EEC - พลิกโฉมสนามบินอู่ตะเภา สู่ Aerotropolis

คำว่า “Aerotropolis” มาจากคำว่า Aviation + Metropolis ซึ่งเป็นแนวความคิดจาก Dr. John D. Kasarda ที่จะเปลี่ยนสนามบินให้กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งนิตยสาร Time (2011) ยกให้เป็น 1 ใน 10 แนวคิดที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้

โดยแนวคิด “Aerotropolis” หมายถึง เมืองที่มีสนามบินเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา รูปแบบผังเมืองโครงสร้างพื้นฐาน เเละระบบเศรษฐกิจจะคล้ายกับการพัฒนาเมืองขนาดใหญ่ มีสนามบินเป็นศูนย์กลางของความเจริญใจกลางเมือง  และเขตเมืองจะขยายออกไปยังเขตชานเมือง
ที่มา : Aerotropolis.com


"สนามบินจะเป็นโครงการใหม่ที่ใช้พัฒนา ขับเคลื่อนธุรกิจ ดึงดูดคน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 แบบที่ถนนเคยทำไว้ในศตวรรษที่ 20 รางรถไฟในศตวรรษที่ 19  และเส้นทางเดินเรือในศตวรรษที่ 18"

ที่มา : Aerotropolis Wiki



ดร. Kasarda ยังเป็นผู้ก่อตั้ง และผู้บริหารสถาบัน “มหานครการบิน” (Aerotropolis Institute) ในประเทศจีน ทั้งยังเป็นผู้พัฒนาเมืองการบินรอบสนามบินนานาชาติเจิ้งโจว ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นสนามบินที่ทันสมัย และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ จากสนามบินเจิ้งโจว สู่เมืองการบิน “อู่ตะเภา”

ใช้สนามบินเจิ้งโจ้วเป็นต้นแบบในการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า  รัฐบาลจะพัฒนาพื้นที่รอบสนามบินอู่ตะเภา ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยตั้งเป้าไว้ภายในระยะเวลา 5 ปี คือปี 2565 จะพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นเมืองแห่งการบิน (Airport City) และเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 3 ของประเทศ และในปี 2570 จะพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้ใหญ่ขึ้นเป็นมหานครการบิน (Aerotropolis) ให้ใช้ประโยชน์ได้ทั้งการคมนาคม โลจิสติกส์ เป็นมหานครการบิน ผนวกเข้ากับการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ

“ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา” เดิมใช้ประโยชน์ทางด้านความมั่นคงเป็นหลัก และได้รับการผลักดันให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติหลักของประเทศแห่งที่ 3  เนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองซึ่งเป็นสนามบินหลักในปัจจุบันมีความแออัดแม้จะมีแผนการขยายตัวอย่างเต็มที่ทั้งสองสนามบิน ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้โดยสารได้ในอนาคต
ที่มา : สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ดังนั้น อีอีซีจะเป็นส่วนขยายสำคัญของกรุงเทพมหานคร ทำให้กลายเป็นมหานครเต็มรูปแบบ รองรับประชากรรวมกัน 25 ล้านคนเช่นเดียวกับมหานครของต่างประเทศ อาทิ โตเกียว เซี่ยงไฮ้ โซล และอินชอน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่