทำให้เห็นแสงแตก หรือกระจายหลังจากทำ ปกติเมื่อเทียบระหว่างแว่นกับ contact lense ใส่แว่นชัดกว่าใช่มั้ย ใช่ค่ะ เพราะ จขกท มีเอียงด้วย แล้วคุณหมอก็บอกว่ามีตาแห้งนิดหน่อย สงสัยอะไรเรื่องการผ่าตัดก็ถามคุณหมอได้เลยค่ะ
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น