ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง รูป ทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว ;
เขาย่อมกำหนัดในจักษุ, กำหนัดในรูปทั้งหลาย, กำหนัดในจักขุวิญญาณ,
กำหนัดในจักขุสัมผัส, และกำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม.
เมื่อบุคคลนั้น กำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมองต่ออัสสาทะอยู่,
ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป ;
และตัณหาของเขาอันเป็น เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขาแล้ว ; ความกระวนกระวาย (ทรถ)
แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุดแก่เขา , ความกระวนกระวาย แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ;
ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา, ความแผดเผา
แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ; ความเร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุดแก่เขา,
ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา. บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย,
ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.
(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน ก็ได้ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกัน).
ว่าด้วยอาการที่ตัณหา (เครื่องนำไปสู่ภพใหม่)อายตนะ 6 เจริญขึ้น
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง รูป ทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง,
เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว ;
เขาย่อมกำหนัดในจักษุ, กำหนัดในรูปทั้งหลาย, กำหนัดในจักขุวิญญาณ,
กำหนัดในจักขุสัมผัส, และกำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม.
เมื่อบุคคลนั้น กำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมองต่ออัสสาทะอยู่,
ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป ;
และตัณหาของเขาอันเป็น เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขาแล้ว ; ความกระวนกระวาย (ทรถ)
แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุดแก่เขา , ความกระวนกระวาย แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ;
ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา, ความแผดเผา
แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ; ความเร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุดแก่เขา,
ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา. บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย,
ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.
(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน ก็ได้ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกัน).