ไม่รู้เคยมีกระทู้ลักษณะนี้ไปหรือยัง ถ้ามีก็ขออภัยครับ แต่ก็ถือว่าให้เป็นการย้ำความคิดนี้จนเกิดขึ้นเป็น"วัฒนธรรมใหม่"ครับ
กระทู้นี้อยากจะเน้นไปในเรื่องของการใช้ภาษาให้ถูกต้องเพื่อลด"ความกำกวม" มากกว่าไปในประเด็นของเรื่องการสะกดคำนะครับ
ผมไม่ใช่ครูสอนภาษานะครับ และอาจจะไม่ได้เป็นคนที่ใช้ภาษาถูกไปเสียทั้งหมด (ไม่อยากให้มานั่งจับผิดภาษาผม ซึ่งไม่ใช่ประเด็นครับ ซึ่งผมก็พยายามที่จะใช้ภาษาให้ถูกที่สุดเท่าที่ทำได้ครับ เพราะฉะนั้นอยากให้ร่วมเห็นถึงประเด็นที่ผมต้องการจะสื่อ มากกว่าการที่จะมาจับผิดเรื่องภาษาผมนะครับ แต่ถ้าผมใช้ภาษาไม่ถูกไม่ควรอย่างไร ก็น้อมรับฟังครับ)
แต่ถึงแม้ผมจะไม่ได้มีความรู้ทางเรื่องนี้โดยตรง ผมเห็นสิ่งที่เป็นหนึ่งในปัญหาของเมืองไทยก็คือเรื่อง"การสื่อสาร"ครับ
ปัญหาเรื่องการสื่อสารที่ว่านี้ คือการ "ลด ละ และ รวบคำ" ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นเพราะรวบไว้"ในฐานที่เข้าใจ" หรือ "เป็นที่รู้กัน" หรือจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วตาม การลดคำดังกล่าวนี้มักจะก่อให้เกิดปัญหาในการสื่อสารหรือปัญหาอื่นๆตามมาครับ โดยหลักมันเป็นเพราะว่าการลดคำดังกล่าวมันก่อให้เกิดความกำกวมขึ้น ทำให้ผู้ส่งและรับสารเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ทีนี้ แทนที่จะเข้าใจตรงกัน มันกลับกลายเป็นว่ามันเข้าใจไม่ตรงกัน เพราะต่างคนต่างเข้าใจคนละแบบ ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ เวลาเราถ่ายรูป เรานับ 1 2 3 แต่มันก็จะมีคนเข้าใจสองแบบครับว่า นับ 1 2 3 เสร็จแล้วค่อยกด หรือกดที่ตรงเลข 3 พอดี
มาถึงตรงนี้ ลองๆนึกถึงการพูดคุยในแต่ละวันของแต่ละคนก็ได้ครับ ผมว่าหลายๆคนจะพอมองออกล่ะครับว่ามันมีหลายอย่างจริงๆที่มันก่อให้เกิดความกำกวม ยกตัวอย่างนะครับ อย่างบ้านผมกับบ้านแฟนผมเนี่ย บางทีคำว่า"เย็นๆ" (เวลา)ยังให้ความหมายที่ไม่เหมือนกันเลย อย่างพี่สาวผมเนี่ย เย็นๆหมายถึงไปได้ตั้งแต่ 6 โมงเย็นจนไปถึง 2 ทุ่ม (อย่างน้อยในทางปฏิบัตินะครับ) ในขณะที่ผมและอีกหลายๆคนในบ้านผมและบ้านแฟนผมนี่หมายถึง บ่าย 4 ถึง 6 โมงเย็น (เขาบอกว่า ถึงเรียกกันว่า "4 โมงเย็น" "5 โมงเย็น" "6 โมงเย็น" แต่ไม่มี "7 โมงเย็น" หรือ "1 ทุ่มเย็น")
ปัญหาเรื่องความกำกวมนี้ที่ทำให้เป็นปัญหาในการสื่อสาร
และผมมองว่าในหลายๆครั้งเป็นบ่อเกิดของปัญหาหลายๆเรื่องตามมา และโดยเฉพาะบนเว็บบอร์ด เพราะว่า"สาร"มันสามารถตีความได้มากกว่าหนึ่งแบบ
หลายๆครั้งมันกลายเป็นช่องที่ทำให้"คนหัวหมอ"อาศัยเป็นช่องทำให้เกิดการโต้เถียงกัน ซึ่งในบางครั้งโดยไม่จำเป็น เพราะว่าจริงๆแล้วบางทีมันมีความเข้าใจคล้ายๆกันอยู่แล้ว เพียงแต่ที่สารที่ส่งออกไปมันกำกวมทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
จนในบางครั้งก็ก่อให้เกิด"ดราม่า"ต่อล้อต่อเถียงในเว็บต่างๆ ก็มีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ
ซึ่งคำนึงที่มักจะก่อให้เกิดปัญหาก็คือคำว่า "คนไทย"
คำๆนี้เป็นคำที่สะกิดต่อมเรียกว่าทุกคนก็ว่าได้ครับ บางคนก็รู้สึกว่ามีวัฒนธรรมหลายๆอย่างในเมืองไทยที่เป็นปัญหา อยากให้ได้รับการแก้ไข และก็อาจจะมีการบ่นกันออกมาว่า "ทำไม_คนไทย_เป็นอย่างโน้น" หรือ "ทำไม_คนไทย_เป็นอย่างนี้"
ในทางกลับกัน ก็จะมีคนส่วนหนึ่งที่รักชาติ รักคนไทย รักประเทศไทย ที่รู้สึกยอมรับไม่ได้ว่าทำไมถึง"เหมา"รวม และอยากจะบอกว่า"คนไทย"ไม่ได้เป็นแบบนั้นไปเสียหมด หรืออาจจะอยากบอกว่าคนนั้นๆที่พูดแบบนี้ไม่ได้เป็นคนไทยหรือ?
จริงๆแล้ว ผมเชื่อว่า"คนไทยส่วนใหญ่ถ้าไม่ทั้งหมด"อยากเห็นประเทศไทยเจริญก้าวหน้า มีความสุขและสงบสุขกันทั้งนั้นครับ และก็ไม่มีใครอยากให้"คนไทย"เราถูกว่าหรือตราหน้าที่ไม่ดีกันทั้งนั้นครับ
แต่บางครั้งเรื่องพวกนี้กลายเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันเพราะแค่การใช้คำว่า "คนไทย" ที่สื่อไม่ค่อยตรงกันเท่าไหร่
ผมมองว่าจะดีไม่น้อยครับถ้าเราเลิกการ "ลด ละ และรวบคำ" กันลงเสียบ้าง
อย่างการพูดเกี่ยวกับคนไทย ระบุไปเลยครับว่าหมายถึงใครส่วนไหน เยอะมากน้อยแค่ไหน เช่น "คนไทยบางคน" "คนไทยส่วนหนึ่ง" "คนไทยจำนวนมาก" "คนไทยไม่น้อย" "คนไทยส่วนมาก" หรือ "คนไทยทั้งหมด" เป็นต้นครับ
อย่างในกรณีของการที่เราอยากจะบอกว่า "คนไทยส่วนมาก" ซึ่งในบางครั้งเราก็อาจจะไม่มีข้อมูลสนับสนุน เราก็อาจจะควรใช้คำพูดเพิ่มเติมอย่างเช่น "ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนมาก" เป็นต้นครับ
ถ้าคุณได้อ่าน และอ่านถึงตรงนี้ คุณอาจจะเชื่อเหมือนผมนะครับว่า แค่ง่ายๆแค่นี้ อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้บ้านเมืองเรา"สงบสุข"ขึ้นและคนไทยเราจะรักกันและสามัคคีกันมากขึ้นได้ครับ และนี่ก็คือเหตุผลที่ผมเสียเวลาเขียนเป็นกระทู้นี้ขึ้นมา
(ว่าแล้วผมก็มีประโยคที่เขียนแค่ว่า"คนไทย"ที่สมบูรณ์ในคำของมันเองที่ไม่ต้องมีคำขยายเพิ่มเติม มันมีได้เหมือนกันครับ --> แต่มันควรจะให้ตีความถึง"คนไทยโดยรวม"ครับ)
ถ้าเราทำได้ อีกหน่อย การถกเถียงกัน (ไม่ใช่เรื่องไม่ดี) ก็จะกลายเป็นการถกเถียงที่สร้างสรรค์และตรงประเด็นมากขึ้นครับ (ไม่ใช่ว่ามัวแต่เสียเวลาเพราะคนนึงพูดว่า "ทำไมคนไทย....." แล้วอีกคนก็ต้องมาเสียเวลาเถียงว่า "คุณไปเหมารวมแบบนี้ไม่ได้นะ")
ตรงนี้เอาไปขยายต่อกับคำอื่นๆและลักษณะการสนทนาอื่นๆได้อีกนะครับ
ฝากไว้ให้คิดกันครับ และฝากให้ช่วยๆกันครับ ขอบคุณมากครับ
ป.ล. ผมพยายามแท็กหลายๆห้องเพื่อฝากให้ทุกๆคนได้มีส่วนร่วมครับ โดยเฉพาะห้องที่อาจมีการพูดถึง"คนไทย"อยู่บ่อยๆครับ
แท็ก "การศึกษา" และ "การเรียน" เพราะเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาภาษาไทย
แท็ก "การลงทุน" เพราะกระทู้นี้เหมือนการลงทุนอย่างหนึ่งเพื่อรอผลตอบแทน
แท็ก "ผู้ประกาศข่าว" เพราะเกี่ยวกับเรื่องการนำเสนอ
แท็ก "คณิตศาสตร์" เพราะมองว่าเป็น discrete mathematics ได้
จริงๆอยากแท็กหลายๆห้องกว่านี้ แต่แท็กได้แค่ 5 ครับ
เรามาเริ่มใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและครบถ้วนกันไหม เริ่มจากคำว่า "คนไทย"
* กระทู้นี้สามารถใช้งานได้เฉพาะผู้ที่มี Link นี้เท่านั้นค่ะกระทู้นี้อยากจะเน้นไปในเรื่องของการใช้ภาษาให้ถูกต้องเพื่อลด"ความกำกวม" มากกว่าไปในประเด็นของเรื่องการสะกดคำนะครับ
ผมไม่ใช่ครูสอนภาษานะครับ และอาจจะไม่ได้เป็นคนที่ใช้ภาษาถูกไปเสียทั้งหมด (ไม่อยากให้มานั่งจับผิดภาษาผม ซึ่งไม่ใช่ประเด็นครับ ซึ่งผมก็พยายามที่จะใช้ภาษาให้ถูกที่สุดเท่าที่ทำได้ครับ เพราะฉะนั้นอยากให้ร่วมเห็นถึงประเด็นที่ผมต้องการจะสื่อ มากกว่าการที่จะมาจับผิดเรื่องภาษาผมนะครับ แต่ถ้าผมใช้ภาษาไม่ถูกไม่ควรอย่างไร ก็น้อมรับฟังครับ)
แต่ถึงแม้ผมจะไม่ได้มีความรู้ทางเรื่องนี้โดยตรง ผมเห็นสิ่งที่เป็นหนึ่งในปัญหาของเมืองไทยก็คือเรื่อง"การสื่อสาร"ครับ
ปัญหาเรื่องการสื่อสารที่ว่านี้ คือการ "ลด ละ และ รวบคำ" ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นเพราะรวบไว้"ในฐานที่เข้าใจ" หรือ "เป็นที่รู้กัน" หรือจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วตาม การลดคำดังกล่าวนี้มักจะก่อให้เกิดปัญหาในการสื่อสารหรือปัญหาอื่นๆตามมาครับ โดยหลักมันเป็นเพราะว่าการลดคำดังกล่าวมันก่อให้เกิดความกำกวมขึ้น ทำให้ผู้ส่งและรับสารเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ทีนี้ แทนที่จะเข้าใจตรงกัน มันกลับกลายเป็นว่ามันเข้าใจไม่ตรงกัน เพราะต่างคนต่างเข้าใจคนละแบบ ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ เวลาเราถ่ายรูป เรานับ 1 2 3 แต่มันก็จะมีคนเข้าใจสองแบบครับว่า นับ 1 2 3 เสร็จแล้วค่อยกด หรือกดที่ตรงเลข 3 พอดี
มาถึงตรงนี้ ลองๆนึกถึงการพูดคุยในแต่ละวันของแต่ละคนก็ได้ครับ ผมว่าหลายๆคนจะพอมองออกล่ะครับว่ามันมีหลายอย่างจริงๆที่มันก่อให้เกิดความกำกวม ยกตัวอย่างนะครับ อย่างบ้านผมกับบ้านแฟนผมเนี่ย บางทีคำว่า"เย็นๆ" (เวลา)ยังให้ความหมายที่ไม่เหมือนกันเลย อย่างพี่สาวผมเนี่ย เย็นๆหมายถึงไปได้ตั้งแต่ 6 โมงเย็นจนไปถึง 2 ทุ่ม (อย่างน้อยในทางปฏิบัตินะครับ) ในขณะที่ผมและอีกหลายๆคนในบ้านผมและบ้านแฟนผมนี่หมายถึง บ่าย 4 ถึง 6 โมงเย็น (เขาบอกว่า ถึงเรียกกันว่า "4 โมงเย็น" "5 โมงเย็น" "6 โมงเย็น" แต่ไม่มี "7 โมงเย็น" หรือ "1 ทุ่มเย็น")
ปัญหาเรื่องความกำกวมนี้ที่ทำให้เป็นปัญหาในการสื่อสาร
และผมมองว่าในหลายๆครั้งเป็นบ่อเกิดของปัญหาหลายๆเรื่องตามมา และโดยเฉพาะบนเว็บบอร์ด เพราะว่า"สาร"มันสามารถตีความได้มากกว่าหนึ่งแบบ
หลายๆครั้งมันกลายเป็นช่องที่ทำให้"คนหัวหมอ"อาศัยเป็นช่องทำให้เกิดการโต้เถียงกัน ซึ่งในบางครั้งโดยไม่จำเป็น เพราะว่าจริงๆแล้วบางทีมันมีความเข้าใจคล้ายๆกันอยู่แล้ว เพียงแต่ที่สารที่ส่งออกไปมันกำกวมทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
จนในบางครั้งก็ก่อให้เกิด"ดราม่า"ต่อล้อต่อเถียงในเว็บต่างๆ ก็มีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ
ซึ่งคำนึงที่มักจะก่อให้เกิดปัญหาก็คือคำว่า "คนไทย"
คำๆนี้เป็นคำที่สะกิดต่อมเรียกว่าทุกคนก็ว่าได้ครับ บางคนก็รู้สึกว่ามีวัฒนธรรมหลายๆอย่างในเมืองไทยที่เป็นปัญหา อยากให้ได้รับการแก้ไข และก็อาจจะมีการบ่นกันออกมาว่า "ทำไม_คนไทย_เป็นอย่างโน้น" หรือ "ทำไม_คนไทย_เป็นอย่างนี้"
ในทางกลับกัน ก็จะมีคนส่วนหนึ่งที่รักชาติ รักคนไทย รักประเทศไทย ที่รู้สึกยอมรับไม่ได้ว่าทำไมถึง"เหมา"รวม และอยากจะบอกว่า"คนไทย"ไม่ได้เป็นแบบนั้นไปเสียหมด หรืออาจจะอยากบอกว่าคนนั้นๆที่พูดแบบนี้ไม่ได้เป็นคนไทยหรือ?
จริงๆแล้ว ผมเชื่อว่า"คนไทยส่วนใหญ่ถ้าไม่ทั้งหมด"อยากเห็นประเทศไทยเจริญก้าวหน้า มีความสุขและสงบสุขกันทั้งนั้นครับ และก็ไม่มีใครอยากให้"คนไทย"เราถูกว่าหรือตราหน้าที่ไม่ดีกันทั้งนั้นครับ
แต่บางครั้งเรื่องพวกนี้กลายเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันเพราะแค่การใช้คำว่า "คนไทย" ที่สื่อไม่ค่อยตรงกันเท่าไหร่
ผมมองว่าจะดีไม่น้อยครับถ้าเราเลิกการ "ลด ละ และรวบคำ" กันลงเสียบ้าง
อย่างการพูดเกี่ยวกับคนไทย ระบุไปเลยครับว่าหมายถึงใครส่วนไหน เยอะมากน้อยแค่ไหน เช่น "คนไทยบางคน" "คนไทยส่วนหนึ่ง" "คนไทยจำนวนมาก" "คนไทยไม่น้อย" "คนไทยส่วนมาก" หรือ "คนไทยทั้งหมด" เป็นต้นครับ
อย่างในกรณีของการที่เราอยากจะบอกว่า "คนไทยส่วนมาก" ซึ่งในบางครั้งเราก็อาจจะไม่มีข้อมูลสนับสนุน เราก็อาจจะควรใช้คำพูดเพิ่มเติมอย่างเช่น "ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนมาก" เป็นต้นครับ
ถ้าคุณได้อ่าน และอ่านถึงตรงนี้ คุณอาจจะเชื่อเหมือนผมนะครับว่า แค่ง่ายๆแค่นี้ อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้บ้านเมืองเรา"สงบสุข"ขึ้นและคนไทยเราจะรักกันและสามัคคีกันมากขึ้นได้ครับ และนี่ก็คือเหตุผลที่ผมเสียเวลาเขียนเป็นกระทู้นี้ขึ้นมา
(ว่าแล้วผมก็มีประโยคที่เขียนแค่ว่า"คนไทย"ที่สมบูรณ์ในคำของมันเองที่ไม่ต้องมีคำขยายเพิ่มเติม มันมีได้เหมือนกันครับ --> แต่มันควรจะให้ตีความถึง"คนไทยโดยรวม"ครับ)
ถ้าเราทำได้ อีกหน่อย การถกเถียงกัน (ไม่ใช่เรื่องไม่ดี) ก็จะกลายเป็นการถกเถียงที่สร้างสรรค์และตรงประเด็นมากขึ้นครับ (ไม่ใช่ว่ามัวแต่เสียเวลาเพราะคนนึงพูดว่า "ทำไมคนไทย....." แล้วอีกคนก็ต้องมาเสียเวลาเถียงว่า "คุณไปเหมารวมแบบนี้ไม่ได้นะ")
ตรงนี้เอาไปขยายต่อกับคำอื่นๆและลักษณะการสนทนาอื่นๆได้อีกนะครับ
ฝากไว้ให้คิดกันครับ และฝากให้ช่วยๆกันครับ ขอบคุณมากครับ
ป.ล. ผมพยายามแท็กหลายๆห้องเพื่อฝากให้ทุกๆคนได้มีส่วนร่วมครับ โดยเฉพาะห้องที่อาจมีการพูดถึง"คนไทย"อยู่บ่อยๆครับ
แท็ก "การศึกษา" และ "การเรียน" เพราะเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาภาษาไทย
แท็ก "การลงทุน" เพราะกระทู้นี้เหมือนการลงทุนอย่างหนึ่งเพื่อรอผลตอบแทน
แท็ก "ผู้ประกาศข่าว" เพราะเกี่ยวกับเรื่องการนำเสนอ
แท็ก "คณิตศาสตร์" เพราะมองว่าเป็น discrete mathematics ได้
จริงๆอยากแท็กหลายๆห้องกว่านี้ แต่แท็กได้แค่ 5 ครับ