ค้นพบปลาหมึกยักษ์สายพันธุ์ใหม่ (สายพันธุ์ที่ 2)


.
นักศึกษาระดับปริญญาเอก
เพิ่งจะค้นพบสายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์อีกหนึ่งสายพันธุ์
และได้รับการยืนยันจากนักวิจัยหลายท่านว่า
เป็นปลาหมึกยักษ์อีกสายพันธุ์หนึ่งต่างหาก
ที่แยกจากปลาหมึกยักษ์ในมหาสมุทรแปซิฟิค
Giant Pacific octopus (GPO)
ซึ่งเป็นปลาหมึกยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
มีน้ำหนักเฉลี่ย 110 ปอนด์(49.9 กิโลกรัม) และหนวดยาวถึง 16 ฟุต(4.9 เมตร)

Nathan Hollenbeck นักศึกษาระดับปริญญาเอก
ที่ Alaska Pacific University (APU)
ได้ใช้ความพยายามในการค้นหาเรื่องนี้
ซึ่งทีมงานได้เรียกพวกมันว่า ปลาหมึกยักษ์แปซิฟิค

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตมาหลายสิบปีแล้วว่า
Giant Pacific Octopus (GPO) คือ
ชื่อที่น่าจะครอบคลุมปลาหมึกมากกว่าหนึ่งสายพันธุ์
ในปี 2012  Alaska Pacific University (APU)
และนักวิทยาศาสตร์จาก United States Geological Survey
ได้ค้นพบฝูงปลาหมึกษ์ยักษ์ที่ดูเหมือนว่า
จะแตกต่างกันทางด้านพันธุกรรม
แต่ก็แค่การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากหนวดปลาหมึกก่อนปล่อยลงมหาสมุทรตามเดิม
ทำให้ไม่สามารถยืนยันว่ากลุ่มนี้
มีความแตกต่างกับอีกกลุ่มหนึ่งอย่างแท้จริง
Nathan Hollenbeck จึงอยากจะคลี่คลาย
ความลึกลับเรื่องนี้เพื่อนำเสนอในดุษฏีนิพนธ์
.

.
โดย Nathan Hollenbeck ได้ค้นพบ
คำตอบบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้
จากลอบที่ชาวประมงวางเหยื่อลงในทะเล
เพื่อจับกุ้ง โดยทิ้งเหยื่อไว้เป็นเวลาหนึ่งวัน
ก่อนค่อยดึงลอบขึ้นมา ซึ่งบางครั้งก็จะมี
ปลาหมึกยักษ์มักจะถูกจับขึ้นมาด้วย
" ปลาหมึกชอบกินกุ้งมาก
ดังนั้นจึงมักจะเห็นเปลือก ขา
และหนวดกุ้งจำนวนมาก "
ดังนั้นในเวลาไม่นานนัก Nathan Hollenbeck
ก็สามารถจะแยกแยะและระบุปลาหมึกยักษ์
สองประเภทได้อย่างง่าย ๆ
โดยการดูที่ cephalopods
ประเภทแรกเป็น GPO ทั่วไป
แต่อีกประเภทหนึ่งจะมีจีบ(คล้ายกับจีบผ้า)
เต็มไปทั่วร่างกาย คล้ายกับมีดวงตา
ที่ผิวหนัง(ลำตัว/หนวด)
และมีจุดสีขาวสองจุดบนหัวของมัน ฝแทนที่จะเป็นหนึ่งจุดแบบ GPO ทั่วไป
โดยมีปลาหมึกยักษ์ที่มีจีบ จะลักษณะเด่นคือ
(1) มีสามตุ่มขนาดเล็กใต้ดวงตา (คล้ายขนตา)
(2) มีก้านกิ่งขนาดเล็กเหนือดวงตา
(3) มีตุ่มเล็ก ๆ เป็นวงกลมรอบดวงตา
(พร้อมกับตุ่มที่สองหรือสาม ตรงฐานดวงตา)

" น่าจะมีคนจับปลาหมึกชนิดนี้ได้หลายปีแล้ว
แต่ไม่มีใครสังเกตเห็นพวกมันเลย "
ศาสตราจารย์ David Scheel ที่ APU
และที่ปรึกษาดุษฏีนิพนธ์ของ Hollenbeck
ให้สัมภาษณ์กับ Earther

Nathan Hollenbeck  ไม่ได้หั่นหนวดปลาหมึก
ออกมาเป็นชิ้นเล็ก ๆ แต่อย่างใด
ทั้งนี้ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับนักวิจัยรายอื่นทำตามในอนาคต
ด้วยการพยายามหลีกเลี่ยงเทคนิคการทำร้ายปลาหมึก
โดยการเก็บ DNA ปลาหมึกที่บริเวณหนวดด้วยสำลี
และจากตัวอย่างทั้งสองกลุ่มที่ไปทดสอบได้ผลยืนยันว่า
ปลาหมึกสายพันธุ์ที่มีจีบเต็มตัวแตกต่างจากสายพันธุ์ GPO
.

.
ปลาหมึกยักษ์สายพันธุ์ GPO สามารถค้นพบได้ทั่วไป
ตั้งแต่อลาสกา แคลิฟอร์เนีย จนถึงประเทศญี่ปุ่น
แต่ทั้งนี้ Nathan Hollenbeck ร่วมกับ David Scheel
ได้รวบรวมรายงานที่เชื่อถือได้ว่า
ปลาหมึกยักษ์แบบมีจีบพบได้ตั้งแต่ Juneau
ไปจนถึงทะเล Bering
แต่ปลาหมีกยักษ์ชนิดใหม่สามารถค้นพบ
ในแหล่งน้ำลึกที่พวกมันอาศัยอยู่
ปลาหมึกยักษ์แบบมีจีบมีการกระจายจำนวนไม่มากนัก
มักจะพบเพียง 1 ใน 3 ของปลาหมึกยักษ์ GPO
จากการสุ่มตัวอย่างจำนวนปลาหมึก 21 ตัว
ในลอบของชาวประมงที่ผ่านการคัดแยกแล้ว
ของ Nathan Hollenbeck

American Malacological Bulletin
ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีนี้
ของ Nathan Hollenbeck ร่วมกับ David Scheel
นักวิทยาศาสตร์จาก United States Geological Survey and Alaska Resource Education
ยังมีส่วนร่วมในการตีพิมพ์เอกสารฉบับที่สองด้วย

ผลการจับปูและปลาในอ่าวอลาสกา
ปลาหมึกยักษ์มักจะถูกจับในลอบชาวประมงด้วย
ทำให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของปลาหมึกยักษ์
.

.
แม้ว่ายังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าปลาหมึกยักษ์ GPOs
จะตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์หรือไม่
แต่นักวิทยาศาสตร์ Alaska Fisheries Science Center
ได้แนะนำให้มีการบริหารจัดการอนุรักษ์อย่างระมัดระวัง
เพราะความจำกัดด้านความรู้ด้านสายพันธุ์ การดำรงชีวิต
และการแพร่กระจายของปลาหมึกยักษ์ ในอ่าวอลาสก้า

แม้ว่าในขณะนี้จะมีกฎระเบียบของรัฐอลาสก้า
ที่ประมาณการข้อมูลปลาหมึกยักษ์
จากการจับขึ้นมาจากลอบของชาวประมง
และการประมงในรัฐอลาสก้าจะมีการปิดอ่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
แต่ปลาหมึกยักษ์ GPO กับปลาหมึกยักษ์ที่มีจีบ
ที่ถูกจับขึ้นมาด้วยลอบหรืออวน
พวกมักจะถูกจับขึ้นมาพร้อม ๆ กัน
ทำให้มันเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะ
ความแตกต่างทั้งสองสายพันธุ์

ปลาหมึกยักษ์สายพันธุ์นี้ยังไม่มีชื่อภาษาละติน
(แม้ว่าจะคาดว่าจะอยู่ในสกุลเดียวกันกับ GPO, Enteroctopus)
แต่ตอนนี้ปลาหมึกยักษ์สายพันธุ์นี้
จะตรวจสอบได้จากลอบ หรืออวนที่ลากไปตามพื้นผิวน้ำทะเล
เพราะที่ผ่านมา พวกมันก็จะถูกโยนทิ้งลงทะเล
หรือฆ่าทิ้งเพื่อนำมาเป็นเหยื่อปลา/กุ้ง/ปู

David Scheel  “ ผมกำลังคิดว่า
ทำไมปลาหมึกยักษ์ถึงมีจีบยิ่นออกมาแบบนั้น
บางทีเราอาจจะค้นพบความแตกต่าง
ในการเลือกแหล่งอาศัยและระบบนิเวศของพวกมัน
ที่สะท้อนถึงความแตกต่างจากเรือนร่างของพวกมัน
เรื่องที่น่าสนใจคือ ความแตกต่างระหว่างรูปร่างของปลาหมึกยักษ์ทั้งสองสายพันธุ์
เพราะปลาหมึกยักษ์จีบที่ดูเพรียวลมกว่า GPO
และนำไปสู่การตรวจสอบแหล่งอาศัยของพวกมัน
แต่ตอนนี้ พวกเรารู้น้อยมากเกี่ยวกับปลาหมึกยักษ์สายพันธุ์นี้ แต่พวกมันสวยงามมาก "


เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/gG8Lz8
https://goo.gl/dmNDgt
https://goo.gl/VJXqpF
https://goo.gl/94aWyo
.


.


.

เรื่องเล่าไร้สาระ

มีสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งแถวอ่าวไทยภาคใต้
ที่คล้ายกับปลาหมีกมาก แต่ไร้รสชาติมาก
ชาวประมงจับได้มักจะโยนทิ้งทะเล
หรือโยน/ขายเป็นอาหารสัตว์
แต่ชาวบ้านที่ไม่รู้มักจะคิดว่าเป็นปลาหมึก
แต่พอนำมาทำอาหารจะรสชาติจืดมาก
จนพูดกันว่า จืดเหมือนหืดยักษ์
.


ที่มา  หน้า ๔๐๘๕ สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑๐  สุวรรณคูหา,วัด,ฮู้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่