เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
อ.วันชัย พรหมภา
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ตามที่คณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติห้ามอดีตคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ขึ้นปราศรัยหาเสียง ถ่ายรูปกับผู้สมัคร หรือมีตำแหน่งที่ปรึกษาใดๆ กับพรรคการเมืองในปัจจุบัน และมีมติออกระเบียบว่าด้วยการสืบสวนและวินิจฉัย เพื่อที่จะนำมาใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่คำสั่งให้ยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน พรรคพัฒนาชาติไทย 19 คน และพรรคแผ่นดินไทย 3 คนมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น
ปัญหานี้ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงการต่างๆอย่างกว้างขวางว่า คณะกรรมการเลือกตั้งใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายวางหลักไว้หรือไม่ เป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลหรือไม่ เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือว่าเป็นกฏเหล็กของเผด็จการรัฐประหาร เพื่อตามล้างตามเช็คเผด็จการรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือไม่ ตลอดจนการออกกฎหมายควบคุมพรรคการเมืองนั้น มีความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ฯลฯ แต่ปรากฎว่าเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น ไม่มีใครพูดถึงปัญหาหลักการ หรือปัญหาทฤษฎี และปัญหาข้อเท็จจริงกันเลย พรรคความหวังใหม่มีความเห็นว่า เสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น นอกจากจะหาข้อยุติในเรื่องนี้ไม่ได้แล้ว ยังมีผลทำให้ความแตกแยกของคนในชาติ ซึ่งเลวร้ายอยู่แล้วในขณะนี้ทวีความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น อันไม่เป็นผลดีต่อชาติบ้านเมือง และที่สำคัญก็คือ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาหนึ่ง ของเรื่องประชาธิปไตย ถ้าตราบใดที่พี่น้องประชาชนยังไม่เข้าใจปัญหานี้ บ้านเมืองของเราก็ไม่อาจจะหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ เข้าสู่บาทวิถีแห่งประชาธิปไตยได้เลย ด้วยเหตุนี้ พรรคความหวังใหม่ จึงขอแถลงให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบถึง ปัญหาหลักการ ปัญหาทฤษฎี ปัญหาข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้
ปัญหาแรกก็คือ ปัญหาทฤษฎี ก่อนอื่นก็คือ เราต้องทำความเข้าใจว่า พรรคคืออะไร?หรือพรรคการเมืองคืออะไร? โดยทั่วไปก็เข้าใจกันอยู่แล้วว่า พรรคการเมืองคืออะไร แต่ความเข้าใจเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องทฤษฎี หรือสาระสำคัญของพรรคการเมือง เพราะสาระสำคัญของพรรคการเมือง (Political party) ก็คือ กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลที่ยึดกุมอำนาจรัฐ หรือมีความมุ่งหมายเพื่อที่จะเข้ายึดกุมอำนาจรัฐ นี่คือสาระสำคัญของพรรคการเมือง จะมีรูปหรือชื่อเรียก และมีที่มาอย่างไรก็แล้วแต่ รูปของกลุ่มของคณะนั้นอาจจะไม่เรียกว่าพรรคก็ได้ ถ้ามีความมุ่งหมายเพื่อจะเข้ากุมอำนาจรัฐแล้วก็ได้ชื่อว่ามีลักษณะเป็นพรรคการเมืองทั้งนั้น เช่น มีหนังสือพิมพ์บางฉบับเรียก คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ “คปค.”ว่า “พรรคทหาร” ซึ่งก็หมายถึงพรรคการเมืองนั่นเอง คือพรรคการเมืองทหาร ส่วนจะเข้ามากุมอำนาจรัฐตามวิถีทางประชาธิปไตยหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
พรรคการเมืองมันมิใช่พึ่งจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน พรรคการเมืองมันเกิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถ้าถามว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร ก็ต้องตอบว่าพรรคการเมืองเกิดพร้อมกับรัฐ คือ ประเทศเมื่อมีรัฐก็มีพรรคการเมือง ไม่ว่าพรรคการเมืองนั้นจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ ถ้าประเทศมีรัฐปกครอง ประเทศก็ต้องมีพรรคการเมือง ตั้งแต่ยุคโบราณเป็นมาอย่างนี้ ฉะนั้น พรรคการเมืองเป็นของคู่กับรัฐ นี่เป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญ
ก่อนสมัยกลางคือสมัยกรีกโรมัน เมื่อเกิดประเทศขึ้นและมีรัฐปกครอง รัฐก็เรียกว่า “รัฐแห่งนคร” (City State) ต่อมาประเทศเป็นรูปของจักรวรรดิ รัฐก็เป็น “รัฐจักรวรรดิ” (Empire State) ในสมัยกลางรัฐจักรวรรดิล่มสลายไป กลายเป็นรูปใหม่เรียกว่า ศักดินา รัฐก็เรียกว่า “รัฐศักดินา” (Feudal State) และต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ประเทศเปลี่ยนรูปไปเป็นชาติหรือประชาชาติ รัฐก็เปลี่ยนรูปไปเป็น “รัฐประชาชาติ” (National State) หรือ “รัฐแห่งชาติ” (State of Nation)
อำนาจในการปกครองของประเทศนั้นเรียกว่า “อำนาจแห่งรัฐ” (Power of State)เป็นอำนาจสูงสุดเรียกว่า “อำนาจอธิปไตย” (Sovereign Power) อำนาจชนิดนี้ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ถือว่าเป็น “อำนาจของประชาชน” จึงเรียกว่า “อำนาจอธิปไตยของปวงชน” (Sovereignty of the people) หรือจะเรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตย” (Democratic regime) ก็ได้ เพราะคือสิ่งเดียวกัน แต่ในสมัยกลางและสมัยโบราณอำนาจชนิดนี้ เรียกว่า “กฤษฎาธิปไตย” (Suzerainty)
รัฐเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมต้องมีผู้ที่เข้าไปยึดกุมกลไกและอำนาจต่างๆ เพื่อใช้ในการปกครองประเทศ คณะบุคคลที่เข้าไปยึดกุมนี้เรียกว่า “พรรคการเมือง” เพียงแต่ว่า แต่ก่อนไม่ได้ เรียกว่า พรรคการเมืองเท่านั้น เช่นสมัยกลางผู้ที่เข้าไปยึดกุมก็เป็นราชวงศ์ เรียกว่า “พระราชวงศ์” ซึ่งไม่ว่าประเทศไหนๆ ก็ล้วนแต่มีพระราชวงศ์ พระราชวงศ์หนึ่งก็เท่ากับ พรรคหนึ่ง และบางทีในราชวงศ์เดียวกันนั้นอาจมีหลายๆ กลุ่ม หลายพวกต่อสู้กัน เพื่อเข้าไปกุมอำนาจในกลไกแห่งรัฐ เพราะว่าอำนาจแห่งรัฐและกลไกแห่งรัฐนี้ มันเป็นของกลาง ใครจะเข้าไปยึดกุมก็ได้ แล้วแต่ใครจะสามารถ ในประวัติศาสตร์เป็นอย่างนี้มาเป็นลำดับ มาจนถึงยุคสมัยใหม่จึงมีคำว่า พรรคการเมืองเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 300 กว่าปีมานี้เอง และแบบใหม่ก็คือ การต่อสู้ด้วยเหตุผล และมีกติกาเรียกว่า วิถีทางประชาธิปไตย (Democratic way) มีการตั้งพรรคขึ้นแล้วก็ต่อสู้กันแบบประชาธิปไตย แต่ถ้าผิดกติกา หรือ ไม่เป็นประชาธิปไตย ก็จะมีการต่อสู้ในรูปแบบอื่นๆ เพิ่มขึ้น คือ การทำรัฐประหาร และทำสงครามกลางเมืองเป็นต้น เช่น กรณีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศของเราที่ผ่านมา
ปัญหาประการต่อมา ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงก็คือ พรรคการเมืองเป็นสิ่งที่อยู่เหนือรัฐ พรรคการเมืองคือผู้ที่จะเข้าไปกุมรัฐ ถ้าเข้าไปกุมอำนาจรัฐได้ ก็อยู่เหนือรัฐอย่างเด็ดขาด แต่ถ้ายังเข้าไปกุมไม่ได้ เพียงแต่มีความมุ่งหมายที่จะเข้าไปกุมอำนาจรัฐ ก็อยู่เหนือรัฐทั้งสิ้น เพราะการจะเข้าไปเอาอำนาจรัฐและกลไกรัฐมาไว้ในกำมือตนนั้น เป็นสิ่งที่เหนือรัฐตามหลักที่แท้จริง
แต่มีบางพรรคไม่ถือหลักถือเกณฑ์ ตามวิถีประชาธิปไตย โดยต้องการเข้าไปกุมอำนาจเสียคนเดียว ไม่ยอมให้พรรคอื่นพวกอื่นเข้ามามีส่วนในอำนาจรัฐด้วย จึงได้ใช้วิธีสกปรก คือใช้กฎหมายต่างๆ เป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะกฎหมาย พรรคการเมือง และกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์อะไรต่างๆที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองมาบังคับพรรคการเมือง โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้พรรคพวกฝ่ายตน ได้กุมอำนาจรัฐ วิธีการอย่างนี้ในสมัยนี้เรียกว่า “วิธีการเผด็จการ”
ตามธรรมดาแล้ว พรรคการเมืองมันไม่มีกฎหมายบังคับ มันพัฒนา มันเติบโต มันเจริญขึ้นมาตามสภาพของมันเอง แล้วแต่ว่ากลุ่มไหนคณะไหนจะมีความสามารถทำให้ประชาชนสนับสนุนซึ่งเป็นไปตามวิถีทางที่ถูกต้อง เป็นไปตามหลักตามเกณฑ์ และความยุติธรรม
กฎหมายนั้น ไม่สามารถที่จะเกี่ยวข้องอะไรได้กับพรรคการเมือง เพราะว่ากฎหมายเป็นเรื่องของรัฐ ไม่ใช่เรื่องของพรรค และเมื่อพรรคมันอยู่เหนือรัฐ พรรคจึงอยู่เหนือกฎหมาย กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐเท่านั้น ดังนั้น ถ้าให้พรรคการเมืองอยู่ใต้กฎหมาย ก็หมายความว่าเป็นการทำให้พรรคอยู่ใต้รัฐ พรรคอยู่ใต้กระทรวงมหาดไทย พรรคอยู่ใต้องค์กรอิสระอะไรก็ไม่รู้ และใช้อำนาจอะไรกันแน่ มาออกกฎเกณฑ์บังคับพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการทำผิดกฎเกณฑ์ ผิดธรรมชาติ เพราะว่าไม่ว่าระบอบใดๆ ตั้งแต่ยุดโบราณมา พรรคการเมืองนั้นเป็นเรื่องเหนือรัฐโดยตลอด เป็นธรรมชาติมาอย่างนี้ ถ้าใครไปทำให้พรรคไปอยู่ใต้กฎหมายแล้ว ก็หมายความว่า ไปทำลายกฎเกณฑ์ของพรรคการเมือง เป็นการฝืนธรรมชาติ มันไม่ใช่เรื่องดีสำหรับประเทศชาติ และประชาชนเลย ตรงกันข้ามมันกลับจะนำไปสู่ความยุ่งยากต่างๆ มากมาย เป็นความล้าหลังและนำมาซึ่งมิคสัญญี กลียุคกันเลยทีเดียว
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทำไมสื่อมวลชนจึงตั้งฉายาว่า “ฉบับปีศาจคาบไปป์” และนักการเมืองบางคนถึงกับให้ฉายา หยาบโลนว่าเป็นหัวอะไรกันเลย เหล่านี้เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญมันไม่ถูกต้อง และ ประชาชนไม่ยอมรับ จึงเบื่อหน่าย พรรคการเมือง เบื่อหน่ายการเลือกตั้ง สาเหตุสำคัญก็เพราะมีบทบัญญัติบังคับให้พรรคการเมืองอยู่ภายใต้กฎหมายนั่นเอง คือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 100 และ 102 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 97 ระบุว่า “ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป จะจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ ทั้งนี้ภายในกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ พรรคการเมืองนั้นต้องยุบไป” ทั้งๆที่บ้านเราก็เคยมี รัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ คือรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการรวมตัวกันเป็นพรรคการเมือง เพื่อดำเนินการตามวิถีประชาธิปไตย จะนำเอากฎหมายที่ว่าด้วยสมาคม (ซึ่งต้องไปจดทะเบียนและอยู่ใต้กฎหมาย) มาใช้กับพรรคการเมืองมิได้”
ระบอบประชาธิปไตยจริงๆ เป็นระบอบที่ไม่ผิดธรรมชาติ มีแต่ระบอบเผด็จการเท่านั้นที่ผิดธรรมชาติ เพราะว่าไม่ต้องการให้พรรคอื่นพวกอื่นเข้ามาแข่งด้วย เช่น พรรคฟาสซิสต์ ของมุสโสลินี กับพรรคนาซี ของฮิตเลอร์ พอได้อำนาจขึ้นมาก็จะอยู่คนเดียว จึงต้องออกกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมือง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับอำนาจของตนได้เลย ฉะนั้น ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย จึงไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองขึ้นมาบังคับ ใช้กับพรรคการเมืองเพราะเขาถือกันว่า เป็นกฎหมายที่ทำลายสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนอย่างร้ายแรง
แต่ระบอบเผด็จการ รัฐสภาของบ้านเรา ใช้วิธีที่นุ่มนวลและแนบเนียนหน่อย ในการรักษาระบอบเผด็จการเอาไว้ โดยประชาชน ไม่รู้ความจริง คือใช้กฎหมาย พรรคการเมืองบ้าง กฎหมายรัฐธรรมนูญบ้าง กฎหมายลูกบ้าง โดยอ้างว่า เพื่อให้พรรคการเมืองมีคุณธรรม และเพื่อทำให้การเลือกตั้งมี ความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ซึ่งดูไปแล้วก็คล้ายๆ กับว่าเป็นความชอบธรรม และมิได้กีดกันใคร มิได้สืบทอดอำนาจ แต่แท้จริงแล้วก็คือ การใช้อำนาจรัฐออกกฎหมายเพื่อกีดกันพรรคอื่น พวกอื่น เพื่อต้องการที่จะกุมอำนาจเผด็จการเอาไว้คนเดียว ซึ่งนักวิชาการเรียกบุคคลพวกนี้ว่า “อำมาตยาธิปไตย” และเมื่อการปกครองแบบเผด็จการพัฒนาไปไม่ได้ก็จะโยนความผิดไปให้พรรคการเมืองของชนชั้นกลาง ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นพรรคของประชาชนเหมือนกัน เป็นแพะรับบาปแทนทุกครั้งไป
https://www.facebook.com/notes/democracy-process/กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย/1982641141968404/
https://www.youtube.com/watch?v=-B6cv0zy41g&list=PLD5vEpubN2Q8J7AYa5A15EbD7PD4rlyfb&index=1&t=2272s
กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
อ.วันชัย พรหมภา
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ตามที่คณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติห้ามอดีตคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ขึ้นปราศรัยหาเสียง ถ่ายรูปกับผู้สมัคร หรือมีตำแหน่งที่ปรึกษาใดๆ กับพรรคการเมืองในปัจจุบัน และมีมติออกระเบียบว่าด้วยการสืบสวนและวินิจฉัย เพื่อที่จะนำมาใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่คำสั่งให้ยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน พรรคพัฒนาชาติไทย 19 คน และพรรคแผ่นดินไทย 3 คนมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น
ปัญหานี้ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงการต่างๆอย่างกว้างขวางว่า คณะกรรมการเลือกตั้งใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายวางหลักไว้หรือไม่ เป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลหรือไม่ เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือว่าเป็นกฏเหล็กของเผด็จการรัฐประหาร เพื่อตามล้างตามเช็คเผด็จการรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือไม่ ตลอดจนการออกกฎหมายควบคุมพรรคการเมืองนั้น มีความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ฯลฯ แต่ปรากฎว่าเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น ไม่มีใครพูดถึงปัญหาหลักการ หรือปัญหาทฤษฎี และปัญหาข้อเท็จจริงกันเลย พรรคความหวังใหม่มีความเห็นว่า เสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น นอกจากจะหาข้อยุติในเรื่องนี้ไม่ได้แล้ว ยังมีผลทำให้ความแตกแยกของคนในชาติ ซึ่งเลวร้ายอยู่แล้วในขณะนี้ทวีความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น อันไม่เป็นผลดีต่อชาติบ้านเมือง และที่สำคัญก็คือ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาหนึ่ง ของเรื่องประชาธิปไตย ถ้าตราบใดที่พี่น้องประชาชนยังไม่เข้าใจปัญหานี้ บ้านเมืองของเราก็ไม่อาจจะหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ เข้าสู่บาทวิถีแห่งประชาธิปไตยได้เลย ด้วยเหตุนี้ พรรคความหวังใหม่ จึงขอแถลงให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบถึง ปัญหาหลักการ ปัญหาทฤษฎี ปัญหาข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้
ปัญหาแรกก็คือ ปัญหาทฤษฎี ก่อนอื่นก็คือ เราต้องทำความเข้าใจว่า พรรคคืออะไร?หรือพรรคการเมืองคืออะไร? โดยทั่วไปก็เข้าใจกันอยู่แล้วว่า พรรคการเมืองคืออะไร แต่ความเข้าใจเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องทฤษฎี หรือสาระสำคัญของพรรคการเมือง เพราะสาระสำคัญของพรรคการเมือง (Political party) ก็คือ กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลที่ยึดกุมอำนาจรัฐ หรือมีความมุ่งหมายเพื่อที่จะเข้ายึดกุมอำนาจรัฐ นี่คือสาระสำคัญของพรรคการเมือง จะมีรูปหรือชื่อเรียก และมีที่มาอย่างไรก็แล้วแต่ รูปของกลุ่มของคณะนั้นอาจจะไม่เรียกว่าพรรคก็ได้ ถ้ามีความมุ่งหมายเพื่อจะเข้ากุมอำนาจรัฐแล้วก็ได้ชื่อว่ามีลักษณะเป็นพรรคการเมืองทั้งนั้น เช่น มีหนังสือพิมพ์บางฉบับเรียก คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ “คปค.”ว่า “พรรคทหาร” ซึ่งก็หมายถึงพรรคการเมืองนั่นเอง คือพรรคการเมืองทหาร ส่วนจะเข้ามากุมอำนาจรัฐตามวิถีทางประชาธิปไตยหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
พรรคการเมืองมันมิใช่พึ่งจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน พรรคการเมืองมันเกิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถ้าถามว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร ก็ต้องตอบว่าพรรคการเมืองเกิดพร้อมกับรัฐ คือ ประเทศเมื่อมีรัฐก็มีพรรคการเมือง ไม่ว่าพรรคการเมืองนั้นจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ ถ้าประเทศมีรัฐปกครอง ประเทศก็ต้องมีพรรคการเมือง ตั้งแต่ยุคโบราณเป็นมาอย่างนี้ ฉะนั้น พรรคการเมืองเป็นของคู่กับรัฐ นี่เป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญ
ก่อนสมัยกลางคือสมัยกรีกโรมัน เมื่อเกิดประเทศขึ้นและมีรัฐปกครอง รัฐก็เรียกว่า “รัฐแห่งนคร” (City State) ต่อมาประเทศเป็นรูปของจักรวรรดิ รัฐก็เป็น “รัฐจักรวรรดิ” (Empire State) ในสมัยกลางรัฐจักรวรรดิล่มสลายไป กลายเป็นรูปใหม่เรียกว่า ศักดินา รัฐก็เรียกว่า “รัฐศักดินา” (Feudal State) และต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ประเทศเปลี่ยนรูปไปเป็นชาติหรือประชาชาติ รัฐก็เปลี่ยนรูปไปเป็น “รัฐประชาชาติ” (National State) หรือ “รัฐแห่งชาติ” (State of Nation)
อำนาจในการปกครองของประเทศนั้นเรียกว่า “อำนาจแห่งรัฐ” (Power of State)เป็นอำนาจสูงสุดเรียกว่า “อำนาจอธิปไตย” (Sovereign Power) อำนาจชนิดนี้ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ถือว่าเป็น “อำนาจของประชาชน” จึงเรียกว่า “อำนาจอธิปไตยของปวงชน” (Sovereignty of the people) หรือจะเรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตย” (Democratic regime) ก็ได้ เพราะคือสิ่งเดียวกัน แต่ในสมัยกลางและสมัยโบราณอำนาจชนิดนี้ เรียกว่า “กฤษฎาธิปไตย” (Suzerainty)
รัฐเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมต้องมีผู้ที่เข้าไปยึดกุมกลไกและอำนาจต่างๆ เพื่อใช้ในการปกครองประเทศ คณะบุคคลที่เข้าไปยึดกุมนี้เรียกว่า “พรรคการเมือง” เพียงแต่ว่า แต่ก่อนไม่ได้ เรียกว่า พรรคการเมืองเท่านั้น เช่นสมัยกลางผู้ที่เข้าไปยึดกุมก็เป็นราชวงศ์ เรียกว่า “พระราชวงศ์” ซึ่งไม่ว่าประเทศไหนๆ ก็ล้วนแต่มีพระราชวงศ์ พระราชวงศ์หนึ่งก็เท่ากับ พรรคหนึ่ง และบางทีในราชวงศ์เดียวกันนั้นอาจมีหลายๆ กลุ่ม หลายพวกต่อสู้กัน เพื่อเข้าไปกุมอำนาจในกลไกแห่งรัฐ เพราะว่าอำนาจแห่งรัฐและกลไกแห่งรัฐนี้ มันเป็นของกลาง ใครจะเข้าไปยึดกุมก็ได้ แล้วแต่ใครจะสามารถ ในประวัติศาสตร์เป็นอย่างนี้มาเป็นลำดับ มาจนถึงยุคสมัยใหม่จึงมีคำว่า พรรคการเมืองเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 300 กว่าปีมานี้เอง และแบบใหม่ก็คือ การต่อสู้ด้วยเหตุผล และมีกติกาเรียกว่า วิถีทางประชาธิปไตย (Democratic way) มีการตั้งพรรคขึ้นแล้วก็ต่อสู้กันแบบประชาธิปไตย แต่ถ้าผิดกติกา หรือ ไม่เป็นประชาธิปไตย ก็จะมีการต่อสู้ในรูปแบบอื่นๆ เพิ่มขึ้น คือ การทำรัฐประหาร และทำสงครามกลางเมืองเป็นต้น เช่น กรณีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศของเราที่ผ่านมา
ปัญหาประการต่อมา ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงก็คือ พรรคการเมืองเป็นสิ่งที่อยู่เหนือรัฐ พรรคการเมืองคือผู้ที่จะเข้าไปกุมรัฐ ถ้าเข้าไปกุมอำนาจรัฐได้ ก็อยู่เหนือรัฐอย่างเด็ดขาด แต่ถ้ายังเข้าไปกุมไม่ได้ เพียงแต่มีความมุ่งหมายที่จะเข้าไปกุมอำนาจรัฐ ก็อยู่เหนือรัฐทั้งสิ้น เพราะการจะเข้าไปเอาอำนาจรัฐและกลไกรัฐมาไว้ในกำมือตนนั้น เป็นสิ่งที่เหนือรัฐตามหลักที่แท้จริง
แต่มีบางพรรคไม่ถือหลักถือเกณฑ์ ตามวิถีประชาธิปไตย โดยต้องการเข้าไปกุมอำนาจเสียคนเดียว ไม่ยอมให้พรรคอื่นพวกอื่นเข้ามามีส่วนในอำนาจรัฐด้วย จึงได้ใช้วิธีสกปรก คือใช้กฎหมายต่างๆ เป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะกฎหมาย พรรคการเมือง และกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์อะไรต่างๆที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองมาบังคับพรรคการเมือง โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้พรรคพวกฝ่ายตน ได้กุมอำนาจรัฐ วิธีการอย่างนี้ในสมัยนี้เรียกว่า “วิธีการเผด็จการ”
ตามธรรมดาแล้ว พรรคการเมืองมันไม่มีกฎหมายบังคับ มันพัฒนา มันเติบโต มันเจริญขึ้นมาตามสภาพของมันเอง แล้วแต่ว่ากลุ่มไหนคณะไหนจะมีความสามารถทำให้ประชาชนสนับสนุนซึ่งเป็นไปตามวิถีทางที่ถูกต้อง เป็นไปตามหลักตามเกณฑ์ และความยุติธรรม
กฎหมายนั้น ไม่สามารถที่จะเกี่ยวข้องอะไรได้กับพรรคการเมือง เพราะว่ากฎหมายเป็นเรื่องของรัฐ ไม่ใช่เรื่องของพรรค และเมื่อพรรคมันอยู่เหนือรัฐ พรรคจึงอยู่เหนือกฎหมาย กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐเท่านั้น ดังนั้น ถ้าให้พรรคการเมืองอยู่ใต้กฎหมาย ก็หมายความว่าเป็นการทำให้พรรคอยู่ใต้รัฐ พรรคอยู่ใต้กระทรวงมหาดไทย พรรคอยู่ใต้องค์กรอิสระอะไรก็ไม่รู้ และใช้อำนาจอะไรกันแน่ มาออกกฎเกณฑ์บังคับพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการทำผิดกฎเกณฑ์ ผิดธรรมชาติ เพราะว่าไม่ว่าระบอบใดๆ ตั้งแต่ยุดโบราณมา พรรคการเมืองนั้นเป็นเรื่องเหนือรัฐโดยตลอด เป็นธรรมชาติมาอย่างนี้ ถ้าใครไปทำให้พรรคไปอยู่ใต้กฎหมายแล้ว ก็หมายความว่า ไปทำลายกฎเกณฑ์ของพรรคการเมือง เป็นการฝืนธรรมชาติ มันไม่ใช่เรื่องดีสำหรับประเทศชาติ และประชาชนเลย ตรงกันข้ามมันกลับจะนำไปสู่ความยุ่งยากต่างๆ มากมาย เป็นความล้าหลังและนำมาซึ่งมิคสัญญี กลียุคกันเลยทีเดียว
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทำไมสื่อมวลชนจึงตั้งฉายาว่า “ฉบับปีศาจคาบไปป์” และนักการเมืองบางคนถึงกับให้ฉายา หยาบโลนว่าเป็นหัวอะไรกันเลย เหล่านี้เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญมันไม่ถูกต้อง และ ประชาชนไม่ยอมรับ จึงเบื่อหน่าย พรรคการเมือง เบื่อหน่ายการเลือกตั้ง สาเหตุสำคัญก็เพราะมีบทบัญญัติบังคับให้พรรคการเมืองอยู่ภายใต้กฎหมายนั่นเอง คือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 100 และ 102 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 97 ระบุว่า “ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป จะจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ ทั้งนี้ภายในกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ พรรคการเมืองนั้นต้องยุบไป” ทั้งๆที่บ้านเราก็เคยมี รัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ คือรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการรวมตัวกันเป็นพรรคการเมือง เพื่อดำเนินการตามวิถีประชาธิปไตย จะนำเอากฎหมายที่ว่าด้วยสมาคม (ซึ่งต้องไปจดทะเบียนและอยู่ใต้กฎหมาย) มาใช้กับพรรคการเมืองมิได้”
ระบอบประชาธิปไตยจริงๆ เป็นระบอบที่ไม่ผิดธรรมชาติ มีแต่ระบอบเผด็จการเท่านั้นที่ผิดธรรมชาติ เพราะว่าไม่ต้องการให้พรรคอื่นพวกอื่นเข้ามาแข่งด้วย เช่น พรรคฟาสซิสต์ ของมุสโสลินี กับพรรคนาซี ของฮิตเลอร์ พอได้อำนาจขึ้นมาก็จะอยู่คนเดียว จึงต้องออกกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมือง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับอำนาจของตนได้เลย ฉะนั้น ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย จึงไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองขึ้นมาบังคับ ใช้กับพรรคการเมืองเพราะเขาถือกันว่า เป็นกฎหมายที่ทำลายสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนอย่างร้ายแรง
แต่ระบอบเผด็จการ รัฐสภาของบ้านเรา ใช้วิธีที่นุ่มนวลและแนบเนียนหน่อย ในการรักษาระบอบเผด็จการเอาไว้ โดยประชาชน ไม่รู้ความจริง คือใช้กฎหมาย พรรคการเมืองบ้าง กฎหมายรัฐธรรมนูญบ้าง กฎหมายลูกบ้าง โดยอ้างว่า เพื่อให้พรรคการเมืองมีคุณธรรม และเพื่อทำให้การเลือกตั้งมี ความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ซึ่งดูไปแล้วก็คล้ายๆ กับว่าเป็นความชอบธรรม และมิได้กีดกันใคร มิได้สืบทอดอำนาจ แต่แท้จริงแล้วก็คือ การใช้อำนาจรัฐออกกฎหมายเพื่อกีดกันพรรคอื่น พวกอื่น เพื่อต้องการที่จะกุมอำนาจเผด็จการเอาไว้คนเดียว ซึ่งนักวิชาการเรียกบุคคลพวกนี้ว่า “อำมาตยาธิปไตย” และเมื่อการปกครองแบบเผด็จการพัฒนาไปไม่ได้ก็จะโยนความผิดไปให้พรรคการเมืองของชนชั้นกลาง ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นพรรคของประชาชนเหมือนกัน เป็นแพะรับบาปแทนทุกครั้งไป
https://www.facebook.com/notes/democracy-process/กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย/1982641141968404/
https://www.youtube.com/watch?v=-B6cv0zy41g&list=PLD5vEpubN2Q8J7AYa5A15EbD7PD4rlyfb&index=1&t=2272s