ได้ฟังและได้ยินคำว่าการเมืองภาคประชาชนบ่อยมากในช่วงการชุมนุมทางการเมืองของนายสุเทพและพวก
บางกลุ่ม บางพวกออกมายกย่องม๊อบของนายสุเทพว่าเป็นการตื่นรู้อย่างเบิกบานของประชาชน
แต่ถ้าเราไล่เรียงลำดับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในครั้งนี้เริ่มจากการประท้วงของชาวสวนยางซึ่งมีระดับความเข้มข้น
ในพื้นที่ฐานเสียงของพรรคเก่าแก่เป็นพิเศษ ตามด้วยการเปิดเวทีของพรรคดังกล่าวแถวสามเสน
หลังจากนั้นก็นำไปสู่การชุมนุมเพื่อต่อต้าน กฏหมายนิรโทษกรรม ซึ่งตามความคิดของผมการชุมนุมในเหตุการณ์นี้นับเป็นการเมืองภาคประชาชนเพียงครั้งเดียว และมีหลายฝ่ายหลายขั้วทั้งแดง เหลือง และสลิ่มเข้าร่วมอย่างกว้างขวางจนนำไปสู่การยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน แต่การชุมนุมหลังจากนั้นล้วนแต่เป็นการหาประโยชน์จากกลุ่มก้อนทางการเมืองในนามของมวลมหาล้วนเป็นการเมืองของชนชั้นนำทั้งสิ้น
การเมืองของชนชั้นนำที่ไม่เคยเปลี่ยนทัศนคติที่ว่าคนไทยโง่ และยังไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตยที่ทุกคนมี 1 เสียงเท่ากัน
การเมืองของชนชั้นนำที่ให้คุณค่าของการแต่งตั้งมากกว่าการเลือกตั้ง(ชมชอบระบบอุปถัมภ์)
การเมืองของชนชั้นนำที่ชูและใช้เงื่อนไขเรื่องการคอร์รัปชั่น การหมิ่นสถาบัน ความดีงาม ความเลวทรามต่ำช้าในการกำจัดรัฐบาลโดยการชี้นำและสร้างความหวังเรื่องการฏิรูปประเทศให้เป็นอารยะ และการขจัดนักการเมืองที่ชั่วร้าย ซึ่งไม่เคยมีผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเลยจากข้ออ้างดังกล่าวจากเหตุการณ์ทางการเมืองหลายๆครั้งที่ผ่านมา
การเมืองของชนชั้นนำที่พยายามรักษาตำแหน่งแห่งที่ ผลประโยชน์ สถานะและอิทธิพลจองตนเองไว้
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของกระแสหลักของโลกว่าด้วยเสรีนิยมใหม่โดยผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวก็ล้วนแต่
เป็นตัวละครกลุ่มเดิมเป็นส่วนใหญ่
แต่ใช่ว่าในประเทศนี้ไม่มีการเมืองภาคประชาชน เรามีการเมืองภาคประชาชนที่ต่อสู้เพื่อประโยชน์ของชุมชนตัวเอง ต่อสู้กับการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐในหลายๆพื้นที่ แต่ไม่ใช่การชุมนุมของนายสุเทพและพวกที่นำมาซึ่งความเกลียดชังของคนสองกลุ่มใหญ่ในเวลานี้แน่นอน
การเมืองภาคประชาชน
บางกลุ่ม บางพวกออกมายกย่องม๊อบของนายสุเทพว่าเป็นการตื่นรู้อย่างเบิกบานของประชาชน
แต่ถ้าเราไล่เรียงลำดับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในครั้งนี้เริ่มจากการประท้วงของชาวสวนยางซึ่งมีระดับความเข้มข้น
ในพื้นที่ฐานเสียงของพรรคเก่าแก่เป็นพิเศษ ตามด้วยการเปิดเวทีของพรรคดังกล่าวแถวสามเสน
หลังจากนั้นก็นำไปสู่การชุมนุมเพื่อต่อต้าน กฏหมายนิรโทษกรรม ซึ่งตามความคิดของผมการชุมนุมในเหตุการณ์นี้นับเป็นการเมืองภาคประชาชนเพียงครั้งเดียว และมีหลายฝ่ายหลายขั้วทั้งแดง เหลือง และสลิ่มเข้าร่วมอย่างกว้างขวางจนนำไปสู่การยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน แต่การชุมนุมหลังจากนั้นล้วนแต่เป็นการหาประโยชน์จากกลุ่มก้อนทางการเมืองในนามของมวลมหาล้วนเป็นการเมืองของชนชั้นนำทั้งสิ้น
การเมืองของชนชั้นนำที่ไม่เคยเปลี่ยนทัศนคติที่ว่าคนไทยโง่ และยังไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตยที่ทุกคนมี 1 เสียงเท่ากัน
การเมืองของชนชั้นนำที่ให้คุณค่าของการแต่งตั้งมากกว่าการเลือกตั้ง(ชมชอบระบบอุปถัมภ์)
การเมืองของชนชั้นนำที่ชูและใช้เงื่อนไขเรื่องการคอร์รัปชั่น การหมิ่นสถาบัน ความดีงาม ความเลวทรามต่ำช้าในการกำจัดรัฐบาลโดยการชี้นำและสร้างความหวังเรื่องการฏิรูปประเทศให้เป็นอารยะ และการขจัดนักการเมืองที่ชั่วร้าย ซึ่งไม่เคยมีผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเลยจากข้ออ้างดังกล่าวจากเหตุการณ์ทางการเมืองหลายๆครั้งที่ผ่านมา
การเมืองของชนชั้นนำที่พยายามรักษาตำแหน่งแห่งที่ ผลประโยชน์ สถานะและอิทธิพลจองตนเองไว้
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของกระแสหลักของโลกว่าด้วยเสรีนิยมใหม่โดยผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวก็ล้วนแต่
เป็นตัวละครกลุ่มเดิมเป็นส่วนใหญ่
แต่ใช่ว่าในประเทศนี้ไม่มีการเมืองภาคประชาชน เรามีการเมืองภาคประชาชนที่ต่อสู้เพื่อประโยชน์ของชุมชนตัวเอง ต่อสู้กับการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐในหลายๆพื้นที่ แต่ไม่ใช่การชุมนุมของนายสุเทพและพวกที่นำมาซึ่งความเกลียดชังของคนสองกลุ่มใหญ่ในเวลานี้แน่นอน