------>ผู้มากด้วยปริยัติ-ผู้มากด้วยการบัญญัติ-ผู้มากด้วยการสวด-ผู้มากด้วยการคิด-ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)<------
ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม
เล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะเวทัลละ ;
แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรม นั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า
ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน)...... ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ
แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แก่คนอื่นโดยพิสดาร,
แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรม นั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า
ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง)...... ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทำการ
สาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร,
แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า
ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด)...... ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ
คิดพล่านไปในธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา,
แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้มากด้วยการคิด (นักคิด)...... ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
----------->ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)<-----------
ภิกษุ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด)
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ,
แต่เธอ ไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้น ๆ
ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายในเนือง ๆ.
ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
ภิกษุ !
ภิกษุผู้มาก ด้วยปริยัติ เราก็แสดงแล้ว,
ผู้มาก ด้วยบัญญัติ เราก็แสดงแล้ว,
ผู้มาก ด้วยการสาธยาย เราก็แสดงแล้ว,
ผู้มาก ด้วยการคิด เราก็แสดงแล้ว,
และ
ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม) เราก็แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ภิกษุ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว
จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย.
ภิกษุ ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย. นั่น เรือนว่างทั้งหลาย.
ภิกษุ ! เธอทั้งหลาย
จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้เป็นผู้ประมาท ;
เธอทั้งหลายอย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี่แล
เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนเธอทั้งหลายของเรา.
บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๙/๗๓
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/2001/index.html
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/2201/index.html
http://www.84000.org/tipitaka/read/?22/73
ผู้มากด้วยปริยัติ-ผู้มากด้วยการบัญญัติ-ผู้มากด้วยการสวด-ผู้มากด้วยการคิด-ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะเวทัลละ ;
แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรม นั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน)...... ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แก่คนอื่นโดยพิสดาร,
แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรม นั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง)...... ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร,
แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด)...... ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ คิดพล่านไปในธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา,
แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการคิด (นักคิด)...... ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
----------->ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)<-----------
ภิกษุ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด)
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ,
แต่เธอ ไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้น ๆ
ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายในเนือง ๆ.
ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)
ภิกษุ !
ภิกษุผู้มาก ด้วยปริยัติ เราก็แสดงแล้ว,
ผู้มาก ด้วยบัญญัติ เราก็แสดงแล้ว,
ผู้มาก ด้วยการสาธยาย เราก็แสดงแล้ว,
ผู้มาก ด้วยการคิด เราก็แสดงแล้ว,
และ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม) เราก็แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ภิกษุ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว
จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย.
ภิกษุ ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย. นั่น เรือนว่างทั้งหลาย.
ภิกษุ ! เธอทั้งหลาย จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้เป็นผู้ประมาท ;
เธอทั้งหลายอย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนเธอทั้งหลายของเรา.
บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๙/๗๓
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/2001/index.html
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/2201/index.html
http://www.84000.org/tipitaka/read/?22/73