(๑) “กาล”
แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องนับประมาณอายุเป็นต้น” “ถูกนับว่าล่วงไปเท่านี้แล้ว” “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง, หน
ในภาษาบาลี “กาล” ยังมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ “ความตาย”
ในความหมายนี้ “กาล” แปลตามศัพท์ว่า “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” “ทำตามเวลา” (เมื่อถึงเวลาก็ต้องทำสิ่งนั้น หรือเมื่อถึงเวลา สิ่งนั้นก็มาทำหน้าที่)
(๒)“เวลา”
(1) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้กำหนดความเสื่อมไป” “สิ่งที่เป็นไปโดยเป็นขณะเป็นครู่หนึ่งเป็นต้น” หมายถึง เวลา, กาลเวลา (time, point of time)
(2) แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ปราศจากน้ำ” หมายถึง ฝั่ง, ฝั่งทะเล (shore, sea-shore)
(3) แปลตามศัพท์ว่า “แนวที่เป็นไปโดยเป็นเครื่องกำหนด” หมายถึง ขอบเขต, เขตแดน (limit, boundary), เกณฑ์, การจำกัด, การควบคุม (measure, restriction, control)
“กาล” บาลีอ่านว่า กา-ละ ใช้ในภาษาไทยอ่านว่า กาน
ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้ายจึงจะอ่านว่า กา-ละ เช่น กาลโยค อ่านว่า กา-ละ-โยก ไม่ใช่ กาน-ละ-โยก หรือ กาน-โยก
ส่วน “เวลา” ทั้งบาลีและไทยอ่านเหมือนกันว่า เว-ลา
ในบาลี “กาล” กับ “เวลา” (ที่หมายถึงกาลเวลา - time) มักจะใช้ในความหมายเดียวกัน แต่ไม่ได้ใช้ควบกันเป็น “กาลเวลา” เหมือนในภาษาไทย
กาลคือเวลา และเวลาก็คือกาล
“กาลเวลา” จึงเป็นคำซ้อนธรรมดา อ่านว่า กาน-เว-ลา แต่จะอ่านแบบคำสมาสเป็น กา-ละ-เว-ลา ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
ที่มา
https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=785149624912110&pnref=story
☆☆☆☆☆
ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เพื่อจะสั่งสอนศิษย์ที่มีความทะนงตนว่า
"พวกเรารู้เท่าใด แม้อาจารย์ก็รู้เท่านั้นเหมือนกัน ไม่มีความพิเศษกว่ากัน"
จึงตั้งคำถามศิษย์ว่า
กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเองด้วย ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้แล้ว
ให้เวลาศิษย์ไปขบคิดปัญหาอยู่ 7 ศิษย์ก็ยังไม่สามารถตอบได้
พระโพธิสัตว์ได้ติเตียนศิษย์เหล่านั้นว่า
ศีรษะของนรชนปรากฏว่ามีมาก มีผมดำยาว ปกคลุมถึงคอ บรรดาคนทั้งหลายนี้จะหาคนที่มีปัญญาสักคนก็ไม่ได้
ความของคาถานั้นว่า
ศีรษะคนปรากฏมีมากหลาย และศีรษะเหล่านั้นมีผมดกดำประถึงคอ เอามือจับดูไม่เหมือนผลตาล
บุคคลเหล่านั้นไม่มีข้อแตกต่างกันด้วยธรรมเหล่านี้เลย
พระโพธิสัตว์ติเตียนพวกมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านเป็นคนโง่ มีแต่ช่องหูเท่านั้น ไม่มีปัญญา
แล้วแก้ปัญหาให้ฟัง
ศึกษาพระพุทธพจน์และอรรถกถาได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๑๙๒๐ - ๑๙๒๖. หน้าที่ ๙๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=1920&Z=1926&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=340
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[340-341]
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=27&A=340&Z=341
☆ บาลีวันละคำ ..... กาลเวลา ☆
แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องนับประมาณอายุเป็นต้น” “ถูกนับว่าล่วงไปเท่านี้แล้ว” “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง, หน
ในภาษาบาลี “กาล” ยังมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ “ความตาย”
ในความหมายนี้ “กาล” แปลตามศัพท์ว่า “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” “ทำตามเวลา” (เมื่อถึงเวลาก็ต้องทำสิ่งนั้น หรือเมื่อถึงเวลา สิ่งนั้นก็มาทำหน้าที่)
(๒)“เวลา”
(1) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้กำหนดความเสื่อมไป” “สิ่งที่เป็นไปโดยเป็นขณะเป็นครู่หนึ่งเป็นต้น” หมายถึง เวลา, กาลเวลา (time, point of time)
(2) แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ปราศจากน้ำ” หมายถึง ฝั่ง, ฝั่งทะเล (shore, sea-shore)
(3) แปลตามศัพท์ว่า “แนวที่เป็นไปโดยเป็นเครื่องกำหนด” หมายถึง ขอบเขต, เขตแดน (limit, boundary), เกณฑ์, การจำกัด, การควบคุม (measure, restriction, control)
“กาล” บาลีอ่านว่า กา-ละ ใช้ในภาษาไทยอ่านว่า กาน
ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้ายจึงจะอ่านว่า กา-ละ เช่น กาลโยค อ่านว่า กา-ละ-โยก ไม่ใช่ กาน-ละ-โยก หรือ กาน-โยก
ส่วน “เวลา” ทั้งบาลีและไทยอ่านเหมือนกันว่า เว-ลา
ในบาลี “กาล” กับ “เวลา” (ที่หมายถึงกาลเวลา - time) มักจะใช้ในความหมายเดียวกัน แต่ไม่ได้ใช้ควบกันเป็น “กาลเวลา” เหมือนในภาษาไทย
กาลคือเวลา และเวลาก็คือกาล
“กาลเวลา” จึงเป็นคำซ้อนธรรมดา อ่านว่า กาน-เว-ลา แต่จะอ่านแบบคำสมาสเป็น กา-ละ-เว-ลา ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
ที่มา
https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=785149624912110&pnref=story
☆☆☆☆☆
ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เพื่อจะสั่งสอนศิษย์ที่มีความทะนงตนว่า
"พวกเรารู้เท่าใด แม้อาจารย์ก็รู้เท่านั้นเหมือนกัน ไม่มีความพิเศษกว่ากัน"
จึงตั้งคำถามศิษย์ว่า
กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเองด้วย ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้แล้ว
ให้เวลาศิษย์ไปขบคิดปัญหาอยู่ 7 ศิษย์ก็ยังไม่สามารถตอบได้
พระโพธิสัตว์ได้ติเตียนศิษย์เหล่านั้นว่า
ศีรษะของนรชนปรากฏว่ามีมาก มีผมดำยาว ปกคลุมถึงคอ บรรดาคนทั้งหลายนี้จะหาคนที่มีปัญญาสักคนก็ไม่ได้
ความของคาถานั้นว่า
ศีรษะคนปรากฏมีมากหลาย และศีรษะเหล่านั้นมีผมดกดำประถึงคอ เอามือจับดูไม่เหมือนผลตาล
บุคคลเหล่านั้นไม่มีข้อแตกต่างกันด้วยธรรมเหล่านี้เลย
พระโพธิสัตว์ติเตียนพวกมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านเป็นคนโง่ มีแต่ช่องหูเท่านั้น ไม่มีปัญญา
แล้วแก้ปัญหาให้ฟัง
ศึกษาพระพุทธพจน์และอรรถกถาได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๑๙๒๐ - ๑๙๒๖. หน้าที่ ๙๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=1920&Z=1926&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=340
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[340-341] http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=27&A=340&Z=341