ความเข้าใจในเรื่องกรรม ก็เป็นสัมมาทิฏฐิในพุทธศาสนานี้

พระพุทธเจ้า บัญญัติว่า

เจตะนาหัง ภิกขะเว  กัมมัง วะทามิ เจตะยิตวา กัมมัง กะโรติ กาเยนะ วาจายะ มะนะสา ฯ

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่า บุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

อ้างอิง ไตร. บาลี. ติกฺก. อํ. ๒๒ / ๔๕๘- / ๓๓๔. อริย. ๑๐๒๕.



ลัทธิ ๓ ลัทธิเหล่านี้

เป็นลัทธิซึ่งแม้บัณฑิตจะพากันไตร่ตรอง

จะหยิบยกขึ้นตรวจสอบ


จะหยิบยกขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไร


แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร ก็ชวนให้น้อมไปเพื่อการไม่ประกอบกรรมที่ดีงามอยู่นั่นเอง



ลัทธิที่ ๑ มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุรุษบุคคลใดๆก็ตาม ที่ได้รับสุข หรือได้รับทุกข์

หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน



ลัทธิที่ ๒ มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุรุษบุคคลใดๆก็ตาม ที่ได้รับสุข หรือได้รับทุกข์

หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมบันดาลของผู้เป็นเจ้า



ลัทธิที่ ๓ มีถ้อยคำและความเห็นว่า บุรุษบุคคลใดๆก็ตาม ที่ได้รับสุข หรือได้รับทุกข์

หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย.

อ้างอิง ไตร. บาลี. ติกฺก. อํ. ๒๐ / ๒๒๒- / ๕๐๑ พุทธ ๔๑๑-.


ท่านทั้งหลาย เข้าใจในเรื่องกรรมดีแล้วหรือ ?



                                                                  
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่