ยอมรับว่าหลายๆ ครั้งก็แอบขำหรือตั้งคำถามหลายเรื่องราวเกี่ยวกับ "ราชบัณฑิตยสถาน"
แต่ก็เข้าใจได้ถึงเหตุผล ของรากภาษาและวัฒนธรรม และวัตถุประสงค์
หลายๆ คำที่บัญญัติขึ้นมาเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยมจากคนไทย
ก็เลยใช้วิธีเรียกทับศัพท์มาจนปัจจุบัน อาทิเช่น คณิตกรณ์ ตัวชี้เป้า เป็นต้น
หลายคำบางครั้งที่เห็นมักจะมีการกำหนดวิธีการเขียนทับศัพท์อย่างถูกต้อง
เพียงแต่บางครั้ง ก็ไม่แน่ใจ หรือผมอาจจะยังไม่รู้ก็ได้ว่าบางคำมันเรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไร
อาทิ เบเกอรี่, เค้ก, มาการอง, จิ๊กซอว์, รูบิก, เน็ตบุ้ค, ฟุตบอล, วอลเลย์บอล, สมาร์ตโฟน, แท็ปเล็ต เป็นต้น
(คำเหล่านี้ผมอาจจะเขียนถูกหรือผิดก็ได้นะครับ)
ในความเห็นผม ที่เป็นชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนสูงมากนัก
หลายครั้งมีความรู้สึกว่า การเขียนทับศัพท์ให้ถูกต้องตามหลักราชบัณฑิตฯ
ถ้าไม่ได้รู้หนักการเขียน หรือรากของภาษาจริงๆ ผมว่ายากมากนะครับ
และบางครั้ง ชาวบ้านอย่างผมก็มักจะเขียนคำทับศัพท์เหล่านี้ไปด้วยความเคยชิน
และไม่รู้มาก่อนด้วยว่าที่เขียนๆ กันอยู่นี้มันผิด ไม่ถูกหลักของภาษาไทย
แล้วผู้รู้ (ใน PANTIP บางคนนี่แหละครับ) ก็มีการบอกและเตือนคำผิดให้กับคนที่เขียนผิดหลายๆ ครั้ง
แต่วิธีการแจ้งให้ทราบต่อคำผิดนั้นๆ ของผู้รู้บางท่าน ในบางครั้ง มีความรู้สึกว่าเหมือนด่าประจานยังไงๆ พิกล
และขอความกรุณาอย่าคิดในแง่ที่ว่า ทำไมต้องให้ "ไทย" เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ไม่ใช่ประเด็นนี้นะครับ
เพราะผมคิดว่าการคิดคำที่เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นนั้นๆ ก็คงเป็นเหตุผลมาจากวิถีและวัฒนธรรมนั้นๆ
อย่างสหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่ได้เรียก "น้ำปลา" แต่ก็เรียกว่า Fish Sauce
หรือบางที่บางแห่ง ก็พยายามเรียก "Nham-Pla" หรือ "Nahm-Pla" อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น
อยากรู้ว่ามีคำไหนอีกที่ยังไม่มีการบัญญัติคำภาษาไทยขึ้นมาอีกบ้างไหมครับ
เผื่อว่า จะได้ระมัดระวังวิธีการเขียน การสะกด การันต์ คำทับศัพท์ให้ถูกต้องตามหลักราชบัณฑิตยสถาน
ทั้งหมดทั้งมวล ก็เพื่อเรียนรู้ และจะได้จำและใช้เขียน ใช้เรียกกันอย่างถูกต้องครับ
จากชาวบ้านตาดำๆ ธรรมดาคนหนึ่ง (ซึ่งก็ไม่ได้เรียนจบสูงแม้แต่ระบบการศึกษาภาคบังคับ)
ที่ขอมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นบน "โลกออนไลน์" บ้าง ก็เท่านั้นเองครับ
ผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าเลยนะครับ
ของกิน ของใช้ นวัตกรรม หรืออะไรก็ตามแต่ที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย แต่ยังไม่มีการบัญญัติคำที่เป็นภาษาไทยบ้างครับ
แต่ก็เข้าใจได้ถึงเหตุผล ของรากภาษาและวัฒนธรรม และวัตถุประสงค์
หลายๆ คำที่บัญญัติขึ้นมาเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยมจากคนไทย
ก็เลยใช้วิธีเรียกทับศัพท์มาจนปัจจุบัน อาทิเช่น คณิตกรณ์ ตัวชี้เป้า เป็นต้น
หลายคำบางครั้งที่เห็นมักจะมีการกำหนดวิธีการเขียนทับศัพท์อย่างถูกต้อง
เพียงแต่บางครั้ง ก็ไม่แน่ใจ หรือผมอาจจะยังไม่รู้ก็ได้ว่าบางคำมันเรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไร
อาทิ เบเกอรี่, เค้ก, มาการอง, จิ๊กซอว์, รูบิก, เน็ตบุ้ค, ฟุตบอล, วอลเลย์บอล, สมาร์ตโฟน, แท็ปเล็ต เป็นต้น
(คำเหล่านี้ผมอาจจะเขียนถูกหรือผิดก็ได้นะครับ)
ในความเห็นผม ที่เป็นชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนสูงมากนัก
หลายครั้งมีความรู้สึกว่า การเขียนทับศัพท์ให้ถูกต้องตามหลักราชบัณฑิตฯ
ถ้าไม่ได้รู้หนักการเขียน หรือรากของภาษาจริงๆ ผมว่ายากมากนะครับ
และบางครั้ง ชาวบ้านอย่างผมก็มักจะเขียนคำทับศัพท์เหล่านี้ไปด้วยความเคยชิน
และไม่รู้มาก่อนด้วยว่าที่เขียนๆ กันอยู่นี้มันผิด ไม่ถูกหลักของภาษาไทย
แล้วผู้รู้ (ใน PANTIP บางคนนี่แหละครับ) ก็มีการบอกและเตือนคำผิดให้กับคนที่เขียนผิดหลายๆ ครั้ง
แต่วิธีการแจ้งให้ทราบต่อคำผิดนั้นๆ ของผู้รู้บางท่าน ในบางครั้ง มีความรู้สึกว่าเหมือนด่าประจานยังไงๆ พิกล
และขอความกรุณาอย่าคิดในแง่ที่ว่า ทำไมต้องให้ "ไทย" เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ไม่ใช่ประเด็นนี้นะครับ
เพราะผมคิดว่าการคิดคำที่เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นนั้นๆ ก็คงเป็นเหตุผลมาจากวิถีและวัฒนธรรมนั้นๆ
อย่างสหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่ได้เรียก "น้ำปลา" แต่ก็เรียกว่า Fish Sauce
หรือบางที่บางแห่ง ก็พยายามเรียก "Nham-Pla" หรือ "Nahm-Pla" อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น
อยากรู้ว่ามีคำไหนอีกที่ยังไม่มีการบัญญัติคำภาษาไทยขึ้นมาอีกบ้างไหมครับ
เผื่อว่า จะได้ระมัดระวังวิธีการเขียน การสะกด การันต์ คำทับศัพท์ให้ถูกต้องตามหลักราชบัณฑิตยสถาน
ทั้งหมดทั้งมวล ก็เพื่อเรียนรู้ และจะได้จำและใช้เขียน ใช้เรียกกันอย่างถูกต้องครับ
จากชาวบ้านตาดำๆ ธรรมดาคนหนึ่ง (ซึ่งก็ไม่ได้เรียนจบสูงแม้แต่ระบบการศึกษาภาคบังคับ)
ที่ขอมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นบน "โลกออนไลน์" บ้าง ก็เท่านั้นเองครับ
ผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าเลยนะครับ