มีนักศึกษา ป.เอกถามมา ก็ขอเผยแพร่เผื่อเป็นประโยชน์ท่านอื่น...
Thesis – Antithesis - Synthesis เป็นหลักปรัชญาของนักคิดชาวเยอรมันเมื่อสองร้อยปีก่อน แต่เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน Fichte ที่ให้คำสามคำนี้ เป็นวิธีการคิดที่ใช้หลักแนวคิดสามคำที่เรียกว่า dialectic method ในการนำเสนอความคิด (Thesis) การเสนอข้อคิดที่ตรงข้าม (Antithesis) และความคิดที่ผสมผสานกับสองแนวคิดแรก (Synthesis)
ในปัจจุบัน แนวคิด Thesis – Antithesis - Synthesis นำมาใช้ในการวางกลยุทธเขียนเรียงความ (expositional writing) โดยเฉพาะการเขียนเรียงความที่ให้เวลาจำกัด เพื่อให้เห็นกระบวนการลื่นไหลของความคิดในการเขียน เริ่มต้นจากการนำเสนอถ้อยแถลงที่เป็นแนวคิดทางปัญญาและเป็นนามธรรมสูง (intellectual proposition : Thesis) ตามมาด้วยการเสนอแนวคิดที่วิพากษ์ความคิดที่นำเสนอ (critical perspective on the thesis : Antithesis) และตามมาด้วยการเขียนแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยข้อเท็จจริงที่เหมือนกันระหว่างสองแนวคิด และให้ถ้อยแถลงใหม่ (new proposition : Synthesis)
The thesis is an intellectual proposition.
The antithesis is a critical perspective on the thesis.
The synthesis solves the conflict between the thesis and antithesis by reconciling their common truths, and forming a new proposition.
ยกตัวอย่างเช่น ....
พ่อแม่มีอำนาจเต็มที่โดยไม่มีการโต้แย้งในการเลี้ยงเด็กเมื่อเยาว์วัย (ความเชื่อฟัง : Thesis) เมื่อเด็กเติบโตขึ้นเป็นวัยรุ่นก็จะพัฒนาขั้นเป็นการกระทำหรือความรู้สึกต่อต้าน (การต่อต้าน : Antithesis) เมื่อผ่านวัยรุ่นเป็นผู้ใหญ่ที่ทำงานมีความรับผิดชอบมากขึ้น ความต้องการต่อต้านผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจก็เริ่มน้อยลง กลายเป็นความเป็นอิสระ (ความเป็นอิสระ : Synthesis) ที่ไม่จำเป็นต้องต่อต้านอีกต่อไป
เขียนโดยใช้ความคิดจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Thesis,_antithesis,_synthesis
https://www.quora.com/What-are-some-good-examples-of-the-thesis-antithesis-synthesis-process
ent/uploads/2015/02/MakeLearningStick.pdf
… สรายุทธ กันหลง เสาร์ 24 ธันวาคม 2559 9.30 น. กรุงเทพ
Thesis – Antithesis - Synthesis and Research Writing (การเขียนงานวิจัย)
Thesis – Antithesis - Synthesis เป็นหลักปรัชญาของนักคิดชาวเยอรมันเมื่อสองร้อยปีก่อน แต่เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน Fichte ที่ให้คำสามคำนี้ เป็นวิธีการคิดที่ใช้หลักแนวคิดสามคำที่เรียกว่า dialectic method ในการนำเสนอความคิด (Thesis) การเสนอข้อคิดที่ตรงข้าม (Antithesis) และความคิดที่ผสมผสานกับสองแนวคิดแรก (Synthesis)
ในปัจจุบัน แนวคิด Thesis – Antithesis - Synthesis นำมาใช้ในการวางกลยุทธเขียนเรียงความ (expositional writing) โดยเฉพาะการเขียนเรียงความที่ให้เวลาจำกัด เพื่อให้เห็นกระบวนการลื่นไหลของความคิดในการเขียน เริ่มต้นจากการนำเสนอถ้อยแถลงที่เป็นแนวคิดทางปัญญาและเป็นนามธรรมสูง (intellectual proposition : Thesis) ตามมาด้วยการเสนอแนวคิดที่วิพากษ์ความคิดที่นำเสนอ (critical perspective on the thesis : Antithesis) และตามมาด้วยการเขียนแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยข้อเท็จจริงที่เหมือนกันระหว่างสองแนวคิด และให้ถ้อยแถลงใหม่ (new proposition : Synthesis)
The thesis is an intellectual proposition.
The antithesis is a critical perspective on the thesis.
The synthesis solves the conflict between the thesis and antithesis by reconciling their common truths, and forming a new proposition.
ยกตัวอย่างเช่น ....
พ่อแม่มีอำนาจเต็มที่โดยไม่มีการโต้แย้งในการเลี้ยงเด็กเมื่อเยาว์วัย (ความเชื่อฟัง : Thesis) เมื่อเด็กเติบโตขึ้นเป็นวัยรุ่นก็จะพัฒนาขั้นเป็นการกระทำหรือความรู้สึกต่อต้าน (การต่อต้าน : Antithesis) เมื่อผ่านวัยรุ่นเป็นผู้ใหญ่ที่ทำงานมีความรับผิดชอบมากขึ้น ความต้องการต่อต้านผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจก็เริ่มน้อยลง กลายเป็นความเป็นอิสระ (ความเป็นอิสระ : Synthesis) ที่ไม่จำเป็นต้องต่อต้านอีกต่อไป
เขียนโดยใช้ความคิดจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Thesis,_antithesis,_synthesis
https://www.quora.com/What-are-some-good-examples-of-the-thesis-antithesis-synthesis-process
ent/uploads/2015/02/MakeLearningStick.pdf
… สรายุทธ กันหลง เสาร์ 24 ธันวาคม 2559 9.30 น. กรุงเทพ