http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=700618&lang=T&cat=
เมื่อวันที่ 2 พ.ย.2556 พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่คนเสื้อแดงออกมาต่อต้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 3 แล้วว่า คนเสื้อแดงแสดงความเห็นคัดค้านได้ เป็นคำเตือนของมหามิตรที่ต้องรับฟัง ขณะนี้มีคนเสื้อแดงประมาณ 50% ที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ แต่ไม่ได้มีความรู้สึกโกรธแค้น ส่วนคนเสื้อแดงอีก 50% สนับสนุนกฎหมายนี้ เชื่อว่าในที่สุดแล้วจะทำความเข้าใจกันได้ แต่คงต้องใช้ความอดทนชี้แจงให้คนเสื้อแดงเข้าใจ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่มีคำสั่งจากคนนอกประเทศให้รีบรวดรัดผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแน่นอน
"โอกาสที่ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะมีผลบังคับใช้สมบูรณ์แบบอยู่ที่ 50-50 เพราะยังมีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะมีผลบังคับใช้ ยังมีอุปสรรคทั้งเรื่องกระแสสังคมที่ไม่เห็นด้วย ต้องใช้เวลาพิจารณาอีกไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ดังนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อหาได้ ถ้ากระแสสังคมไม่เห็นด้วยอย่างหนักก็ต้องทบทวน แต่รัฐบาลก็ต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ว่าไม่มีเจตนาแอบแฝง นอกจากนี้ยังมีกับดัก 7 อย่างคือ ศาลปกครอง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ศาลรัฐธรรมนูญ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน(กสม.) ที่ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารเพียงไม่กี่คนอีกด้วย"พ.อ.อภิวันท์กล่าว
อภิวันท์ชี้ พรบ.นิรโทษกรรม มีโอกาสบังคับใช้แค่ 50-50
เมื่อวันที่ 2 พ.ย.2556 พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่คนเสื้อแดงออกมาต่อต้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 3 แล้วว่า คนเสื้อแดงแสดงความเห็นคัดค้านได้ เป็นคำเตือนของมหามิตรที่ต้องรับฟัง ขณะนี้มีคนเสื้อแดงประมาณ 50% ที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ แต่ไม่ได้มีความรู้สึกโกรธแค้น ส่วนคนเสื้อแดงอีก 50% สนับสนุนกฎหมายนี้ เชื่อว่าในที่สุดแล้วจะทำความเข้าใจกันได้ แต่คงต้องใช้ความอดทนชี้แจงให้คนเสื้อแดงเข้าใจ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่มีคำสั่งจากคนนอกประเทศให้รีบรวดรัดผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแน่นอน
"โอกาสที่ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะมีผลบังคับใช้สมบูรณ์แบบอยู่ที่ 50-50 เพราะยังมีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะมีผลบังคับใช้ ยังมีอุปสรรคทั้งเรื่องกระแสสังคมที่ไม่เห็นด้วย ต้องใช้เวลาพิจารณาอีกไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ดังนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อหาได้ ถ้ากระแสสังคมไม่เห็นด้วยอย่างหนักก็ต้องทบทวน แต่รัฐบาลก็ต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ว่าไม่มีเจตนาแอบแฝง นอกจากนี้ยังมีกับดัก 7 อย่างคือ ศาลปกครอง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ศาลรัฐธรรมนูญ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน(กสม.) ที่ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารเพียงไม่กี่คนอีกด้วย"พ.อ.อภิวันท์กล่าว