"บิ๊กตู่" สั่งคมนาคมสานฝันไฮสปีดเทรน"กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" ให้เป็นจริง "ประจิน" ลุยเปิดประมูลมินิไฮสปีดสายใต้ "กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์" วงในเผย 3 เจ้าสัว "ไทยเบฟ-ซีพี-บีทีเอส" แบ่งเค้กลงทุนครบ 3 เส้นทาง
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้คมนาคมเร่งผลักดันรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ให้สำเร็จและเกิดขึ้นได้จริง ส่วนรถไฟไทย-จีน เนื่องจากมีความก้าวหน้าไปมากจึงไม่มีข้อกังวลอะไร เพียงแต่บอกว่าการทำงานต้องเตรียมแผนประกันความเสี่ยงไว้ ถ้ามีความเสี่ยงด้านใดด้านหนึ่ง ต้องหาวิธีการแก้ไข
ทั้งนี้ โครงการรถไฟไทย-จีนที่ลงนาม MOU (บันทึกความเข้าใจ) กับรัฐบาลจีน เรียกว่ารถไฟทางคู่มาตรฐาน ความเร็ว 180 กม./ชม. หรือมินิไฮสปีดเทรน ขณะที่โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ชื่อโครงการจะแตกต่างออกไป โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเรียกว่าการพัฒนาระบบรางของประเทศไทย เสนอร่วมพัฒนา 2 เส้นทางคือ
1.สายพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ในอนาคตถ้าเชื่อมทวายจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคนี้ เพราะเชื่อมไทย เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามได้ คาดว่าเป็นมินิไฮสปีดเทรนราง 1.435 เมตรเหมือนกับจีน
2.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่ง 200-300 กม./ชม. คาดว่าเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเซ็น MOU เดือนพฤษภาคมนี้ จากนั้นเดือนมิถุนายนจะตั้งไซต์งานสำรวจและออกแบบใช้เวลาประมาณ 1 ปี เป็นเส้นทางเน้นขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นไฮไลต์อีกเส้นหนึ่งของรัฐบาล
นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนเร่งผลักดันรถไฟกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ หลังญี่ปุ่นได้เลือกเส้นทางใดเรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มเดินหน้าเส้นทางตอนใต้ทันทีเพื่อเชื่อมรถไฟไทย-จีนที่สร้างจากหนองคาย-กรุงเทพฯ
"คาดว่าจะเปิดประมูลทั่วไปเนื่องจากยังไม่มีประเทศที่ 3 มาเสนอตัว มีแต่บริษัทเอกชนแสดงความสนใจ มีแนวโน้มเป็นรถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็วปานกลาง 180 กม./ชม." พล.อ.อ.ประจินกล่าวและว่า
อีก 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-พัทยาและกรุงเทพฯ-หัวหิน เหมาะสมจะสร้างเป็นรถไฟความเร็วปานกลางถึงความเร็วสูงได้ คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะเสนอแผนงานให้ ครม.พิจารณา
ที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนไทย 3 กลุ่มแสดงความสนใจลงทุน คือ กลุ่มซีพี ไทยเบฟเวอเรจ และกลุ่มบีทีเอส ล่าสุดได้ตั้งคณะทำงานพิจารณารูปแบบการลงทุน คาดว่าเป็นการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชนรูปแบบ PPP เตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบเดือนพฤษภาคมนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงหลังจากนายกรัฐมนตรีมีนโยบายลงมา มีกระแสข่าวออกมาว่ากลุ่มไทยเบฟฯ สนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน, กลุ่มซีพีสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา ส่วนบีทีเอสสนใจรถไฟไทย-จีนในเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429765278
ยังจำได้ไหม ถึงใครคนหนึ่ง ????
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.isranews.org/isranews-news/item/21782-1-sp-952.html
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2556 ที่อาคารยูบีซีทู ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวในงานเสวนา Thaipublica Forum ครั้งพิเศษ ในหัวข้อ “งบฯแผ่นดิน เงินของเราเขาเอาไปทำอะไร” ถึง พ.ร.บ.กู้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท มีใจความว่า ตนไม่ชอบการกู้เงินนอกระบบงบประมาณ เพราะจริงๆ โครงการใน 2 ล้านล้านบาท สามารถทำเป็นงบผูกพันข้ามปีได้ แต่เมื่อรัฐบาลยืนยันว่าจะทำเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ว่ากัน แต่ต้องมาดูไส้ในว่าใน 2 ล้านล้านบาท มีอะไรบ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า 1.ยุทธศาสตร์การปรับปรุงการขนส่งสินค้า ใช้งบ 3.5 แสนล้านบาท หรือที่รถไฟรางคู่ อันนี้จำเป็น ทำไปเถอะ จริงๆ ควรทำตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แล้ว แต่บังเอิญเขาขี้เกียจนิดหน่อย ตนเคยเสนอแล้วเขาไม่ทำ ประเทศชาติรอมานานแล้ว การขนส่งสินค้าจะได้ถูกลง ซึ่งนอกจากรถไฟรางคู่ยังมีการทำท่าเรือขนส่งสินค้า 4 จุดในอ่าวไทย 4 จุด ซึ่งปัจจุบันเรายังใช้ประโยชน์น้อยมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตนเห็นว่ายังขาดอยู่คือศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างรถบรรทุกกับรถไฟ ที่ต่างประเทศเรียกว่า Container Yard ซึ่งจะช่วยให้ขนส่งสินค้าได้เร็วขึ้น อีกโครงการที่ชอบมากคือท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เป็นท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามันที่เรายังไม่มี จะไปรอท่าเรือน้ำลึกทวายสร้าง อีก 10 ปีคงไม่เสร็จ และเวลานี้ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จ.ขลบุรีใกล้จะเต็มแล้ว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า 2.ยุทธศาสตร์ปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อความคล่องตัว ใช้งบ 5.9 แสนล้านบาท มีรถไฟฟ้าใน กทม. 10 สาย สมควรทำอย่างยิ่ง เพราะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมหาศาล ที่ตนชอบคือมีรถไฟฟ้าไปถึงชานเมืองด้วย ทั้งรังสิต ตลิ่งชัน หรือ จ.ฉะเชิงเทรา เพราะมันจะทำให้กทม.ไม่ต้องโตอีกต่อไป คนจะอาศัยอยู่ชานเมือง แล้วนั่งรถไฟมาทำงานในเมือง ส่วนการขยายถนนก็จำเป็น
อดีตรองนายกฯ และ รมว.คลังกล่าวว่า เมื่อพูดถึงสิ่งที่ควรแล้ว ขอพูดถึงสิ่งที่ไม่ควรบ้าง 3.ยุทธศาสตร์เชื่อมต่อเพื่อบ้านและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเดินทางจากส่วนกลางไปยังภูมิภาค ใช้เงิน 1 ล้านล้านบาท เรื่องประตูชายแดนจำเป็น เพราะต่อไปเราจะขนส่งสินค้ากับเพื่อนบ้านมากขึ้น แต่รถไฟความเร็วสูง 4 สาย ที่ใช้งบไปเกือบ 7 แสนล้านบาท รถไฟความเร็วสูงในหลายประเทศใช้ขนส่งผู้โดยสาร เพราะถ้าใช้ขนส่งสินค้าจะคว่ำเพราะน้ำหนักมาก ที่แพงสุดคือสาย กทม.-เชียงใหม่ 3.8 แสนล้านบาท เพราะต้องผ่านภูเขา ที่ต้องจับตาตรงนี้ ถ้าเรามีเงินถุงเงินถัง จะลงทุนก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่เราไม่มี จึงต้องดูเรื่องความคุ้มค่า เคยมีการทำงานวิจัยว่า รถไฟความเร็วสูงจะคุ้มค่าก็ต้องมีคนใช้บริการวันละ 4.1 หมื่นคน และค่าโดยสารจะแพงกว่าสายการบินต้นทุนต่ำ
“ผมจึงเชื่อว่าคนไม่ขึ้น เพราะเห็นค่าโดยสารแล้ว ขึ้นเครื่องบินเร็วกว่า และถ้าทำแล้วร้าง อย่างแอร์พอร์ตลิงก์ ใครเสียหาย ใครรับภาระ นี่คือสิ่งที่ต้องคิด ไม่ใช่มีอะไรแล้วลงไปหมด เส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ไม่มีทางคุ้มค่า ผมท้าได้เลย เหมือนที่เคยท้าเรื่องจำนำข้าวแล้วถูก” ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า เรื่องความคุ้มค่าของรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 สายจึงเป็นคำถาม แต่ถ้าจะมี เส้นทาง กทม.-ระยอง จำเป็นที่สุด เพราะปลายทางไม่มีสนามบินที่สายการบินต้นทุนต่ำจะไปถึงได้ เราไม่มีตัวเลือกอื่นให้คนที่พร้อมจะจ่ายเพื่อไปถึงเร็วกว่า ขับรถไป จ.ระยอง ใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง แต่ขึ้นรถไฟความเร็วสูงอาจจะไม่ถึง 1 ชั่วโมง ถ้าจะทำ ทำไมไม่เริ่มทำจากเส้นทาง กทม.-ระยอง ก่อน แล้วดูว่ามีคนขึ้นหรือไม่ เพราะค่าโดยสารมันจะไม่ถูก
“เราไม่ใช่ประเทศที่รวย แต่เราค่อยๆ สร้างตัวอง เรื่องขนส่งสินค้าจบไปแล้ว คือมีรถไฟรางคู่ แต่เราต้องการขนส่งผู้โดยสารให้เร็วขึ้น ซึ่งเหนือ ใต้ อีสาน มีโลว์คอสต์อยู่แล้ว ใจเย็นๆ ทำไมต้องทำในรัฐบาลชุดนี้ ทั้งๆ ที่มันไม่คุ้มค่าแน่นอน ถ้าไม่ทิฐิเกินไป ไม่ต้องกลัวเสียหน้า ให้รัฐบาลถอยเรื่องนี้ โดยบอกว่าเฉพาะเรื่องนี้ ให้ทำรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้อีกครั้ง ก่อนจะกู้เพื่อลงทุนส่วนนี้ ประเทศชาติก็จะคุยกันได้ เราจะมีสติ ไม่ได้คุยกันด้วยทิฐิ” ม.ร.ว.ปริดิยาธรกล่าว ก่อนสรุปว่า โครงการจากเงินกู้งบ 2 ล้านล้าน มีที่ดีๆ แต่ถ้าตนเป็นรัฐบาล จะยุบรถไฟความเร็วสูง 3 สายไปก่อน สร้างแค่สายเดียว แล้วเอาเงิน 6 แสนล้านเอามาลงทุน Container Yard หรือท่าเรือน้ำลึก แต่เท่าที่ดู งบนี้เขาไม่ดูความคุ้มค่า เขาดูว่าใครคิด.
รถไฟความเร็วสูง "เชียงใหม่" "3เจ้าสัว" แบ่งลงทุน 3 เส้นทาง
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้คมนาคมเร่งผลักดันรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ให้สำเร็จและเกิดขึ้นได้จริง ส่วนรถไฟไทย-จีน เนื่องจากมีความก้าวหน้าไปมากจึงไม่มีข้อกังวลอะไร เพียงแต่บอกว่าการทำงานต้องเตรียมแผนประกันความเสี่ยงไว้ ถ้ามีความเสี่ยงด้านใดด้านหนึ่ง ต้องหาวิธีการแก้ไข
ทั้งนี้ โครงการรถไฟไทย-จีนที่ลงนาม MOU (บันทึกความเข้าใจ) กับรัฐบาลจีน เรียกว่ารถไฟทางคู่มาตรฐาน ความเร็ว 180 กม./ชม. หรือมินิไฮสปีดเทรน ขณะที่โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ชื่อโครงการจะแตกต่างออกไป โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเรียกว่าการพัฒนาระบบรางของประเทศไทย เสนอร่วมพัฒนา 2 เส้นทางคือ
1.สายพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ในอนาคตถ้าเชื่อมทวายจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคนี้ เพราะเชื่อมไทย เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามได้ คาดว่าเป็นมินิไฮสปีดเทรนราง 1.435 เมตรเหมือนกับจีน
2.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่ง 200-300 กม./ชม. คาดว่าเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเซ็น MOU เดือนพฤษภาคมนี้ จากนั้นเดือนมิถุนายนจะตั้งไซต์งานสำรวจและออกแบบใช้เวลาประมาณ 1 ปี เป็นเส้นทางเน้นขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นไฮไลต์อีกเส้นหนึ่งของรัฐบาล
นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนเร่งผลักดันรถไฟกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ หลังญี่ปุ่นได้เลือกเส้นทางใดเรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มเดินหน้าเส้นทางตอนใต้ทันทีเพื่อเชื่อมรถไฟไทย-จีนที่สร้างจากหนองคาย-กรุงเทพฯ
"คาดว่าจะเปิดประมูลทั่วไปเนื่องจากยังไม่มีประเทศที่ 3 มาเสนอตัว มีแต่บริษัทเอกชนแสดงความสนใจ มีแนวโน้มเป็นรถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็วปานกลาง 180 กม./ชม." พล.อ.อ.ประจินกล่าวและว่า
อีก 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-พัทยาและกรุงเทพฯ-หัวหิน เหมาะสมจะสร้างเป็นรถไฟความเร็วปานกลางถึงความเร็วสูงได้ คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะเสนอแผนงานให้ ครม.พิจารณา
ที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนไทย 3 กลุ่มแสดงความสนใจลงทุน คือ กลุ่มซีพี ไทยเบฟเวอเรจ และกลุ่มบีทีเอส ล่าสุดได้ตั้งคณะทำงานพิจารณารูปแบบการลงทุน คาดว่าเป็นการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชนรูปแบบ PPP เตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบเดือนพฤษภาคมนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงหลังจากนายกรัฐมนตรีมีนโยบายลงมา มีกระแสข่าวออกมาว่ากลุ่มไทยเบฟฯ สนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน, กลุ่มซีพีสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา ส่วนบีทีเอสสนใจรถไฟไทย-จีนในเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429765278
ยังจำได้ไหม ถึงใครคนหนึ่ง ????
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้