รถไฟไทย-ญี่ปุ่นประเดิม2เส้นทาง ลงทุนไฮสปีดเทรนควบทางคู่"เชียงใหม่-กาญจน์"

คมนาคม เผย พ.ค.นี้เตรียมลงนาม MOU รถไฟไทย-ญี่ปุ่น 2 เส้นทาง "กาญจน์-แหลมฉบัง" เป็นทางคู่ราง 1 เมตร เน้นขนสินค้าเชื่อม 2 ท่าเรือระหว่างทวาย-แหลมฉบัง กับ "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" เป็นไฮสปีดเทรน เน้นขนผู้โดยสาร



แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงเมื่อ 30 มี.ค.58พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้พูดถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบรางร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งทั้ง 2 รัฐบาลได้ร่วมลงนามบันทึกเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือ หรือ MOI เมื่อ 9 ก.พ.ที่ผ่านมาโดย พล.อ.ประยุทธ์ระบุว่า ทางญี่ปุ่นแสดงความสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ยังไม่ระบุจะเป็นการปรับปรุงระบบเส้นทางรถไฟเดิมขนาดทาง 1 เมตร สร้างเส้นทางใหม่มาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 180 กม./ชม.เหมือนกับรถไฟไทย-จีน หรือระบบรถไฟความเร็วสูง ความเร็ว 250 กม./ชม.ขึ้นไป

ก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยได้เสนอเส้นทางรถไฟ 3 เส้นทางให้ญี่ปุ่นเลือกศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบรายละเอียดโครงการ ได้แก่ 1.แม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร 718 กม. 2.กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ 574 กม. และ 3.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 715 กม.

"เดิมต้องการให้ญี่ปุ่นศึกษาเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวัน ออก-ตะวันตกด้านล่าง คือ กาญจนบุรี-กรุเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ เพื่อเชื่อมการขนส่งสินค้าทางรถไฟโยงทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายที่รัฐบาลไทยกับเมียนมาร์ร่วมกันพัฒนากับท่าเรือ แหลมฉบัง และจะเชื่อมการค้า 4 ประเทศผ่านทวาย มาไทย เข้ากัมพูชา ไปที่โฮจิมินห์ เวียดนาม"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้มีศักยภาพในการเปิดประตูการค้าฝั่งตะวันตกของภูมิภาค เพื่อสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน กับตลาดตะวันตก เช่น เอเชียใต้ แอฟริกา และยุโรป โดยเป็นเส้นทางลัดโลจิสติกส์เส้นทางใหม่ของภูมิภาค ไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังหารือร่วมกับญี่ปุ่นเมื่อ 31มี.ค.ที่ผ่านมา ทางญี่ปุ่นแสดงความสนใจอย่างจริงจังร่วมพัฒนารถไฟ 2เส้นทาง คือกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ 574 กม. เป็นทางคู่ราง 1 เมตร เน้นขนส่งสินค้าเป็นหลักเพราะเชื่อม 2 ท่าเรือคือทวายกับแหลมฉบัง

อีก ส้นคือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 679 กม.เป็นไฮสปีดเทรนรางมาตรฐาน 1.435 เมตรเน้นขนผู้โดยสารเป็นหลัก ส่วนสายแม่สอด-มุกดาหาร จะให้ความร่วมมือศึกษาให้อย่างเดียว

หลังจากนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐรมช.คมนาคม มีประชุมหารือร่วมกับญี่ปุ่นระหว่าง 23-27 เม.ย.นี้ คาดว่าจะลงนาม MOU ได้ในเดือนพฤษภาคมนี้

ก่อนหน้านี้ พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่าความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่นจะเป็นรูปแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี เหมือนรถไฟไทย-จีน โดยญี่ปุ่นเป็นผู้หาแหล่งเงินทุนจัดหาระบบและถ่ายทอดเทคโนโลยี

ส่วน การลงทุนเบื้องต้นมี 2 รูปแบบ คือ 1.กู้ยืมจากองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) อัตราดอกเบี้ยพิเศษเฉลี่ย 1.5% 2.ใช้เงินกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เอกชน ญี่ปุ่นกู้ยืมไปลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

ที่มา - http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1427950063
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไม่น่าเชื่อว่าจากกระทู้ April Fool [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่ลงไปเมื่อวานวันนี้กลับมีข่าวว่าจะมีการลงนาม MOU กับญี่ปุ่นในการสร้างรถไฟความเร็วสูงไปเชียงใหม่ ช่างเป็นเรื่องที่น่าบังเอิญอะไรเช่นนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่