http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000138146
เมืองไทย 360 องศา
“เผาไปเลยพี่น้อง ผมรับผิดชอบเอง” คำพูดของ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553
“ขอให้เสื้อแดงซึ่งอยู่ต่างจังหวัด ฟังภารกิจดังต่อไปนี้ ให้ไปรวมตัวกันอยู่ที่ศาลากลาง รอเวลาให้มีการปราบเมื่อไหร่ตัดสินใจได้ทันที” คำพูดของ จตุพร พรหมพันธุ์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2553
“นัดกันคราวหน้า ถ้ารู้ว่าเขาจะปราบปราม ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก มาด้วยกัน ขวดแก้วคนละใบ มาเติมน้ำมันเอาข้างหน้าบรรจุให้ได้ 75 ซีซี ถึง 1 ลิตร ถ้าเรามา 1 ล้านคน ในกรุงเทพมหานครมีน้ำมัน 1 ล้านลิตร รับรองว่า กทม. เป็นทะเลเพลิงอย่างแน่นอน” คำพูดของ อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2553
นั่นเป็นคำพูดของพวกแกนนำคนเสื้อแดง ที่เคยพูดปลุกระดมคนเสื้อแดงในทำนองสื่อให้เกิดความรุนแรงตามมา เมื่อครั้งมีการชุมนุมเมื่อปี 2553 หรือก่อนหน้านั้น
ยังไม่ได้พูดถึงคำพูดของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถือว่าเป็นหัวหน้าขบวนการใหญ่เคยพูดปลุกระดมในทำนองเดียวกันที่กล่าวว่า “ให้พี่น้องต่างจังหวัดไปที่ศาลากลาง ผมอยากฝากบอกคนเสื้อแดงทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่งว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นรุนแรงกับพี่น้องคนเสื้อแดงที่กรุงเทพฯ พี่น้องเสื้อแดงต่างจังหวัดไปที่ศาลากลางให้เต็มที่” เป็นคำพูดในเชิงปลุกระดมในปีเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน
อย่างไรก็ดี คนพวกนี้ส่วนใหญ่ยังลอยนวล หรือมีบางคนเท่านั้นที่ถูกดำเนินคดีแต่ยังอยู่ในศาลชั้นต้น มีการประกันตัวออกมาชั่วคราว
แต่ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ กรณีที่ศาลฎีกาได้พิพากษาศาลคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี จากเดิมที่เคยถูกจำคุกไม่กี่ปี เป็นประหารชีวิต และบางคนที่เคยพิพากษายกฟ้องก็พิพากษากลับในชั้นฎีกาให้จำคุกตลอดชีวิต แน่นอนว่า จากคำพิพากษาดังกล่าวย่อมต้องสร้างความหวั่นไหวให้กับหลายคน โดยเฉพาะจำเลยในคดีเผาศาลากลางในอีกบางจังหวัดที่คำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด รวมไปถึงบรรดาแกนนำระดับ “หัวโจก” ในระดับสั่งการที่คดียังค้างคาอยู่ศาลหลายคดี
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนก็ต้องพิจารณาจากคำพิพากษาของศาลฎีกาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี 2553 ซึ่งมีผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีจำนวน 21 คน เป็นมวลชนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ซึ่งชุมนุมขับไล่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนั้น โดยก่อนหน้านี้จำเลยจำนวน 8 คน ศาลพิพากษายกฟ้องและคดีสิ้นสุดไปในชั้นอุทธรณ์ คงเหลือผู้ต้องหาที่มาขึ้นศาลฟังคำตัดสินของศาลฎีการวม 13 คน
ทั้งนี้ ภายหลังศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาเสร็จ นายวัฒนา จันทศิลป์ ทนายจำเลย เปิดเผยว่า ศาลได้มีการกลับคำพิพากษาจำเลยเป็นรายบุคคล ประกอบด้วย 1. นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา หรือ ดีเจต้อย แกนนำ นปช. อุบลราชธานี จากเดิมจำคุก 1 ปี เป็นประหารชีวิต แต่ลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต 2. นายชัชวาลย์ ศรีจันดา ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แต่ศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต 3. นางอรอนงค์ บรรพชาติ ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ศาลฎีกาพิพากษาเป็นจำคุก 33 ปี 4 เดือน 4. นายลิขิต สุทธิพันธ์ จากจำคุก 2 ปี พิพากษาแก้เป็นจำคุก 33 ปี 4 เดือน 5. นางสุมาลี ศรีจินดา 6. นายประดิษฐ์ บุญสุข 7. นายไชยา ดีแสง 8. นายพิสิษฐ์ บุตรอำคา ศาลฎีกายื่นตามศาลอุทธรณ์ คือ จำคุก 2 ปีเช่นเดิม 9. จ.ส.อ.สมจิต สุทธิพันธ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง พิพากษาแก้เป็นจำคุก 1 ปี
10. นางสาวปัทมา มูลนิล 11. นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ 12. นายสนอง เกตุสุวรรณ์ และ 13. นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ซึ่งทั้ง 4 คน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 33 ปี 12 เดือน ศาลฎีกาพิพากษาลดให้เหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน โดยลดโทษให้คนละ 8 เดือน
นายวัฒนา กล่าวต่อว่า การอ่านคำพิพากษาลงโทษจำเลยบางรายที่เคยถูกยกฟ้อง หรือได้รับโทษไม่มาก เพราะศาลฎีกาเชื่อตามพยานหลักฐานและคำเบิกความของพยานว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด โดยเฉพาะ นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ศาลเชื่อว่าเป็นผู้บงการให้มีการเผาศาลากลางจังหวัดตามที่อัยการยื่นฟ้องจริง
นั่นเป็นรายชื่อของจำเลยที่ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษ ซึ่งมีทั้งประหารชีวิตและปรานีให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำคุก 33 ปี 4 เดือน จนถึงจำคุก 1 ปี และจากการสรุปสาระสำคัญของคำพิพากษาและเหตุผลตามพยานหลักฐานที่ทำให้ศาลเชื่อว่าบางคนเป็น"ผู้บงการ"จึงพลิกคำตัดสินไปจากศาลอุทธรณ์
แน่นอนว่า คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ต้องเดินไปตามกระบวนการ แต่ขณะเดียวกัน ผลจากคำพิพากษาดังกล่าวย่อมสร้างความสั่นสะเทือนในจิตใจของบรรดาจำเลยในคดีเผาศาลากลางที่ยังเหลืออยู่ในบางจังหวัด ว่า คำพิพากษาศาลฎีกาจะกลายเป็นบรรทัดฐานในคดีอื่นในลักษณะเดียวกันหรือไม่ และที่สำคัญก็คือความหวั่นไหวในใจของบรรดาแกนนำระดับสั่งการในเหตุการณ์ชุมนุมที่คดียังไม่ถึงที่สุด
บรรดาแกนนำที่ต้องกล่าวถึง ก็คือ ทักษิณ ชินวัตร ที่แม้เวลานี้ยังหลบหนีอยู่ต่างประเทศ ทำให้ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราวก็ตาม แต่หากพลาดพลั้งถูกจับกุมตัวกลับมา รวมทั้ง จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ คนพวกนี้จะว่าไปแล้วล้วนเป็นต้นเหตุไม่น้อยที่ทำให้เกิดการจลาจล จนกระทั่งบานปลายกลายเป็นการเผาศาลากลาง ประเภท “เผาไปเลยพี่น้องผมรับผิดชอบเอง” หรือคำพูดที่ว่าให้พี่น้องเสื้อแดงไปพร้อมกันที่ศาลากลางทั่วประเทศเมื่อมีการปราบเมื่อไหร่ให้ตัดสินใจได้ทันที คนพวกนี้แหละที่ต้องหวั่นไหวหวาดกลัว
ความหวั่นไหวได้สะท้อนออกมาเป็นคำพูดของ จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดงหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวในทำนองว่าทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นคนเสื้อแดง กปปส. หรือคนเสื้อเหลือง ล้วนมีอัตราโทษประหารชีวิตเหมือนกัน เพียงแต่มีรายละเอียดของคดีต่างกันและใครจะโดนก่อนกัน ซึ่งหากพิจารณาจากข้อหาที่มีเจ้าพนักงานตั้งเอาไว้อาจจะร้ายแรง แต่เมื่อพิจารณาจากเจตนา และพฤติกรรมของคดีนั้นย่อมต่างกันแบบเทียบกันไม่ได้ โดยเฉพาะเจตนาในการสร้างความรุนแรง ประเภทเผาเลยพี่น้อง หรือสั่งให้เผาศาลากลาง นั้นไม่เคยพบเห็นว่ามีการชุมนุมที่ไหนหรือแกนนำกลุ่มไหนนอกจากแกนนำคนเสื้อแดงที่ปลุกระดมสร้างความรุนแรงแบบนั้น
ขณะเดียวกัน ก็ต้องถามว่า ที่เคยพูดว่า"ผมรับผิดชอบเอง"จนถึงเวลานี้เคยรับผิดชอบอะไรบ้างหรือไม่ เคยไปดูดำดูดีกับชาวบ้านที่เคยฮึกเหิมจากคำพูดปลุกระดมกันบ้างหรือไม่ เพราะมีแต่ได้ยินเสียงบ่น เสียงตัดพ้อจากคนพวกนี้ว่าไม่เคยได้รับการเหลียวแล อย่างไรก็ดี เมื่อมีคำพิพากษาออกมาแบบนี้ถึงตอนนั้นอาจจะช็อกสุดขั้วหัวใจก็ได้ !!
**************************************************************
อร่อยจริง เรื่อง ปิ้ง ย่าง เผา ต้องบอก เต้น กับ กี้ร์ ครับ รับรองไม่ผิดหวัง อุอุ
ประหาร “มือเผา” ทำแกนนำแดงผวาบรรทัดฐานคำพิพากษา !! (โจ ขิง)
เมืองไทย 360 องศา
“เผาไปเลยพี่น้อง ผมรับผิดชอบเอง” คำพูดของ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553
“ขอให้เสื้อแดงซึ่งอยู่ต่างจังหวัด ฟังภารกิจดังต่อไปนี้ ให้ไปรวมตัวกันอยู่ที่ศาลากลาง รอเวลาให้มีการปราบเมื่อไหร่ตัดสินใจได้ทันที” คำพูดของ จตุพร พรหมพันธุ์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2553
“นัดกันคราวหน้า ถ้ารู้ว่าเขาจะปราบปราม ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก มาด้วยกัน ขวดแก้วคนละใบ มาเติมน้ำมันเอาข้างหน้าบรรจุให้ได้ 75 ซีซี ถึง 1 ลิตร ถ้าเรามา 1 ล้านคน ในกรุงเทพมหานครมีน้ำมัน 1 ล้านลิตร รับรองว่า กทม. เป็นทะเลเพลิงอย่างแน่นอน” คำพูดของ อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2553
นั่นเป็นคำพูดของพวกแกนนำคนเสื้อแดง ที่เคยพูดปลุกระดมคนเสื้อแดงในทำนองสื่อให้เกิดความรุนแรงตามมา เมื่อครั้งมีการชุมนุมเมื่อปี 2553 หรือก่อนหน้านั้น
ยังไม่ได้พูดถึงคำพูดของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถือว่าเป็นหัวหน้าขบวนการใหญ่เคยพูดปลุกระดมในทำนองเดียวกันที่กล่าวว่า “ให้พี่น้องต่างจังหวัดไปที่ศาลากลาง ผมอยากฝากบอกคนเสื้อแดงทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่งว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นรุนแรงกับพี่น้องคนเสื้อแดงที่กรุงเทพฯ พี่น้องเสื้อแดงต่างจังหวัดไปที่ศาลากลางให้เต็มที่” เป็นคำพูดในเชิงปลุกระดมในปีเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน
อย่างไรก็ดี คนพวกนี้ส่วนใหญ่ยังลอยนวล หรือมีบางคนเท่านั้นที่ถูกดำเนินคดีแต่ยังอยู่ในศาลชั้นต้น มีการประกันตัวออกมาชั่วคราว
แต่ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ กรณีที่ศาลฎีกาได้พิพากษาศาลคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี จากเดิมที่เคยถูกจำคุกไม่กี่ปี เป็นประหารชีวิต และบางคนที่เคยพิพากษายกฟ้องก็พิพากษากลับในชั้นฎีกาให้จำคุกตลอดชีวิต แน่นอนว่า จากคำพิพากษาดังกล่าวย่อมต้องสร้างความหวั่นไหวให้กับหลายคน โดยเฉพาะจำเลยในคดีเผาศาลากลางในอีกบางจังหวัดที่คำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด รวมไปถึงบรรดาแกนนำระดับ “หัวโจก” ในระดับสั่งการที่คดียังค้างคาอยู่ศาลหลายคดี
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนก็ต้องพิจารณาจากคำพิพากษาของศาลฎีกาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี 2553 ซึ่งมีผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีจำนวน 21 คน เป็นมวลชนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ซึ่งชุมนุมขับไล่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนั้น โดยก่อนหน้านี้จำเลยจำนวน 8 คน ศาลพิพากษายกฟ้องและคดีสิ้นสุดไปในชั้นอุทธรณ์ คงเหลือผู้ต้องหาที่มาขึ้นศาลฟังคำตัดสินของศาลฎีการวม 13 คน
ทั้งนี้ ภายหลังศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาเสร็จ นายวัฒนา จันทศิลป์ ทนายจำเลย เปิดเผยว่า ศาลได้มีการกลับคำพิพากษาจำเลยเป็นรายบุคคล ประกอบด้วย 1. นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา หรือ ดีเจต้อย แกนนำ นปช. อุบลราชธานี จากเดิมจำคุก 1 ปี เป็นประหารชีวิต แต่ลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต 2. นายชัชวาลย์ ศรีจันดา ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แต่ศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต 3. นางอรอนงค์ บรรพชาติ ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ศาลฎีกาพิพากษาเป็นจำคุก 33 ปี 4 เดือน 4. นายลิขิต สุทธิพันธ์ จากจำคุก 2 ปี พิพากษาแก้เป็นจำคุก 33 ปี 4 เดือน 5. นางสุมาลี ศรีจินดา 6. นายประดิษฐ์ บุญสุข 7. นายไชยา ดีแสง 8. นายพิสิษฐ์ บุตรอำคา ศาลฎีกายื่นตามศาลอุทธรณ์ คือ จำคุก 2 ปีเช่นเดิม 9. จ.ส.อ.สมจิต สุทธิพันธ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง พิพากษาแก้เป็นจำคุก 1 ปี
10. นางสาวปัทมา มูลนิล 11. นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ 12. นายสนอง เกตุสุวรรณ์ และ 13. นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ซึ่งทั้ง 4 คน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 33 ปี 12 เดือน ศาลฎีกาพิพากษาลดให้เหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน โดยลดโทษให้คนละ 8 เดือน
นายวัฒนา กล่าวต่อว่า การอ่านคำพิพากษาลงโทษจำเลยบางรายที่เคยถูกยกฟ้อง หรือได้รับโทษไม่มาก เพราะศาลฎีกาเชื่อตามพยานหลักฐานและคำเบิกความของพยานว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด โดยเฉพาะ นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ศาลเชื่อว่าเป็นผู้บงการให้มีการเผาศาลากลางจังหวัดตามที่อัยการยื่นฟ้องจริง
นั่นเป็นรายชื่อของจำเลยที่ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษ ซึ่งมีทั้งประหารชีวิตและปรานีให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำคุก 33 ปี 4 เดือน จนถึงจำคุก 1 ปี และจากการสรุปสาระสำคัญของคำพิพากษาและเหตุผลตามพยานหลักฐานที่ทำให้ศาลเชื่อว่าบางคนเป็น"ผู้บงการ"จึงพลิกคำตัดสินไปจากศาลอุทธรณ์
แน่นอนว่า คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ต้องเดินไปตามกระบวนการ แต่ขณะเดียวกัน ผลจากคำพิพากษาดังกล่าวย่อมสร้างความสั่นสะเทือนในจิตใจของบรรดาจำเลยในคดีเผาศาลากลางที่ยังเหลืออยู่ในบางจังหวัด ว่า คำพิพากษาศาลฎีกาจะกลายเป็นบรรทัดฐานในคดีอื่นในลักษณะเดียวกันหรือไม่ และที่สำคัญก็คือความหวั่นไหวในใจของบรรดาแกนนำระดับสั่งการในเหตุการณ์ชุมนุมที่คดียังไม่ถึงที่สุด
บรรดาแกนนำที่ต้องกล่าวถึง ก็คือ ทักษิณ ชินวัตร ที่แม้เวลานี้ยังหลบหนีอยู่ต่างประเทศ ทำให้ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราวก็ตาม แต่หากพลาดพลั้งถูกจับกุมตัวกลับมา รวมทั้ง จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ คนพวกนี้จะว่าไปแล้วล้วนเป็นต้นเหตุไม่น้อยที่ทำให้เกิดการจลาจล จนกระทั่งบานปลายกลายเป็นการเผาศาลากลาง ประเภท “เผาไปเลยพี่น้องผมรับผิดชอบเอง” หรือคำพูดที่ว่าให้พี่น้องเสื้อแดงไปพร้อมกันที่ศาลากลางทั่วประเทศเมื่อมีการปราบเมื่อไหร่ให้ตัดสินใจได้ทันที คนพวกนี้แหละที่ต้องหวั่นไหวหวาดกลัว
ความหวั่นไหวได้สะท้อนออกมาเป็นคำพูดของ จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดงหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวในทำนองว่าทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นคนเสื้อแดง กปปส. หรือคนเสื้อเหลือง ล้วนมีอัตราโทษประหารชีวิตเหมือนกัน เพียงแต่มีรายละเอียดของคดีต่างกันและใครจะโดนก่อนกัน ซึ่งหากพิจารณาจากข้อหาที่มีเจ้าพนักงานตั้งเอาไว้อาจจะร้ายแรง แต่เมื่อพิจารณาจากเจตนา และพฤติกรรมของคดีนั้นย่อมต่างกันแบบเทียบกันไม่ได้ โดยเฉพาะเจตนาในการสร้างความรุนแรง ประเภทเผาเลยพี่น้อง หรือสั่งให้เผาศาลากลาง นั้นไม่เคยพบเห็นว่ามีการชุมนุมที่ไหนหรือแกนนำกลุ่มไหนนอกจากแกนนำคนเสื้อแดงที่ปลุกระดมสร้างความรุนแรงแบบนั้น
ขณะเดียวกัน ก็ต้องถามว่า ที่เคยพูดว่า"ผมรับผิดชอบเอง"จนถึงเวลานี้เคยรับผิดชอบอะไรบ้างหรือไม่ เคยไปดูดำดูดีกับชาวบ้านที่เคยฮึกเหิมจากคำพูดปลุกระดมกันบ้างหรือไม่ เพราะมีแต่ได้ยินเสียงบ่น เสียงตัดพ้อจากคนพวกนี้ว่าไม่เคยได้รับการเหลียวแล อย่างไรก็ดี เมื่อมีคำพิพากษาออกมาแบบนี้ถึงตอนนั้นอาจจะช็อกสุดขั้วหัวใจก็ได้ !!
**************************************************************
อร่อยจริง เรื่อง ปิ้ง ย่าง เผา ต้องบอก เต้น กับ กี้ร์ ครับ รับรองไม่ผิดหวัง อุอุ