ฝูงแพะนักปีนป่ายต้นไม้ช่วยแพร่พันธุ์พืช Desert Gold

.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ.
16 Goats In A Tree

.

.
ฝูงแพะกินยอดอ่อนของต้น Argan
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Morocco
ในฤดูที่ต้นไม้ออกดอกออกผล
เมล็ดของต้น Argan จะถูกฝูงแพะกินไปด้วย
Ⓒ H. Garrido/EBD-CSIC)
.
.


แพะกับกระรอกเหมือนกันตรงไหน[/]

ทั้งคู่ต่างปีนป่ายต้นไม้
แต่แน่นอน กระรอกหากินระหว่างกิ่งไม้กับต้นไม้
แต่แพะ ในบางเขตพื้นที่แห้งแล้ง
พวกมันปีนป่ายต้นไม้เพื่อหาอาหารชั้นดี
นั่นคือ ใบไม้บนยอดไม้

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า
แพะพื้นเมืองที่เลี้ยงในภาคใต้ของโมร็อกโก
สร้างคุณประโยชน์ให้กับ
ต้นไม้ Argania spinosa
ด้วยการคายเมล็ดผลไม้ที่พวกมันกิน
ซึ่งจะช่วยในการกระจายเมล็ด
ของต้นไม้ Argania spinosa
ให้มีโอกาสเติบโตในที่ต่าง ๆ

ในภาคใต้ของโมร็อกโก
ซึ่งมีฝนตกเฉลี่ยปีละ 300 มิลิเมตร
ต้น Argan มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง
เพราะเป็นแนวกั้นพื้นที่ทะเลทรายซาฮารา
ที่รุกคืบหน้ามาอย่างช้า ๆ
ทั้งยังช่วยให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์
จากไม้ เป็นอาหารและยา และวัสดุอื่น ๆ
น้ำมันของต้น Argan บางครั้งเรียกว่า
ทองคำทะเลทราย Desert Gold
เพราะกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ระดับสูง
เป็นที่นิยมกันในระดับนานาชาติหลายปีแล้ว
เพราะมีคุณสมบัติในการต่อต้านริ้วรอย(ชรา)
ใช้ในการปรับสภาพสำหรับเส้นผมและผิวหนัง

แพะนักปีนป่ายต้นไม้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
ในการกระจายเมล็ดพันธุ์พืชจากต้น Argan
สร้างความให้มั่นใจได้ว่าความสำเร็จ
ในรุ่นต่อไปของคนเราจากทรัพยากรล้ำค่านี้

แต่แพะก็มีข้อเสียอย่างหนึ่งคือ
กินไม่เลือก/กินจุมาก ต้นอ่อน หน่ออ่อน กิ่ง
จึงต้องมีการควบคุมจำนวนแพะ/พื้นที่เลี้ยงแพะ
มิฉะนั้นจะทำให้ต้นไม้/พืชไม่มีโอกาสเติบโต
ดังจะเห็นได้จาก พื้นที่หลายแห่ง
ที่กันดารไม่ค่อยมีต้นไม้งอกงาม
เพราะชาวบ้านเลี้ยงแพะกันมากเกินไป

นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่าน คือ
Miguel Delibes  Irene Castaneda
และ Jose M. Fedriani ได้ร่วมกันเขียน
Frontiers in Economy and the Environment

" สำหรับพืช เรื่องที่ทราบกันดีว่า
ประโยชน์ในด้านการสืบพันธุ์
คือ การกระจายเมล็ดพันธุ์
ของพวกมันออกไปจากพืชตัวแม่
รวมทั้งความอยู่รอดของเมล็ดพันธุ์
และต้นกล้า(เติบโต้เป็นต้นไม้ต่อไป) "
.
.
.
ฝูงแพะทางตอนใต้ของ Moracco
กำลังปืนป่ายต้น Argan
เพื่อกินเมล็ดและใบไม้
Ⓒ imagebroker/Rex/Shutterstock
.
.


ฝูงแพะพื้นเมืองในเขตทุ่งหญ้าเขียวขจี
ที่มีภูมิอากาศเย็นสบาย
พวกมันจะไม่ปืนป่ายต้นไม้
เพราะมีอาหารเหลือเฟือใต้กีบเท้า
แต่ในเขตร้อนแห้งแล้ง/กันดาร
ที่มีหญ้าค่อนข้างน้อยและขัดสนมาก เช่น
แอฟริกา เม็กซิโก พื้นที่บางแห่งในยุโรป
พวกแพะจะพุ่งพรวดขึ้นบนต้นไม้
และหมอบอยู่บนต้นไม้เพื่อการยังชีพ

ในตอนใต้ของ Morrocco ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง
แพะหลายตัวปืนถึงยอดไม้สูงถึง 30 ฟุตได้
เพราะพื้นดินขาดแคลนพืชผักใบหญ้า
ทำให้พวกมันต้องหากินบนยอดต้นไม้ Argan
กินเวลาถึง 3/4 ส่วนมากกว่าการหากินบนพื้นดิน

นักชีววิทยาต่างทราบกันดีว่า
สัตว์เคี้ยวเอื้อง (แพะ วัว แกะ กวาง ฯลฯ )
ต่างแพร่กระจายเมล็ดพืช
ผ่านการถ่ายอุจจาระของพวกมัน
แบบ endozoochory

แต่มีสัตว์บางประเภท
พวกมันจะถ่มน้ำลายออกมาพร้อมกับเมล็ดพืช
เช่น กวางหางขาว Odocoileus virginianus
จะถ่มน้ำลายเมล็ดพืช Spondias mombin ออกมา
ขณะที่เคี้ยวเอื้องอาหารและเมล็ดพืช
เพื่อไม่ผ่านเข้าไปในกระเพาะอาหาร
กับระบบทางเดินอาหารที่ด้านล่าง

แต่นักวิทยาศาสตร์ที่วิจัยในเรื่องนี้
ระบุเพิ่มเติมว่า  แม้ว่าต้น Argan
จะแพร่กระจายเมล็ดพืชผ่านทางมูลสัตว์
จากฝูงแกะและกวางที่มักจะพบเห็นกันในสเปน

แต่ดูเหมือนว่า แพะโมร็อกโก
จะกระจายเมล็ดพืช Argan ได้ดีกว่า
เพราะเมล็ดของต้น Argan มีขนาดใหญ่
และเป็นไปได้ยากมากที่เมล็ดนี้
จะผ่านออกทางลำไส้ของพวกแพะ

แพะก็เหมือนกับสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดอื่น ๆ
พวกมันเคี้ยวเอื้องด้วยการสำรอก
ออกมาจากกระเพาะอาหารชุดแรก
พร้อมทั้งเคี้ยวเอื้องอีกหลายครั้ง
โดยในระหว่างการเคี้ยวเอื้องนั้น
พวกแพะจะถ่มน้ำลายให้เมล็ด Argan ออกมา
ในช่วงเวลาอีกหลายวันต่อมา
เมล็ดต้น Argan จะกระจายไปไกลจากต้นแม่

ดังนั้น  การกระจายเมล็ดพันธุ์พืช
ไม่ใช่มีแต่เพียงจากมูลสัตว์เท่านั้น
.
.

ใบของต้น Argan มีขนาดเล็ก
2–4 เซ็นติเมตร (0.79–1.57 นิ้ว)
ใบรูปไข่และปลายเรียวมน
ดอกมีขนาดเล็กมีห้าแฉกกลีบสีเหลืองเขียว
ดอกจะบานในช่วงเดือนเมษายน
เมื่อผสมเกสรจนติดแล้วจะออกผล
มีขนาด 2–4 เซ็นติเมตร (0.79–1.57 นิ้ว)
ขนาดยาว 1.5–3 เซ็นติเมตร (0.59–1.18 นิ้ว)
มีเปลือกหนาและค่อนข้างขม
แม้ว่าจะมีกลิ่นหอมหวานก็ตาม
แต่รสชาติของเปลือกหุ้มเมล็ดไม่เข้าท่าเลย
เพื่อหุ้มเปลือกหนาของเมล็ดข้างในอีกทีหนึ่ง
ซึ่งด้านในมักจะมี 1 เมล็ด (บางครั้ง 2-3)
เมล็ดข้างในมีขนาดเล็ก อุดมไปด้วยไขมัน
ผลไม้ต้น Argan กว่าจะสุกต้องใช้เวลาถึงหนึ่งปี
เรียกว่าเริ่มออกดอกออกผลเดือนมิถุนายน
ต้องถึงเดือนกรกฎาคมปีหน้าถึงได้ผล

ใน Morocco ตอนนี้พื้นที่ป่าไม้ต้น  Argan
เพิ่มขึ้นเป็น 8,280 ตร.กม. (5,175,000 ไร่)
และเป็นพื้นที่อนุรักษ์ชีวมณฑลของ UNESCO
พื้นที่นี้เคยถูกบุกรุกทำลายป่าเมื่อราว 100 ปีก่อน
ด้วยการเผาถ่านจากต้นไม้
และการบุกรุกเพาะปลูกพืชไร่
แนวทางพัฒนาที่ดีที่สุดคือ
การส่งออกน้ำมันจากต้น Argan
ที่ได้ราคาในท้องตลาดค่อนข้างสูงมาก

แต่ผลที่ตามมาคือ
การเพิ่มจำนวนประชากรแพะ
เพราะค่านิยม/วัฒนธรรมท้องถิ่น
ที่คนมีเงินหรือคนร่ำรวยจะต้องซื้อหา
ครอบครองแพะจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม
ทำให้ฝูงแพะปีนป่ายต้น Argan
เพื่อกินใบไม้และผลของมัน
ซึ่งอาจจะทำให้มีผลต่อผลผลิตในอนาคตได้
ถ้าไม่มีการควบคุมจำนวนแพะ/พื้นที่เลี้ยงแพะ

ในตอนนี้ Argan มีการปลูก
ใน Israel ที่ Arabah กับ Negev
.
.

ในการทดสอบได้นำเมล็ดพืช
Chamaerops humilis
(Arecaceae; 16.3 × 11.0 mm ขนาดเฉลี่ย)
Crataegus monogyna
(Rosaceae; 6.1 × 4.8 mm)
Celtis australis
(Ulmaceae; 6.7 × 6.3 mm)
Olea europaea var sylvestris
(Oleaceae; 10.2 × 5.4 mm)
O europaea var domestica
(Oleaceae; 13.3 × 5.8 mm)
Ceratonia siliqua
(Fabaceae; 7.5 × 5.3 mm)

ผลปรากฎว่าฝูงแพะในกลุ่มตัวอย่าง
กินเมล็ดพืชพวกนี้ได้หมด
แต่มีการถ่มเมล็ดพืชขนาดใหญ่
ออกมาราว 30–45%
เป็นเมล็ดของ C humilis
และ O europaea var domestica
ส่วนเมล็ดอื่น ๆ ที่ถ่มออกมาราว 10%

ทางตอนใต้ของสเปน
กวางแดง (Cervus elaphus)
และกวางสีเหลืองอ่อน (Dama dama)
พวกมันมักจะถ่มเมล็ดพืชออกมา
ระหว่างสำรอกเพื่อเคี้ยวเอื้อง
นกแก้วใน Brazil ที่กินเมล็ดปาล์ม
หลังจากฝูงวัวได้สำรอก
และเคี้ยวเอี้องแล้วถ่มออกมา

การแพร่กระจายตัว
ของเมล็ดพืชจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง
มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก
สัตว์ป่าเคี้ยวเอื้องพื้นเมืองจำนวนมาก
(ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 ถึง 800 กก.)
ประมาณการว่ามีราว 75 ล้านตัว
ยกเว้นทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา
(ออสเตรเลียเคยนำอูฐ ควาย กระต่าย
มาเลี้ยงแต่ต่อมากลายเป็นสัตว์ป่า)
สัตว์พื้นเมืองเคี้ยวเอี้องที่คนเลี้ยง
ในทุกทวีป (ที่มีน้ำหนัก 40 ถึง 800 กก.)
ประมาณการว่ามีราว 3.6 พันล้านตัว

พวกสัตว์เหล่านี้กินอาหาร
ประเภทผลไม้และใบไม้ เช่นเดียวกับหนู
(บางครั้งพวกหนูก็ปีนบนต้นไม้เพื่อหาอาหาร)

แต่สัตว์เคี้ยวเอื้องในประเทศ
ที่เลี้ยงแบบมีรั้วรอบขอบชิด
ไม่สามารถกระจายเมล็ดพืช
ออกไปจากทุ่งนา/ทุ่งหญ้าได้

แต่พวกสัตว์ป่าเคี้ยวเอี้อง
จะกระจายเมล็ดพันธุ์พืชได้จำนวนมาก
เพราะแม้ว่าเมล็ดพืชจะอยู่ในกระเพาะ
เป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันก็ตาม
แต่เมื่อขับถ่ายออกมาแล้วมักจะไปไกลจากต้นแม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ในถิ่นที่อพยพหลายร้อยกิโลเมตร
เพื่อดั้นด้นหาทุ่งหญ้าที่มีให้กินเพียงพอ
รวมทั้งพวกสัตว์ป่าที่อพยพ
ย้ายถิ่นฐานตามฤดูกาลในแต่ละปี
.

เรียบเรียง/ที่มา


https://goo.gl/XHLvXu
https://goo.gl/CpQclr
https://goo.gl/xNkBrO
https://goo.gl/rN7XXm

.
https://goo.gl/CpQclr
.
.

.

.

.

.

.

.

.

.
https://goo.gl/xNkBrO
.
.

.

.
https://goo.gl/rN7XXm
.
.

.
ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/eHETjK
.

.
กวางหางขาว (Odocoileus virginianus)
.

.
Spondias mombin
.

.
กวางแดง (Cervus elaphus)
.

.
กวางสีเหลืองอ่อน (Dama dama)
.

.
นกแก้วบราซิล

.
.

เรื่องเล่าไร้สาระ


แพะรับบาป

มีในคัมภีร์คริสตศาสนายุคแรก
ที่กล่าวถึงการบูชาพระเจ้าด้วยแพะ
ความเชื่อของชนเผ่าพื้นเมืองในทะเลทราย
หรือในอินเดียสมัยก่อน(จะไม่นิยมฆ่าวัว)
เวลามีโชคดีหรือเคราะห์ร้ายเกิดขึ้นมา
มักจะมีการฆ่าแพะบูชายัญ
เพื่อเฉลิมฉลอง/เพื่อไถ่โทษบาป
และบวงสรวงเทพเทวดาไปในตัวด้วย
แบบ Three in One ทำนองนั้น

ในบางแห่ง แพะจะไม่ถูกฆ่า
แต่จะนำแพะมาทำพิธีกรรมก่อน
แล้วนำมันไปปล่อยในเขตทุรกันดาร
หรือปล่อยเข้าป่า หรือ ในทะเลทราย
คนที่ทราบที่มาที่ไปของแพะตัวดังกล่าว
จะไม่มีใครกล้าจับแพะตัวนั้นมากินเป็นอาหาร

แต่ผู้รู้บางคนว่าเป็นกุศโลบายอีกทางหนึ่ง
โดยจะให้ปล่อยแพะรับบาปตัวผู้
ที่แข็งแรงอยู่รอดได้ ไปช่วยในการ
ปรับปรุงพันธุกรรมฝูงแพะในที่อื่น
ที่มักจะมีสายเลือดชิดกันจนเกินไปแล้ว

แถวบ้านเพื่อนชาวมุสลิมเล่าให้ฟังว่า
จะมีการฆ่าแพะอายุราวหนึ่งปี
เพื่อเลี้ยงฉลองต้อนรับสมาชิกใหม่
(ตัวน้อย)ของครอบครัว

ในบางท้องที่มีวิธีการคัดเลือกแพะ
ที่มีขนาดสีผิวหนังและตำหนิ
เพื่อให้ถูกกับความเชื่อดั้งเดิม
ที่เล่าสืบทอดกันมานานแล้ว
แม้ว่าอาจจะไม่สอดคล้องกับ
หลักการศาสนาอิสลาม
ที่สัตว์ทุกชนิดพระเจ้าทรงสร้างไว้
และทรงอนุญาตให้กินบางชนิดได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่