คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ (พ่อขุนรามคำแหง) จารึกไว้ว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส"
ข้อความนั้นบอกถึงสัตว์บางชนิดที่มีอยู่ในสุโขทัยแล้ว เช่น ปลา วัว ช้าง ม้า ซึ่งน่าจะมีสัตว์อื่นๆที่ชาวเมืองเลี้ยงกันอีกเช่น ไก่ เป็ด ควาย หมา แมว และอื่นๆซึ่งไม่ได้กล่าวถึง แต่คนไทยเรานั้นทักทายกันด้วยคำว่า "กินข้าวกินปลาหรือยัง" แสดงให้เห็นว่าปลาเป็นอาหารหลักของเรามานาน
หมูและอาหารที่มีหมูเป็นส่วนประกอบนั้น น่าจะมาจากจีน สมัยสุโขทัยก็มีการค้าขายกับเมืองจีนแล้ว มีคนจีนเดินทางเข้ามาค้าขายแล้ว ก็เป็นไปได้ที่จะนำตำรับอาหารที่ปรุงด้วยหมูเข้ามาด้วย แต่คนไทยนั้นไม่ค่อยนิยมกินสัตว์ใหญ่ หรืออาจจะเป็นเพราะไม่มีโอกาสได้กิน การจะล้มสัตว์ใหญ่เพื่อนำมาปรุงอาหารนั้นก็ต้องเป็นงานใหญ่เช่นกัน สมัยก่อนนั้นไม่มีตู้เย็น เมื่อล้มสัตว์เข้าสักตัวก็ต้องกินหรือแปรรูปหรือขายให้หมดในเวลาไม่นาน อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่คนสมัยนั้นไม่กินสัตว์ใหญ่ก็เป็นได้
แต่ล่วงมาถึงสมัยอยุธยา บันทึกของลาลูแบร์ก็ยังยืนยันว่าคนสยามกินข้าวกับปลา ปลาดุก ปลาไหล ปลากระดี่ มีการเล่าถึงการกินหอย การทำปลาร้า ทำปลาเค็ม กินไข่ตายโคม กินแมลงเช่นตั๊กแตน กินหนู กินแย้ กินงู แต่ไม่มีการพูดถึงการกินสัตว์ใหญ่เช่นวัว หมู เลย
จนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเลี้ยงหมูก็ยังเป็นอาชีพของชาวจีน ถึงคนไทยจะเริ่มกินหมูมากขึ้น แต่ก็อีกนานนักกว่าจะเริ่มเลี้ยงหมูเช่นชาวจีน จึงเดาเองว่าสมัยสุโขทัย คนสมัยนั้นก็คงไม่ได้เลี้ยงหมู เพราะไม่รู้จะเลี้ยงไปทำไม ส่วนหมูป่านั้นก็คงมีการล่ามากินสำหรับคนที่อยู่ในเขตป่า ส่วนในเมืองนั้นน่าจะกินอะไรพื้นๆเหมือนสมัยอยุธยา
ส่วนหน้าตาของหมู ในระยะไม่ถึงหนึ่งพันปี สายพันธ์ของหมูคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก หมูสมัยสุโขทัยคงจะหน้าตาเหมือนหมูทั่วๆไป อยู่ที่สายพันธ์ที่มี หมูที่เราเห็นทุกวันนี้ก็มีการดัดแปลงสายพันธ์กันมากแล้ว แต่หน้าหมูมันก็คงเป็นหน้าหมู คงไม่เปลี่ยนไปมากนักหรอก
ข้อความนั้นบอกถึงสัตว์บางชนิดที่มีอยู่ในสุโขทัยแล้ว เช่น ปลา วัว ช้าง ม้า ซึ่งน่าจะมีสัตว์อื่นๆที่ชาวเมืองเลี้ยงกันอีกเช่น ไก่ เป็ด ควาย หมา แมว และอื่นๆซึ่งไม่ได้กล่าวถึง แต่คนไทยเรานั้นทักทายกันด้วยคำว่า "กินข้าวกินปลาหรือยัง" แสดงให้เห็นว่าปลาเป็นอาหารหลักของเรามานาน
หมูและอาหารที่มีหมูเป็นส่วนประกอบนั้น น่าจะมาจากจีน สมัยสุโขทัยก็มีการค้าขายกับเมืองจีนแล้ว มีคนจีนเดินทางเข้ามาค้าขายแล้ว ก็เป็นไปได้ที่จะนำตำรับอาหารที่ปรุงด้วยหมูเข้ามาด้วย แต่คนไทยนั้นไม่ค่อยนิยมกินสัตว์ใหญ่ หรืออาจจะเป็นเพราะไม่มีโอกาสได้กิน การจะล้มสัตว์ใหญ่เพื่อนำมาปรุงอาหารนั้นก็ต้องเป็นงานใหญ่เช่นกัน สมัยก่อนนั้นไม่มีตู้เย็น เมื่อล้มสัตว์เข้าสักตัวก็ต้องกินหรือแปรรูปหรือขายให้หมดในเวลาไม่นาน อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่คนสมัยนั้นไม่กินสัตว์ใหญ่ก็เป็นได้
แต่ล่วงมาถึงสมัยอยุธยา บันทึกของลาลูแบร์ก็ยังยืนยันว่าคนสยามกินข้าวกับปลา ปลาดุก ปลาไหล ปลากระดี่ มีการเล่าถึงการกินหอย การทำปลาร้า ทำปลาเค็ม กินไข่ตายโคม กินแมลงเช่นตั๊กแตน กินหนู กินแย้ กินงู แต่ไม่มีการพูดถึงการกินสัตว์ใหญ่เช่นวัว หมู เลย
จนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเลี้ยงหมูก็ยังเป็นอาชีพของชาวจีน ถึงคนไทยจะเริ่มกินหมูมากขึ้น แต่ก็อีกนานนักกว่าจะเริ่มเลี้ยงหมูเช่นชาวจีน จึงเดาเองว่าสมัยสุโขทัย คนสมัยนั้นก็คงไม่ได้เลี้ยงหมู เพราะไม่รู้จะเลี้ยงไปทำไม ส่วนหมูป่านั้นก็คงมีการล่ามากินสำหรับคนที่อยู่ในเขตป่า ส่วนในเมืองนั้นน่าจะกินอะไรพื้นๆเหมือนสมัยอยุธยา
ส่วนหน้าตาของหมู ในระยะไม่ถึงหนึ่งพันปี สายพันธ์ของหมูคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก หมูสมัยสุโขทัยคงจะหน้าตาเหมือนหมูทั่วๆไป อยู่ที่สายพันธ์ที่มี หมูที่เราเห็นทุกวันนี้ก็มีการดัดแปลงสายพันธ์กันมากแล้ว แต่หน้าหมูมันก็คงเป็นหน้าหมู คงไม่เปลี่ยนไปมากนักหรอก
แสดงความคิดเห็น
ถามเรื่องหมูกับคนไทยโบราณค่ะ
ในสมัยยุคสุโขทัยที่ไทยเพิ่งตั้งถิ่นฐาน (เราใช้คำว่าไทยโบราณได้ไหมคะ)
เราเลี้ยงหมูไว้กินกันหรือยังคะ แล้วหมูสมัยนั้นหน้าตาเหมือนหมูเลี้ยงสมัยนี้ไหม
ถ้าเรายังไม่ได้เริ่มกินหมูหน้าตาแบบนี้ ขอถามเพิ่มค่ะ
1.หมูหน้าตาเป็นแบบไหนคะ หรือเป็นหมูป่า ล่าแล้วเอามากิน
2.หมูหน้าตาแบบปัจจุบันถูกนำเข้ามาตอนไหนหรอคะ
3.ถ้าเราไม่ได้กินหมู แล้วเรากินอะไรบ้างคะ
ขอบคุณค่ะ