อุตสาหกรรมเหล็ก อนาคต ssi ?

กระทู้สนทนา
ข่าวผู้จัดการรายวันเมื่อ 2 มีนาคม 57
        นาย วิน วิริยประไพกิจ ประธานฯ SSI  เปิดเผยว่า     ในปี 2557 ความต้องการบริโภคสินค้าเหล็กของโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.3  หรือเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 1,523 ล้านตัน ซึ่งอัตราการเติบโตของความต้องการเหล็กของจีนในปี 2557 คาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ประเทศอินเดียเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.6 รวมถึงประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กหลักของโลกเช่น สหรัฐฯ บราซิล และกลุ่มสหภาพยุโรป
      
        ขณะที่แนวโน้มการบริโภคเหล็กในไทยสำหรับปี 2557 จะมีความผันผวนตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งภาวะตลาดอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็ก เช่น ก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมก่อสร้างหากได้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนของภาครัฐ ก็จะช่วยเพิ่มอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ได้ ทั้งนี้ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่า ในปี 2557ไทยจะมีปริมาณการใช้เหล็ก 18 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากปี 2556

        สำหรับบริษัทฯนั้น คาดว่าธุรกิจในปีนี้จะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งการเติบโตของยอดขาย การลดต้นทุน ส่วนต่างราคาที่ดีขึ้น รวมทั้งการขยายผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มพิเศษ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต หลังจากบริษัทฯประสบปัญหาการขาดทุนต่อเนื่องมานานนับตั้งแต่การเข้าไปซื้อ ธุรกิจโรงถลุงเหล็กที่อังกฤษ
      
        โดยในไตรมาส 1/2557  ตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากจุดต่ำสุดใน เดือนพฤศจิกายนเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มปะทุ ตลาดเหล็กแท่งแบนทั่วโลกตึงตัวเมื่อปริมาณความต้องการจากภูมิภาคอเมริกา เหนือเริ่มมีมากขึ้น ขณะที่สินแร่เหล็กและถ่านโค้ก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของบริษัทฯยังคงได้รับแรงกดดันด้านราคาจากสถานการณ์อุปทานล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง  ทำให้อัตรากำไรของธุรกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้น คาดว่าผลขาดทุนของธุรกิจโรงถลุงเหล็กจะน้อยลงอีกจากการที่บริษัทมุ่งมั่น พยายามลดต้นทุน ทั้งจากการเพิ่มปริมาณการผลิตเหล็กแท่งแบนและอัตราการใช้ PCI   และจากโครงการต่างๆ เพื่อปรับลดต้นทุน ที่เรากำลังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง
      
        สำหรับผลการดำเนินงานงวดปี 2556 บริษัท มีรายได้รวม 6.53 หมื่นล้านบาท  และขาดทุนสุทธิ 7.05พันล้านบาท ขาดทุนลดลงช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 1.59 หมื่นล้านบาท โดยปี 2556 บริษัท มีปริมาณการขายเหล็กรวม 3.24 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และ 31 ตามลำดับ โดยบริษัทฯได้รับเปลี่ยนตัวเองจากผู้ผลิตเหล็กขั้นกลางเป็นผู้ผลิตเหล็กครบวงจร
        โดยเหล็กแท่งแบนซึ่งได้จากโรงถลุงเหล็กที่อังกฤษ ก็เป็นทีต้องการของตลาดโลกโดยจำหน่ายคิดเป็นร้อยละ 40 ให้กับบริษัทภายนอก ทำให้กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) ปรับตัวดีขึ้นมาก  เป็นผลจากโรงถลุงเหล็กขารดทุนลดลงเหลือเพียงกึ่งหนึ่ง โดยยังมีปัญหาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ยังสูงอยู่ และธุรกิจเหล็กแผ่นรีดร้อนได้พลิกมีกำไรอีกครั้งจากการบริหารค่ารีดที่ดีขึ้น  

ข่าวอีกสำนัก กรุงเทพธุรกิจ เมื่อ 21 ม.ค. 57
       เหล็ก เดิมไทยเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากมีโรงงานเหล็กขั้นกลางน้ำหลายแห่ง แต่เมื่อปลายปี 2556 อินโดนีเซียได้เปิดโรงถลุงเหล็กแบบครบวงจรตามมาตรฐานโลกแห่งแรกในเออีซี กำลังผลิต 3 ล้านตัน/ปี ทำให้แซงหน้าไทยขึ้นเป็นอันดับ 1 สำหรับในอนาคตเมื่อโครงการโรงถลุงเหล็กเฟสแรกของกลุ่มฟอร์โมซาในเวียดนามก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2549 ขนาดกำลังผลิต 7 ล้านตัน/ปี จะทำให้เวียดนามแซงหน้าอินโดนีเซียขึ้นเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในเออีซี ยิ่งไปกว่านั้น หากโครงการโรงถลุงเหล็กของเวียดนามเปิดดำเนินการเต็มโครงการขนาดกำลังผลิต 22.5 ล้านตัน/ปี จะทำให้เวียดนามเป็นฐานผลิตเหล็กใหญ่อันดับที่ 11 ของโลก


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่