ไหนๆ เราก้ออ้างอิงราคาน้ำมันต่างประเทศแล้ว ทำไมเราไม่หยุดสัมปทาน ปิดปากบ่อไปหมดเลยหล่ะ

แล้วใครจะเดือดร้อน...ถ้าหยุดขุดสูบน้ำมัน หยุดขายสัมปทานไปซะ เพราะยังไงเสียเราก้ออ้างอิงราคาต่างประเทศไปแล้ว

ต้นตอ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=627886507270899&set=a.485146284878256.109052.485143231545228&type=1

เรื่องการอ้างอิงราคาสินค้า คงมีหลายท่านใน Pantip อธิบายไปแล้ว ขอสรุปตามนี้นะครับ
การกำหนดราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ข้าว น้ำมัน ผัก และผลไม้ มักจะตั้งราคาสินค้าโดยอ้างอิงตลาดใหญ่ๆ ที่มีปริมาณการซื้อขายสูง สำหรับราคาน้ำมันในประเทศไทยจะอ้างอิงจากตลาดสิงคโปร์ เพราะเป็นศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันโลกที่อยู่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุด รวมทั้งสิงคโปร์ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานตัวแทนบริษัทน้ำมันรายใหญ่ทั่วโลกกว่า 300 บริษัท และมีปริมาณการซื้อขายสูงเช่นเดียวกับตลาดในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ยากต่อการปั่นราคาโดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย ทั้งนี้ ราคาน้ำมันอ้างอิงที่ตลาดสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาที่โรงกลั่นในสิงคโปร์ประกาศขึ้นมาเอง แต่เป็นตัวเลขราคาที่ผู้ค้าน้ำมันจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าไปตกลงซื้อขายผ่านตลาดกลางสิงคโปร์ ซึ่งราคาดังกล่าวจะสะท้อนจากอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันในภูมิภาคเอเชีย โดยมี Platts เป็นองค์กรที่รวบรวมข้อมูลการซื้อขายน้ำมันแล้วนำมาประเมิน เพื่อประกาศราคาอ้างอิงของตลาดในแต่ละวัน อย่างไรก็ดี หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไม่ได้อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ จะทำให้เกิดความไม่สมดุลในการผลิตและการจัดหาในประเทศ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ไทยตั้งราคาน้ำมันเองต่ำกว่าราคาที่ตลาดสิงคโปร์ จะทำให้โรงกลั่นในประเทศส่งออกน้ำมันไปขาย เนื่องจากได้ราคาสูงกว่า ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันในประเทศได้ ในทางกลับกัน หากโรงกลั่นตั้งราคาน้ำมันสูงกว่าที่ตลาดสิงคโปร์ บริษัทน้ำมันก็หันไปนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์แทน เพราะมีราคาที่ถูกกว่า ทั้งสองกรณีจะทำให้เกิดการนำเข้าและส่งออกโดยไม่จำเป็น ทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งวิธีการกำหนดราคาโดยการอ้างอิงราคาสิงคโปร์นั้น เป็นวิธีการปฏิบัติสากลที่ใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันทั่วโลก


ส่วนต่อมาไหนๆ เราก้ออ้างอิงราคาต่างประเทศแล้ว ทำไมเราไม่นำเข้ามาเองทั้งหมดเลยหล่ะ ปิดบ่อ ยกเลิกสัมปทานไปซะ

ในยุคแรกของการสำรวจปิโตรเลียม ราวๆปี 2460  รัฐบาลไทยดำเนินการสำรวจและเจาะสำรวจไปหลายหลุมก็ไม่พบปิโตรเลียม ดังนั้น หากเราเอาเงินงบประมาณแผ่นดินไปสำรวจหาปิโตรเลียมก็อาจมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินรัฐไปโดยเปล่าประโยชน์ และสุ่มเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังของประเทศ การสำรวจปิโตรเลียมใช่ว่าจะเจาะสำรวจเพียง 1 หลุม แล้วจะเจอปิโตรเลียมเลย เราจำเป็นจะต้องทดลองเจาะหลาย ๆ หลุม เพื่อดูบริเวณใกล้เคียงว่ามีแนวโน้มจะพบปิโตรเลียมหรือไม่รัฐสำรวจเองตั้งแต่ ครับ แล้วมายอมแพ้ปี 2514 คิดดูครับ กว่า 54 ปี แต่ไม่สามารถค้นพบแหล่งได้ จึงเปิดเป็นสัมปทานให้เอกชนทำแทน แล้วมาขอส่วนแบ่งโดยไม่ต้องลงทุนเองแทน ทำให้ภาครัฐไม่ต้องลงทุน กับความเสี่ยงในการสำรวจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


จากการเปิดสัมปทานที่ผ่านมา 20 ครั้ง ให้สัมปทานไปแล้ว 108 ฉบับ จำนวน 155 แปลง และนับถึงปี 2555 มีเพียง 53 สัมปทาน 67 แปลงเท่านั้นที่ดำเนินงานอยู่ เพราะบางแหล่งสัมปทานสำรวจไม่พบปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานจะต้องคืนพื้นที่สัมปทานให้แก่รัฐ
เงินลงทุนในแปลงที่สำรวจไม่พบจึงสูญเปล่า แต่รัฐยังได้ข้อมูลการสำรวจจากผู้รับสัมปทาน ซึ่งรัฐไม่ได้ร่วมลงทุนรับความเสี่ยงนี้ด้วยเลย และสัมปทานที่คืนมาก็สามารถนำมาเปิดสัมปทานใหม่ได้
ตั้งแต่ปี 2514 ถึงสิงหาคม 2556 มีการคืนสัมปทานมาแล้ว 88 แปลงสำรวจ และตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา มีผู้รับสัมปทาน 32 แปลงสำรวจที่ไม่ประสบความสำเร็จและคืนสัมปทาน คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 9,372 ล้านบาท
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


ประเทศไทยและคนไทยทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการให้สัมปทานปิโตรเลียมทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น รัฐไม่ต้องนำเงินงบประมาณมาลงทุนเอง เพราะธุรกิจด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีความเสี่ยงสูง แต่ยังได้รับข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศ ผลประโยชน์รายได้เข้าคลังแผ่นดิน ลดการนำเข้าพลังงาน ความมั่นคงทางพลังงาน ฯลฯ สำหรับประชาชนก็จะได้รับประโยชน์ได้โดยตรง เช่น การจ้างงาน กิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ฯลฯ


รายได้รัฐจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ในปี 2555 รัฐได้รับรายได้จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 161,930 ล้านบาท ประกอบด้วย

รายได้จากภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มากที่สุดเท่ากับ 81,780 ล้านบาท
ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม 60,250 ล้านบาท
รายได้จากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย 15,820 ล้านบาท
เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 4,080 ล้านบาท



อย่าลืมว่าเงินภาษีจากภาครัฐที่ได้มาจากการงานด้านพลังงานปีนึงหลายพันล้าน หากหยุดและยกเลิกสัมปทาน เงินส่วนนี้ที่หายไปจะเอามาจากไหน?


ที่สำคัญ อย่าลืมว่าเราใช้ก๊าซธรรมชาติมากกว่า 60% จากอ่าวไทย ในการผลิตไฟฟ้า

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


อ่อ ดักไว้ก่อน การที่เราผลิตได้แล้วส่งออก การบริหารจัดการน้ำมันให้มีความเหมาะสมกับโรงกลั่นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการใช้ภายในประเทศให้ได้มากที่สุด แต่เอาเข้าจริงๆ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่เกี่ยวข้อง เช่น แหล่งที่มาของน้ำมันที่หลากหลาย ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้ ระยะเวลานำเข้า ส่งออก สต๊อกน้ำมันดิบ สต๊อกน้ำมันสุก ความต้องการใช้รายวัน ราคา กำไร และ อื่นๆ ซึ่งมันไม่ได้ง่ายเหมือนการนำเอาตัวเลขการใช้น้ำมันสุก ตัวเลขการผลิตและการนำเข้าน้ำมันดิบมาบวกลบกันตรงๆ ได้ อย่างที่หลายท่านเข้าใจกัน ทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่มากเกินความจำเป็น และการบริหารจัดการของโรงกลั่นให้ได้พอดีกับความต้องการในแต่ละวัน คงไม่สามารถทำได้ จึงต้องมีการนำเข้าและส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปตามความเหมาะสมในช่วงเวลานั้นๆ

ผู้ซื้อภายในประเทศเป็นผู้เลือกน้ำมันให้มีความเหมาะสมกับโรงกลั่นของตน และไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำมันที่ผลิตได้ภายในประเทศ เพราะถ้าราคาน้ำมันที่ผลิตได้ภายในประเทศมีราคาที่ถูกกว่าหรือมีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าน้ำมันที่ต้องนำเข้า ก็ไม่เห็นว่าจะมีเหตุผลใดที่ผู้ซื้อภายในประเทศจะไม่เลือกซื้อน้ำมันดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศจากผู้รับสัมปทาน และถ้าผู้รับสัมปทานสามารถขายน้ำม้นดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศไปให้ประเทศอื่นๆ ที่มีความต้องการมากกว่าโรงกลั่นภายในประเทศในราคาที่สูงกว่าได้ รัฐก็จะได้ประโยชน์จากค่าภาคหลวงที่เพิ่มขึ้นด้วย
ในปีที่ผ่านมามีการส่งออกน้ำมันดิบเฉลี่ย 44,000 บาร์เรลต่อวัน ปัจจุบันก็ยังมีการส่งออกอยู่ ด้วยเหตุผลความจำเป็นซึ่งพอจะสรุปได้ ดังนี้ คือ
           1. ผู้ซื้อภายในประเทศไม่ต้องการ ด้วยเหตุผลต่างๆกันถึงความไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นของตน เช่น มีสิ่งเจื่อปนอื่นๆ สูง มีน้ำผสมปนอยู่มาก เป็นต้น
           2. ผู้รับสัมปทานมีสัญญาระยะยาวกับคู่ค้าต่างประเทศ (ตกลงทำสัญญากันล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดประเด็นดังกล่าว)
           3. ผู้รับสัมปทานยังต้องส่งออกเป็นครั้งคราวบ้าง เพื่อรักษาตลาดเอาไว้ (ในกรณีที่ไม่สามารถขายภายในประเทศได้)
           อย่างไรก็ตามเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้อสงสัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขอความร่วมมือแกมบังคับกับผู้รับสัมปทานและผู้ซื้อภายในประเทศให้ช่วยกันแก้ไขเรื่องการส่งออกน้ำมันดิบนี้ คาดว่าราวเดือนกันยายน จะไม่มีการส่งออกน้ำมันดิบอีก ซึ่งถ้าเป็นดังนั้นจริง ก็ขอให้ผู้ที่นำเรื่องดังกล่าวนี้มาเป็นประเด็น สังเกตุดูว่า ประชาชน ได้รับประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมบ้าง...แต่ที่เห็นๆ คือ รายได้รัฐจากค่าภาคหลวงอาจจะลดลง ถ้าผู้รับสัมปทานต้องลดราคาน้ำมันให้ผู้ซื้อภายในประเทศแทนการส่งออกตามความร่วมมือที่ภาครัฐร้องขอไป

ข้อมูลการผลิต นำเข้า ส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ครึ่งปี 2556

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ข้อมูลอาจไม่ดี ไม่แน่นเท่าไหร่ แต่หากเห็นว่ามีส่วนไหนเสริมได้รบกวนด้วยนะครับ หรือ ถ้าคิดว่าเป็นประโยชน์ รบกวนบอกต่อ แชร์ ต่อด้วยนะครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
ถ้าปิดหลุมผลิตทุกหลุม หยุดการผลิต หยุดการสำรวจ ให้นำเข้าทั้งหมด สิ่งที่จะเกิดขึ้นเท่าที่นึก ๆ ได้ ก็น่าจะมีดังนี้

1. ประเทศต้องใช้เงินมากขึ้นในการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ
2. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นสารตั้งต้นจะขาดแคลนวัตถุดิบ หากจะยังทำธุรกิจในไทยต่อต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุงกระบวนการผลิต หรือย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น หากย้ายฐานการผลิตก็หมายถึงคนจำนวนเป็นแสนคนที่ต้องตกงาน และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับปิโตรเคมีต้องล่มสลาย
3. กรณีย้ายฐานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จะส่งผลให้ไทยต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี จากที่เคยส่งออกสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
4. รายได้จากค่าภาคหลวง ผลประโยนช์ตอบแทนพิเศษ และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมหายไป
5. ผู้ที่ทำงานในธุกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตกงาน และส่งผลต่อไปยังบริษัทรับเหมา และซับพลายเป็นลูกโซ่
6. ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยจะหายไปจากระบบทันทีประมาณ 3000 ล้าน ลบ.ฟ.ต่อวัน น้ำมันดิบและคอนเดนเสทประมาณ 150,000 บาร์เรลต่อวัน
7. โรงไฟฟ้าและโรงงานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติไม่สามารถเดินเครื่องได้
8. หากใช้ก๊าซ LNG ในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าและโรงงานเดิมทั้งหมด ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
9. รายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ที่ทำงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องหายไป
10. ผู้รับสัมปทานจะฟ้องร้องให้มีการอนุญาโตตุลาการ และก็เตรียมจ่ายค่าปรับมหาศาล
11. ประเทศไทยจะกลายเป็นตัวตลกในเวทีโลก กลายเป็นประเทศผู้ไร้ซึ่งสัจจะ เห็นแก่ตัว ไม่เคารพสิทธิและพันธะสัญญาทางธุรกิจ และจะไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย

และอื่น ๆ อีกมากมาย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
จริงๆ แล้ว เรื่องมันไม่ได้เข้าใจยากเย็นอะไรมากมายเลย

มันเป็น " สินค้าระดับโลก "  คนทั้งโลก ต้องกิน ต้องใช้ เหมือนๆ กันหมด

การตั้งราคาถูกกว่าตลาดโลก  เพื่อหวังว่า คนในชาติ จะได้มีกินมีใช้ >>>  แล้วคิดมั้ยว่า เวลามันหมดแล้ว คนรุ่นต่อๆ ไป ต้องไปซื้อจากตลาดโลกมาใช้  ต้องจ่ายแพงกว่าแค่ไหน ???

การตั้งราคาแพงกว่าตลาดโลก  จริงๆ ก็ดี  ขอเพียงแต่ ระบบ/วิธีการกำหนดราคา ค่าสัมปทาน ผลประโยชน์ทุกอย่าง ที่แบ่งสรรปันส่วนกันระหว่าง คนทำ กับ รัฐ  ให้มันยุติธรรม

แต่มัน...ก็จะมีผลให้ ราคาของที่ขุด / ผลิตขึ้นมาได้  มันแพงกว่า ราคาตลาดโลก  แล้วจะไปบังคับให้คนไทยทั้งชาติ ต้องซื้อมันเจ้าเดียว !!!  มันก็ไม่ยุติธรรมอยู่ดี

การใช้ " ราคาตลาดโลก "  มันจึงเป็น " ราคาที่ยุติธรรมได้มากที่สุดแล้วกับทุกฝ่าย ทุกคน ทุกยุค ทุกสมัย "

หลักการมันก็ง่ายๆ แค่นี้  แต่คนไทยที่มีการศึกษาดีระดับนึง บางกลุ่ม บางส่วน  มันเสือk คิดไม่เป็น  คิดตื้นๆ คิดเข้าข้างตัวเอง  อิจฉาคนที่อยู่ในองค์กรที่รับผิดชอบเหล่านั้น

ทั้งๆ ที่เค้าไม่ได้จำกัด / ตีกรอบว่า ต้องเป็นคนไทยบางกลุ่ม บางส่วน บางตระกูล เท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์ได้ผลประโยชน์นี้ไป
ความคิดเห็นที่ 7
อีกนิด

แต่...เพราะความโง่เง่าเต่าตุ่น ของคนไทยที่มีการศึกษาดีระดับนึงบางส่วน (ดีแต่เรียน ดีแต่จำ แต่ไม่รู้จักคิด คิดเองดีๆ ไม่เป็น)

เลยไปหลงเชื่อ  " คนไทยกลุ่มเล็กๆ เลวๆ กลุ่มนึง ที่ตีหน้าซื่อ ทำเป็นรัก เป็นห่วงสังคม / คนไทยยากจน

ทำดีเอาหน้า เอาชื่อเสียง ไปสร้างเสริมบารมีให้ตัวเองอย่างหน้าด้านๆ
"


เมื่อไหร่ คนไทยพวกนั้น มันจะเลิกโง่ ซักที

>>> ชาติหน้า  ก็ไม่มีวันหมด
ความคิดเห็นที่ 6
อ้อ  เดี๋ยวจะหาว่า ยังไม่ได้ตอบเรื่อง  " งั้นทำไมไม่ปิดสัมปทานบ่อไปเลย "

ตอบ

1. แล้ว...สัญญาที่ รัฐ เซ็นไว้กับผู้รับสัมปทาน นาน 15 ปี 20 ปี 30 ปี  จะให้ไปเบี้ยวเค้าหรือยังไง ???

2. ถ้า...จะกำหนดให้ " ผลตอบแทน " ที่ รัฐ ควรได้รับจากการให้สัมปทาน ต้องมาก ต้องสูงขึ้นกว่านี้ >>> อยากจะตั้ง อยากจะกำหนดเท่าไหร่  ก็กำหนดไปเลย  แต่...

" ต้องใช้กับสัญญาสัมปทาน ในอนาคตเท่านั้น "   ไม่ใช่ให้ไปเบี้ยว ไปยกเลิก สัญญาสัมปทานเก่าๆ อย่างหน้าด้านๆ

ชัดเจนมั้ย ???
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่