คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ก็เคยมีแนวคิดที่จะใส่วรรณยุกต์ตามเสียงที่ออกจริงสำหรับคำที่มาจากต่างประเทศ แต่สุดท้ายก็ได้รับการต่อต้านจากคนในสังคม จนราชบัณฑิตฯ ต้องยกเลิกไป
http://pantip.com/topic/13078663
http://pantip.com/topic/13078663
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
ทำไมเสียงวรรณยุกต์ไทยถึงดูไม่ค่อยมีมาตรฐานครับ แบบนี้คนต่างชาติมาเรียนไม่งงแย่เหรอ
รูปวรรณยุกต์ไม่ตรงกับ"หลักภาษา(?)" ก็แปลกดีเหมือนกัน
เช่น
เป๊ปซี่ - ถูกต้องตามหลักภาษา
คอมพิวเตอร์ - ผิดที่คำว่าเตอร์ เพราะอ่านออกเสียงสามัญ แบบเดียวกับคำว่า เจอ, เออ
โค้ก - ถูกต้องตามหลักภาษา
เปา บุ้น จิ้น, เหลียงซาน (จีน) - ถูกต้องตามหลักภาษา
ขจี, เชวง, เมิล, สดำ, สลา (เขมร) - ถูกต้องตามหลักภาษา
เฟสบุ๊ค / เฟซบุ๊ค - ผิดพยางค์แรก เพราะ ฟ.ฟัน เป็นอักษรต่ำ ถ้าใช้รูปสามัญก็จะกลายเป็นเสียงโทไม่ใช่เสียงตรี
คอมมิค - ผิดพยางค์ที่สองเพราะ ม.ม้า เป็นอักษรต่ำ ยังไงก็ต้องเติม ห.หีบ หรือไม้เอก จึงจะออกเสียงได้ตรง
เอาแค่นี้คงพอเห็นภาพ เพราะจริงๆ ยังมีอีกเยอะ แล้วแบบนี้เวลาสอนภาษาไทยให้คนต่างชาติจะยึดหลักอะไรครับ
ในเมื่อในการใช้งานจริงมันไม่เป็นไปตามทฤษฎี ถ้าให้มานั่งจำเป็นตัวๆ จะไม่ลำบากแย่เหรอ คิดว่าเราควรจะทำให้เป็น
หลักการเดียวไหมครับ
Edited : เพิ่มตัวอย่างคำหลายๆภาษาครับ