คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
กรณีค่าจ้างในช่วงหยุดงานเนื่องจากพนักงานประสบอุบัติเหตุนี้ เป็นเรื่องชวนปวดหัวของฝ่ายบุคคลในหลายๆองค์กรเลยครับ เรื่องจาก ตามหลักของกองทุนเงินทดแทนแล้ว หากลูกจ้างต้องหยุดงานเนื่องด้วยเหตุอุบัติเหตุในงาน พรบ.กองทุนเงินทดแทน ปี 2537 ได้กล่าวเอาไว้เช่นนี้
มาตรา ๑๘ เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา ๒๐ แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (๒) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี
ดังนั้น ข้อนี้จึงชัดเจนว่า ในช่วงเวลาที่ลูกจ้างหยุดงานเนื่องจากบาดเจ็บจากการทำงานนั้น นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่ให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างชดเชย จากกองทุนเงินทดแทนเอง เป็นจำนวน 60% ของค่าจ้าง แต่ทั้งนี้ เนื่องจากระบบราชการไทยนั้น พัฒนาถึงขีดสุดอย่างที่ฝ่ายบุคคลหลายๆท่านทราบกัน คือ กว่าที่กองทุนเงินทดแทนจะประเมินความสูญเสีย จะอนุมัติเงินชดเชยกันให้ลูกจ้าง ลูกจ้างก็คงอดตายรอเงินชดเชยเป็นเดือนสองเดือน กว่าจะได้เช็คจากกองทุนมาขึ้นเงิน
ฝ่ายบุคคลในหลายๆองค์กร จึงได้ทำการทดรองจ่าย หรือสำรองจ่ายค่าจ้างในช่วงดังกล่าว ให้ลูกจ้าได้มีค่าจ้างมีรายได้ใช้ประทังชีวิตก่อน เพียงแต่ประเด็นสำคัญคือ มิได้มีการอธิบายทำความเข้าใจให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิพึงมีพึงได้ของลูกจ้างก่อน เมื่อลูกจ้างได้เช็คเงินชดเชยคืนมา ลูกจ้างก็ไม่รู้หน้าที่ว่า ใครเป็นผู้พึงมีพึงได้ เหตุผลใดที่ต้องคืนเงินส่วนนี้ให้นายจ้าง ดังนั้น การบริหารจัดการเงินจำนวนดังกล่าว ทำได้หลายวิธีเช่น
1. ไม่จ่ายค่าจ้างเลย ในช่วงเวลาดังกล่าว แล้วให้ลูกจ้างรอเงินชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ซึ่งวิธีนี้ นายจ้างไม่ต้องไปปวดหัวทดรองเงินใด้ลูกจ้างแต่อย่างใด แต่สิ่งที่นายจ้างจะได้กลับคืนมาจากลูกจ้างคือ ความน้อยเนื้อต่ำใจของลูกจ้าง ทำงานให้นายจ้างแท้ๆ ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานให้นายจ้าง แต่นายจ้างไม่ดำดูดี
2. จ่ายค่าจ้างให้ 60% ในช่วงดังกล่าว แต่ทำข้อตกลงอธิบายกันให้ดีว่า เมื่อได้รับเช็คเงินชดเชยคืนมาแล้ว ให้นำส่งคืนบริษัท ช่วงก่อนจ่ายค่าจ้างนี้ ก็อธิบายกันให้ดีว่า เงินนี้ บริษัทจ่ายให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยเหลือในช่วงรอเงินชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ได้เงินมาแล้ว นำมาคืนบริษัทด้วยนะ ตกลงกันให้เรียบร้อย
3. จ่ายค่าจ้างให้ 100% เต็ม ทำคล้ายๆวิธีที่ 2 คือ ข้อตกลงอธิบายกันให้ดีว่า เมื่อได้รับเช็คเงินชดเชยคืนมาแล้ว ให้นำส่งคืนบริษัท ช่วงก่อนจ่ายค่าจ้างนี้ ก็อธิบายกันให้ดีว่า เงินนี้ บริษัทจ่ายให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยเหลือในช่วงรอเงินชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ได้เงินมาแล้ว นำมาคืนบริษัทด้วยนะ ตกลงกันให้เรียบร้อย พร้อมทั้งอธิบายว่า บริษัทจ่ายเงินให้เพิ่มอีก 40% เพื่อชดเชยค่าจ้างให้ลูกจ้าง เนื่องด้วย ลูกจ้างประสบเหตุจากการทำงาน ถึงแม้มีพรบ.เงินทดแทนชดเชยให้ แต่ลูกจ้างก็สูญเสียรายได้ ทั้งๆที่ทำงานให้บริษัท ดังนั้น กรณีนี้คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่บริษัทจะให้เงินอีก 40% ดังกล่าวกับลูกจ้าง นายจ้างเอง นอกจากจะไม่เสียเปรียบอะไร ยังได้ใจลูกจ้างเสียอีกครับ
ส่วนตัวผมแล้ว บริหารองค์กรที่ไหน ผมเลือกที่จะจัดการกรณีดังกล่าว ด้วยวิธีที่ 3 ดีที่สุดครับ
มาตรา ๑๘ เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา ๒๐ แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (๒) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี
ดังนั้น ข้อนี้จึงชัดเจนว่า ในช่วงเวลาที่ลูกจ้างหยุดงานเนื่องจากบาดเจ็บจากการทำงานนั้น นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่ให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างชดเชย จากกองทุนเงินทดแทนเอง เป็นจำนวน 60% ของค่าจ้าง แต่ทั้งนี้ เนื่องจากระบบราชการไทยนั้น พัฒนาถึงขีดสุดอย่างที่ฝ่ายบุคคลหลายๆท่านทราบกัน คือ กว่าที่กองทุนเงินทดแทนจะประเมินความสูญเสีย จะอนุมัติเงินชดเชยกันให้ลูกจ้าง ลูกจ้างก็คงอดตายรอเงินชดเชยเป็นเดือนสองเดือน กว่าจะได้เช็คจากกองทุนมาขึ้นเงิน
ฝ่ายบุคคลในหลายๆองค์กร จึงได้ทำการทดรองจ่าย หรือสำรองจ่ายค่าจ้างในช่วงดังกล่าว ให้ลูกจ้าได้มีค่าจ้างมีรายได้ใช้ประทังชีวิตก่อน เพียงแต่ประเด็นสำคัญคือ มิได้มีการอธิบายทำความเข้าใจให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิพึงมีพึงได้ของลูกจ้างก่อน เมื่อลูกจ้างได้เช็คเงินชดเชยคืนมา ลูกจ้างก็ไม่รู้หน้าที่ว่า ใครเป็นผู้พึงมีพึงได้ เหตุผลใดที่ต้องคืนเงินส่วนนี้ให้นายจ้าง ดังนั้น การบริหารจัดการเงินจำนวนดังกล่าว ทำได้หลายวิธีเช่น
1. ไม่จ่ายค่าจ้างเลย ในช่วงเวลาดังกล่าว แล้วให้ลูกจ้างรอเงินชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ซึ่งวิธีนี้ นายจ้างไม่ต้องไปปวดหัวทดรองเงินใด้ลูกจ้างแต่อย่างใด แต่สิ่งที่นายจ้างจะได้กลับคืนมาจากลูกจ้างคือ ความน้อยเนื้อต่ำใจของลูกจ้าง ทำงานให้นายจ้างแท้ๆ ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานให้นายจ้าง แต่นายจ้างไม่ดำดูดี
2. จ่ายค่าจ้างให้ 60% ในช่วงดังกล่าว แต่ทำข้อตกลงอธิบายกันให้ดีว่า เมื่อได้รับเช็คเงินชดเชยคืนมาแล้ว ให้นำส่งคืนบริษัท ช่วงก่อนจ่ายค่าจ้างนี้ ก็อธิบายกันให้ดีว่า เงินนี้ บริษัทจ่ายให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยเหลือในช่วงรอเงินชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ได้เงินมาแล้ว นำมาคืนบริษัทด้วยนะ ตกลงกันให้เรียบร้อย
3. จ่ายค่าจ้างให้ 100% เต็ม ทำคล้ายๆวิธีที่ 2 คือ ข้อตกลงอธิบายกันให้ดีว่า เมื่อได้รับเช็คเงินชดเชยคืนมาแล้ว ให้นำส่งคืนบริษัท ช่วงก่อนจ่ายค่าจ้างนี้ ก็อธิบายกันให้ดีว่า เงินนี้ บริษัทจ่ายให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยเหลือในช่วงรอเงินชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ได้เงินมาแล้ว นำมาคืนบริษัทด้วยนะ ตกลงกันให้เรียบร้อย พร้อมทั้งอธิบายว่า บริษัทจ่ายเงินให้เพิ่มอีก 40% เพื่อชดเชยค่าจ้างให้ลูกจ้าง เนื่องด้วย ลูกจ้างประสบเหตุจากการทำงาน ถึงแม้มีพรบ.เงินทดแทนชดเชยให้ แต่ลูกจ้างก็สูญเสียรายได้ ทั้งๆที่ทำงานให้บริษัท ดังนั้น กรณีนี้คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่บริษัทจะให้เงินอีก 40% ดังกล่าวกับลูกจ้าง นายจ้างเอง นอกจากจะไม่เสียเปรียบอะไร ยังได้ใจลูกจ้างเสียอีกครับ
ส่วนตัวผมแล้ว บริหารองค์กรที่ไหน ผมเลือกที่จะจัดการกรณีดังกล่าว ด้วยวิธีที่ 3 ดีที่สุดครับ
แสดงความคิดเห็น
"กองทุนเงินทดแทน" ค่าทดแทนจำนวน 60% ที่ประกันสังคมจ่ายให้ ใครเป็นคนได้???
ทางบริษัทฯ ได้จ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานครบถ้วน ตามใบรับรองแพทย์
ในส่วนของ ประกันสังคมต้องจ่าย ค่าทดแทนจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือน คืนมาให้
ใคร? เป็นคนได้รับเงินก้อนนี้??
ถามHR หรือผู้ที่รู้จริงนะคะ เพราะตอนนี้กำลังสับสนมาก
จากบริษัทฯเดิม ที่เราเคยผ่านงานมา เงิน60% นี้ เราให้กับพนักงาน พร้อมกับจ่ายเงินเดือนเต็มจำนวนตามที่แพทย์สั่งใหเหยุดพัก
แต่ ณ ตอนนี้ มาทำที่บริษัทใหม่ ผู้บริหารมีความเห็นที่ไม่ตรงกันคือ เงิน 60% ต้องคืนบริษัทฯ เนื่องจากว่า บริษัทฯ รับผิดชอบในเรื่องของการจ่ายเงินเดือนเต็ม ให้กับพนักงานแล้ว
ใครทราบ ช่วยชี้ให้กระจ่างทีค่ะ กำลังปวดหัว
ขอบคุณค่ะ