บิณฑบาต (อ่านว่า บิน-ทะ-บาด) เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ปิณฺฑ + ปาต แปลว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว

กระทู้สนทนา
สวัสดีครับ ทุกท่าน
ขอแสดงหนึ่งภาพจากกล้องNikon FM : vivitar28/2.5 : ultrafine 400
ภาพสามเณรออกบิณฑบาต ณ บ่อเกลือใต้ น่าน สยามประเทศ



มีข้อวัตรปฏิบัติอยู่ข้อหนึ่งเป็นกิจวัตรของพระภิกขุ ที่พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญ ทรงสั่งสอน และทรงปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน  ข้อวัตรนี้ก็คือการออกบิณฑบาตโปรดสัตว์  พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า เป็นกิจที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับพระภิกขุ  จึงได้กำหนดให้พระอุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์ ต้องสั่งสอนพระภิกขุบวชใหม่ทุกรูป เรียกว่าอนุศาสน์  คือคำสอนที่สอนให้กับพระภิกขุผู้บวชใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จ  มีอยู่ ๘ ข้อด้วยกัน  แบ่งเป็นสองส่วน ประกอบด้วย นิสสัย ๔  กิจที่พึงกระทำ  และ อกรณียกิจ ๔ กิจที่ไม่พึงกระทำ
(จะขอยกมาแสดงเฉพราะกิจอันพึงกระทำ)
กิจที่พึงกระทำประกอบด้วย  ๑. การออกบิณฑบาตเลี้ยงชีพ   ๒. อยู่ตามโคนไม้  ๓. นุ่งผ้าบังสุกุล  ๔.  ฉันยาดองน้ำมูตร เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  นี่คือกิจ ๔ อย่างที่พระภิกขุควรจะขวนขวายตลอดชีวิต  เพราะเป็นการอยู่แบบง่ายๆ อยู่แบบไม่รบกวนผู้อื่น  ทำให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย อยู่ง่าย กินง่าย แล้วจะนำมาซึ่งความสงบสุข  เป็นเครื่องทำให้จิตใจไม่ว้าวุ่นขุ่นมัว ไปกับกำลังของกิเลสตัณหาทั้งหลาย  นี่คือกิจที่พระภิกขุพึงกระทำ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่